QT(Quantitiative Tightening) คืออะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

QT(Quantitiative Tightening) คือมาตรการทางการเงินที่เป็นจุดสิ้นสุดของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ QE(Quaintitative Easing) แต่มักไม่เป็นที่กล่าวถึงมากเท่าทั้ง ๆ ที่ QT ก็เป็นมาตรการที่ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนได้มากมายไม่แพ้กัน นักลงทุนมักทราบดีว่าเมื่อธนาคารกลางประกาศทำ QE นั่นหมายถึงปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินปรับตัวสูงขึ้น แล้วการทำ QT จะส่งผลในทางตรงกันข้ามด้วยหรือไม่ คราวนี้เราจะไปทำความรู้จักกับมาตรการนี้ให้มากกว่าที่เคยกันว่า QT คืออะไร และ ผลกระทบของการทำ QT ต่อโลกการเงิน

QT(Quantitiative Tightening) คืออะไร

มาตรการ Quantitative Tightening (QT) คือ ด้านกลับของ Quantitative Easing (QE) ในเวลาที่เกิดวิกฤตทำให้สภาพคล่องหดตัว ธนาคารกลางอาจเข้าใช้มาตรการ QE เพื่อให้สภาพคล่องในระบบเพียงพอที่จะดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปได้ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรและหุ้นกู้อื่น ๆ เพื่อให้ธนาคารและสถาบันที่ถือสินทรัพย์นี้อยู่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายในต้นทุนต่ำแล้วนำเงินสดนี้ไปใช้เพื่อพยุงกิจการหรือไปใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งมักจะตามมาด้วยภาวะสภาพคล่องในระบบสูงจนผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้น สกุลเงินดิจิทัล อสังหาริมทรัพย์ ปรับตัวสูงขึ้น


ในทางกลับกันเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ธนาคารกลางไม่สามารถดำเนินมาตรการ QE ต่อเนื่องไปตลอดเนื่องจากเป็นภาระต่องบดุลของธนาคารกลางให้ขยายตัวไปเรื่อย ๆ อีกด้านหนึ่งการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นเวลานานยังส่งผลให้เกิดภาวะสินทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นจนนำไปสู่เงินเฟ้อที่อาจควบคุมได้ยาก การสิ้นสุดมาตรการ QE จึงต้องตามมาด้วย QT ที่เป็นการดึงสภาพคล่องออกจากระบบ


ขณะที่การทำ QE คือการขยายขนาดงบดุล การดำเนินมาตรการ QT ก็คือการปรับลดงบดุลของธนาคารกลาง ซึ่งทำได้ในสองทาง คือ 


  • Passive Tightening เป็นการปล่อยให้สินทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้หมดอายุลงไปเฉย ๆ เช่น การปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาล หรือ ตราสารหนี้ที่ถือไว้หมดอายุลง โดยไม่ต่ออายุ (Roll over) ซึ่งมาตรการนี้จะเป็นการดึงเงินออกจากระบบโดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้มากนัก


  • Active Tightening คือการขายสินทรัพย์ที่ธนาคารกลางถือไว้ออกไปและเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดที่เป็นการดึงออกจากระบบ ซึ่งมาตรการนี้จะกระทบต่อตลาดเนื่องจากธนาคารกลางเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้เองด้วย


เนื่องจากการทำ QT แบบ Active Tightening มีผลกระทบต่อตลาดเงินโดยเฉพาะตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีขนาดกว่า $46 ล้านล้าน การทำ QT แต่ละครั้งธนาคารกลางจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ประวัติการทำ QT ที่ผ่านมา

QT คืออะไร


มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing – QE) เป็นมาตรการใหม่ที่เพิ่งถูกนำมาใช้เมื่อไม่นานมานี้ และได้ถูกนำมาใช้จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างในครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินครั้งใหญ่จากภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2008 (Great Recession) และถูกนำมาใช้อีกครั้งเมื่อระบบเศรษฐกิจถูกช็อกการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ดังนั้นประวัติการทำ Quantitative Tightening หรือ QT จึงสามารถย้อนกลับไปได้ในเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น


การทำ QT จากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 2009 – 2014

การทำ QE ครั้งแรกของสหรัฐนำมาใช้โดยเบน เบอร์นันเก-ประธานธนาคารกลางสหรัฐในสมัยนั้น ซึ่งมาตรการในครั้งนี้ถูกนำออกมาใช้เป็น 3 รอบระหว่างปี 2009 – 2014 ด้วยวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดมากกว่า $4 ล้านล้าน

 

การทำ QT เพื่อจบ QE รอบนี้เกิดขึ้นในปี 2013 เมื่อธนาคารกลางสหรัฐเริ่มเสนอว่าจะลดวงเงินในการเข้าทำ QE (ลดวงเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาล) ทำให้นักลงทุนตกใจเร่งขายพันธบัตรรัฐบาลจนราคาพันธบัตรร่วงลงอย่างรวดเร็วและผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดเงินที่รู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อ “Taper Tantrum” ซึ่งแม้จะยังไม่มีการลดวงเงินทำ QE จริง ๆ แต่ผลกระทบจากการคาดการณ์ก็เกิดขึ้นแล้ว การทำ QT จริง ๆ ตามมาเมื่อปี 2015 ในสมัยที่เจเน็ต เยลเลน เป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐ


การเกิด Taper Tantrum ไม่เพียงเกิดความผันผวนขึ้นในตลาดพันธบัตรสหรัฐเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงตลาดหุ้นอื่น ๆ ที่เคยปรับตัวขึ้นมาก่อนหน้าจากมาตรการ QE ก็เริ่มปรับตัวลดลง ในปี 2013 ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงจากจุดสูงสุด 22.29% ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับตัวลดลง 21.2% ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลดลง 18.18% 


การทำ QT จากวิกฤตโควิด19  2020 – 2021

การทำ QE กลับมาอีกครั้งเมื่อเกิดช็อกต่อระบบเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ธนาคารกลางสหรัฐประกาศเข้าทำ QE ด้วยวงเงินกว่า $7 แสนล้านในเดือนแรกและยังสนับสนุนต่อมาว่าจะทำ QE ต่อเท่าที่ตลาดจำเป็นต้องใช้ การทำ QE รอบนี้กินระยะเวลาระหว่างปี 2020 – 2021 ซึ่งสินทรัพย์ที่ปรับตัวตามมาจากการประกาศมาตรการ QE ก็คือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและสกุลเงินดิจิทัล 


การทำ QT ของรอบนี้เกิดขึ้นปลายปี 2021 เมื่อเริ่มเกิดสัญญาณของเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในสหรัฐ ธนาคารกลางสหรัฐจึงประกาศลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรจากเดือนละ $80 พันล้าน เหลือ $70 พันล้าน และลดการเข้าซื้อ MBS จากเดือนละ $40 พันล้าน เหลือ $35 พันล้าน (รวมเหลือ $105 พันล้านต่อเดือน) และการประชุมในรอบถัดมาในเดือนธันวาคม 2021 ธนาคารกลางสหรัฐก็ได้เร่งอัตราการทำ QT ขึ้นอีกด้วยการลดการเข้าซื้อพันธบัตรเหลือเดือนละ $50 พันล้าน และลดวงเงินเข้าซื้อ MBS เหลือเดือนละ $25 พันล้าน (รวมเหลือ $75 พันล้านต่อเดือน) 


ผลของการทำ QT รอบนี้ทำให้เกิด Inverted Yeild Curve ขึ้นในตลาดพันธบัตรสหรัฐ และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นทันที พร้อม ๆ กับที่ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและสกุลเงินดิจิทัลที่เคยปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนหน้าก็ได้ปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยในปี 2022 ตลาดหุ้น NASDAQ ปรับตัวลงจากจุดสูงสุด 34.08% บิทคอยน์ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดของปี 65.94% 


อย่างไรก็ดี ผลของมาตรการ QE และ QT ต่อตลาดเงินตลาดทุนยังนับว่าเป็นเพียงแค่ความผันผวนและผลขาดทุนของผู้เล่นในตลาด ผลข้างเคียงที่ควรระมัดระวังและมองเห็นได้ยากของมาตรการทั้งสองนี้จริง ๆ แล้วมาในรูปเงินเฟ้อที่กระทบต่อผู้ถือและเกี่ยวข้องกับเงินทุกคน ซึ่งประเมินและรับมือได้ยากกว่า การนำ QE และ QT มาใช้ในแต่ละครั้งจึงมีราคาที่ต้องจ่ายเช่นกัน

ทั้ง QE และ QT คือมาตรการทางการเงินที่มีผลต่อระบบการเงินในวงกว้างไม่ว่าจะเป็นผลต่อตลาดพันธบัตร ผลต่อตลาดปริวรรตเงินตรา ผลต่อตลาดหุ้น รวมถึงผลต่อเงินเฟ้อ การนำ QE และ QT มาใช้กับระบบเศรษฐกิจจริงยังเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้จึงยังจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบของมาตรการเหล่านี้อีกมาก แต่แน่นอนว่าสำหรับนักลงทุนแล้วการทำความเข้าใจมาตรการทางการเงินของธนาคารกลางที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและการเงินเช่นนี้จะช่วยนำมาซึ่งโอกาสในการลงทุน รวมถึงการปกป้องพอร์ตการลงทุนในเวลาที่โอกาสไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนด้วยเช่นกัน



*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์