ภาวะเงินฝืด คืออะไร? ลงทุนอะไรดีกว่าในช่วงเงินเฟ้อ

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับภาวะเงินฝืด (Deflation) คืออะไร น่าเชื่อถือแค่ไหน นักลงทุนสามารถนำไปปรับใช้เพื่อรับมือกับเงินฝืดได้อย่างไร และวิธีการลงทุนในช่วงภาวะของเงินฝืดยังไงให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด ไปอ่านในบทความกันเลย

ภาวะเงินฝืด คืออะไร?

ภาวะเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อย ๆ อัตราเงินเฟ้อติด ลบ หรือ อธิบายอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อนั่นเองค่ะ โดยเมื่อเกิดขึ้นแล้วมูลค่าของสกุลเงินจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีกําลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งประชาชนสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้นอีกด้วยเงินจํานวนเท่าเดิม ส่วนราคาของสินค้าและบริการที่ลดลงอาจจะไม่ได้หมายถึงทุก ๆ สินค้า และการบริการ แต่หมายถึงค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ลดลง แต่อาจยังมีบางส่วนที่ราคาสูง และบางส่วนราคาต่ำลง



เงินเฟ้อเงินเฟ้อเงินฝืด
ปริมาณเงินในระบบมากน้อย
มูลค่าของสินค้าและบริการสูงขึ้นต่ำลง
เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจภาวะฟื้นตัวหรือขยายตัวภาวะชะลอตัวหรือถดถอย
วิกฤตที่อาจะเกิดขึ้นฟองสบู่แตกเศรษฐกิจตกต่ำ


อย่างเช่นการเกิดวิกฤตสถาณการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วโลก ทำให้เงินเฟ้อติดลบ


เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ เดือนเมเษยน 2563


%MoM%YoY%AoA
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปHesdline CPI-2.03-2.99-0.44
เงินเฟ้อพื้นฐานCore CPI-0.070.410.5
ดัชนีราคาผู้ผลิตPPI-1.7-4.3-1.4
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างCMI-1.0-4.0-2.7



ดัชนีราคาผู้บริโภค เทียบกับเดือนเมษายน 2562 ลดลงร้อยละ2.99


รวมถึงประเทศไทยมีการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าและบริการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำ สถานการณ์ดังกล่าวเป็นแรงกดดันทำให้เงินเฟ้อในเดือนเมษายน 2563 ลดลงร้อยละ 2.99 (YoY) ซึ่งหดตัวแรงที่สุดในรอบ 10 ปี 9 เดือน


  •  เงินฝืด เกิดขึ้นได้อย่างไร

มีปัจจัยเกิดจากสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับเพิ่มภาษี การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลที่ผิดพลาด สภาพคล่องทางการเงินเกิดการตึงตัว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ


ด้านอุปทานด้านอุปสงค์
เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานหรือความต้องการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่ เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้นหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิตที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการลดลง ทำให้ราคาถูกลงเกิดจากการลดลงของอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าและบริการลดลง ซึ่งอาจเกิดจากการลดลงของกำลังซื้อ อย่างเช่น ภาระหนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น รายได้สุทธิครัวเรื่อนลดลง การว่างงานการเข้มงวดของสินเชื่อ และสภาพคล่องหรือความต้องการซื้อที่แท้จริงลดลง


  •  สาเหตุการเกิดเงินฝืด มีอะไรบ้างนะ?

ภาวะเงินฝืดมักจะเกิดขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น


   1. ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาล

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินสูงเกินจนสถาบันการเงินประสบปัญหา เรื่องให้สินเชื่อเงินกู้แก่ลูกค้า หรือมีการจัดเก็บภาษีทางตรงสูงมากจนประชาชนเหลือเงินใช้จ่ายน้อยเกินไป ทำให้อุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน นอกจากนี้อาจเกิดจากรัฐบาลจัดพิมพ์ธนบัตรออกหมุนเวียนใช้ไม่เพียงพอกับความจำเป็นของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นก็อาจมีความเป็นไปได้


   2. มีการส่งเงินทุนออกนอกประเทศมากเกินไป

มีทั้งแบบถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมายในระยะเวลานานติดต่อกัน จึงเป็นเหตุให้เงินทุนลดน้อย ภาวะดอกเบี้ยจึงสูงขึ้น


   3. เกิดจากการลดลงของอัตราแลกเปลี่ยน

มีมาตรการปรับลดภาษีของรัฐบาลจนปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ หรือประชาชนไม่ออมเงินในระบบการเงิน แต่หันไปออมแบบอื่น เช่น เก็บตุนไว้ในตู้เซฟ จนทำให้เงินออมในระบบลดลง


   4. การขาดแคลนเงินทุนหรือเงินออม

ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งทำให้การกู้ยืมไปลงทุนลดน้อยด้วย การผลิตลดน้อยลง จึงมีการจ้างงานลดระดับลง รายได้ประชาชนก็ลดลงตามไป ทำให้ภาวการณ์ซื้อขายชะลอตัว


  •   ตัวอย่างเรื่องเงินฝืด

    การเกิดภาวะเงินฝืดของประเทศไทย

จากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยที่ติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ยังไม่ใช่สัญญาณ ของภาวะเงินฝืด เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของตัวชี้วัดภาวะเงินฝืดทั้ง 4 ประการตามนิยามในความหมาย แม้ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังไม่พบสัญญาณของการเข้าสู่ภาวะเงินฝืดตามนิยาม แต่ในระยะข้างหน้าหากเศรษฐกิจโลกรวมทั้งไทยหดตัวมากขึ้นหรือฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่ประเมินไว้มากอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืดได้


    การเกิดภาวะเงินฝืดของสหรัฐ

“The Great Depression” หรือเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นความหายนะทางเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาในหน้าประวัติศาสตร์ 


เหตุการณ์ได้จุดชนวนจากตลาดหุ้นของสหรัฐที่ร่วงลงมาอย่างหนักตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 1929 กลายเป็นข่าวดังทั่วโลกที่ถูกเรียกว่า “Black Tuesday” ในช่วงปี 1929-1932 GDP ทั่วโลกลดลงกว่า 15%  ไม่ว่าประเทศที่ร่ำรวยหรือประเทศที่ยากจนต่างได้รับผลกระทบอย่างถ้วนทั่ว ทั้งรายได้ของประชาชน รายได้จากภาษีอากร ผลประกอบการภาคธุรกิจ และราคาสินค้าต่างพากันร่วงกราว


   - ยอดการซื้อขายระหว่างประเทศลดลงกว่า 50%

   - อัตราการว่างงานในสหรัฐเองพุ่งสูงถึง 23%

   - บางประเทศมีอัตราการว่างงานมากถึง 33% 

   - ประเทศเกษตรกรรมราคาพืชผลทางการเกษตรลดลงต่ำกว่า 60%

   - ผลกระทบของ The Great Depression ลากยาวไปจนถึงช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2


  •   ข้อดีข้อเสียของภาวะเงินฝืด

      ข้อดีของภาวะเงินฝืด

1. ทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างมากก็คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้

2. ทำให้เราเห็นมูลค่าของหนี้จริง เช่น การขายของไม่ได้ทำให้เราได้เห็นมูลค่าเงินชัดเจน หรือทำให้เราได้เห็นหนี้ของการลงทุน

3. เราสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกลง เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการเปลี่ยนสินค้าเป็นเงิน โดยการเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อ เช่น จัดทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม นั่นเอง

 

การเกิดเงินฝืดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ภาวะเงินฝืดทำให้เงินสดมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น การมีเงินสดไว้ครอบครองในช่วงภาวะเงินฝืดถือว่าทำให้เงินมีค่าสูง เหมาะแก่การเก็บไว้ลงทุนในอนาคต


การลงทุนในช่วงเงินฝืดเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่ค่อยอยากลงทุนสักเท่าไหร่ เพราะจะได้กำไรน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนแต่นักลงทุนบางคนก็เลือกที่จะลงทุนช่วงเงินฝืด เพื่อรอผลตอบแทนที่คุ้มค่าในอนาคต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้จักวางแผนการเงินให้ดี เพื่อเตรียมพร้อม และรับมือกับภาวะที่ไม่แน่นอนในอนาคตด้วย


      ข้อเสียของภาวะเงินฝืด

1. เพิ่มอัตราการว่างงาน สาเหตุมาจากการที่เมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลง หมายความว่าส่วนของกำไรที่ลดลงตามไปด้วย ผู้ผลิตและผู้ให้บริการมักจะลดต้นทุนการผลิตด้วยการเลิกจ้างพนักงาน


2. เกิดภาวะเงินฝืดขั้นรุนแรง ประชาชนคาดการณ์ว่าราคาสินค้าและบริการน่าจะลดต่ำลงไปจากเดิม ทำให้พยายามจะเก็บเงินไว้ ฝ่ายผู้ผลิตก็ยิ่งต้องลดราคาสินค้าลงไปอีก ลดต้นทุนการผลิต มีการลดการจ้างงาน เมื่อประชาชนตกงานก็ยิ่งทำให้กำลังซื้อลดลงไปอีก ผู้ผลิตก็ต้องพยายามหาวิธีลดราคาและต้นทุนอีกครั้ง กลายเป็นเกิดผลกระทบแบบเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นสถานการณ์แบบลูกโซ่จนเมื่อเกิดขึ้นแล้วแก้ไขลำบาก


เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือเศรษฐกิจต่ำ นับว่าเป็นปัญหาร้ายแรงมาก ผลกระทบตามมาของภาวะเงินฝืดต่อส่วนต่าง ๆ  คือ

ภาวะเงินฝืด


1. ผลต่อประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของรายได้ที่มีอยู่ คือ ภาวะเงินฝืดทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้มีรายได้จากกำไรและลูกหนี้


2. ผู้ประกอบการ สำหรับผลกระทบของภาวะเงินฝืดต่อผู้ประกอบการก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อประชาชนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดราคาสินค้าลงจนทำให้ได้กำไรไม่คุ้มทุน หรืออาจขายไม่ได้ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนจำเป็นต้องลดปริมาณการผลิต ส่งผลให้อัตราคนว่างงานและตกงานเพิ่มสูงขึ้น


3. ผลต่อระบบเศรษฐกิจ เมื่อระบบการผลิตในประเทศลดลง ธุรกิจต่างๆ ได้กำไรน้อยลง อำนาจซื้อตกต่ำลง ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว ซบเซา และเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหาทางเพื่อเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงิน ซึ่งต้องลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจผู้ซื้อ เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้สินและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลงนั่นเอง


แผนรับมือ ปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะเงินฝืด

1.แผนที่หนึ่ง เงินสำรองที่มีอาจจะได้นำออกมาใช้

2.แผนที่สาม วางแผนเตรียมลงทุนเมื่อสินค้าต่างๆนั้นราคาถูก

3.แผนที่สอง เลือกที่จะกู้เงินแบบระยาวกับธนาคารระหว่างเกิดปัญหาเศรษฐกิจภาวะเงินฝืด


  •   มาตรการหลักของเครื่องชี้เงินฝืดและรายการสถิติที่เกี่ยวข้อง

เงื่อนไขที่บ่งบอกว่าประเทศเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

เงื่อนไขที่บ่งบอกว่าประเทศเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

จาก 4 ปัจจัยข้างต้นพบว่า "สภาวะเศรษฐกิจไทย" ในปัจจุบัน สรุปได้ว่า "ไทยยังไม่เข้าสู่สภาวะเงินฝืด" เพราะปัจจัยที่บ่งชี้ถึงภาวะเงินฝืดไม่เข้าข่ายถึง 3 ใน 4 ข้อ


  1. ไม่เข้าข่ายราคาสินค้าและบริการโดยรวมปรับลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุดชี้ว่า ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปีที่ 63 ที่ -1.7% มาอยู่ที่ 0.9% ในปี 64


ร้อยละ (% YoY)ปี 63ปี 64
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
-1.70.9
ราคาน้ำมันดิบดูไบ
-55.35.4


  2. ไม่เข้าข่ายราคาสินค้าและบริการปรับลดลงกระจายไปเกือบทุกประเภทสินค้า เนื่องจากข้อมูลล่าสุดชี้ว่า 70% ของสินค้าและบริการ มีราคาคงที่หรือเพิ่มขึ้น มีบางประเภทเท่านั้นที่ราคาลดลง


  3. ไม่เข้าข่ายเงินเฟ้อคาดการณ์ลดลงต่ำกว่าเป้าหมายนโยบายการเงิน เนื่องจากคาดการณ์เงินเฟ้อ (5 ปีข้างหน้า) อยู่ที่ 1.8% ซึ่งยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3%


   ส่วนปัจจัย 

   4. ยังต้องติดตาม คือ เศรษฐกิจและการจ้างงานชะลอลงยาวนาน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยหดตัวและผู้ว่างงาน เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากโควิด-19 แต่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในปีหน้า ซึ่งต้องติดตามความเสี่ยงในระยะต่อไป


ร้อยละ (% YoY)ปี 63ปี 64
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ-8.15.0



เงินฝืดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตได้อย่างไร?

สำหรับภาวะเงินฝืดแล้ว ส่งผลกระทบต่อตลาดทุน เพราะว่า นักลงทุนบางท่านไม่อยากมาลุงทุนกันในช่วงนี้ แต่รอจังหวะและโอกาสที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ โดยการใช้โอกาสนี้ลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐแทน


นอกจากนี้ภาวะเงินฝืดยังส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากทำให้ ความต้องการสินค้าและบริการลดลง ผู้ผลิตก็ต้องลดราคาสินค้าลง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับผู้บริโภค ทางกลับกันผู้บริโภคจะยิ่งชะลอการซื้อสินค้า เพื่อรอราคาที่ถูกกว่า ทำให้เกิดวงจรขาลงของราคา (deflationary spiral) สุดท้ายแล้วผู้ผลิตอาจจำเป็นต้องลดการผลิตหรือเลิกกิจการ ยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้แย่ลงอีกด้วย


และภาวะเงินฝืดยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเราอีกด้วย เงินฝืดทำให้คนในภาพรวมมี “รายได้” ลดลง ทำให้คนไม่ซื้อสินค้า ราคาสินค้าทุกอย่างลดลง ธุรกิจรายได้ลดลง ปรับลดค่าจ้างลง หรือพูดง่าย ๆ ว่า เจ้าหนี้สบาย แต่ลูกหนี้ซวย

ทำไมภาวะเงินฝืดมาพร้อมเศรษฐกิจถดถอย?

เพราะ เมื่อเกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ หรือ “GDP ติดลบติดต่อกัน 2 ไตรมาส” นั่นหมายความว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง ผู้คนรายได้ลดลง จึงนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยลดลง


ภาคส่วนของธุรกิจเมื่อเห็นคนเริ่มซื้อสินค้าและบริการลดลง ก็ทำการผลิตลดลง เพราะผลิตมากก็ขายไม่หมด ของค้างสต็อก ดังนั้น ธุรกิจก็จะเริ่มลดราคาสินค้าลงเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้กับลูกค้า แต่เศรษฐกิจในตอนนี้ที่การจ้างงานก็ไม่เพิ่ม เพราะ ของขายไม่ได้ ธุรกิจไม่จ้างานเพิ่ม คนไม่ค่อยมีรายได้ ก็ไม่ซื้อสินค้า นั่นทำให้เศรษฐกิจอาจเกิดเงินฝืด หรือ ราคาสินค้าลดลงต่อเนื่องได้ในที่สุดนั่นเอง

 

ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจด้านเศรษฐกิจโลก (Global Leading Economic Index: Global LEI)


มีแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้นภายในปี 2023 ในทำนองเดียวกัน ดัชนี LEI ด้านเศรษฐกิจสหรัฐมีอัตราการเติบโตในช่วง 6 เดือน (มี.ค.-ก.ย. 2565) ติดลบหรือหดตัว


เศรษฐกิจโลกปี 2023 ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงข้างหน้าทั้งจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ วิกฤตราคาพลังงานโดยเฉพาะในยุโรป วิกฤตค่าครองชีพ (Cost of living crisis) จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ขยายวงกว้าง รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก


เศรษฐกิจโลกปี 2023 จะขยายตัวลดลงอยู่ที่ 2.7% ต่ำกว่าการคาดการณ์เดิม เทียบกับก่อนวิกฤตโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 3.0% (เฉลี่ยปี 2017-2019) และในปี 2023เศรษฐกิจโลกยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน เนื่องจากความหวังที่เศรษฐกิจเอเชียจะช่วยพยุงเศรษฐกิจโลกในยามที่ตลาดสำคัญขนาดใหญ่ของโลกกำลังซบเซา


อย่างที่รู้กันดีว่าหากเกิดเศรษฐกิจถดถอย จะเกิดการว่างงาน แรงงานทั่วโลกต้องตกงาน ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ประสบปัญหาขาดทุนหรือต้องปิดกิจการดังนั้นจึงทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบเชื่อมโยงกันทั่วโลกทำให้แรงงานทั่วโลกตกงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง การบริโภคลดลงและอุปสงค์รวมลดลงเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยอีกด้วย


มาตรการใดมีส่วนช่วยแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศได้ ?

