หากเป็นนักเทรดที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานจะทราบดีว่าช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นเปิดนั้นจะเป็นช่วงที่ราคาหุ้นผันผวนสูง เนื่องจากเป็นช่วงที่รับคำสั่งซื้อขายที่ค้างมาจากช่วงปิดตลาดและยังเป็นช่วงที่ราคาหุ้นตอบรับกับข่าวสารในตอนเช้าที่มากระทบปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเป็นรายตัวด้วย การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงจึงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร
สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
ตลาดหุ้นไทยจะแบ่งช่วงเวลาการซื้อขายหุ้นออกเป็น 2 ช่วง คือการซื้อขายภาคเช้า และการซื้อขายภาคบ่าย ซึ่งในแต่ละช่วงจะประกอบด้วย
- ช่วงก่อนเปิด/ปิดตลาด (pre-open/ pre-close) ช่วงเวลานี้ตลาดจะรวบรวมคำสั่งซื้อขายมาประมวลเป็นราคาเปิดให้นักเทรดได้เห็นแบบคร่าว ๆ โดยช่วงก่อนเปิดตลาด (pre-open) จะมีทั้งตลาดภาคเช้าและบ่ายกินเวลา 25 นาที แต่ช่วงก่อนปิดตลาด (pre-close) จะกินเวลาแค่ 5 นาทีและใช้เฉพาะกับช่วงปิดตลาดภาคบ่ายที่จะเป็นการปิดตลาดตอนสิ้นวัน
- ช่วงสุ่มเวลา จะใช้ช่วงเวลา 5 นาทีก่อนเปิดหรือปิดตลาด โดยระบบจะมีการสุ่มเลือกเวลาเปิด/ปิด เพื่อป้องกันการบิดเบือนราคาเปิด/ปิดที่จะมีผลในการแมทช์ออเดอร์ที่ค้างอยู่ และเช่นกันช่วงสุ่มเวลาเปิดตลาดจะใช้ทั้งกับการเปิดตลาดภาคเช้าและบ่าย แต่ช่วงสุ่มการสุ่มเวลาปิดตลาดจะใช้เฉพาะกับการปิดตลาดภาคบ่ายเท่านั้น
- ช่วงเปิดตลาด (open) เป็นช่วงที่เปิดให้มีการซื้อขาย ออเดอร์ที่ส่งเข้ามาในระบบในช่วงเวลานี้จะมีการแมทช์ออเดอร์แบบเรียลไทม์
ตลาดหุ้นไทยจะเปิดตั้งแต่
9.30 – 9.55 น. เป็นช่วงก่อนเปิดตลาดภาคเช้า (pre-open)
9.55 – 10.00 น. เป็นช่วงสุ่มเวลาเปิดตลาดภาคเช้า ดังนั้นเราจะพบว่าเวลาเปิดตลาดในแต่ละวันจะไม่เหมือนกัน ซึ่งช่วงเวลาเปิดตลาดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้คือ 9.55 น. และช้าที่สุดที่เป็นไปได้คือ 10.00 น. ไม่เกินไปจากนั้น
10.00 – 12.30 น. เป็นช่วงเวลาการซื้อขายหุ้นภาคเช้า
12.30 – 14.00 น. เป็นช่วงพักตลาด
14.00 – 14.25 น. เป็นช่วงก่อนเปิดตลาดภาคบ่าย (pre-open)
14.25 – 14.30 น. เป็นช่วงสุ่มเวลาเปิดตลาดภาคบ่าย
14.30 – 16.30 น. เป็นช่วงเวลาการซื้อขายหุ้นภาคบ่าย
16.30 – 16.35 น. เป็นช่วงก่อนปิดตลาด (pre-close)
16.35 – 16.40 น. เป็นช่วงสุ่มเวลาปิดตลาด
สำหรับผู้ที่สนใจซื้อขายหุ้นในไทยสามารถเปิดพอร์ตได้ที่บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งที่ขึ้นทะเบียนกับกลต. เช่น
★ บริษัทหลักทรัพย์กิมเอง (MBKET) กิมเอ็งเป็นโบรกเกอร์เก่าแก่ของไทยที่ปัจจุบันถือหุ้นใหญ่โดยธนาคารยักษ์ใหญ่จากมาเลเซีย กิมเอ็งมีจุดเด่นที่มีห้องค้า มีที่ปรึกษาการลงทุนที่มากประสบการณ์ มีเครื่องมือเช่นแอปพลิเคชั่นเทรด มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย รวมถึงมีบทวิเคราะห์ที่ครอบคลุมและเข้าถึงนักลงทุนรายย่อยได้ง่าย
★ บริษัทหลักทรัพย์กสิกร (KS) เป็นโบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้าจากธนาคารใหญ่ของประเทศไทยที่นอกเหนือจากการให้บริการซื้อขายหุ้นแล้วก็ยังสามารถอำนวยความสะดวกในแง่การเงินแบบครบวงจร หลักทรัพย์กสิกรมีจุดเด่นในแง่บทวิเคราะห์ที่อ้างอิงจากศูนย์วิจัยกสิกร ให้ภาพทั้งข้อมูลจุลภาคและมหภาค ทั้งยังมีเครื่องมือทางการเงินให้เลือกหลากหลาย และเช่นเดียวกับกิมเอ็ง กสิกรเองก็มีแอปพลิเคชั่นเทรดและให้บริการต่าง ๆ เป็นของตัวเองเช่นกัน
★ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (PST) เป็นบริษัทลูกของบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่จากสิงคโปร์ ให้บริการเป็นตัวกลางซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินมากมายรวมถึงการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยด้วย โบรกเกอร์ฟิลลิปมีจุดเด่นตรงที่เป็นโบรกเกอร์ไม่กี่แห่งในไทยที่ให้บริการซื้อขายหุ้นด้วย AI หรือ Autobot และเสนอแพลตฟอร์มการเทรดอย่าง MT4 ให้ลูกค้าสามารถใช้ในการเทรดหุ้นได้
การเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งมีเอกสารที่ต้องเตรียมไม่ต่างกันนั่นคือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาสมุดธนาคาร และเอกสารยืนยันสถานะทางการเงิน (หากมี) และใช้เวลาการเปิดบัญชีราว 3 – 5 วันทำการ
ถึงตอนนี้เพื่อน ๆ น่าจะได้รู้กันแล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมง และคงจะพอเห็นภาพการเทรดหุ้นตลาดหุ้นไทยไปบ้างแล้ว ซึ่งช่วงเวลาเปิดตลาดหุ้นนั้นค่อนข้างสำคัญกับนักเทรดที่เก็งกำไรบนราคาหุ้นในแบบที่แตกต่างออกไปจากการเทรดค่าเงิน เพราะเราไม่สามารถเทรดหุ้นตลอดเวลาได้ แต่จะเทรดได้แค่ในเวลาทำการเท่านั้น และการได้รู้เวลาเปิดตลาดที่แม่นยำก็จะทำให้เพื่อน ๆ ไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญในการเทรดของแต่ละวันได้อย่างแน่นอน
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง