CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    RR คืออะไร และคำนวณยังไง

    4 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 15 พ.ย. 2566 09:41 น.

    Risk Reward Ratio (RR) เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจว่าการลงทุนครั้งนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งไม่ได้มีความซับซ้อนในการคำนวณมากนัก แต่มีผลต่อการลงทุนอย่างตรงไปตรงมา เพราะถ้าการลงทุนครั้งนั้นแม้จะได้ผลตอบแทนคาดหวังระดับสูง แต่มีความเสี่ยงที่มากกว่า ค่า RR ก็จะแสดงออกมาทันที ทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ว่าจะลงทุนหรือไม่ ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบายทุกอย่างเกี่ยวกับ RR ว่า RR(Risk Reward Ratio) คืออะไร ค่า RR คำนวณอย่างไรและใช้ในการลงทุนยังไงบ้างพร้อมตัวอย่างการใช้ค่า RR แบบเข้าใจง่าย อ่านจบสามารถหาค่า RR ได้เป็นแน่นอน

    Risk Reward Ratio คืออะไร?


    Risk Reward Ratio (RR) คือ อัตราส่วนระหว่าง “ความเสี่ยง” (Risk) ต่อ “ผลตอบแทน” (Reward) เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดว่าการลงทุนในครั้งนั้นจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากพอกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยอัตราส่วนยิ่งสูงยิ่งแสดงว่าการลงทุนหรือกลยุทธ์นั้นมีความคุ้มค่าสูง


    ความสำคัญของ Risk Reward Ratio คืออะไร?

    RR


    1. ช่วยประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนได้ดีขึ้น

    Risk Reward Return (RR) สามารถช่วยให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนที่คาดหวังกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อประเมินว่าการลงทุนจะมีความคุ้มค่าหรือไม่


    สมมติว่ามีตัวเลือกการลงทุน 2 ตัวเลือก ดังนี้

    ※ ตัวเลือกที่ 1: ลงทุนในหุ้นของบริษัท A โดยคาดหวังผลตอบแทน 20% แต่มีความเสี่ยงที่อาจขาดทุน 50%


    ※ ตัวเลือกที่ 2: ลงทุนในหุ้นของบริษัท B โดยคาดหวังผลตอบแทน 10% แต่มีความเสี่ยงที่อาจขาดทุน 5%


    หากไม่ใช้การคำนวณหาค่า RR ก็จะเห็นเพียงแค่ว่าตัวเลือกที่ 1 มีโอกาสทำกำไรมากกว่าตัวเลือกที่ 2 แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าของการลงทุนทั้ง 2 ตัวเลือกได้


    แต่ถ้าใช้ RR ก็จะพบว่าตัวเลือกที่ 2 มี RR สูงกว่าตัวเลือกที่ 1 คือ 2 เมื่อเทียบกับ 0.4 หมายความว่า หากลงทุนในตัวเลือกที่ 2 แล้วประสบความสำเร็จก็จะได้รับผลตอบแทนมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง


    2. ช่วยบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ

    RR ช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารความเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนักลงทุนสามารถกำหนด Stop Loss ไว้ที่ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตนเอง เพื่อให้สามารถจำกัดการขาดทุนได้หากการลงทุนไม่เป็นไปตามคาดการณ์


    ※ ตัวอย่าง

    สมมติว่ามีความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ที่ 50% และลงทุนในหุ้นที่มี RR เท่ากับ 2.0 หากกำหนด Stop Loss ไว้ที่ระดับ 50% ของเงินลงทุน หากราคาหุ้นลดลงไปถึงระดับ Stop Loss หมายความว่าเราจะขาดทุนเพียง 50% ของเงินลงทุนเท่านั้น


    Risk Reward Ratio คำนวณอย่างไร?


    RR = (ราคาเป้าหมาย – ราคาเข้าซื้อ) / (ราคาเข้าซื้อ – ราคาที่ตัดขาดทุน)


    • ราคาเป้าหมาย คือ ราคาที่น่าจะไปถึงของหน่วยลงทุน

    • ราคาเข้าซื้อ คือ ราคาที่ตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน

    • ราคาที่ตัดขาดทุน คือ ราคาที่ตัดสินใจขายหน่วยลงทุน


    ※ ตัวอย่างการคำนวณ Risk Reward Ratio

    สมมติว่าตัดสินใจที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS) โดยราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 7.45บาทต่อหุ้น มีการคาดหวังราคาเป้าหมายอยู่ที่ 10.50 บาทต่อหุ้น และกำหนดราคาที่ตัดขาดทุน (Stop Loss) ไว้ที่ 4.50 บาทต่อหุ้น


    ค่า RR ของการลงทุนในหุ้น BTS จึงคำนวณได้ดังนี้

    จากสูตร RR = (ราคาเป้าหมาย - ราคาเข้าซื้อ) / (ราคาเข้าซื้อ - ราคาที่ตัดขาดทุน)

    RR = (10.50 – 7.45) / (7.45 – 4.50)

    RR = 3.05/2.95

    RR ≈ 1.03


    ดังนั้น RR ของการลงทุนในหุ้น BTS จึงเท่ากับ 1.03 หมายความว่า หากเราลงทุนในหุ้น BTS แล้วประสบความสำเร็จก็จะได้รับผลตอบแทนมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 1.03 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า


    ความเสี่ยง คืออะไร?


    ความเสี่ยงในการลงทุน คือ ความไม่แน่นอนหรือโอกาสที่เราจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้จากการลงทุนนั้น ๆ ซึ่งความเสี่ยงมีหลากหลายประเภท ดังนี้


    • Liquidity Risk

      ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง คือ ความเสี่ยงที่อาจทำให้ไม่สามารถเข้าซื้อหรือขายออกหน่วยลงทุนได้ตามเวลาที่ต้องการ


    • Correlation Risk

      ความเสี่ยงที่สินทรัพย์ที่ลงทุนอาจมีมูลค่าลดลงทั้งหมดโดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ทำให้การกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงทำได้ยาก


    • Currency Risk

      ความเสี่ยงที่เงินที่ลงทุนไปจะมีมูลค่าน้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกเปลี่ยนของเงิน


    • Interest Rate Risk

      ความเสี่ยงที่ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดผลตอบแทนที่น้อยลงของสินทรัพย์ที่ลงทุนไป


    • Inflation Risk

      ความเสี่ยงที่เกิดจากเงินเฟ้อซึ่งทำให้มูลค่าจริง ๆ ของเงินน้อยลงตามสภาพเศรษฐกิจ


    • Political Risk

      ความเสี่ยงจากการเมืองและเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งส่งผลเสียต่อธุรกิจและทำให้สินทรัพย์ลดมูลค่าลงตามไปด้วย


    Risk Reward Ratio ที่ดีที่สุดคือเท่าไร?


    ค่า RR ที่ดีที่สุดในการเลือกลงทุนที่อยากแนะนำคือ RR=2 ขึ้นไป เนื่องจากเป็นค่าที่แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ถ้าค่า Risk Reward Ratio น้อยกว่านี้ถือว่าสินทรัพย์นั้น ๆ มีความน่าสนใจน้อยลงเนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่าผลตอบแทนที่จะได้ แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น พื้นฐานของธุรกิจ, ความผันผวนของตลาด, %Win Ratio และกลยุทธ์ในการลงทุนของตัวเอง


    RR กับ Win rate สัมพันธ์กันอย่างไร ค่าเท่าไรถึงน่าลงทุน?

    RR(Risk Reward Ratio)


    ความสัมพันธ์ระหว่าง RR กับ Win Rate นั้น “ตรงกันข้ามกัน” เช่น หากต้องการได้ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ ค่า RR ต้องสูงขึ้น ส่วนค่า Win Rate จะลดต่ำลง ในขณะเดียวกันถ้าลดค่า RR ต่ำลง ค่า Win Rate ก็จะเพิ่มขึ้น


    ※ ตัวอย่าง

    สมมติว่าเราใช้ค่า RR ที่ 3:1 และ Win Rate ของระบบเทรดอยู่ที่ 25% จะได้ว่า การเทรด 100 ครั้ง = โอกาสชนะ 25 ครั้ง + โอกาสแพ้ 75 ครั้ง


    • เทรดชนะ 25 ครั้ง จะได้กำไร 25 x 3 (ค่าจาก RR) = 75

    • เทรดแพ้ 75 ครั้ง จะขาดทุน 75 x 1 (ค่าจาก RR) = 75


    หมายความว่า กำไรทั้งหมด = ขาดทุนทั้งหมด ดังนั้นแสดงว่าการเทรดครั้งนี้ไม่ได้กำไรหรือขาดทุนใด ๆ


    สรุปได้ว่า หากต้องการได้กำไรจาก RR = 3:1 ควรต้องมี %Win Rate ของระบบอยู่ที่ 25% ขึ้นไปนั่นเองถึงจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า


    ตารางแสดงค่า %Win Rate ขั้นต่ำ เพื่อไม่ให้ขาดทุน

    Risk Reward Ratio: RR

    การคำนวณ 1/(1+RR)

    %Win Rate ขั้นต่ำ

    0.2 : 1

    1 / (1+0.2)

    83.34%

    0.5 : 1

    1 / (1+0.5)

    66.67%

    0.75 : 1

    1 / (1+0.75)

    57.15%

    1 : 1

    1 / (1+1)

    50.00%

    2 : 1

    1 / (1+2)

    33.34%

    3 : 1

    1 / (1+3)

    25.00%

    5 : 1

    1 / (1+5)

    16.67%

    10 : 1

    1 / (1+10)

    9.10%


    วิเคราะห์ RR แบบมืออาชีพ


    • RR = 1:1

    RR 1:1 หมายถึง ผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ค่า RR นี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องการเสี่ยงมากเกินไป แต่ถ้าอยากได้กำไรจากการเทรดไม่แนะนำให้ค่า RR นี้เนื่องจากเป็นการ Play Save เกินไป


    • RR > 1

    RR > 1 หมายถึง ผลตอบแทนที่คาดหวังมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น RR = 1.50 เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง และต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น


    • RR > 2

    RR > 2 หมายถึง ผลตอบแทนที่คาดหวังมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมาก เช่น RR = 3 เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับสูง และต้องการผลตอบแทนที่สูงมากตามไปด้วย


    อย่างไรก็ตามค่า RR ที่สูงมากก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุนด้วย ส่วนค่า RR ต่ำก็ไม่ได้แปลว่าไม่เหมาะกับการลงทุนเสียทีเดียว เพราะยังมีผู้สามารถทำกำไรได้แม้สินทรัพย์นั้นจะมีค่า RR ที่ต่ำ แต่ต้องอาศัยทักษะและระบบที่แม่นยำมากขึ้น (มี %Win Rate สูง) ดังตารางที่แสดงไปข้างต้น


    สรุป


    RR คือ อัตราส่วนเทียบผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นตัววัดว่าการลงทุนหรือกลยุทธ์การเทรดนั้นคุ้มค่าแค่ไหน ถ้าอัตราส่วนสูงก็แสดงว่าคุ้มค่ามาก แต่ถ้าอัตราส่วนต่ำก็แสดงว่าคุ้มค่าน้อย ดังนั้น นักลงทุนและเทรดเดอร์จึงควรใช้ RR เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจลงทุนหรือเลือกกลยุทธ์การเทรด เพื่อให้การลงทุนหรือกลยุทธ์นั้น ๆ มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น อีกทั้งควรพิจารณาร่วมไปกับตัวชี้วัดด้านการลงทุนอื่น ๆ เพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น


    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    placeholder
    เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    placeholder
    8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    placeholder
    DCA คือ อะไร? เปิดบัญชีออมหุ้น DCA ที่ไหนดี 2024สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก