• ข่าวสาร
    ทั้งหมด
    Forex
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    คริปโต
    การวิเคราะห์ทางเทคนิค
    สุขภาพทางเศรษฐกิจ
    ชาติ
  • การวิเคราะห์
    ทั้งหมด
  • ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
    ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
  • บล็อก
    ทั้งหมด
    หุ้น
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    Forex
    สกุลเงินดิจิตอล
    การศึกษา
  • การศึกษา
    คอร์สการลงทุน
  • เกี่ยวกับเรา
    ทีมผู้เชี่ยวชาญ
    นโยบายกองบรรณาธิการ

    บทความยอดนิยม

    บทวิเคราะห์ยอดนิยม

    noData

    บทความยอดนิยมในบล็อก

    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    honor1
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    honor2
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    CFD คืออะไรและทำงานอย่างไร?

    4 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 20 ก.ค. 2566 12:21 น.

    หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์เช่น forex หุ้น ดัชนี ทองคำหรือบิทคอยน์ แต่คุณมีเงินไม่มากแต่ก็มีความคาดหวังว่าจะเก็งกำไรในระยะสั้น การลงทุนด้วยเครื่องมือ CFD อาจจะเป็นคำตอบสำหรับการลงทุนของคุณ


    ว่าแต่ CFD คืออะไร, CFD ทำงานอย่างไร CFD, จะช่วยให้คุณลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยอย่างไร, ข้อดีและความเสี่ยงในการเทรด CFD คืออะไร เรามาหาคำตอบกันครับ

    CFD คืออะไร

    CFD (Contract for Difference) หรือแปลเป็นไทยว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง เป็นตราสารอนุพันธ์รูปแบบหนึ่งที่ทำให้เทรดเดอร์สามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาเปิดและราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิงโดยไม่ต้องทำการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงนั้นจริง แต่เป็นสัญญาที่ทำการซื้อขายได้ทันทีเพียงส่งคำสั่งซื้อขาย และเสนอความได้เปรียบด้านอัตราทด (เลเวอเรจ) ทำให้เทรดเดอร์สามารถวางเงินเพียงจำนวนหนึ่งแต่ก็ยังจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการซื้อขายสินค้านั้นจริงด้วยเงินเต็มจำนวน


    △ ตัวอย่างเช่น

    คุณคาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น ด้วยการใช้เลเวอเรจ 1:100 คุณเปิดคำสั่งซื้อทองคำที่มีมูลค่า $1,000 ดอลลาร์(ประมาณ 31, 200 บาท) ด้วยการฝากมาร์จิ้น $10 ดอลลาร์(ประมาณ 312 บาท) 


    หากราคาเพิ่มสูงขึ้นไปถึง $1,100 ดอลลาร์ คุณปิดคำสั่งซื้อทันทีและรับรู้กำไร $100 ดอลลาร์[ประมาณ 3,120 บาท(ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)] ได้เลย 


    หมายถึงคุณทำกำไร $100 ดอลลาร์ด้วยต้นทุน $10 ดอลลาร์เอง คิดผลตอบแทนเป็น 1000% และคุณยังไม่ต้องยุ่งยากกับการซื้อทองที่ร้านมาเก็บไว้แล้วเอาไปขายกลับที่ร้านด้วย

    ต้นทุนในการเทรด CFD

    ต้นทุนในการเทรด CFD รวมไปถึงสเปรด (Spread) ค่าคอมมิชชั่นและค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน 


    1. สเปรด (Spread) - ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย มีหน่วยเป็น pip


    ☆ ตัวอย่าง 

    หากคุณเปิดคำสั่งซื้อ EURUSD โดยราคาซื้อ(ask) = 1.1236 และราคาขาย(bid) = 1.1235 สเปรดจะเท่ากับ 1.1236 – 1.1235 = 1 pip


    สเปรดเป็นต้นทุนสำคัญของการเทรด CFD ยิ่งสเปรดน้อยเท่าไหร่ คุณจะมีโอกาสทำกำไรมากขึ้น จากตัวอย่างข้างต้น หากคุณปิดสถานะของ EURUSD ที่ 1.1240 กำไรของคุณจะอยู่ที่ 1.1240 – (1.1236 + 0.0001) = 3 pip


    · 1.1240 คือราคาที่คุณปิดคำสั่งซื้อ

    · 1.1236 คือราคาที่คุณเปิดคำสั่งซื้อ

    · 0.0001 เท่ากับ 1 pip


    2. ค่าคอมมิชชั่น คุณจะจ่ายเงินตามจำนวนที่กำหนดโดยโบรกเกอร์ต่อปริมาณการเทรดต่อครั้ง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละโบรกเกอร์ มีโบรกเกอร์บางรายจะไม่เก็บค่าคอมมิชชั่น


    3. ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน - หากคุณเปิดคำสั่งซื้อขายข้ามคืน(เลยเวลา 4 โมงเย็นตามเวลาไทย) คุณอาจจะถูกเรียกเก็บค่าสวอปจากโบรกเกอร์เพื่อรักษาคำสั่งซื้อขายดังกล่าว

    CFD ทำงานอย่างไร

    สถานะซื้อ (Long Position) และ สถานะซื้อขาย (Short Position)


    ในการเทรด CFD คุณต้องทำการคาดการณ์ว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะขึ้นหรือลง ซึ่งส่วนต่างของราคาเปิดและราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิงจะเป็นตัวกำหนดว่า คุณจะได้กำไรหรือขาดทุน


    ■  เปิดสถานะตามความคาดการณ์ของคุณ


    •   หากคุณคิดว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงมีแนวโน้มขาขึ้น คุณก็ทำการเปิดสถานะซื้อ(Long Position)


    •   หากคุณคิดว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงมีแนวโน้มดิ่งลง คุณก็ทำการเปิดสถานะขาย(Short Position)


    ■  คุณสามารถทำกำไรจากการเทรด CFD หาก


    •  สำหรับสถานะซื้อ (Long) และราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเป็นขาขึ้นและไปถึงราคาที่คุณพอใจ คุณปิดสถานะแล้วจะได้กำไร เช่น คุณเปิดสถานะซื้อที่ $15 USD และปิดที่ 17 USD กำไรจะเป็น $17 - $15 = 2 USD*


    •  สำหรับสถานะขาย (Short) และราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเป็นขาลงและไปถึงราคาที่คุณพอใจ คุณปิดสถานะแล้วจะได้กำไร เช่น คุณเปิดสถานะขายที่ 15 USD และปิดที่ 13 USD กำไรของคุณจะเท่ากับ $15 - $13 = 2 USD*


    ■  คุณจะขาดทุนจากการเทรด CFD หาก


    •   สำหรับสถานะซื้อ (Long) แต่ราคาของสินทรัพย์เป็นขาลง คุณก็จะขาดทุน เช่น คุณเปิดสถานะซื้อที่ $15 USD และปิดสถานะที่ $13 USD คุณจะขาดทุนเป็น $13 -$15 = - 2 USD*


    •   สำหรับสถานะขาย (Short) แต่ราคาของสินทรัพย์เป็นขาขึ้น คุณก็จะขาดทุน เช่น คุณเปิดสถานะขายที่ $15 USD และปิดที่ $17 USD คุณจะขาดทุนเป็น $15 - $17 = - 2 USD*


    *ไม่รวมต้นทุนการเทรดและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ


    ตอนนี้คุณคงพอเริ่มเห็นภาพคร่าว ๆ ของ CFD แล้ว แต่คุณยังคงสงสัยว่า CFD จะช่วยให้คุณลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยอย่างไร?


    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ผมขอแนะนำศัพท์สำคัญอีกสองคำที่จะช่วยตอบคำถามของคุณคือ เลเวอเรจ (Leverage) และ มาร์จิ้น (Margin)


    leverage in Forex.jpg


    เลเวอเรจและมาร์จิ้น


    เลเวอเรจ คือความสามารถในการเทรดปริมาณมากโดยไม่ใช้เงินตัวเอง เลเวอเรจมีเช่น 1:10, 1:50, 1:100, 1:200 เลเวอเรจยิ่งสูง เงินทุนที่คุณต้องการใช้ในการเทรดยิ่งน้อย


    มาร์จิ้นคือหลักประกันที่คุณวางไว้กับโบรกเกอร์ในการเปิดสถานะซื้อขายแต่ละครั้ง


    ☆ ตัวอย่างเช่น 

    หากคุณเปิดสถานะซื้อคู่สกุลเงิน 1 ล็อตมาตรฐานโดยไม่มีเลเวอเรจ คุณจะต้องใช้เงิน $100,000 ดอลลาร์ แต่


        ในกรณีที่มีเลเวอเรจ 1:100 มาร์จิ้น 1% คุณจะต้องมีเงินในบัญชีเพียง $1,000 ดอลลาร์ก็สามารถเปิดสถานะได้แล้ว 


        ในกรณีที่มีเลเวอเรจ 1:200 มาร์จิ้น 0.5% มาร์จิ้นจะลดลงเป็น $500 ดอลลาร์เท่านั้น


    ด้วย CFD เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ ทำให้คุณสามารถทำการเทรดปริมาณมากด้วยเงินเพียงเล็กน้อย ซึ่งช่วยขยายขอบเขตในการทำกำไรได้(หากคุณคาดการณ์ถูกต้อง) หรือขอบเขตขาดทุน(หากคุณคาดการณ์ไม่ถูกต้อง) อย่างรวดเร็ว


    ตอนนี้คุณคงพอเริ่มเข้าใจแล้วว่า CFD ทำงานอย่างไร เรามาดูที่หัวข้อถัดไปกันครับ

    ความได้เปรียบของการเทรด CFD

    • การเทรดมีเลเวอเรจและมาร์จิ้น

      เทรดเดอร์ไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนในการเทรด CFD ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์โดยตรง


    • ทำการเทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

      คุณสามารถทำการเทรดได้ไม่ว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะขึ้นหรือลงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์โดยตรง เช่น การลงทุนในหุ้นที่ตลากหลักทรัพย์ฯ ที่คุณสามารถทำกำไรจากขาขึ้นเพียงอย่างเดียว


    • ขนาดสัญญายืดหยุ่น

      ด้วยการเทรด CFD มีหลายขนาดสัญญา ทำให้เทรดเดอร์มีความยืดหยุ่นในการเทรด โดยเทรดเดอร์สามารถทำการเทรดด้วยสัญญาขนาดเล็กเช่น 0.5 ล็อต, 0.1 ล็อต หรือ 0.01 ล็อต ขนาดสัญญาขั้นต่ำจะตามสินทรัพย์ที่ซื้อขายและแต่ละโบรกเกอร์


    • เวลาซื้อขายยืดหยุ่น

      ตลาดการเงิน CFD เปิดทำการเทรด 24 ชั่วโมง 7 วันทำการ เทรดหลังเลิกงานหรือระหว่างการเดินทางได้สบายเลย


    • ไม่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์

      หากทำการซื้อขายหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนต้องเสียค่าอากรแสตมป์ด้วย แต่การเทรดหุ้น CFD ไม่มีค่าส่วนี้


    • สามารถเข้าถึงตลาดการเงินได้หลายหมื่นแห่ง

      ตราสารอนุพันธ์ CFD สามารถเทรดได้ทั้งหุ้น ดัชนี forex ทองคำ สกุลเงินดิจิตอล ฯลฯ และทำการเทรดทั้งหมดนี้บนแพลตฟอร์มการเทรดอันเดียวได้ โดยไม่ต้องสลับใช้โบรกเกอร์หุ้น โบรกเกอร์ forex หรือโบรกเกอร์ futures 


    • ป้องกันความเสี่ยง

      เทรดเดอร์จำนวนมากยังใช้ CFD ในการป้องกันความเสี่ยงของสถานะอื่นที่เปิดอยู่ หากคุณคิดว่าสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนของคุณอาจมีมูลค่าลดลงคุณสามารถ เปิดคำสั่งขาย CFD เพื่อชดเชยส่วนหนึ่งของการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้


    • ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณได้ถือหุ้น Facebook มูลค่า 1,000 ดอลล่าร์ในพอร์ต หากคุณเปิดคำสั่งขายหุ้น Facebook CFD มูลค่า 1,000 ดอลล่าร์ แม้ว่าราคาหุ้น Facebook ในตลาดอ้างอิงจะลดลง กำไรจากการเทรด CFD สามารถชดเชยการสูญเสียของพอร์ตหุ้นได้


    • ระบบถอนเงิน T+0 

      ตราสาร CFD ส่วนใหญ่สามารถเปิดและปิดสถานะหลายครั้งภายในวันเดียวโดยไม่มีข้อจำกัด หมายถึงแม้ว่าคุณเพิ่งได้เปิดสถานะ 5 นาทีก่อนก็ตาม คุณก็ยังสามารถปิดสถานะที่เปิดไว้ได้ทันที ดังนั้น การเทรด CFD จะเอื้อต่อการซื้อขายระยะสั้นมากกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบการลงทุนอื่นที่มีระบบถอนเงิน T+1 

    ความเสี่ยงในการเทรด CFD

    ทุกรูปแบบการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง การลงทุนใน CFD ประกอบด้วยความเสี่ยงต่อไปนี้


    • การใช้เลเวอเรจ

    หนึ่งในข้อผิดพลาดสำคัญของเทรดเดอร์คือ ใช้เลเวอเรจสูงเกินไป เช่น 1:1,000 หรือ 1:2,000 หรือถึงแม้คุณจะใช้เลเวอเรจไม่สูงมากเช่น 1:25 แต่คุณทำการเปิดคำสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้เวลาที่ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับที่คุณคาดการณ์ คุณจะขาดทุนอย่างหนักและรวดเร็วจนอาจถึงขั้นล้างพอร์ต ดังนั้น นักลงทุนควรใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยง เช่นเครืองมือ stop loss / trailing stop


    • อาจจะเจอโบรกเกอร์ที่หลอกลวงได้

    โบรกเกอร์ CFD มีมากมาย นักลงทุนอาจจะเจอโบรกเกอร์ที่หลอกลวงก็ได้ ดังนั้น นักลงทุนควรหาโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือเพื่อปกป้องเงินทุนของตน หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการเลือกโบรกเกอร์ก็คือ เลือกโบรกเกอร์ที่ได้กำกับดูแลจากหน่วยงานกำกับดูแล เช่น CIMA, ASIC, FCA, NFA เป็นต้น

    สรุป

    ด้วยการแนะนำ CFD คืออะไร, การทำงานของ CFD, ข้อดีและความเสี่ยงในการเทรด CFD ที่กล่าวไปด้านบน เราสามารถสรุปได้ว่า CFD เหมาะกับสำหรับผู้ที่มีความคาดหวังว่าจะเก็งกำในระยะสั้นด้วยเงินทุนไม่มากนักและรับความเสี่ยงที่สูงได้


    เทรด CFD กับโบรกเกอร์ชั้นนำของโลก - Mitrade 『  ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ 『 ฝึกเทรดด้วยเงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์ 『 โบนัสสำหรับลูค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ 』👇️👇️👇️👇️👇️👇️

    • บวก/ลบ สูงสุด
    • ฟอเร็กซ์
    • สินค้าโภคภัณฑ์
    • ดัชนี
    • หุ้น
    • ชื่อ
    • ซื้อ
    • ขาย
    • เปลี่ยนแปลง

      *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


      การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

      บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
      บทความที่เกี่ยวข้อง
      notDataไม่พบข้อมูล
      ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
      ราคาเสนอแบบเรียลไทม์