การลงทุนในธุรกิจ คือการดำเนินกลยุทธทางธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไรที่งดงามที่สุด หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ การได้ผลตอบแทนที่มากที่สุดด้วยการลงทุนที่เท่าเทียนกัน เช่นเดียวกัน การลงทุนหุ้น แม้ว่าเงินทุนหลักของเราคือการจ่ายค่าซื้อหุ้นเข้ามาเก็บไว้ในพอร์ต แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรายจ่ายแอบแฝงที่ถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้น นั่นคือ ค่าธรรมเนียมการเทรดหุ้น แต่โบรกเกอร์แต่ละแห่ง มีรูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2566 เพื่อช่วยสำหรับในการที่จะทำให้รายได้เราเพิ่มพูนขึ้น เรามาเลือกไปพร้อมๆ กันครับ
แล้วเจ้าค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นนั้นมาจากไหน และเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อใดก็ตามที่คุณตัดสินใจกระโดดเข้าสู่โลกการลงทุนหุ้นแล้ว คุณไม่สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ใช่ว่าคุณมีเงินแล้วเดินเข้าห้องลงทุนหุ้น ชี้นิ้วบอกว่าจะซื้อหุ้นตัวนี้แล้วก็จบ เหตุเพราะเงินหมุนเวียนในตลาดหุ้นมีมูลค่ามหาศาลมาก การที่นักลงทุนรายย่อยจะเข้ามาซื้อหุ้นด้วยเงินของตัวเองโดยตรง ทำให้การควบคุมเงินทุนหมุนเวียนในระบบลำบาก ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงต้องหาตัวกลางในการรวบรวมคำสั่งซื้อขายให้ และแน่นอนครับ รวมไปถึงเงินทุนต่าง ๆ ที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นด้วย ไม่งั้นคงสืบหาที่มาที่ไปของเงินนั้น ๆ ได้ยากแน่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวกลางในการออกคำสั่งซื้อขายหุ้นระหว่าง เจ้าของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กับ ผู้ซื้อที่ต้องการลงทุนในหุ้นตัวนั้น ๆ ซึ่งคนกลางที่ว่า ในภาษาชาวหุ้นเราเรียกเขาว่า โบรกเกอร์ นั่นเอง
ในฐานะตัวกลาง ช่วยประสานงาน โบรกเกอร์ก็ต้องมีรายได้ใช่ไหมครับ ซึ่งรายได้ของโบรกเกอร์ก็มาจากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการซื้อขายหุ้นนั่นเอง ซึ่งแต่ละเจ้าก็มีการงัดกลยุทธ กลเม็ดต่าง ๆ เพื่อเรียกนักลงทุนให้ไปใช้บริการ โบรเกอร์ หรือ บริษัทตัวกลางด้านการซื้อขายหุ้นนั้น ๆ ซึ่งเป็นที่มาของโปรโมชั่นดี ๆ เกี่ยวกับค่าธรรมเนี่ยมในการซื้อขายหุ้นนั่นเอง เพื่อให้การทำกำไรของเราเพิ่มขึ้น เราลงมาดูซิครับว่า แต่ละเจ้า เขาคิดคำนวนค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นอย่างไร และ เรามาลอง เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ กันดูว่า เจ้าไหนกันหนอ คือสุดยอดยอดสุดของโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2566 กันครับ
ในปัจจุบัน เมื่อกฎระเบียบด้านการเทรดหุ้นทลายลง จากอดีต การที่คุณจะเปิดพอร์ตหุ้นได้ต้องมีทุนจดทะเบียนถึง 100,000 บาท แต่ตอนนี้ ขอเพียงคุณมีสมุดบัญชี และเงินธนาคารซัก 1,000 คุณก็สามารถซื้อหุ้นดี ๆ มาไว้ในพอร์ตการลงทุนของคุณได้แล้ว แต่ว่า เจ้าค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นนี่ซิครับ คือตัวการสำคัญที่ทำให้ผลกำไรลดลง เคยรู้ไหมครับว่า ถ้าซื้อหน่วยลงทุนหุ้นน้อย คุณต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูง เอ้า แล้วถ้ารู้อย่างนี้แล้ว เราจะเลือกปรับขนาดการลงทุนของเราไหมครับ มาดูกันว่า โบรกเกอร์แต่ะละเจ้าเขาคิดคำนวณค่าธรรมเนียมกันอย่างไร เราจะได้วางแผนถูกว่า ถ้าจะซื้อหุ้นน้อย ๆ เมื่อ เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ ควรพึ่งโบรกเกอร์เจ้าไหน ซื้อขายหุ้นปริมาณมาก โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2566 สำหรับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่นำเสนอในตอนนี้จะเป็นการคิดค่าธรรมเนียมจากการเปิดบัญชีแบบ CASH BALANCE เป็นหลักนะครับ และค่าธรรมเนียมเหล่านี้ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
#1. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น บัวหลวง(BLS)
เจ้าแรกเจ้าดังที่อยากแนะนำ คือ บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง (BLS) ครับ ถ้าจะเอาแบบง่าย ๆ ให้ทุกคนเข้าใจก็ต้องเรียกว่า ธนาคารกรุงเทพนั่นเอง เราสามารถทำการเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหุ้นได้กับทางธนาคารกรุงเทพ ชนิดที่ว่า ชั่วกระพริบตา ขอเพียงคุณมีบัญชีของทางธนาคารกรุงเทพ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถเริ่มต้นเทรดหุ้นได้เลย และค่าธรรมเนียมของธนาคารกรุงเทพ ที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของนักลงทุนทุนน้อยแต่ใจใหญ่ นั่นคือ ไม่มีค่าธรรมเนียมขึ้นต่ำ ซื้อเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น ไม่เหมือนบางเจ้าที่ซื้อหุ้นสิบตัว แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม พอ ๆ กับซื้อหุ้นร้อยตัว ค่าธรรมเนียมปกติของทาง บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง (BLS) อยู่ที่ อัตราค่าธรรมเนียม 0.15% (ไม่รวม VAT) และไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำโดยมีเงื่อนไขที่ต้องออกคำสั่งซื้อขายผ่านทางระบบออนไลน์เอง
#2. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น ไทยพาณิชย์ (SCBS)
ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นอีกหนึ่งโบรกเกอร์ที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมขั้นต่ำครับ สำหรับอัตราการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของทาง บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) ถ้าเราออกคำสั่งซื้อเองผ่านทางระบบออนไลน์ ค่าธรรมเนียม จะอยู่ที่ 0.157% ส่วนถ้าต้องการให้โบรกเกอร์ คนกลางช่วยออกคำสั่งซื้อให้ ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 0.257% ของมูลค่าซื้อขายครับ
#3. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ (SBITO)
บริษัทหลักทรัพย์เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ (SBITO) โบรกเกอร์ข้ามชาติจากแดนปลาดิบ ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในสามโบรกเกอร์หลักที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการออกคำสั่งซื้อขายหุ้นนะครับ เรียกได้ว่า จะซื้อเท่าไหร่ ก็ตามแต่สะดวกเลยจ้า ค่าธรรมเนียมก็แสนถูก ยิ่งซื้อหุ้นมาก ค่าธรรมเนียมยิ่งลดลง อัตราการจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นแบบขั้นบันได คือ ทุน ต่ำกว่า ห้าล้านบาท ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 0.075% ของมูลค่าหุ้น ผ่านเจ้าหน้าที่ 0.25% ค่าธรรมเนียม ห้าล้าน – สิบล้านบาท อยู่ที่ 0.065% ผ่านเจ้าหน้าที่ 0.22% และ มากว่าสิบล้านบ้าน-ยี่สิบล้านขึ้นไปอยู่ที่ 0.055% ผ่านเจ้าหน้าที่ ผ่านเจ้าหน้าที่ 0.18% และยี่สิบล้านขึ้นไปอยู่ที่ 0.020% ถ้าผ่านเจ้าหน้าที่ 0.15% และแต่ถ้าดำเนินการผ่านเจ้าหน้าที่จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 50 บาทครับ
#4. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ผู้นำด้านการทำธุรกรรมผ่านโลกออนไลน์ บริษัท หลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการซื้อขายหุ้นให้กับนักลงทุนทั่วไป โดยมีอัตราการจ่ายค่าธรรมเนียมที่ 0.207% สำหรับคำสั่งซื้อผ่านระบบอนไลน์ด้วยตัวเอง และ 0.257% ในการออกคำสังซื้อผ่านผู้จัดการกองทุน ซึ่งรูปแบบการออกคำสั่งซื้อขายหุ้นทั้งสองรายการยังมีอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำอีก 50 บาทต่อรายการด้วย
#5. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นของ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) จะเป็นรูปแบบขั้นบันไดเช่นเดียวกับ บริษัทหลักทรัพย์เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ (SBITO) โดยมีอัตราค่าธรรมเนียม ไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่ 0.15% 5-10 ล้านบาท อยู่ที่ 0.13 % 10-20 ล้านบาท อยู่ที่ 0.11% และมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไปอยู่ที่ 0.11% โดยจะมีค่าธรรมเนียมการดำเนินการครั้งละ 50 บาทอีกด้วย
#6. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น ทิสโก้ จำกัด
เป็นโบรกเกอร์หลักสำหรับการลงทุนหุ้นครับ อาจยุ่งยากนิดที่ต้องเอาบัญชีธนาคารไปผูก แต่ไม่มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายจากธนาคารเพิ่มเติม คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นแบบขั้นบันไดเช่นกันด้วยมีอัตราที่ ไม่เกิน 5 ล้านบาท อยู่ที่ 0.157% ต่อมูลค่าหุ้น 5 ล้านแต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท อยู่ที่ 0.137% 10 ล้าน แต่ไม่ถึง 20 ล้าน อยู่ที่ 0.117% และถ้ามียอดการซื้อขายเกินกว่า 20 ล้านบาท จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขพิเศษของทางบริษัทหลักทรัพย์ แต่มีมูลค่าไม่เกิน 1% อีกทั้งยังไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ จุดอ่อนสำคัญที่ไม่เหมาะกับนักลงทุนทั่วไปคือ ต้องมียอดเงินฝากขั้นต่ำ 10,000 บาทครับ
#7. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น ธนชาต จำกัด
โบรกเกอร์จากฝั่งธนาคารอีกเจ้าที่เปิดให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อขายหุ้น อัตราค่าธรรมเนียมเป็นแบบขั้นบันไดอยู่ที่ ยอดซื้อไม่เกิน 5 ล้าน ค่าธรรมเนียม 0.1570% ของมูลค่าหุ้น 5 ล้าน – 10 ล้าน ค่าธรรมเนียม 0.1370 % 10 ล้าน – 20ล้าน ค่าธรรมเนียม 0.1170 % และถ้ามากกว่า 20 ล้านขึ้นไป 0.1070 % โดยมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ 50 บาท ข้อดีอีกอย่างคือ ถ้าเปิดบัญชีเงินฝากและเทรดหุ้นแบบ CASH BALANCE กับ ธนชาต จะได้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษที่ 1% อีกด้วย
#8. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด โดยธนาคารกรุงไทย
โบรกเกอร์จากฝั่งธนาคาร คิดอัตราค่าธรรมเนียมแบบขั้นบันได ไม่เกิน 5 ล้านบาท อยู่ที 0.157% 5 ล้าน – 10 ล้านอยู่ที่ 0.137 % 10 ล้าน – 20 ล้าน อยู่ที่ 0.117% และมากกว่า 20 ล้านอยู่ที่ 0.107% และไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการซื้อขาย
#9. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น ยูโอบีเคย์เฮียน
มีอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ 50 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมหลักสำหรับการเทรดหุ้นเป็นแบบขั้นบันใด ไม่เกิน 5 ล้านบาทที่ 0.157% 5-10 ล้านบาทที่ 0.137% 10-20 ล้านบาท ที่ 0.117% ละมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไปที่ 0.107 %
#10. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น Phillip Capital
บริษัทโบรกเกอร์ที่น่าสนใจอีกเจ้า เปิดบัญชีได้เร็ว และมีระบบการวิเคราะห์ที่ดี มีอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 50 บาทและค่าธรรมเนียมการซื้อขายในอัตราเดียวที่ 0.20 % ของมูลค่าการซื้อขายหุ้น
ถือเป็นสิบโบรกเกอร์ที่มีธรรมเนียมการให้บริการด้านการซื้อขายหุ้นที่น่าสนใจโดยขอทำการสรปุออกมาเป็นตารางเพื่อให้ดูได้ง่ายดังนี้ครับ
บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียด |
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง