CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    วิเคราะห์หุ้น Microsoft(MSFT) และราคาที่ควรเป็นในปี 2023

    8 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 24 ส.ค. 2566 09:52 น.

    ทำความรู้จัก Microsoft (MSFT)

    Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีประวัติยาวนาน ย้อนไปตั้งแต่ปี 1975 โดยการร่วมมือและก่อตั้งของสองเพื่อนสนิทอย่างบิล เกตส์ (Bill Gates) วัย 19 ปี และ พอล อัลเลน (Paul Allen) วัย 22 ปี ที่ในวันนั้นมีความฝันที่จะทำให้ทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน นับจากนั้น Microsoft ก็ได้เริ่มก่อร่างขึ้นเป็นลำดับ


    ช่วงที่ 1: 1975–1985 จุดเริ่มต้นของ Microsoft

    จุดเริ่มต้นของ Microsoft ย้อนไปตั้งแต่ปี 1975 ที่บิล เกตส์ และ พอล อัลเลน พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับรุ่น Altair BASIC ให้กับบริษัท MITS จากนั้นในปี 1980 ก็คิดค้นระบบปฏิบัติการ MS-DOS ที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของ IBM และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม นับเป็นจุดเริ่มต้นของ Microsoft ในวงการเทคอย่างเต็มตัว


    ช่วงที่ 2: 1985–1995 Windows ยุคแรกและการเปิดตัว Microsoft Office

    เป็นช่วงเริ่มแรกของการนำระบบปฏิบัติการ Windows ออกมาใช้ด้วย Windows 1.0 ที่มีการออกแบบ GUI (Graphic User Interface) แบบใหม่ให้สะดวกต่อผู้ใช้มากขึ้น ถือเป็นการพลิกโฉมวงการคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการไปอีกขั้น และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนใน Nasdaq ปี 1986 จากนั้นก็ปล่อย Windows 2.0 ในปีถัดมา และสองปีถัดจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จักกันดีอย่าง Microsoft Office ก็ถูกนำออกสู่ตลาด ซึ่งในช่วงเวลานี้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง Apple ก็ได้เริ่มพัฒนา Lisa ระบบปฏิบัติการเริ่มแรกที่ใช้กับเครื่องแม็ค ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Mac OS ออกมาเช่นกัน


    ช่วงที่ 3: 1995–2005 จุดเริ่มต้นของการผสานกับอินเทอร์เน็ต เปิดตัว IE และ MSN

    ปี 1995 Microsoft ส่งระบบปฏิบัติการ Windows 95 ที่มาพร้อมกับ Internet Explorer และ MSN ออกมาจนได้รับการตอบรับอย่างดี ถัดมาด้วยวการเปิดตัว Windows 98 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่มี Quick Launch Bar ให้ใช้พร้อมกับฟีเจอร์อ่านแผ่น DVD และ เชื่อมต่อ USB ได้ ถัดมาด้วย Windows 2000, Windows ME และ Window XP ในปี 2001 ที่สามารถเปลี่ยนแบคกราวด์ในเดสก์ท็อปให้มีสีสันได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของกราฟฟิกสุดอลังการของวินโดวส์


    ช่วงที่ 4: 2005–2015 ซับไพร์มและการก้าวสู่ยุคสมาร์ทโฟน

    Microsoft ก้าวสู่อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนด้วยการมาของ iPhone ในปี 2007 และเป็นปีที่ Windows Vista ถูกส่งออกมาให้ได้ใช้กัน ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องใช้เวลากว่า 4 ปีหลังจากการเปิดตัว iphone ในการบุกตลาดสมาร์ทโฟน และเข้าเทคบริษัท Nokia ในปี 2013 ด้วยราคา $7.17 พันล้าน และส่ง Windows Phone ออกจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก จึงต้องพับโครงการนี้ไปในกลางปี 2016


    วิเคราะห์หุ้น Microsoft(MSFT)


    ช่วงที่ 5: 2015-2019 ก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล

    ปี 2015 Microsoft ได้กลับมาวางจำหน่าย Windows 10 โดยนำ Microsoft Azure ที่เป็นกลไกเสมือน (Virtual Machine) มาแก้ไขปัญหา CPU ของ Intel จากนั้นในปี 2018 บริษัทก็เปลี่ยนการจัดเก็บรายได้ของ Microsoft 365 มาเป็นการจ่ายค่าสมาชิกเป็นงวด ๆ ไป


