Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

สัญญาเป็นส่วนสำคัญที่ไม่สามารถขาดแคลนในธุรกิจและธุรกรรมต่างๆ แต่กับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี, สัญญาในรูปแบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดในบางเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของความเร็ว, ความถูกต้อง, และความปลอดภัย ในยุคดิจิทัลนี้, Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) ได้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความซับซ้อนของการดำเนินธุรกิจและธุรกรรมในโลกออนไลน์ 


ซึ่งในบทความนี้เรามาเรียนรู้ด้วยกันว่า Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร ทำงานอย่างไร มีข้อดีและข้อเสียยังไง การใช้งานของ Smart Contracts มีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

ความเป็นมาของคำว่า Blockchain กับ Smart Contract

เริ่มต้นความเป็นมาของนิยามคำว่า Blockchain คือ เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่มีการพัฒนาบนเครือข่ายให้มีความมั่นคงปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนกลางแต่อย่างใดในการเข้าทำธุรกรรมแต่ละครั้ง เนื่องจากว่าเป็นแพลตฟอร์มการทำธุรกรรมแบบ P2P ( Peer-to-Peer) ที่มีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์อย่างแท้จริง


สำหรับเทคโนโลยี Blockchain ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในปี 2008 ที่ถูกเรียกว่าเป็นเทคโนโลยี Blockchain 1.0 ที่มีการพัฒนามาปรับใช้ในภาคของการเงิน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่าสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency เลยก็ว่าได้ โดยสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกที่มีการมีระบบการทำงานภายใต้เครือข่ายบล็อคเชนและทำหน้าที่ใช้จ่ายแทนสกุลเงินได้ก็คือ “Bitcoin” นั่น


ต่อมาในปี 2014 เทคโนโลยีเครือข่ายบล็อคเชน ได้มีการพัฒนาเครือข่ายมาเป็น Blockchain 2.0 ที่เป็นการนำเทคโนยีมีชื่อว่า Smart contract มาใช้บนเครือข่ายบบล็อคเชน เรียกว่าเป็นการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมขึ้นมาได้อย่างเสรี และเป็นที่มาของการเกิดสกุลเงินดิจิทัลชื่อดังอย่าง Ethereum ในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน


ในยุคปัจจุบันนี้ Blockchain ได้มีการพัฒนามาเป็นระบบ Blockchain 3.0 ที่เกิดขึ้นมาในปี 2017 จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เราคุ้นหูกันดีกับคำว่า Dapp (Decentralized application) ที่เป็นพัฒนามาจากรุ่นที่ 2.0 คือมีการนำแนวคิดของ Smart Contract มาปรับใช้ด้วย แต่เพิ่มโอกาสที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้มากกกว่าการเขียนโปรแกรมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอุตสาหกรรมเกม อุตสาหกรรมทางด้านศิลปะ NFTs ทั้งนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์กับโมเดลธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริงได้อีกด้วย


มาถึงจุดนี้ทุกคนอาจจะเข้าว่าใจ Smart Contract ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี 2014 อย่างแน่นอน แต่แท้จริงแล้วสำหรับประวัติความเป็นมาของ Smart Contract ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 1994 จากนักวิศกรคอมพิวเตอร์ชื่อดังชาวอเมริกา “Nick Szabo” ภายใต้แนวคิดที่เขามองเห็นถึงปัญหาความยุ่งยากในการจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูล จึงเสนอแนวคิดเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมา นอกจากนี้หลายคนคิดว่าตัวเขานั้นเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการสกุลเงินดิจิทัลอย่าง “Bitcoin” เนื่องจากว่าตัวเขานั้นก็เคยที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลก่อนหน้านี้ที่มีชื่อว่า “Bit Gold”ขึ้นมาในปี 1998 แต่ตัวเขานั้นก็ได้ให้การปฏิเสธไปว่าเป็นผู้สร้าง Bitcoin

Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คืออะไร?

Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) คือ โปรแกรมที่ดำเนินการเองซึ่งดำเนินการตามที่กำหนดในข้อตกลงหรือสัญญาโดยอัตโนมัติ เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ธุรกรรมจะสามารถติดตามและไม่สามารถย้อนกลับได้ โดยสัญญาอัจฉริยะอนุญาตให้ธุรกรรมและข้อตกลงที่เชื่อถือได้ดำเนินการระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ไม่เปิดเผยตัวตน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยงานกลาง ระบบกฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องนั่นเอง


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ)


  • Smart contracts  คือ สคริปต์ที่ทำให้การดำเนินการเฉพาะกับสัญญาระหว่างสองฝ่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติ

  • Smart contracts ไม่มีภาษาทางกฎหมาย ข้อกำหนด หรือข้อตกลง มีเพียงรหัสที่ดำเนินการเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่ระบุเท่านั้น

  • Nick Sza วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันผู้คิดค้นสกุลเงินเสมือนที่เรียกว่า "Bit Gold" ในปี 1998 โดยได้ทำการกำหนดสัญญาอัจฉริยะเป็นโปรโตคอลธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญา


ความเชื่อมั่นกับ Contract

Contract ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ‘กฎหมาย’ ในชีวิตจริง แต่มันคือกฎหมายใน Blockchain ที่เราจะใส่เงื่อนไขและรางวัลในการทำอะไรซักอย่าง ปกติเราจะเขียนใส่กระดาษ แต่ในโลกแห่งอินเทอร์เน็ตเราเขียนมันบน Blockchain ที่จะให้คอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องรัน


ปัญหานึงของสัญญาในชีวิตจริงคือ เราไม่สามารถที่จะเชื่อใจปัจเจกชนได้ เราไว้ใจที่มันมีผลบังคับทางกฎหมาย แต่ถ้าเราอยู่ในนานาชาติที่กฎหมายบังคับใช้ยาก มันจะเป็นเช่นไร?


เราลองมาดูตัวอย่างกัน


ยกตัวอย่างการใช้ Smart contract ด้วยการแข่งจักรยานกัน


น้องปูและน้องกอล์ฟกำลังแข่งจักรยานกัน น้องปูพนันน้องกอล์ฟ $10 ว่าเธอจะชนะแข่ง น้องกอล์ฟคิดว่าเขาน่าจะชนะการพนันนี้เช่นกัน สุดท้ายแล้ว น้องกอล์ฟเป็นฝ่ายชนะ แต่น้องปูโกงไม่จ่ายดื้อๆ


แต่ปัญหานี้จะหมดไปถ้าหากเราเปลี่ยนไปใช้ Smart contract (สัญญาอัจฉริยะ) โดยที่เราตั้งสมการไว้ตั้งแต่แรกว่าผู้ชนะได้เงิน เมื่อผลรายการออกมา มันจะส่งเงินให้ผู้ชนะทันที

Smart contract ทำงานอย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สัญญาอัจฉริยะ ก็ถือว่าเป็นรูปแบบของข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่าย สัญญาอัจฉริยะใช้โค้ดเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัย ผลลัพธ์อาจเป็นนวัตกรรมได้ แต่การใช้สัญญาอัจฉริยะก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยจะมีลักษณะการทำงานอย่างระบบขั้นตอน ซึ่งมีระบบการทำงานทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้


1. คู่สัญญาตกลงตามข้อกำหนดและเงื่อนไข

เนื่องจากว่าการสร้างสัญญาอัจฉริยะนั้นจะมีการเริ่มต้นด้วยข้อตกลงของทุกคน โดยฝ่ายที่ประสงค์จะทำธุรกรรมหรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการจะต้องยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขของข้อตกลง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังต้องตัดสินใจว่าสัญญาอัจฉริยะจะทำงานอย่างไร รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดในการดำเนินการตามสัญญาและจะดำเนินการโดยอัตโนมัติหรือไม่ เป็นต้น


2. สัญญาอัจฉริยะที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว

เนื่องจากว่าบุคลลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมมีหลายทางเลือกในการสร้างสัญญาอัจฉริยะ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนโค้ดด้วยตนเองไปจนถึงการทำงานร่วมกับผู้พัฒนาสัญญาอัจฉริยะ เงื่อนไขของข้อตกลงได้รับการแปลเป็นภาษาโปรแกรมเพื่อสร้างสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งระบุกฎและผลที่ตามมาเช่นเดียวกับสัญญาทางกฎหมายแบบดั้งเดิม การสร้างสัญญาอัจฉริยะอาจเป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งสำคัญที่วรทราบคือสัญญาอัจฉริยะที่ออกแบบมาไม่ดีนั้นถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สำคัญ การตรวจสอบความปลอดภัยของสัญญาอัจฉริยะอย่างครบถ้วนในระหว่างขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน


3. มีการปรับใช้สัญญาอัจฉริยะ

เมื่อสัญญาอัจฉริยะที่ออกแบบอย่างปลอดภัยพร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับใช้กับบล็อกเชน สัญญาอัจฉริยะจะออกอากาศไปยังบล็อคเชนเช่นเดียวกับธุรกรรม crypto อื่นๆ โดยมีรหัสของสัญญาอัจฉริยะรวมอยู่ในช่องข้อมูลของธุรกรรม สัญญาอัจฉริยะจะเผยแพร่บนบล็อกเชนเมื่อธุรกรรมได้รับการยืนยัน และไม่สามารถเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสุดท้ายนั้นสำคัญ การปรับใช้สัญญาอัจฉริยะกับบล็อกเชนก็เหมือนกับการซื้อสินค้าและจงใจทิ้งใบเสร็จรับเงิน ไม่มีการคืนสินค้า ไม่มีการคืนเงิน และไม่มีการแลกเปลี่ยน ไม่มีข้อยกเว้น


4. ตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์(Trigger)

เนื่องจากว่าสัญญาอัจฉริยะทำงานโดยการตรวจสอบบล็อกเชนหรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เพื่อดูเงื่อนไขหรือสิ่งกระตุ้นบางอย่าง ดังนั้นทริกเกอร์เหล่านี้อาจรวมถึงเกือบทุกอย่างที่สามารถตรวจสอบได้แบบดิจิทัล เช่น วันที่มาถึง การชำระเงินที่เสร็จสิ้น การรับใบเรียกเก็บเงินรายเดือน หรือเหตุการณ์อื่นใดที่สามารถตรวจสอบได้ อาจตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายในสัญญาดำเนินการเฉพาะเจาะจง


5. สัญญาอัจฉริยะถูกดำเนินการ

ขั้นตอนการทำงานในข้อนี้จะต่อมาจากเงื่อนไขของทริกเกอร์ กล่าวคือ เมื่อตรงตามเงื่อนไขทริกเกอร์ สัญญาอัจฉริยะจะดำเนินการ สัญญาอัจฉริยะที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติอาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น การโอนเงินไปยังผู้ขาย หรือการลงทะเบียนความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของผู้ซื้อ


6. ผลสัญญาจะถูกบันทึกลงในบล็อคเชน

ขั้นตอนสุดท้ายของการทำงานของ Smart Contract นั่นก็คือ การดำเนินการของสัญญาอัจฉริยะจะออกอากาศไปยังบล็อคเชนทันที เครือข่ายบล็อกเชนตรวจสอบการดำเนินการที่ทำโดยสัญญาอัจฉริยะ บันทึกการดำเนินการเป็นธุรกรรม และจัดเก็บสัญญาอัจฉริยะที่เสร็จสมบูรณ์บนบล็อกเชน โดยทั่วไปบันทึกของสัญญาอัจฉริยะพร้อมให้ทุกคนตรวจสอบได้ตลอดเวลา


◆ ตัวอย่างการทำงานของ Smart contract


Smart contract ทำงานเหมือนตู้กดอัตโนมัติ



Smart contract นั้นทำงานเหมือนตู้กดอัตโนมัติ การตั้ง Output ซักอย่างเมื่อใส่ Input ที่กำหนดลงไป


  • เลือก ‘ของ’

  • ใส่ ‘เงินที่กำหนด’ เพื่อซื้อของที่ต้องการ

  • ใส่เงินจำนวณเท่านั้น

  • ตู้กดของตรวจสอบจำนวณเงินที่แน่นอน

  • ตู้ส่งของตามจำนวณเงินที่ใส่ไว้


ตู้กดอัตโนมัติจะส่งเงินของที่คุณต้องการเมื่อประจวบกับเงินที่มันกำหนดเอาไว้ทีแรก ถ้าคุณไม่ได้ใส่เงินเข้าไปตามที่กำหนดไว้ ของจะไม่ได้ออกมา

ข้อดีของ Smart contract

 ●  การทำงานแบบอัตโนมัติ

เรื่องนึงที่สำคัญมากๆสำหรับ Smart contract ก็คือมันสามารถสร้างผลลัพธ์ให้ได้อย่างที่เราเขียนโค้ดไว้ได้เลย โดยที่เราไม่ต้องให้คนมาทำงานหรือส่งเงินแทน ทุกๆคนเชื่อใน Code ที่ถูกเขียนไว้ตั้งแต่แรก เราเรียกการทำงานของ Code เหล่านี้ว่า ‘Smart contract’


เช่น หากเรากำหนดไว้ว่าหากเด็กเติบโตจนถึงอายุที่กำหนด เขาจะสามารถถอนเงินที่ฝากไว้ได้ ระบบมันจะทำตามนั้น หากมันไม่สามารถตรวจจับข้อมูลเหล่านั้นที่ถูกตรวจสอบอยู่บน Blockchain ได้ Smart contract ก็จะไม่ทำงานหรือปฎิเสธมันไป


 ●  Blockchain เป็นข้อมูลสาธารณะ

Smart contract ยังสามารถถูกตรวจสอบและเข้าไปไล่ดูได้เพราะมันเป็น Public Blockchain คุณสามารถตรวจสอบดูกระเป๋าใครก็ได้หากคุณมี address กระเป๋าของเขา


 ●  การปกปิดข้อมูลเป็นส่วนตัว

Smart contract ยังจะสามารถเก็บข้อมูลของคุณให้เป็นส่วนตัวได้อีกด้วย เพราะมันจะถูกระบุไว้แค่ชื่อกระเป๋าของคุณ แต่กระเป๋าของคุณนั้นจะไม่ได้ถูกผูกติดกับหลักฐานในชีวิตจริงคุณแต่อย่างใด ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณไม่ถูกตรวจสอบตัวจริงได้


 ●  ตรวจสอบการทำงานได้

เนื่องจาก Smartcontract นั้นสามารถดูได้ตั้งแต่วันแรกที่คุณใช้ Code จะเป็นแบบ Public ทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาดูวิธีการทำงานของมันได้

ข้อเสียของ Smart contract

  • การที่ Smart contract ไม่มีตัวกลางในการควบคุมอะไรก็ตามนั้น มันอาจจะมีข้อเสียในเหตุหลายอย่างที่ต้องใช้คนจัดการ แต่อาจจะทำไม่ได้เนื่องจากมันเป็น Blockchain ที่ไม่มีใครสามารถมาแก้โค้ดได้


  • กฎหมาย มันยังไม่รองรับการใช้งาน Smart contracts นี้ แปลว่าหากมีอะไรที่ต้องการใช้กฎหมายช่วยเหลือนั้น มันไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าคุณจะถูกโกงหรืออะไรก็ตาม เนื่องจากมันเป็นระบบอนาธิปไตย ทุกคนดูแลตัวเอง


  • ทุกๆ อย่างขึ้นอยู่กับ Code นั้นทำให้เราต้องมั่นใจใน Developer ว่าโค้ดทุกๆบรรทัดของพวกเขานั้น ไร้ข้อบกพร่อง ทำงานได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะหาก Code ของพวกเขานั้นถูกเขียนมาให้โดนแฮ็คง่ายตั้งแต่แรก คำตอบอาจจะเป็นว่าคุณไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย

การใช้งานของ Smart Contracts

Smart contracts นั้นคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกรันบน Blockchain ซึ่งมันทำงานโดยอัตโนมัติ คุณสามารถที่จะตรวจสอบ Transaction ย้อนหลังได้สะดวกและสร้างมันเองได้อย่างอิสระไม่มีค่าใช้จ่าย แต่คำถามคือมันเอาไปสร้างอะไรได้บ้าง? หลังจากที่เรารู้ถึงข้อดีของมันแล้ว เรามาดูกันว่ามันทำอะไรได้


ทุกวันนี้เราใช้มันไปในการคำนวณ การสร้างเหรียญ การเก็บ Data การสร้าง NFT หรือแม้กระทั่งการสร้างรูปภาพเองก็ตาม เราจะยกตัวอย่างให้ฟังกัน


Use case of Smart Contract - Stablecoin


1.  Stablecoin

Stablecoin คือคริปโตเคอเรนซี่ที่ถูกออกแบบมาให้มันมีมูลค่าคงที่ไม่ผันผวน มันยังสามารถที่จะใช้กับ ETH ได้อีกด้วย คุณค่าของมันจะใกล้เคียงกับค่าเงินปัจจุบัน เรามาลองดูว่ามี Stablecoin ไหนบ้างที่สร้างบน Ethereum


ข้อดีของ Stablecoin

  • Stablecoin นั้นใช้ส่งกันได้ทั่วโลก เราสามารถที่จะส่งเงินได้ผ่านอินเทอร์เน็ต มันยังสามารถส่งผ่าน ETH account หรือ Wallet ได้อีกด้วย

  • ความต้องการของ Stablecoin นั้นสูงกว่าคริปโตแบบปกติ คุณสามารถฝากเงินไว้ในแพลตฟอร์มที่รับฝาก Stablecoin เพื่อให้พวกเขาไปปล่อยเงินกู้ได้อีก

  • Stablecoin นั้นสามารถแลกเปลี่ยนไปมาระหว่างเหรียญของ ETH ตัวอื่นได้ มีหลายๆ Daaps ที่รับ Stablecoin

  • Stablecoin นั้นถูกปกป้องด้วย Cryptograhpy ไม่มีใครสามารถสร้างมันหรือขโมยมันไปจากคุณได้


Stablecoin ที่ถูกสร้างบน Ethereuem Blockchain

  • Dai - เหรียญ Stablecoin แบบ Crypto-backed ที่มีชื่อเสียงในด้าน Decentralized มากที่สุด มีมูลค่า 1 Dai = 1 USD ถูกใช้บน Dapps หลากหลายในปัจจุบัน

  • USDC - เหรียญ Stablecoin แบบ Fiat-backed ที่มีมูลค่า = 1USD โดย Coinbase และ Circle bank

  • Tether - เหรียญ Stablecoin แบบ Fiat-backed ตัวแรกบนตลาดที่มีอายุการใช้งานสูงที่สุด 


Use case of Smart Contract - NFT



2.  Non-fungible tokens (NFT)

NFT คือ Token ที่ถูกปรับมาให้ใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของของผู้ถือ ซึ่งจะสามารถสอดคล้องกับ Usecase บนโลกจริงได้คือ Art, Real estate ที่ซึ่งคุณสามารถมี Identity แบบ Digital ได้ที่น่าเชื่อถือว่าหลักฐานจริง ไม่มีใครสามารถก็อปปี้ได้หรือดัดแปลงได้


NFT ในปัจจุบันถูกใช้เพื่อเพิ่มความเป็นเจ้าของของสินค้าอะไรก็ตามที่คุณอยากให้มันแตกต่าง เช่น File เพลง, File รูปภาพ หรืออะไรก็ได้ที่อยู่บนโลกออนไลน์


Fungible item นั้นหมายถึงสินค้าที่แลกเปลี่ยนได้ในอัตราที่เท่าเทียม เช่น การจะแลก 1 USD กับ 1 BUSD นั้นสามารถทำได้เนื่องจากมันถูกผลิตออกมามาก มีโค้ดที่หน้าตาเหมือนกันๆ แต่ Non-fungible token ในทางเทคนิคแล้วแต่ละ Token จะมีโค้ดที่ต่างกัน ทำให้มันแลกเปลี่ยนกันไม่ได้ในอัตราที่เท่าเทียม


ตัวอย่าง NFT usecase ที่ใช้งานปัจจุบัน

  • Foundation - Dapps สำหรับแสดงงานศิลปะ ซื้อ/ขาย/สะสม ได้ในเว็ปเดียว

  • The X - รองเท้า Sneaker NFT ที่ถูกลงสีโดย AI และสามารถใช้ได้บนโลก Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปแลกเป็นรองเท้าบนโลกจริง, Snapchat, Sandbox

  • Decentraland - พวกสินค้าในโลก Metaverse เครื่องประดับต่างๆ ที่เราจ่ายกันเป็นมูลค่าจริง

  • ENS - Ethereum Name Service ที่คุณสามารถตั้งชื่อกระเป๋าของคุณได้เป็นภาษาอังกฤษ


3.  Decentralized Exchanges (DEXs)

Decentralized Exchange คือตลาดการแลกเปลี่ยนเหรียญระหว่าง ETH หรือเหรียญอะไรก็ได้ระหว่างกัน เพื่อจับความต้องการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายให้ตรงกัน


แทนที่เราจะต้องใช้บริการของพ่อค้าคนกลางแบบในอดีต เราสามารถที่จะใช้ Smart contracts ในการทำธุรกรรมแลกเงินเหล่านั้นได้


นั้นหมายความว่าเรากำลังจะเปลี่ยนโลกของการแลกเงินไปโดยสิ้นเชิง เรามีทางเลือกในการไม่ใช่แพลตฟอร์มที่รวมศูนย์เหล่านั้น เราสามารถใช้เงินอะไรก็ได้ในการซื้อของอะไรก็ได้ง่ายขึ้นด้วย DEX สามารถที่จะทำหน้าที่ส่งเงินหรือซื้อเหรียญผ่านแพลตฟอร์มนี้ก็ได้นะ


แพลตฟอร์มตัวอย่าง

Uniswap, Kyber, dYdX, 1nch


4. Making an agreement

คือ การทำข้อตกลง การทำสัญญาร่วมกัน ตลอดจนการทำการ Vote การเสนอความคิดเห็นต่อหน่วยงาน หรือ องค์กรต่างๆเกิดขึ้น ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงก็ได้มีการนำเทคโนโลยี Smart Contract มาประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่น Open Law Forms ที่ทำให้การสร้างและดำเนินการข้อตกลงทางกฎหมายเป็นเรื่องง่าย เปลี่ยนข้อตกลงทางกฎหมาย (รวมถึงข้อตกลงที่มีสัญญาอัจฉริยะ) ให้เป็นแบบสอบถามหรือแบบฟอร์มง่ายๆ เพียงแค่ผู้ใช้งานหรือผุ้มีส่วนรวมเข้าไปกรอกแบบฟอร์มตามข้อตกลงนั่นเอง โดยข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกจัดเก็บไว้ในบล็อคเชนอย่างปลอดภัย


5. Insurance claims

นอกจากระบบ Smart Contract ยังถูกมาปรับใช้ในรูปแบบของการเคลมประกันภัยอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเรามักที่จะต้องการให้ประกันภัยต่างๆ นั้นทำงานอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำสัญญาอัจฉริยะหรือ Smart Contract มาประยุกต์ใช้ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เราสามารถใช้เพื่อดำเนินการเคลมประกันและกระบวนการจ่ายเงินอัตโนมัติได้ สามารถตั้งโปรแกรมสัญญาอัจฉริยะให้จ่ายเงินทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ที่ตรวจสอบได้บางอย่าง เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น หรือ ประกันรถยนต์เกิดขึ้น เป็นต้น 


อนาคตของ Smart contract

จะเห็นได้ว่าจากหอดีตจนมาถึงปัจจุบัน หลังจากที่มีพัฒนา Smart Contract ก็เริ่มมีการนำไปประยุกต์กับการใช้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะไปในภาคการเงิน หรือตลอดจนถึงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เราไม่สามารถปฏิบัติเสธได้เลยว่าปัจจุบันนี้โลกของเรามีการขับเคลื่อนเข้ายุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมหรือดำเนินธุรกิจใดๆก็ผ่านโลกออนไลน์หมด แน่นอนว่าหลายหน่วยงานหรือธุรกิจขนาดใหญ่ก็มีการนำสัญญาอัจฉริยะมาปรับใช้ เนื่องจากว่ามีประสิทธิภาพ โปร่งใส และปลอดภัยและสามารถอุดรอยรั่วของการสูญเสียข้อมูลที่สำคัญได้ 


จะเห็นได้ความสำคัญของ Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ก็คือ อนาคตของการทำธุรกรรมในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากว่ามีศักยภาพในการลดความซับซ้อนและปรับปรุงกระบวนการที่ซับซ้อน ลดต้นทุน และเพิ่มความโปร่งใสและความปลอดภัย ด้วยการขจัดความจำเป็นในการมีคนกลาง ทั้งนี้ยังมีความสามารถทำธุรกรรมได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในโลกอนาคต Smart Contract (สัญญาอัจฉริยะ) ก็จะสามารถพรที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่างๆ และเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจของผู้คนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นก็เป็นได้


อ้างอิง

Introduction to smart contracts

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีที่ดีที่สุดสำหรับปี 2024มีโปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีมากมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกสิ่งที่ใช่สำหรับตัวคุณเอง ดังนั้น ทางเราจะช่วยคุณค้นหาโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ดีที่สุดที่เหมาะกับคุณที่สุดโดยการตรวจสอบโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
มีโปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีมากมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกสิ่งที่ใช่สำหรับตัวคุณเอง ดังนั้น ทางเราจะช่วยคุณค้นหาโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ดีที่สุดที่เหมาะกับคุณที่สุดโดยการตรวจสอบโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด
placeholder
Bitcoin Wallet อันไหนดี? 9 กระเป๋าบิทคอยน์ที่คนไทยนิยมใช้กัน 2024ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่าก็สามารถติดตั้ง Bitcoin Wallet ได้ด้วยตัวเอง ใครที่มีกระเป๋า Bitcoin ในใจ หรือกำลังมองหากระเป๋า Bitcoin ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่าก็สามารถติดตั้ง Bitcoin Wallet ได้ด้วยตัวเอง ใครที่มีกระเป๋า Bitcoin ในใจ หรือกำลังมองหากระเป๋า Bitcoin ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
placeholder
10 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุน 2024 ฉบับมือใหม่!เหรียญที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะยังคงรักษาระดับความเข้มข้นนี้ไว้ได้หรือไม่ ในปีนี้จะมีเหรียญอะไรใหม่ๆ ที่มาแรงและน่าจับตามองกันบ้าง เราจะพาทุกคนไปสำรวจ 10 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะสั้นในปี 2024 กันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 12 พ.ค. 2023
เหรียญที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะยังคงรักษาระดับความเข้มข้นนี้ไว้ได้หรือไม่ ในปีนี้จะมีเหรียญอะไรใหม่ๆ ที่มาแรงและน่าจับตามองกันบ้าง เราจะพาทุกคนไปสำรวจ 10 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะสั้นในปี 2024 กันเลย
placeholder
วิเคราะห์แนวโน้มราคาบิทคอยน์ 2024 จะไปในทิศทางใดบทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 19 พ.ค. 2023
บทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
placeholder
Ripple (XRP) น่าลงทุนหรือไม่ในกระแสการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 16 ส.ค. 2023
คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์