โทเคน(Token) คืออะไร แตกต่างกับ Altcoin อย่างไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

โทเคน (Token) คืออะไร เชื่อว่านักลงทุนสาย Cryptocurrency คงได้ยินคำนี้อยู่บ่อยครั้งและคงเกิดความสับสนว่าระหว่าง “โทเคน” และ “Altcoin” มันคืออะไรและมันแตกต่างกันอย่างไร และ คำว่า”โทเคน” นั้นถูกใช้เรียกเฉพาะในวงการสกุลเงินดิจิทัลเพียงอย่างเดียวจริงหรือไม่ เนื้อหาในบทความนี้จะเป็นการขยายความทุกรายละเอียดเกี่ยวกับคำว่า “โทเคน คืออะไร”, มีความสำคัญอย่างไร, มีระบบการทำงานอย่างไรม สามารถทำอะไรได้บ้าง และอธิบายความแตกต่างระหว่างสกุลเงินดิจิทัลกับอัลท์คอยน์ 3 คำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ไขทุกข้อสงสัยจบครบในที่นี่ทีเดียว มาดูรายละเอียดไปพร้อมกันเลยค่ะ

โทเคน (Token) คืออะไร

โทเคน (Token) คือ เหรียญที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกำหนดสิทธิต่างๆ ให้กับผู้ถือครองเหรียญทุกคนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแบ่งรายได้ มอบสิทธิให้ผู้ถือครองเหรียญสามารถแสดงความคิดเห็นกำหนดนโยบายแผนพัฒนาองค์กรต่างๆ ตามที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้กับองค์กรที่เป็นผู้ออกโทเคน 


สำหรับ “โทเคน” จะเป็นเหรียญที่ไม่ได้มีการพัฒนามาจากเครือข่ายบล็อคเชนของตัวเองโดยตรง แต่ถูกพัฒนามาจากเครือข่ายบล็อคเชนของสกุลเงินดิจิทัลตัวอื่นแทน อย่างที่เราเห็นเหรียญคริปโตเคอเรนซี่บางเหรียญที่ลักษณะโปรโตคอลพัฒนาอยู่บนระบบเครือข่ายบล็อคเชน ERC-20 แบบที่เรามักจะเห็นอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น โทเคน DeFi ได้แก่ Chainlink และ Avae เป็นต้น


นอกจากนี้โทเคน ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติของการใช้งาน โดยมีรายละเอียดดังนี้


1. Utility Token (โทเคนเพื่อการใช้ประโยชน์) สำหรับโทเคนประเภทนี้จะให้สิทธิกับผู้ถือครองเหรียญนำมาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ภายใต้เงื่อนไขขององค์กรที่สร้างโทเคนขึ้นมา โดยจะมีการระบุขอบเขตสิ่งของหรือบริการที่สามารถแลกเปลี่ยนได้


2. Investment Token (โทเคนเพื่อการลงทุน) จะคุณลักษณะคล้ายกับการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องว่าโทเคนประเภทนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์หรือการปันผลของเจ้าของโทเคนโดยตรง โดยจะได้ผลตอบแทนมาในรูปแบบของส่วนแบ่งของกำไร ส่วนแบ่งของรายได้ ตลอดถึงจนถึงในเรื่องของเสนอความคิดเห็นด้วยหรือคัดค้านนโยบายขององค์กร เป็นต้น


โทเค็นสำคัญอย่างไร

Non-Fungible Token (NFT)


สำหรับ โทเคน ก็ถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบนิเวศขององค์กรนั้นๆ ที่ผลิตโทเคน ออกมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนให้องค์กรให้มีการเติบโต นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในเรื่องอื่นๆอีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 


  • โทเคน DeFi

ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนระบบฟังก์ชันตลาดเงินในรูปแบบเดิมมาอยู่ในวงการสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นในการฝากโทเคนเพื่อกินดอกเบี้ย การกู้ยืม การประกัน และการซื้อขาย ที่เคยได้เกิดเป็นกระแสฟีเวิร์ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าโทเคนประเภทนี้สามารถทำหน้าที่ได้หลากหลาย ทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อการหมุนเวียนของระบบนิเวศน์ขององค์กรผู้ออกโทเคนมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สามารถทำการซื้อขายและถือครองได้เช่นกันกับสกุลเงินดิจิทัลเหรียญอื่นๆอีกด้วย


  • Governance Token (โทเคนการควบคุม)

เรามักจะได้เคยได้เห็นผ่านตาอยู่บ่อยครั้งว่าบางโทเคนมีลักษณะการทำงานเป็น Governance Token โดยโทเคนดังกล่าวนี้ จะมีลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้งานมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น ร่วมโหวตนโยบายต่อการพัฒนาองค์กร โดยที่ไม่มีคณะกรรมการหรือหน่วยงานใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง (Decentralization) ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง


  • Non-Fungible Token (NFT)

โทเคนที่มีความเฉพาะตัว โทเคนประเภทนี้จะมีความสำคัญต่อการแสดงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์แบบดิจิทัลและในโลกเสมือนจริง ซึ่งการสร้างโทเคนประเภทนี้ขึ้นมาเพื่อต้องการแก้ปัญหาลิขสิทธิ์ทางด้านผลงาน นอกจากนี้ยังสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะสามารถขายสินทรัพย์ที่ตนสร้าง ไม่ว่าจะะเป็นตัวละครไอเท็มที่สำคัญภายในเกมได้อย่างเสรี


  • Security Token (โทเคนหลักทรัพย์)

โทเคนในรูปแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการหลักทรัพย์ในรูปแบบเดิม อย่างเช่น การซื้อขายหุ้นพันธบัตรที่จะต้องกำเนินการซื้อขายหลักทรัพยืผ่านคนกลาง แต่บทความสำคัญของโทเคนสามารถทำการซื้อขายพันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือนายหน้านั่นเอง


จะเห็นได้ว่าโทเคนมีความสำคัญต่อวงการสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอย่างมือ เปรียบเสมือนเครื่องจักรตัวสำคัญที่ขับเคลื่อนโลกให้มีความทันสมัย เข้าถึงง่าย มีประสิทธิให้การเข้าใช้งาน ตลอดจนถึงมีความปลอดภัยสูง

โทเคนทำงานอย่างไร

สำหรับหน้าที่การทำงานของโทเคนก็คือจะทำหน้าที่การทำงานแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรสร้างขึ้นมา เช่น การมอบสิทธิ์ให้ผู้ถือครองเหรียญสามารถเข้าถึงบริการ DeFi หรือ นำโทเคนไปผูกมูลค่ากับสินทรัพย์ประเภทอื่น เพื่อให้มีมูลค่าคงที่

 

หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับมระบบการทำงานของโทเคน ก็คือ จะทำงานอยู่บนเครือข่ายอื่นๆที่ไม่ใช่เครือข่ายตัวบล็อคเชนของตัวเอง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเครือข่ายบล็อคเชนส่วนมากจะทำอยู่ระบบโปรโตคอล Etheruem หรือระบบมาตรฐาน ERC-20 กล่าวคือ ส่วนมากนิยมทำงานอยู่บนเครือข่ายแบบ Smart Contract ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์แอปพลิเคชั่น สร้างแพลตฟอร์มได้อย่างเสรีและปลอดภัย


ลักษณะของโทเค็น

ลักษณะของโทเคน จะถูกแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานที่ผู้สร้างโทเคนได้กำหนดขึ้นมา โดยจะมีลักษณะเด่นๆดังต่อไปนี้


  • มาตราฐานเครือข่ายการทำงานของโปรโตคอล

เนื่องจากว่า “โทเคน” เป็นระบบโปรโตคอลที่ไม่ได้ทำงานอยู่บนเครือข่ายบล็อคเชนของตัวเอง ตัวอย่างของระบบโปรโตคอลของโทเคน ได้แก่ ERC-20 ที่ใช้ในแพลตฟอร์ม Ethereum หรือ BEP-20 ที่ใช้ในแพลตฟอร์ม Binance Smart Ghain ทำให้โทเคนเหล่านี้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน


  • ความสามารถในการทำงานของโทเคน

โทเคนมีความสามารถในเรื่องของการรับส่งและโทเคน สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้ 


  • จำนวนโทเคน

โทเคนส่วนมากจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยจำกัดและไม่สามรถสร้างเพิ่มได้


  • ความโปร่งใสและความปลอดภัย

โทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นมีความโปร่งใสสูงสามารถตรวจสอบได้ และมีความปลอดภัยสูงเช่นกัน ไม่เกิดการโจรกรรมทางออนไลน์อย่างแน่นอน เนื่องจากว่าโทเคนสร้างขึ้นบนสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) 


โทเค็นสามารถใช้มาทำอะไรได้บ้าง

โทเคน นอกจากจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตัวกลางในกลางแลกเปลี่ยนตามเงื่อนไขของ องค์กรที่สร้างโทเคนกำหนดขึ้นมา ยังสามารถนำไปใช้ทำอย่างอื่นได้เช่น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


  • Token สามารถนำไปใช้เพื่อการแลกสินค้าและบริการในระบบนิเวศน์ต่างๆ ในโลกดิจิทัล ทั้งนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อการโอนเงินระหว่างบุคคล


  • ผู้ถือ Token มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมโหวตนโยบายต่อการพัมนาแพลตฟอร์มได้อย่างเสรี


  • Token สามารถนำไปลงทุนหรือเก็งกำไรในระยะยาวได้ตามมูลค่าของตลาดในเวลานั้นๆ


  • Token สามารถนำไปใช้ลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มต่า่งๆที่ออกโทเคนมาเพื่อใช้การทางด้านนี้โดยตรง

ตัวอย่างโทเคนที่น่าสนใจ

ตัวอย่างโทเคนที่น่าสนใจ


ตัวอย่าง 3 โทเคนที่น่าสนใจและน่าลงทุนในปี 2023 และเป็นกลุ่มที่เคยได้รับความนิยมมากที่สุดในกระแสคริปโตเคอเรนซี่ที่มาแรงที่สุดในช่วงปี 2021 ได้แก่


1.Shiba Inu (SHIB)

คือ โทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่ภายใต้โครงการ “Shiba Inu” โดยมีการทำงานอยู่บนระบบเครือข่าย ERC20 ที่รันอยู่บนบล็อคเชน Ethereum ซึ่งเป็นการทำงานฉันทามติแบบ “Proof-of-Work” (POW) และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบฉันทามติแบบ “Proof-of-Stake” (POS) ตามาตรฐานเครือข่าย ETH2.0 


เนื่องจากว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทางแพลตฟอร์ม Shiba ได้มีการเปิดตัว Shiberse ซึ่งเป็นโลก metaverse สุดพิเศษ ที่ประกอบไปด้วยฟีเจอร์ที่น่าสนใจ เช่น เหรียญคริปโต เกม อสังหาริมทรัพย์เสมือนจริงซึ่งถือว่าเป็นโปรเจกต์ที่อาจจะทำให้ราคาเหรียญชิบะกลับมีราคาอยู่ประมาณ  0.000031 ในปีนี้


2. Chainlink (LINK)

เป็นโทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่บนเครือข่าย Ethereum มาตราฐาน ERC-677 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อถูกนำไปใช้ในการชำระค่าธรรมที่รันบน Node ในระบบ Smart Contract เนื่องจากว่า Chainlink นั้นเป้นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงระหว่าง API และ Smart Contract เข้าด้วยกันเพื่อที่จะทำการสื่อสารและรับของมูลจากนอกเครือข่ายนั่นเอง


เนื่องจากว่าโปรเจกต์ของ Chainlink ค่อนข้างที่จะมีจุดหลักสำคัญก็คือ เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงบล็อกเชนเข้าด้วยกันผ่านเครือข่าย Oracle ที่เชื่อมโยงข้อมูลภายนอกเข้ากับบล็อกเชน Chainlink ช่วยให้ข้อมูลจากโลกจริง มันเป็นโปรเจกต์ที่นักลงทุนเฝ้ามองมาหลายปี หากตลาดกระทิงกลับมาอีกครั้ง นักวิเคราะห์มองว่าราคา Chainlink สำหรับปี 2023 จะเป็นไปในทิศทางบวก ปัจจุบันราคาเหรียญอยู่ที่ $6.38 อาจจะดันราคาไปถึง $10 ภายในสิ้นปีนี้ก็เป็นได้ (อ้างอิงข้อมูลจาก สยามบล็อคเชน)


3. Uniswap (UNI)

คือ Governance Token หรือ เหรียญ Defi ตัวแรกที่เคยได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากว่าแพลตฟอร์มหลักของโทเคนนี้เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำการแลกเปลี่ยนดิจิทัลโดยไม่ต้องผ่านคนกลางมีค่าธรรมเนียมที่ถูก สำหรับโทเคนนี้ถูกสร้างขึ้นบนระบบเครือข่ายบล็อคเชน Ethereum ใช้ระบบโปรโตคอล ERC-20 การันตีเรื่องความปลอดภัยและความเสถียรภาพในการเข้าใช้งานได้เป็นอย่างดี


เว็บทางการเงินอย่าง edubourse.com ได้ทำการคาการ์ณราคาโทเคน UNI ไว้ว่ามีโอกาสเป็นแนวโน้มขาขึ้นในช่วงปี 2023 มีราคามูลค่าสูงสุดถึง $40 เนื่องว่าโทเคนตัวนี้ถือว่าเป็นโทเคนที่เป็นผู้นำใน DEX (Decentralize Exchange) อันดับหนึ่งของตลาดคริปโทเคอเรนซี่


ฝึกเทรดคริปโตที่ยอดนิยมด้วยเงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์แบบไม่มีความเสี่ยงใดๆ 👇️👇️👇️


mitrade     

dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ  
dago เปิดบัญชีภายใน 3 นาที        
dago  เงินทุนมีความปลอดภัยในระดับสูง             
dago  โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์             
dago  เงินเสมือนจริงฟรี $50, 000 ดอลลาร์             
             
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอโดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

สกุลเงินดิจิทัล vs. อัลท์คอยน์ vs.โทเคน

เชื่อว่าหลายคนก็คงเกิดความสับสนว่าระหว่าง 3 คำนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะมักจะได้ยินอยู่บ่อยครั้งอยู่ในวงการคริปโตเคอเรนซี่ นิยามของ 3 คำนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


1. สกุลเงินดิจิทัล (Digita Currency) 

สกุลเงินดิจิทัล (Digita Currency)  คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนาอยู่บนเทคโนโลยีบล็อคเชนที่มีระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างเสรีเพราะไม่มีคนกลางเข้าควบคุม เป็นสกุลเงินที่มีใช้งานบนโลกดิจิทัล ตัวอย่างของสกุลเงินดิจิทัล คือ Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลเหรียญแรกในวงการคริปโทเคอเรนซี่และเป็นเหรียญที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาด


ลักษณะพิเศษของสกุลเงินจิทัล คือ ปริมาณถูกสร้างขึ้นมาอย่างจำกัดอย่างชัดเจน ยิ่งเหรียญใกล้หมดเท่าไหร่ ความยากในการขุดเหรียญย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกันราคาของเหรียญมีมูลค่าสูงสุดและสามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคา


2. อัลท์คอยน์ (Altcoin) 

อัลท์คอยน์ (Altcoin) คือ นิยามของคำเรียกสกุลเงินดิจิทัลเหรียญอื่นๆที่ไม่ใช่บิทคอยน์ อาทิ Ethereum, Binance, Solona และเหรียญอื่นๆอีกมากมายที่มีการสร้างขึ้นอยู่บนระบบเครือข่ายบล็อคเชนของตนเองนั่นเอง โดยลักษณะของ Altcoin แต่ละเหรียญจะมีความแตกต่างกันชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระบบเครือข่าย ปริมาณของเหรียญ ประสิทธิภาพการทำงานของแพลตฟอร์ม และระบบฉันทามติ (Consensus Algorithm) เป็นต้น


ลักษณะพิเศษของ Altcoin คือ จะมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับเงินตราในโลกแห่งความเป็นจริง และราคาของเหล่าอัลท์คอยน์นั้นมักจะผันผวนตามความต้องการและปริมาณเหรียญของตลาด บางเหรียญก็ถูกสร้างมาอย่างไม่จำกัดปริมาณ บางเหรียญก็มีการเผาเหรียญออกจากระบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเหรียญนั่นเอง


3. โทเคน (Token) 

โทเคน (Token) คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นมาบนเครือข่ายบล็อคเชนตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่บล็อคเชนของตัวเอง กล่าวคือ ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการเขียน “สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เพื่อทำการ dApps (Decentralized Application) หรือ DeFi (Dencetralized Finance) ซึ่งผู้สร้างสามารถเลือกเครือข่ายบล็อกเชนในการสร้างได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเครือข่ายบล็อคเชนที่ผู้สร้างโทเคนนิยมใช้ ได้แก่ Ethereum หรือ Binance Smart Chain เป็นต้น


ลักษณะพิเศษของ Token คือ จะเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีวัตถุประสงค์ของการสร้างขึ้นมาอย่างชัดเจน เช่น มอบสิทธิพิเศษในการเข้าถึงบริการให้สำหรับผู้ถือครองเหรียญโดยตรง หรือถูกนำจ่ายเป็นส่วนแบ่งของกำไร การจ่ายปันผลตามเงื่อนไขของผู้สร้างเหรียญได้ทำการระบุไวนั่น ทั้งนี้ราคาของเหรียญขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ใช้งานเป็นหลัก


ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามคำว่า “โทเคน (Token) คืออะไร” เชื่อว่านักลงทุนหลายก็พอที่เข้าใจถึงความแตกต่างของเหรียญคริปโทเคอเรนซี่ในตลาดว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำงานอยู่ระบบเครือข่ายบล็อคเชน วัตถุประสงค์ของการสร้างเหรียญเหล่านั้นขึ้นมาเพื่ออะไร ตลอดจนถึงในเรื่องของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของแต่ละเหรียญ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจในการลงทุนในสินทรัพย์ได้เป้นอย่างดี

บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >>

· บิทคอยน์เล่นยังไง? วิธีการเล่นบิทคอยน์สำหรับมือใหม่

· วิธีขุด Bitcoin - ขุด Bitcoin คุ้มไหม?

· 8 เว็บเทรด Bitcoin ที่คนไทยนิยมใช้งานมากที่สุด

· 10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีที่ดีที่สุด

· Bitcoin Wallet อันไหนดีในปี? แนะนำกระเป๋าบิทคอยน์ที่คนไทยนิยมใช้กัน

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์