    ไม่เพียงเท่านั้น ในปีเดียวกัน Microsoft ได้ส่งโปรเจกต์ Azure Government ที่ใช้สำหรับการตรวจตราเฝ้าระวัง จากนั้นก็เข้าซื้อ GitHub ด้วยมูลค่า $7.5 พันล้าน เริ่มเปิดตัว Surface Go, Microsoft Team และเข้าเป็นพันธมิตรกับ Toyota Tsusho ร่วมกันพัฒนาฟาร์มเลี้ยงปลาด้วยระบบ IoT (Internet of Things) โดยการนำ Microsoft Azure มาใช้ รวมถึงเริ่มมีการพัฒนาโปรเจกต์/open source ต่าง ๆ จนได้ Micorsoft Edge โปรแกรมเบราเซอร์มาใช้ทดแทน IE ที่เริ่มสูญเสียตลาดให้กับ Google และ Firefox ไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา


    ช่วงที่ 6: 2020 – ปัจจุบัน การรุกสู่ตลาดคลาวด์ ข้อมูล (Data) และ AI

    ปี 2020 Microsoft เปลี่ยนโฉมหน้าผลิตภัณฑ์ Microsoft Office เป็นแผน Subsription เป็นการเปลี่ยนรูปแบบกระแสรายได้ของบริษัทให้มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ในช่วงเดียวกันนี้ Microsoft ได้เริ่มหันมาเน้นการพัฒนา Cloud Computing และ Data Center จนเปิดตัว Azure Space ในปี 2020 นั้นเอง 


    นอกจากนี้ในปีเดียวกันบริษัทยังได้เข้าควบรวมกิจการกับบริษัทเกม ZeniMax Media และกลายมาเป็น Microsoft's Xbox Game Studios ในปี 2021 ด้วยเงินลงทุน $8.1 พันล้านเหรียญ และควบรวมกับ Activision Blizzard ค่ายเกมที่มีมูลค่าใหญ่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วยเงินลงทุนกว่า $68 พันล้าน และในปีเดียวกันนี้เองที่มูลค่าตามราคาตลาดของ Microsoft ได้ทะยานสู่ $2 ล้านล้านเหรีญเป็นบริษัทที่สองรองจาก AAPL


    ปี 2022 Microsoft ประกาศปิดฉาก Internet Explorer ที่ใช้มานานกว่า 27 ปี


    ก้าวย่างที่น่าตื่นเต้นของ Microsoft เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2023 ที่บริษัทได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ OpenAI ผู้สร้างโปรเจกต์ ChatGPT อันเป็นโปรเจกต์ปัญญาประดิษฐ์ตัวแรก ๆ ที่เปิดให้มีผู้ใช้งานเป็นการทั่วไปอย่างแพร่หลายและสร้างความตื่นเต้นให้กับคนทั่วโลก จากนั้นในเดือนกุมภา Microsoft ได้นำ ChatGPT เข้ามาเป็นตัวช่วยสำหรับ Bing ที่เป็นเสิร์ชเอนจิ้นของบริษัท และ Edge ที่เป็นเว็บเบราเซอร์ ในเดือนถัดมาบริษัทก็ได้เปิดตัว Microsoft 365 รุ่นทดลองที่นำ AI เข้ามามีส่วนในการทำงาน ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการนำ AI เข้ามาใช้ แซงหน้าคู่แข่งอย่าง Google และ Amazon ไปโดยปริยาย 


    นับตั้งแต่ปี 2018 หุ้น Microsoft ได้ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 280% เฉพาะในปี 2023 อย่างเดียวราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 36.78% พร้อมกับที่บริษัทรายงานผลประกอบการปี 2022 (สิ้นสุดเดือนมิถุนา 2023) ไว้ที่ $198,270 ล้าน ด้วยผลกำไร $83,383 ล้าน เติบโตขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 


    ปัจจุบัน Microsoft มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ $2.4 ล้านล้าน นับเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตามราคาตลาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในตลาดหุ้นแนสแดก เป็นรองเพียงแค่ AAPL ที่ปัจจุบันมีมูลค่าตามราคาตลาดที่ $2.83 ล้าน


    มูลค่าตามราคาตลาดของบริษท Tech ในตลาดหุ้นแนสแดก


    โครงสร้างธุรกิจและแนวโน้มผลประกอบการของบริษัท Microsoft

    ปัจจุบัน Microsoft แบ่งส่วนธุรกิจและรายงานผลประกอบการออกเป็น 3 ส่วนดังนี้


    1. ความสามารถในการผลิตและกระบวนการทางธุรกิจ 

    ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิต สร้างปฏิสัมพันธ์และให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ได้แก่


    • โปรแกรม Office สำหรับธุรกิจ: เป็นบริการของ Office365, Microsoft Team, SharePoint, บริการความปลอดภัยและการตรวจสอบสำหรับธุรกิจ


    • โปรแกรม Office สำหรับผู้บริโภค: ให้บริการไลเซนส์ Office365 สำหรับผู้บริโภคทั่วไป


    • LinkedIn: รวมทั้งบริการค้นหาผู้มีความสามารถ, การตลาด, และการให้บริการแบบพรีเมี่ยม


    • การหาทางออกให้กับธุรกิจแบบครบวงจร: รวมบริการ Dynamic365 ที่รวมบริการอัจฉริยะบนแอปพลิเคชั่นที่เชื่อมต่อผ่านระบบคลาวด์, Power Apps, Power Automate ฯลฯ



    ล่าสุด Microsoft เริ่มปรับธุรกิจให้เชื่อมต่อกับการประมวลผลข้อมูลเพิ่มขึ้น มีการเปิดให้ Excel นำ Python มาใช้งาน ซึ่งต้องประมวลผลผ่านคลาวด์ที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจของบริษัทต่อไป ในปี 2022 Microsoft รายงานรายได้ในส่วนนี้ที่ $63,364 ล้านคิดเป็นสัดส่วน 32% ของรายได้รวมทั้งบริษัท เติบโตขึ้น 18% จากปีก่อนหน้า


    2. คลาวด์อัจฉริยะ

    ให้บริการผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์แบบไฮบริดทั้งสำหรับการใช้งานสาธารณะและส่วนบุคคล รวมถึงให้บริการคลาวด์ที่เข้าไปช่วยเพิ่มศักยภาพของหน่วยธุรกิจ ประกอบด้วย


    บริการคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์: รวมถึง Azure และบริการอื่น ๆ บนคลาวด์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ SQL, เซิร์ฟเวอร์ Window, CALs, Nuance และ GitHub


    การให้บริการกับกิจการต่าง ๆ: เป็นส่วนของการให้บริการ ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับบริการของ Microsoft ในส่วนของคลาวด์อัจฉริยะที่นำไปใช้กับหน่วยธุรกิจอย่างเหมาะสม


    ปี 2022 Microsoft รายงานรายได้ในส่วนนี้ที่ $ 75,251 ล้านคิดเป็นสัดส่วน 38% ของรายได้รวมทั้งบริษัท เติบโตขึ้น 25% จากปีก่อนหน้า


    3. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

    เป็นส่วนที่รวมเอาผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับการให้ประสบการณ์ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Microsoft เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เกม รวมทั้ง Windows


    • Windows: ไลเซนส์ให้บริการระบบปฏิบัตการณ์และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    • อุปกรณ์: รวมทั้ง Surface และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

    • เกม: Xbox, ข้อมูลและบริการเกี่ยวกับ Xbox, เกม และ Subscription

    • บริการค้นหาและโฆษณา: ได้แก่ Edge และ Bing


    ปี 2022 Microsoft รายงานรายได้ในส่วนนี้ที่ $ 59,655ล้านคิดเป็นสัดส่วน 30% ของรายได้รวมทั้งบริษัท เติบโตขึ้น 10% จากปีก่อนหน้า


    โครงสร้างธุรกิจของบริษัท Microsoft


    ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา Microsoft เติบโตจากการให้บริการระบบปฏิบัติการณ์เป็นหลัก แต่ในยุคที่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปโดยต้องการบริการที่หลากหลายขึ้น ตอบโจทย์การใช้ข้อมูลมากขึ้น ปัจจุบันรายได้จากระบบปฏิบัติการณ์สร้างกำไรให้กับ Microsoft ราว $2.3 พันล้านต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2% ของกำไรบริษัททั้งหมดเท่านั้น แต่ธุรกิจที่กำลังเติบโตและกลายเป็นจุดเน้นของบริษัทในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาเป็น Data Center และ ธุรกิจคลาวด์ ซึ่งเป็นตัวสนับสนุนงานด้านข้อมูล (Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาธุรกิจในส่วนนี้มีการเติบโตของผลกำไรเกิน 20% ต่อปีทั้งสิ้น จนถึงปัจจุบันธุรกิจคลาวด์อัจฉริจะก็กินสัดส่วนรายได้กว่า 38% และกลายเป็นส่วนที่สร้างรายได้มากที่สุดให้กับบริษัทไปเป็นที่เรียบร้อย


    อย่างไรก็ดีธุรกิจเทคโนโลยียังมีคู่แข่งที่มีศักยภาพที่พร้อมเข้ามาชิงส่วนแบ่งอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งคนสำคัญอย่าง Apple Google Meta และ Amazon


    สิ้นปี 2022 Microsoft รายงานตัวเลขรายได้ทั้งปีที่ $ 198,270 ล้าน เพิ่มขึ้น 18% YoY และรายงานผลกำไรที่ $ 83,383 ล้าน เติบโตขึ้น 19% YoY ผลักดันโดยการเติบโตของธุรกิจคลาวด์อัจฉริยะที่สร้างกำไรให้บริษัทในปี 2022 เพิ่มขึ้น $15.2 พันล้าน หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 25% 

    การวิเคราะห์หุ้น Microsoft ปี 2023 - 2025 - 2030

    ◆ การวิเคราะห์หุ้น Microsoft ทางปัจจัยพื้นฐาน

    Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงและเป็นที่จับตามองของนักลงทุน แต่ประเด็นสำคัญสำหรับการเข้าลงทุนจริง ๆ ก็คือคำถามที่ว่าบริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งหรือไม่ ความสามารถในการเติบโตเป็นอย่างไร และจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งประเด็นเหล่านี้เราคงต้องมาดูที่ตัวเลขทางการเงินของบริษัทปี 2022 ที่เพิ่งรายงานเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาและแสดงให้เห็นประเด็นทางปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจดังนี้


    Microsoft มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ด้วยการสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง และรายงานกระแสเงินสดจากการดำเนินกิจการในปี 2022 ไว้ที่ $89 พันล้าน เติบโตขึ้น 16% จากปีก่อนหน้า นับเป็นบริษัทที่มีกระแสเงินสดในงบการเงินสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของแนสแดก 


    มีความสามารถในการทำกำไรสูง ด้วย Gross Margin สูงถึง 42% เพิ่มขึ้นมาเป็น $10.4 พันล้าน เติบโต 8% จากปีก่อนหน้า ผลักดันด้วยธุรกิจคลาวด์ แสดงให้เห็นความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่ยังเติบโตได้ดี


    มีการเติบโตของผลกำไรที่สม่ำเสมอ ในปี 2022 บริษัทรายงานกำไร $83,383 เติบโตขึ้น $13.6 พันล้าน คิดเป็น 7% YoY และนับเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปี 2020 และ 2019 ที่รายงานกำไรทั้งปีไว้ที่ $44.28 พันล้าน และ $39.24 พันล้านตามลำดับ


    มีผลตอบแทนต่อหุ้น (EPS) เติบโตในระดับสูง ตั้งแต่ปี 2021 บริษัทรายงาน EPS ที่ $8.05 ต่อหุ้น เติบโตขึ้น 39.76% จากปีก่อนหน้า และในปี 2022 บริษัทรายงาน EPS ที่ $9.65 ต่อหุ้น เติบโตขึ้น 19.88% จากปีก่อนหน้า


    เทรดอยู่บน PE ที่สมเหตุสมผล ปัจจุบัน Microsoft เทรดอยู่บน PE 33.78 เท่า เทียบกับ PE ของแนสแดกที่แกว่งตัวอยู่ระหว่าง 20 – 30 เท่า ราคาหุ้น Microsoft จึงอยู่ในจุดที่สมเหตุสมผลและน่าสนใจ


    ล่าสุด Benzinga ได้รวบรวมความเห็นจากนักวิเคราะห์ 35 คน พบว่า 26 คนให้คำแนะนำ “ซื้อ” ขณะที่อีก 7 คนแนะนำให้เพิ่มน้ำหนัก และมีคำแนะนำให้ถือและขายอีกอย่างละ 1 คน พร้อมให้ราคาเป้าหมาย 12 เดือนข้างหน้าที่ $364.05 โดยมีช่วงสูงสุดและต่ำสุดของการคาดการณ์กรอบราคาเป้าหมายที่ $440.00 - $232.00 ตามลำดับ


    ◆ การวิเคราะห์หุ้น Microsoft ทางเทคนิค

    การเคลื่อนไหวของหุ้น Microsoft ตลอด 5 ปีที่ผ่านมามีการปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 280% เทียบกับคู่แข่งอย่าง META และ AAPL ที่เติบโต 65% และ 367% ตามลำดับ ขณะที่ Nasdaq100 ที่โตได้ 104% และ S&P500 ที่โตได้ 65%

      

    หลังการเติบโตของรายได้ที่ติดลบลงไปในปี 2016 รายได้ของ Microsoft เริ่มกลับมาเติบโตในระดับ 2 หลักได้ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งเป็นปีที่ราคาหุ้น Microsoft เดินหน้าทำจุดสูงสุดใหม่จากจุดสูงสุดเดิมที่ทำไว้ในปี 1999 ที่ $59.97 และขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ไว้ที่ $349.67 ในปี 2021 ก่อนปรับฐานในปี 2022 จากความผันผวนของตลาดเงินอันเนื่องมาจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งที่ $366.78 ในปี 2023 


    นับถึงปัจจุบัน Microsoft ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 36.78% นับตั้งแต่ต้นปี และมีแรงขายกดดันบริเวณจุดสูงสุดเดิมที่ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ซึ่งหากราคายังไม่ปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 สัปดาห์ยังมองว่าไม่เสียภาพของการเป็นแนวโน้มขาขึ้นในระยะยาว และสามารถปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้


    อย่างไรก็ดี ณ บริเวณจุดสูงสุดเดิมที่ $354 ยังคงมองว่าเป็นแนวต้าน ซึ่งหากไม่สามารถผ่านไปได้จะทำให้รูปแบบราคามีลักษณะเป็น Double Tops ซึ่งสนับสนุนด้วยการเกิด RSI Bearish Divergence ในระดับสัปดาห์ ทำให้การซื้อขายควรเป็นไปอย่างระมัดระวังและติดตามการเคลื่อนไหวของราคาอย่างใกล้ชิด


    การวิเคราะห์หุ้น Microsoft ทางเทคนิค


    mitrade


    เทรดหุ้น MSFT และหุ้นที่ยอดนิยม 350+ ตัวอย่างง่ายดาย!!


    dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่
    dago เปิดบัญชีเร็วสุดภายใน 3 นาที
    dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
    dago เงินเสมือนจริงฟรี $50, 000 ดอลลาร์
    ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
    ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

    ความเสี่ยงด้านลบต่อราคาหุ้น Microsoft

    Microsoft เป็นหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีที่มีขนาดใหญ่และดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วพร้อมกับการแข่งขันสูง ทำให้การดำเนินธุรกิจและราคาหุ้น Microsoft มีความเสี่ยงด้านลบจากปัจจัยหลากหลาย เช่น


    1. การแข่งขันที่สูงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี 

    เนื่องจากสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และมีการแข่งขันในแต่ละส่วนสูง เช่นเดียวกับ Microsoft ที่มีคู่แข่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น Apple ที่เป็นคู่แข่งด้านระบบปฏิบัติการณ์และอุปกรณ์, Google ที่เป็นคู่แข่งคนสำคัญต่อผลิตภัณฑ์สนับสนุนผลิตภาพอย่าง Google vs. Office และเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Google vs. Bing โดยเฉพาะ Amazon ผู้ให้บริการคลาวด์ AWS ที่เป็นคู่แข่งคนสำคัญต่อรายได้หลักของ Microsoft อย่าง Azure ทั้งหมดนี้เป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพที่พร้อมดึงส่วนแบ่งการตลาดไปจาก Microsoft ได้


    2. การเติบโตของรายได้ที่อาจไม่เป็นไปตามคาด 

    Microsoft ได้รับการคาดการณ์การเติบโตของ Margin ในระดับ 40% ขึ้นไปนับตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งในช่วงปลายปี 2022 ที่บริษัทรายงานตัวเลขไม่เป็นไปตามคาดกดดันให้ราคาหุ้นปรับลงกว่า 20% 


    3. ความเสี่ยงในตลาดเงินตลาดทุนที่เพิ่มสูงขึ้น 

    ความเสี่ยงในตลาดที่เป็นความเสียงโดยรวม เช่น สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตหรือสงครามเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อหุ้น Microsoft ซึ่งแน่นอนว่าปัจจัยนี้ส่งผลต่อตลาดโดยรวมด้วยเช่นกัน

    ส่งท้าย

    ทั้งหมดนี้ก็คือการอัปเดตภาพรวมของหุ้น Microsoft รวมถึงแนวโน้มและโอกาสในการลงทุนหุ้น Microsoft ในปี 2023 นี้ ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการเริ่มลงทุนในหุ้น Microsoft ได้แบบไม่ยาก โดยเฉพาะการวิเคราะห์หุ้น Microsoft ทั้งทางพื้นฐานและทางเทคนิคที่เรารวบรวมมาฝากกัน ซึ่งน่าจะพอทำให้เห็นภาพการลงทุนในหุ้น Microsoft ในปี 2023 ได้ดียิ่งขึ้น


    บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> 

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    placeholder
    เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    placeholder
    8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    placeholder
    DCA คือ อะไร? เปิดบัญชีออมหุ้น DCA ที่ไหนดี 2024สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก