• ข่าวสาร
    ทั้งหมด
    Forex
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    คริปโต
    การวิเคราะห์ทางเทคนิค
    สุขภาพทางเศรษฐกิจ
    ชาติ
  • การวิเคราะห์
    ทั้งหมด
  • ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
    ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
  • บล็อก
    ทั้งหมด
    หุ้น
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    Forex
    สกุลเงินดิจิตอล
    การศึกษา
  • การศึกษา
    คอร์สการลงทุน
  • เกี่ยวกับเรา
    ทีมผู้เชี่ยวชาญ
    นโยบายกองบรรณาธิการ

    บทความยอดนิยม

    บทวิเคราะห์ยอดนิยม

    noData

    บทความยอดนิยมในบล็อก

    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    honor1
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    honor2
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    ลงทุนโลหะเงิน(Silver)อย่างไร? ฉบับนักลงทุนมือใหม่ต้องเข้าใจ

    4 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 21 ก.ค. 2566 06:48 น.

    ราคาโลหะเงิน (Silver) วันนี้


    กราฟแสดงราคาโลหะเงินวันนี้

    นอกจาการลงทุนในหุ้น น้ำมัน หรือทองคำแล้ว “โลหะเงิน (Silver)” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างหยิบยกเข้ามาไว้ในพอร์ตลงทุน ซึ่งเซียนเทรดเดอร์ทั้งหลายต่างทราบดีว่า “เงิน” แม้ไม่ใช่ทองคำแต่ก็เป็นแร่โลหะมูลค่าสูงประเภทหนึ่งที่เราต่างทราบถึงมูลค่าเป็นอย่างดี ลงทุนด้วยวิธีดูแนวโน้มราคาไม่ใช้เรื่องยากซับซ้อนอะไร จึงทำให้การลงทุนโลหะเงิน (Silver) เป็นอีกเครื่องมือทำเงินให้แก่นักลงทุนจนถึงปัจจุบันนี้

    ทำไมต้องเลือก “การลงทุนโลหะเงิน (Silver) ”?

    ในความเป็นจริงแล้ว พวกเราต่างรู้จักคุ้นชินกับ “โลหะเงิน” มาเป็นเวลานาน การนำมาซึ่งวัตถุที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสำหรับการซื้อขายระหว่างกันที่เริ่มใช้ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยมูลค่าที่มีอยู่ในทั้งในแง่ของจำนวนและราคาจึงปฏิเสธไม่ได้ที่จะยกโลหะเงินขึ้นมาไว้ในตลาดการซื้อขาย ดึงดูดความต้องการลงทุนจากเทรดเดอร์ทุกคนอย่างมีนัยสำคัญ และรวมถึงปัจจัยที่สนับสนุนให้ช่องทางการลงทุนนี้ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ดังนี้


    1. ใช้ในการเก็บรักษาความมั่งคั่งในระยะยาว

    ในระยะยาวการรักษาความมั่งคั่งด้วยการถือเงินสดนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยจาก เงินเฟ้อ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากทั้งภาวะเศรษฐกิจและนโยบายของธนาคารกลาง ซึ่งมีผลทำให้สกุลเงินต่าง ๆ เสื่อมค่าลงไป 


    การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถรักษามูลค่าตัวในเองได้อย่างโลหะมีค่า เช่น โลหะเงิน จึงเป็นทางเลือกที่คนเลือกใช้มายาวนาน เนื่องจากเงินเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองและได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก สินทรัพย์ประเภทนี้จึงสามารถรักษา “มูลค่าที่แท้จริง” ไว้ได้ในระยะยาว ทั้งยังสามารถนำไปยืนยันมูลค่ากับใครก็ได้ 


    ตัวอย่างเช่นการถือเงินสด $100 ในปี 1976 เมื่อเวลาผ่านไปจะเหลือมูลค่าเพียง $16.83 ในปี 2022 ขณะที่การถือโลหะเงินมูลค่า $100 ในปี 1976 จะกลายมาเป็นโลหะเงินที่มีมูลค่า $625 ในปี 2022 


    2. เป็นแหล่งพักเงินอันปลอดภัย (Safe Haven) 

    สินทรัพย์เช่น สกุลเงิน หุ้น และพันธบัตร นั้นมีความผันผวนของราคาได้สูงและมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงภาวะสงคราม 


    ตรงกันข้ามกับโลหะมีค่าอย่างเช่นโลหะเงินที่มีมูลค่าในตัวเองและมักจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่นักลงทุนมองหาให้เป็นหลุมหลบภัย (Safe Haven) เวลาเกิดภาวะวิกฤต และเชื่อว่าไม่ว่าอย่างไรมูลค่าของสินทรัพย์ตัวนี้จะไม่กลับเป็นศูนย์อย่างแน่นอน ซึ่งแตกต่างจากสินทรัพย์ประเภทอื่น เช่น สกุลเงินมาร์คของเยอรมันที่เกิดภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรงจนแทบไร้มูลค่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง


    ในปี 2022 เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ในปีนั้นตลาดหุ้นต่างประเทศ(ไม่รวมอเมริกา) ปรับตัวลดลง 7% ขณะที่ราคาโลหะเงินปรับเพิ่มขึ้น 47.78% เช่นเดียวกับทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น 25.09% นับจากต้นปี


    3. ใช้กระจายความเสี่ยงระหว่างสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน

    ในโลกของการลงทุนที่มีความไม่แน่นอนสูง และราคาสินทรัพย์แต่ละประเภทก็มีความผันผวนที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น สกุลเงิน หุ้น อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งนักลงทุนที่เชี่ยวชาญจะสามารถวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเพื่อกำหนดแผนการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาด้วยการกำหนดสัดส่วนการถ่วงน้ำหนักสินทรัพย์แต่ละประเภทที่มีความสัมพันธ์ (correlation) ที่แตกต่างกัน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ทำให้ผลตอบแทนในพอร์ตการลงทุนลดลง 


    โลหะมีค่าเช่นโลหะเงินก็มักกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่กองทุน หรือ นักลงทุนที่เชี่ยวชาญนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน (Porfolio Diversification) เนื่องจากโลหะมีค่าเหล่านี้มักไม่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับสินทรัพย์ตัวอื่น เช่น ตลาดหุ้น ดังนั้นหากตลาดหุ้นมีมูลค่าตกต่ำลง ก็มีความเป็นไปได้ที่ราคาของโลหะเงินจะไม่ได้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันนั้น และจะยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตการลงทุนได้


    4. ในระยะยาวเงินให้ผลตอบแทนมากกว่าทองคำ

    ในการซื้อขายโลหะเงินนั้นมีมูลค่าน้อยกว่าทองคำราว 100-75 เท่าจากราคาทองคำ ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาแต่ละครั้งมีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนในสัดส่วนที่สูงได้ และมักจะให้ผลตอบแทนเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าทองคำด้วยเช่นกัน 


    ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของราคาเงินและทองคำในปี 2020 ขณะที่ราคาทองคำเปิดต้นปีที่ $1,517 /ออนซ์ และปรับตัวขึ้น $1,897.9 ในช่วงสิ้นปี คิดเป็นการปรับตัวขึ้น $380.7 YTD (+25.09%) ส่วนโลหะเงินเปิดต้นปี 2020 ที่ราคา $17.83 และปิดช่วงสิ้นปีที่ราคา $26.33 คิดเป็นการปรับตัวขึ้น $8.51 YTD (+47.78%) ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าทองคำเกือบ 2 เท่าทีเดียว

    ข้อเสียของการลงทุนในโลหะเงิน (Silver)

    การลงทุนในโลหะเงินบางรูปแบบยังมีข้อจำกัดสำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนด้วยการซื้อเม็ดโลหะเงิน (silver spot) ที่มักจะมีสภาพคล่องต่ำ นั่นคือไม่สามารถนำออกมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ในทันที แต่ต้องไปเปลี่ยนเป็นเงิน (money) ก่อน อีกด้านหนึ่งก็มีความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมและมีต้นทุนในการเก็บรักษา เช่น จำเป็นต้องมีตู้เซฟเก็บโดยเฉพาะ 


    นอกจากนี้โลหะเงินยังอาจเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ประกันความเสี่ยงเงินเฟ้อในระยะยาวได้ไม่ดีเท่าทองคำ และปริมาณซื้อขายอาจลดน้อยลงจนทำให้ได้ราคาไม่ดีในบางช่วง นอกจากนี้ราคาของโลหะเงินยังอาจถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ทำให้ความต้องการใช้โลหะเงินในอุตสาหกรรมลดลงในบางช่วงเวลาได้ด้วย แต่โดยรวมโลหะเงินก็ยังนับเป็นโลหะมีค่าที่ใช้รักษาความมั่งคั่งได้ในระยะยาว

    ปัจจัยที่สนับสนุนราคาของการซื้อขายโลหะเงิน

    ราคาคือสิ่งที่จำต้องไม่ได้ แต่มีไว้เพื่อกำหนดมูลค่าตามที่ตลาดประเมินไว้ จะเห็นได้ชัดจากราคานำมัน ทองคำ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อย่างเช่น โลหะเงินที่ปรับเปลี่ยนขึ้นลงกันตามปัจจัยของตลาดโลกดังต่อไปนี้


     ●   อุปสงค์และอุปทาน

    เนื่องจากโลหะเงินก็เป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งเหมือนกัน อุปสงค์และอุปทานย่อมมีผลโดยตรงต่อราคา ซึ่งในความเป็นจริงยังส่งผลในด้านอื่นๆ อีกด้วย โดย “โลหะเงิน” ถือเป็นสินค้าที่มีอุปทานหรือการผลิตที่จำกัด จะเห็นได้จากจำนวน Silver ที่สำรวจได้ในโลกไม่ได้มีการผลิตขึ้นได้ในปริมาณมากอย่างอากาศหรือน้ำ แต่จำนวนของอุปสงค์หรือความต้องการใช้ Silver ที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ถึงไม่มากแต่ก็ใช้เรื่อยๆ เช่น ข่าวในการผลิตแผงโซลาร์เซล์มีความจำเป็นต้องใช้โลหะเงิน ดังนั้นในส่วนนี้จะให้ราคาของ “เงิน” เพิ่มสูงขึ้น


     ●   ความต้องการใช้โลหะประเภทอื่นๆ

    แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการผลิตบนโลกใบนี้ไม่ได้มีความต้องการใช้โลหะเงินเพียงอย่างเดียว โลหะอื่นๆ ที่นิยมใช้กันยังหมายรวมถึงเหล็ก, ทองแดง, นิกเกล หรือดีบุก เป็นต้น ซึ่งถ้าหากความต้องการโลหะประเภทอื่นที่ไม่ใช้เงินสูงขึ้น หรือภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตโลหะที่ใช้แทนเงินได้ ราคาของ Silver อาจต้องลดลงไปด้วย แต่ในทางกลับกันยังอาจมีข้อดีอยู่บ้างจากปัจจัยนี้เมื่อการผลิตจำเป็นต้องใช้โลหะอื่นๆ ควบคู่กับโลหะเงินไปด้วย ซึ่งจะสะท้อนถึงราคาของโลหะเงินที่อาจเพิ่มขึ้น


     ●   ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม

    อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งราคาของโลหะเงินจะขึ้นอยู่กับประเภทของผลผลิต ถ้าผลผลิตนั้นมีที่มาจากโลหะเงิน ความต้องการโลหะเงินก็มาก ราคาก็สูง ทางทางตรงกันข้ามที่ราคาจะต่ำลงเมื่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องใช้โลหะเงิน หรือผลผลิตนั้นสามารถใช้แทนโลหะเงินได้


     ●   สภาพเศรษฐกิจ

    ปัจจัยที่มีผลโดยตรงอีกอย่างก็คือสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งวิเคราะห์ในสเกลระดับโลก คุณจะพบว่าเมื่อสุขภาพของเศรษฐกิจดี การจับจ่ายใช้สอยก็จะคล่อง ผลผลิตที่มาจากโลหะเงิน เช่น เครื่องประดับ นาฬิกา หรือสินค้ามูลค่าสูง มักจะขายดีส่งผลให้ราคาของโลหะเงินยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง ในทำนองเดียวกันเมื่อสภาพเศรษฐกิจแย่ ราคา Silver จะต่ำลงเนื่องจากความต้องการซื้อสินค้ามูลค่าสูงลดลง รวมไปถึงความไม่แน่นอนของอุปสงค์ที่ผู้คนส่วนใหญ่อยากเก็บเงินเอาไว้เพื่อความปลอดภัย


     ●   ราคาทองคำ

    จากงานวิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบความสอดคล้องของราคาทองและราคาโลหะเงิน ในมุมมองที่ว่าเมื่อราคาทองขึ้นหรือลง ราคาของโลหะจะไปในทิศทางเดียวกันกับทองคำ จากความสัมพันธ์นี้บ่งชี้ว่าการวิเคราะห์เพื่อทำกำไรในโลหะเงิน อาจใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทองคำได้ด้วย


     ●   ราคาของดอลลาร์สหรัฐ

    อาจสงสัยว่าเงินดอลลาร์เกี่ยวอะไรกับราคาของโลหะเงิน จากสถิติของราคาดอลลาร์มักจะมีทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราคา Silver เนื่องจากราคาของดอลลาร์มักสร้างความกดดันให้แก่ราคาโลหะเงินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่เมื่อทราบว่าราคาดอลลาร์เริ่มอ่อนตัวลง ก็จะหันต่อรองราคาเพื่อทำการซื้อโลหะเงิน


     ●   The Gold Silver Ratio

    ปัจจัยนี้เกี่ยวเนื่องจากข้อที่ 6. ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถเข้าใจได้เลยว่า ราคาที่ตลาดกำหนดไว้สำหรับทองและเงินต่อออนซ์ จะเป็นสิ่งที่กำหนด “The Gold Silver Ratio” เช่น เงิน 1 ออนซ์ราคาอยู่ที่ 1,000 บาท และทองคำอยู่ที่ 25,000 บาท “The Gold Silver Ratio” จะเท่ากับ 25:1 นั่นเอง

    5 วิธีลงทุนในโลหะเงิน(Silver) สำหรับมือใหม่

    1. ซื้อแร่เงิน 

    การซื้อแร่เงินสะสมเป็นวิธีลงทุนในโลหะเงินที่คลาสสิคที่สุดและถูกใช้กันมาอย่างยาวนาน ซึ่งวิธีนี้นักลงทุสามารถซื้อเป็นเครื่องประดับเงิน หรือ ซื้อเม็ดเงินบริสุทธิ์เพื่อมาเก็บรักษาไว้ โดยที่ในระยะยาวนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาซื้อขายโลหะเงินที่นำมาซื้อสะสมไว้


    ข้อดีของการซื้อแร่เงินมาสะสมไว้คือการที่นักลงทุนจะได้สินทรัพย์นั้นมาเก็บรักษาและเป็นเจ้าของไว้จริง ๆ นักลงทุนที่ซื้อเครื่องประดับเงินยังสามารถนำมาสวมใส่เป็นเครื่องประดับในโอกาสต่าง ๆ และการเก็บรักษาหรือถือเพื่อลงทุนในระยะยาวยังไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมในการเก็บรักษานอกเหนือไปจากค่าเช่าตู้เซฟหรือค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาความปลอดภัย ซึ่งถือเป็นข้อเสียสำคัญของการลงทุนรูปแบบนี้ที่มีความเสี่ยงด้านการเก็บและรักษาความปลอดภัย


    นอกจากนี้ข้อควรระวังเกี่ยวกับการลงทุนด้วยการซื้อแร่เงินมาเก็บไว้ยังจำเป็นต้องทุนเริ่มต้นในการลงทุนค่อนข้างสูงตามหน่วยของแร่เงิน เช่น บาท หรือ ออนซ์ โดยไม่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยลงได้ และยังมีความเสี่ยงในด้านการพิสูจน์ความแท้ของเนื้อเงินที่ผู้ซื้ออาจไม่สามารถพิสูจน์ได้ เช่นเดียวกับการซื้อขายแร่เงินที่ทำได้ยากกว่าทองคำเพราะมีร้านที่รับซื้อและขายไม่มาก จนอาจทำให้นักลงทุนได้ราคาขายที่ไม่ดีเท่าที่ควร


    2. ซื้อกองทุนที่อ้างอิงโลหะเงิน (Silver ETF)  

    กองทุนรวมดัชนี หรือ ETF (Exchange Traded Fund) เป็นหน่วยการลงทุนที่ซื้อขายได้ทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ เช่น GLD คือ ETF ของ SPDR Gold ที่ลงทุนในทองคำโดยตรงเทรดอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ และสำหรับแร่เงินก็มี SLV ที่เป็น ETF ลงทุนใน iShares Silver Trust ซึ่งแต่ละหน่วยของ ETF จะแทนมูลค่าของสินทรัยพ์อ้างอิง และนักลงทุนที่เลือกลงทุนใน EFT ก็สามารถได้กำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อขายหน่วยลงทุน ETF ไม่ต่างจากการลงทุนในแร่เงิน


    สำหรับการลงทุนในกองทุนที่อ้างอิงโลหะเงินจะมีความได้เปรียบตรงที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายที่มากกว่า และยังสามารถซื้อขายได้แบบเรียลไทม์ตลอดช่วงที่ตลาดหุ้นเปิดทำการ และยังสามารถใช้จำนวนเงินในหน่วยที่น้อยลงในการลงทุนกับโลหะเงินได้ อีกทั้งยังไม่มีต้นทุนในการถือครอง ETF ในระยะยาวด้วย


    อย่างไรก็ดี การลงทุนในรูปแบบนี้นั้นนักลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของแร่โลหะเงินจริง ๆ และสำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่ ETF ที่เทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้การซื้อขาย EFT ที่ลงทุนในโลหะเงินนั้นจำเป็นต้องนำเงินไปลงทุนในบัญชีต่างประเทศ หรือเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในโลหะเงินไปเลย ซึ่งจะมีทั้งกองทุนแบบมุ่งเอาชนะดัชนี (Active Fund) หรือ กองทุนที่ให้ผลตอบแทนตามดัชนี (Passive Fund) 


    3. ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Silver Futures) หรือ TFEX Silver Online Futures 

    สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ ฟิวเจอร์ส เป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อนขึ้นมาอีก โดยได้ชื่อว่าเป็นเครื่องมือที่มีอัตราทด (leverage) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอนุญาตให้นักลงทุนสามารถวางเงินเพียงบางส่วนของมูลค่าสัญญาเพื่อเป็นเจ้าของสัญญาซื้อขายสินทรัพย์นั้น ๆ เช่น TFEX Silver Online Futures (SVF) ที่ 1 สัญญาจะมีมูลค่าเท่ากับโลหะเงิน 3,000 ออนซ์ โดยที่นักลงทุนสามารถเปิดสัญญาได้ด้วยเงินทุน 6,755 บาทต่อหนึ่งสัญญา ณ ราคาโลหะเงิน $23.52 ต่อออนซ์ 


    ข้อดีของการลงทุนด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ SVF นี้คือนักลงทุนจะสามารถใช้เงินจำนวนไม่มาก เพื่อคาดหวังการสร้างผลกำไรจำนวนมากจากอัตราทดได้ และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือไว้ทำกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง จึงเป็นตัวช่วยที่ถูกนำไปใช้ในการประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนได้เป็นอย่างดี


    อย่างไรก็ดีการลงทุนด้วยสัญญาฟิวเจอร์สยังมีข้อจำกัดตรงที่สัญญาฟิวเจอร์สเป็นเครื่องมือที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินต้นไปทั้งหมดได้ จึงต้องอาศัยความชำนาญในการใช้และบริหารเงินมาร์จิ้น นอกจากนี้นักลงทุนที่ลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์ยังจะไม่ได้เป็นเจ้าของแร่โลหะเงิน แต่เป็นเพียงเจ้าของสิทธิในการซื้อขายสินค้าอ้างอิงที่เป็นโลหะเงิน และยังต้องใช้สิทธินั้นในช่วงเวลาที่กำหนดหรือภายในวันหมดอายุของสัญญาด้วย


    4. ซื้อหุ้นของบริษัทที่ขุดแร่เงิน

    อีกหนึ่งวิธีที่นักลงทุนสามารถสร้างผลกำไรจากการลงทุนในโลหะเงินได้ก็คือการซื้อหุ้นบริษัทที่ขุดแร่เงิน เช่นเดียวกับการซื้อบริษัทน้ำมันในช่วงวัฏจักรราคาน้ำมันขาขึ้นที่จะเป็นช่วงที่สร้างผลกำไรให้กับบริษัทได้เป็นกอบเป็นกำ ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินงานยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก ซึ่งจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทออกมาดี ผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งนักลงทุนก็สามารถได้ผลกำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อขายหุ้นนั่นเอง และหากบริษัทมีนโยบายในการจ่ายปันผล นักลงทุนก็จะได้ประโยชน์จากเงินปันผลที่จะได้จากการถือหุ้นด้วย


    ข้อดีของการลงทุนรูปแบบนี้คือการลงทุนในหุ้นนั้นมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการซื้อขาย สามารถซื้อขายได้ง่ายในตลาดหลักทรัพย์โดยที่ไม่ต้องไปถึงหน้าร้านซื้อขายของดีลเลอร์ แต่การซื้อหุ้นของบริษัทขุดแร่เงินยังมีความเสี่ยงที่ราคาหุ้นอาจไม่ได้แปรผันไปตามราคาโลหะเงินโดยตรง เพราะราคาหุ้นยังถูกกระทบจากผลการดำเนินงานด้านอื่น ๆ ของบริษัทด้วย เช่น บริษัท First Majestic Silver ที่มีสำนักงานใหญ่ในแคนาดาสร้างผลกำไรจากการขุดเงินและทองคำ ขณะที่บริษัท Wheaton Precious Metals เป็นบริษัทที่ให้บริการทางการเงินกับบริษัทที่ขุดแร่โลหะเงินและทองคำอีกที ซึ่งแน่นอนว่าในวัฏจักรราคาโลหะมีค่าที่เป็นขาขึ้น บริษัท First Majestic Silver จะสามารถสร้างผลกำไรได้ดีกว่าอย่างแน่นอน การเลือกบริษัทที่ลงทุนจึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนประเภทนี้ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ซึ่งแม้จะไม่ได้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของแร่โลหะเงิน แต่ก็มีส่วนในความเป็นเจ้าของบริษัทได้


    อย่างไรก็ดีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีหุ้นที่ทำกิจการเกี่ยวกับการขุดแร่โลหะเงิน นักลงทุนที่สนใจการลงทุนวิธีนี้จึงจำเป็นต้องใช้บัญชีต่างประเทศซึ่งมีความซับซ้อนกว่าในการซื้อขาย


    5. สัญญาซื้อขายส่วนต่างโลหะเงิน(Silver CFD)

    วิธีสุดท้ายที่เราจะแนะนำคือการเทรดโลหะเงิน (Silver) ด้วยสัญญาซื้อขายส่วนต่างโลหะเงิน - Silver CFD (Contract for Difference) ซึ่งเป็นวิธีการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมจากหมู่นักลงทุนไทยอย่างมาก เนื่องจากวิธีนี้ได้เสนอความได้เปรียบให้กับนักลงทุนในหลายด้าน 


    ด้วยวิธีนี้ นักลงทุนสามารถเทรดอย่างง่าย เทรดเดอร์สามารถทำกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคา Silver โดยไม่ต้องทำการซื้อขาย Silver จริง ไม่ต้องเป็นเจ้าของของ Silver ที่จะเทรด แต่เป็นเพียงส่งคำสั่งซื้อขายทันที นอกจากนี้แล้ว ในด้านเงินุทน นักลงทุนสามารถเทรดด้วยเงินทุนน้อยและสามารถขยายขอบเขตในการทำกำไรได้ เครื่องมือ CFD เสนอความได้เปรียบในด้านอัตราทด (Leverage) ให้กับเทรดเดอร์ เช่น หากซื้อขาย Silver ที่ราคา $30 USD อัตราทดคือ 1:10,  Leverage ยิ่งสูง เงินทุนเริ่มต้นจะยิ่งน้อย เช่น หาก Leverage คือ 1:50 คุณเพียงฝากมาร์จิ้น $20 USD (1, 000/50) ไว้ก็สามารถเปิดคำสั่งที่มีมูลค่า $1, 000 USD ได้แล้ว เทรด Silver ด้วย CFD ยังมีความเปรียบเทียบที่เทรดได้สองทาง ทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลงจึงจะเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้เมื่อเที่ยบกับวิธีการเทรดอื่นๆ ที่มีวิธีการทำกำไรในขาขึ้นอย่างเดียว


    อย่างไรก็ตาม การเทรดโลหะเงิน (Silver) ด้วย CFD ก็ยังมีข้อเสียด้วย เพราะอัตราทด (Leverage) เป็นดาบคมสองด้าน หากนักลงทุนคาดผิดทางทำให้ขาดทุน อัตราทดก็จะขยายการสูญเสียได้ด้วย


    เพื่อความมั่นใจคุณสามารถศึกษาวิธีการลงทุนไปกับหัวข้อนี้ได้กับตัวอย่างการเทรด Silver ด้วยผู้ให้บริการ CFD คุณภาพอย่าง Mitrade


    1 เปิดบัญชีการซื้อขาย 

    เริ่มด้วยขั้นตอนที่ง่ายที่สุดกับการลงทะเบียนสมัครสมาชิก โดยการเปิดบัญชีใช้เวลาไม่กี่นาที แต่คุณไม่จำเป็นต้องฝากเงินเข้าไปแต่อย่างใดเมื่อคุณยังไม่พร้อมที่จะลงทุน สำหรับนักลงทุนมือใหม่สามารถเปิดบัญชีทดลองที่มีเงินเสมือน $50,000 USD อยู่ในบัญชีพร้อมที่จะทำการฝึกฝนทักษะการเทรดได้


    2 ฝากเงินเข้าบัญชี 

    หลังคุณพร้อมที่จะลงมือเทรดจริงแล้ว คุณสามารถฝากเงินเข้าบัญชีผ่านช่องทางหลากหลายกับ Mitrade รวมถึงคิวอาร์โค้ดไทย ธนาคารไทยออนไลน์ด้วย เงินฝากขั้นต่ำแค่ $50 USD (ประมาณ 1500 บาท)


    3สร้างประสบการลงทุนสุดพิเศษ 

    สร้างโอกาสจากการลงทุน เพื่อความมั่งคั่งตามแผนการลงทุนของท่านด้วยการซื้อขายโลหะเงิน พร้อมเครื่องมือต่างๆ ของ Mitrade ที่จะสร้างความแม่นยำท่ามกลางความผันผวนของตลาดได้อีกด้วย เช่น กราฟราคาแบบเรียลไทม์ ปฏิทินทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์การเทรด ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมเป็นต้น


    4 สร้างคำสั่งซื้อขาย 

    เริ่มต้นคำสั่งซื้อ “Silver” จากการกรอกจำนวนยูนิตของโลหะเงินที่ต้องการซื้อ โดยอาจเลือกจุดเข้าซื้อจากราคาโลหะเงินในปัจจุบันก็ได้ ซึ่งนักลงทุนหลายๆ คนอาจไม่สามารถใช้เวลาทั้งวันไปกับการติดตามผลได้ ก็สามารถหันมาใช้เครื่องมือการลงทุนของ Mitrade ในการติดตามผล ทำกำไร หรือตัดขาดทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้คุณสามารถกำหนดจุดทำกำไร (Take Profit) หรือ ตัดขาดทุน (Stop Loss) ได้พร้อมๆ กันในขั้นตอนนี้อีกด้วย


    สร้างคำสั่งซื้อขาย


    5 ปิดคำสั่งซื้อขายและรับรู้กำไร/ขาดทุน 

    เมื่อคุณออกคำสั่งซื้อไปแล้ว ช่วงเวลาต่อไปก็สำคัญไม่แพ้กับขั้นตอนข้างต้น นั่นก็คือการติดตามผลราคาของโลหะเงินว่าตอนนี้สร้างกำไรให้ท่านแล้วหรือยังคงติดลบอยู่ เมื่อราคาไปถึงที่คาดการณ์ไว้ก็ปิดคำสั่งซื้อขายและรับรู้กำไร/ขาดทุนได้


    ปิดคำสั่งซื้อขายและรับรู้กำไร/ขาดทุน


    ด้วย 5 ขั้นตอนการเทรดง่ายๆ แบบนี้ คุณก็สามารถเข้าสู่โลกการลงทุนในโลหะเงินและคว้าโอกาสการทำกำไรได้แล้ว!


    เปิดบัญชีเทรดกับ Mitrade เดี๋ยวนี้ รับโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ 👇️👇️👇️


    แจกโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์!!

    ✔️ เทรดด้วยอัตราทดสูงถึง 1:200

    ✔️ ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ

    ✔️ เงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์


    illustration

    5 เคล็ดลับการซื้อขายโลหะเงินฉบับเซียนลงทุน

    จะลงทุนทั้งที มีกลยุทธ์ดีๆ มีชัยไปกว่าครึ่ง โดยเฉพาะถ้าลงทุนท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนอย่างนี้ เสริมเทคนิคดีๆ อาจสร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำได้ ซึ่งกลยุทธ์ที่จะมาแชร์ให้คุณได้ทราบในวันนี้ รวบรวมมาจากผู้เล่นจริงที่แบ่งบันเทคนิคดีๆ เพื่อให้คุณเลือกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้


    1. ใช้แนวโน้ม (Trend) ให้เกิดประโยชน์

    คุณสามารถศึกษาแนวโน้มของ Silver เพื่อตัดสินใจในการลงทุนได้ เนื่องจากแนวโน้มที่มาจากกราฟจะสะท้อนให้เห็นการขึ้นลงของราคาตลาด ดังนั้นถ้าคุณเข้าใจ Silver trend คุณจะใช้ประโยชน์จะในการตัดสินอย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น เครื่องมือ Moving averages ที่บอกราคาย้อนหลังตามระยะเวลา สะท้อนถึงแนวโน้มราคาว่าจะอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง


    2. ลงทุนแบบระยะสั้นหรือระยะยาว

    กลยุทธ์นี้สร้างมาจากพฤติหรรมการเทรดของนักลงทุนที่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ทิศทางที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าคุณชอบที่จะเกร็งกำไรระยะสั้น เล่นในช่วงที่ราคามีการขยับตัวช่วงกว้างๆ การลงทุนระยะสั้นถือเป็นทางเลือกที่ไม่แย่เลยทีเดียว แต่สำหรับการลงทุนระยะยาวจะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของนักลงทุนที่มองแนวโน้มแบบภาพกว้าง กินกำไรระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องใช้เวลาในระยะยาวกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามประสงค์เช่นกัน


    3. สร้างจุดทำกำไรแล้ว สร้างจุดตัดขาดทุนด้วย

    นับเป็นวิธีง่ายๆ ที่เทรดเดอร์หลายท่านไม่ใส่ใจที่จะทำ เพราะคิดว่ามีเวลามากพอที่จะสังเกตการณ์การเคลื่อนไหวได้ตลอดเวลา แต่การวางแผนรับมือกับความเสี่ยงถือเป็นเรื่องจำเป็น โบรกเกอร์ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จัดสรรเครื่องมือการสร้างจุด stop loss และ take profit ไว้ให้อย่างครบครัน เพื่อให้คุณได้ชินกับการประกันความเสี่ยงอันเป็นคุณสมบัติของเทรดเดอร์มืออาชีพ


    4. บริหารความเสี่ยงด้วยแผนทางการเงิน

    ปัจจัยทางการเงินเป็นสิ่งที่ท่านไม่ควรมองข้ามทั้งในผู้ลงทุนที่มีสภาพคล่องสูงก็ตาม เพราะการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะกับเรื่อง “เงิน” กลับกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่เซียนลงทุนทั้งหลายปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามีอิทธิพลต่อการสร้างกำไรเป็นอย่างมาก ถ้าเงินทุนมากและบริการจัดการอย่างเหมาะสมมีหรือที่ท่านจะไม่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนในสภาพเงือนไขที่คงที่ แต่หากไร้ซึ่งการจัดการด้านเงินทุน ความเสี่ยงที่พอร์ตจะถูกดิสรัปมีโอกาสเกิดขึ้นสูงมากโดยไม่เลือกว่าคุณจะมีเงินทุนมากหรือน้อยอย่างไร


    5. อ่านบทวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจ

    โลหะเงินถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทหนึ่ง ดังนั้นการศึกษาข่าวสารหรือข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรมจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ดีต่อลงทุนในจังหวะที่เหมาะสมและในราคาที่คุ้มค่า ยิ่งในยุคสมัยนี้ที่ผู้เชี่ยวชาญได้ออกบทวิเคราะห์ให้คุณได้อ่านแบบฟรีๆ ทั้งราคาทองคำหรือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีผลต่อราคาโลหะเงิน ที่สำคัญบางบทวิเคราะห์ยังสะท้อนถึงแง่มุมของดีมานโลหะเงินในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งคุณสามารถนำมาตีความเพื่อพยากรณ์ทิศทางราคาของโลหะเงินในอนาคตได้อีกด้วย

    สรุป

    ด้วยเส้นทางการลงทุนที่ถูกเสริมเติมแต่งให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ก็เป็นผลพวงมาจากความต้องการของผู้ลงทุนในตลาดที่ต่างมองหาโอกาสการทำกำไรที่เป็นมากกว่า passive income อย่างการซื้อขายโลหะเงิน ทรัพยากรทางธรรมชาติที่ประชากรโลกตระหนักและรู้ซึ้งในคุณค่าเป็นอย่างดี การลงทุนก็เช่นกัน ที่บางครั้งเราไม่ได้เล็งเห็นเพียงเฉพาะราคามูลค่าที่สูงขึ้น แต่ความสมเหตุสมผลในคุณค่าก็ถูกยกมาพิจารณาในตลาดปัจจุบันนี้ด้วย ดังนั้นความสามารถในการยอมรับความท้าทายในตลาดการลงทุน ก็ถือเป็นความตระหนักที่นักลงทุนทุกท่านต่างต้องปรับตัวและคุ้นชิ้นในวิถีชีวิตใหม่นี้อย่างเท่าทัน


    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    notDataไม่พบข้อมูล
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์