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเงินฝืดสามารถทำได้หลายวิธี โดยรัฐจำเป็นต้องออกนโยบายการเงินและการคลังที่ช่วยผ่อนคลายปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้

  • ลดค่าน้ำค่าไฟ ช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายของประชาชน

  • เพิ่มสภาพคล่องให้เงินในระบบเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารกลางลดดอกเบี้ย ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย และลดอัตราแลกเปลี่ยน

  • รัฐสนับสนุนการลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น

  • รัฐควรสร้างโอกาสในระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การส่งออก และการจ้างงาน เพื่อให้ภาคธุรกิจมีรายได้ รวมทั้งทำให้เงินในระบบเกิดการหมุนเวียน

  • ขายพันธบัตรรัฐบาลในจำนวนน้อยและซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนมาให้มาก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

  • เก็บภาษีให้น้อยลง เพื่อที่ประชาชนจะได้มีเงินในการใช้จ่ายมากขึ้น

  • ใช้งบประมาณแผ่นดินแบบขาดดุล (รัฐบาลเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น)

  • ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

ภาวะเงินฝืด ลงทุนอะไรดี?

ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะที่ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ ทำให้เงินสดมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น การถือเงินสดในช่วงที่เกิดภาวะเงินฝืดถือว่าทำให้เงินมีค่าสูง เหมาะแก่การเก็บไว้ลงทุนในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนรูปแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย ดังนี้


    - ตราสารหนี้

เป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้และผลตอบแทนให้กับเราอย่างสม่ำเสมอ ผู้ถือมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารมีฐานะเป็นลูกหนี้ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย การซื้อตราสารหนี้ในช่วงภาวะเงินฝืด ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจลดอัตราดอกเบี้ยลง ทำให้มูลค่าของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ควรเลือกซื้อตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือ ศึกษาอย่างละเอียด อาจให้ผลตอบแทนที่ดีและยังลดความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ด้วยนะคะ


    - ตราสารทุน

ตราสารทุนหรือเรียกอีกอย่างว่า “หุ้น” เป็นเหมือนการแสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนจาก 2 รูปแบบหลักๆ คือ

1. ส่วนต่างราคา หากซื้อหุ้นมาในราคาถูก และขายตอนที่หุ้นขึ้นก็จะทำให้ได้กำไร ซึ่งเป็นส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้น

2. เงินปันผล เป็นผลตอบแทนที่มาจากส่วนแบ่งจากกำไรของบริษัทที่ทำได้ ซึ่งบริษัทจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบาย เราควรที่จะเลือกลงทุนกับธุรกิจที่มีความจำเป็นมากจริงๆ คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ อย่างเช่น อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งก็ควรจะเป็นอาหารที่สามารถซื้อกินได้ตามปกติ และมีความต้องการต่ออาหารเหล่านี้สูง แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดี


    - อสังหาริมทรัพย์

ในช่วงที่เกิดภาวะเงินฝืด อสังหาริมทรัพย์อาจมีราคาถูกลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจจึงทำให้หลายคนที่ขายอสังหาริมทรัพย์แบบเร่งด่วน ก็เลือกที่จะขายในราคาที่ถูกลง นั่นทำให้เรามีโอกาสที่จะสามารถหาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ถูกลงได้นั่นเอง การซื้อไว้เพื่อเก็งกำไรถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจ แต่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต้องเลือกทำเลและราคาที่มีความเหมาะสม ที่สำคัญการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหมาะกับผู้ที่มีเงินเย็น เพราะอาจจะใช้เวลาในการซื้อขายนาน


    - ทองคำ

การลงทุนกับทองคำเป็นการลงทุนที่น่าสนใจเสมอ เนื่องจากเมื่อเกิดสภาวะเงินฝืด ราคาทองคำมีอัตราดิ่งลง ทำให้เราสามารถเลือกลงทุนกับการซื้อทองคำในช่วงที่มีราคาถูกลงนี้ได้ เพราะสามารถเก็งกำไรได้ตลอด ที่สำคัญทองคำนั้นมีมูลค่าในตัวเอง และยังเป็นตัวกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในทองคำ ผู้ลงทุนควรศึกษาก่อนลงทุนเสมอ


การสร้างโอกาสจากการเทรดทองคำนั้น จากประสบการณ์ของผู้เขียนวิธีที่นิยมที่สุด ก็คือการเทรด CFD ทำให้นักลงทุนสามารถ “เก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง” โดยไม่จำเป็นต้องซื้อสินทรัพย์นั้นจริง ๆ


ซึ่งสามารถทำได้โดย

1.เปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ CFD

2.ดาวน์โหลด Application หรือแพลตฟอร์มสำหรับเทรด CFD จากโบรกเกอร์ที่เปิดบัญชีด้วย

3.เลือกประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการเทรด

4.เก็งกำไรโดยคาดการณ์ว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับขึ้นหรือลง


 **Mitrade เป็นตัวเลือกแรกสำหรับการเทรด CFD เริ่มต้นได้ด้วยเกณฑ์การฝากขั้นต่ำเพียง 50 USD เท่านั้น!


mitrade
เทรด CFD กับโบรกเกอร์ชั้นนำของโลก 
ค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ
แจกโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ !🤑
ฝึกฝนการเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 ฟรี
การลงทุนมีความเสี่ยง อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน

สรุป

เป็นยังไงกันบ้าง จากที่อ่านข้อมูลเงินฝืดทั้งหมดในบทความแล้ว ผู้เขียนจะมาสรุปให้เห็นกันชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นในตารางด้านล่าง ดังต่อไปนี้


เงินฝืด

สาเหตุ

ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลง

เกิดจากปัจจัยอะไร

ความต้องการซื้อของน้อยลง เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่พอ

เกิดผลกระทบ

  • คนใช้จ่ายน้อยลง

  • การจ้างงานลดลง

รัฐฯ แก้ไข

  • ประกาศลดดอกเบี้ย

  • ซื้อสินทรัพย์ หรือตราสารหนี้ของเอกชน เพื่อให้มีเงินหมุนในระบบ

กลุ่มบุคคลผู้ได้เปรียบ

ผู้มีรายได้ประจำ, เจ้าหนี้

   กลุ่มบุคคลผู้เสียเปรียบ

พ่อค้า, ผู้ถือหุ้น, นายธนาคาร, ลูกหนี้

การที่เกิดสภาวะตลาดขาลงนั้น แน่นอนว่าหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดกำลังปรับตัวลง แต่ไม่ใช่จะไม่มีโอกาสทำกำไรได้เลย


   1.การเลือกหุ้นที่แข็งกว่าตลาด หรือ การดูหุ้นจากผลการดำเนินงานบริษัท

จะเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวชั้นดีในภาวะตลาดเช่นนี้ หากบริษัทยังคงสามารถสร้างรายได้และทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นของบริษัทก็จะกลับมาสะท้อนความเป็นจริงหลังจากคลื่นลมสงบแล้ว


   2.ควรแบ่งถือเงินสดและวางแผนจัดการเงินลงทุนอย่างเป็นระบบ

โดยการแบ่งซื้อ แบ่งขาย และแบ่งตัดขายทำกำไร/หยุดขาดทุน เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


   3.การขาย Short หุ้น / Put DW เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงขาลง


   4.นอกจากการซื้อหุ้นแล้ว ยังมีวิธีการขาย Short หุ้นด้วยเช่นกัน โดยการขาย Short หุ้นจำเป็นจะต้องยืมหุ้นเพื่อมาขายออกไปก่อน เมื่อราคาหุ้นลงไปแล้ว ค่อยซื้อหุ้นคืนให้กับผู้ให้ยืม แต่วิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก


สุดท้ายผู้เขียนมองว่าภาวะเงินฝืดไม่ใช่เรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องติดตาม เพราะถ้าภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น เราก็คงจะต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจที่หนักขึ้นอีกระลอกหนึ่ง เป็นวงจรวนไปไม่รู้จบ ท้ายที่สุดก็จะกระทบกับภาคการผลิตและการจ้างงาน ทําให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในsที่สุด ดังนั้น ภาวะเงินฝืดจึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สําหรับระบบเศรษฐกิจ


อ้างอิง

tpso,bot,scb,bluechipthai,bot



*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
บิทคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร? ศึกษาให้ดีก่อนลงทุน ห้ามพลาด! บทความนี้จะตอบคำถามทั้งหมดที่นักลงทุนที่สนใจลงทุนใน Bitcoin รวมถึง Bitcoin คืออะไร, Bitcoin ทำงานอย่างไร, การขุด Bitcoin คืออะไรและได้เงินจริงไหม, จัดเก็บ bitcoin อย่างไร, บิทคอยน์ ผิดกฎหมายไหม พร้อมคำถามที่น่าตื่นเต้นที่สุด - วิธีเริ่มต้นเทรด Bitcoin นะครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 18 พ.ค. 2023
บทความนี้จะตอบคำถามทั้งหมดที่นักลงทุนที่สนใจลงทุนใน Bitcoin รวมถึง Bitcoin คืออะไร, Bitcoin ทำงานอย่างไร, การขุด Bitcoin คืออะไรและได้เงินจริงไหม, จัดเก็บ bitcoin อย่างไร, บิทคอยน์ ผิดกฎหมายไหม พร้อมคำถามที่น่าตื่นเต้นที่สุด - วิธีเริ่มต้นเทรด Bitcoin นะครับ
placeholder
วิเคราะห์แนวโน้มราคาบิทคอยน์ 2024 จะไปในทิศทางใดบทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 19 พ.ค. 2023
บทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
placeholder
มีเงิน 20,000 ลงทุนอะไรดีให้เหมาะกับตัวเอง วันนี้ผมมี 6 วิธีการลงทุน ที่จะทำให้เงินให้งอกเงย ตั้งแต่ผลตอบแทนน้อย ไปยังผลตอบแทนสูง แต่เพื่อนๆ อย่าลืมว่า ผลตอบแทนแทนที่คาดหวังสูง ก็จะมาพร้อมความเสี่ยงที่สูงตามนะครับ มาดูกันเลย!!
ผู้เขียน  ปรีชา มานพInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
วันนี้ผมมี 6 วิธีการลงทุน ที่จะทำให้เงินให้งอกเงย ตั้งแต่ผลตอบแทนน้อย ไปยังผลตอบแทนสูง แต่เพื่อนๆ อย่าลืมว่า ผลตอบแทนแทนที่คาดหวังสูง ก็จะมาพร้อมความเสี่ยงที่สูงตามนะครับ มาดูกันเลย!!
placeholder
6 หุ้น AI หรือหุ้น ปัญญาประดิษฐ์ ที่น่าจับตามองบทความนี้จะพูดถึงหุ้น AI ที่น่าจับตามอง และเป็นหุ้นที่น่าลงทุน รวมไปถึงการนำ AI เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการพอร์ตของนักลงทุน สามารถอ่านในบทความกันได้เลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 17 พ.ค. 2023
บทความนี้จะพูดถึงหุ้น AI ที่น่าจับตามอง และเป็นหุ้นที่น่าลงทุน รวมไปถึงการนำ AI เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการพอร์ตของนักลงทุน สามารถอ่านในบทความกันได้เลย
placeholder
CFD คืออะไรและทำงานอย่างไร?หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์เช่น forex หุ้น ดัชนี ทองคำหรือบิทคอยน์ แต่คุณมีเงินไม่มากแต่ก็มีความคาดหวังว่าจะเก็งกำไรในระยะสั้น การลงทุนด้วยเครื่องมือ CFD อาจจะเป็นคำตอบสำหรับการลงทุนของคุณ ว่าแต่ CFD คืออะไร, CFD ทำงานอย่างไร CFD, จะช่วยให้คุณลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยอย่างไร, ข้อดีและความเสี่ยงในการเทรด CFD คืออะไร เรามาหาคำตอบกันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์เช่น forex หุ้น ดัชนี ทองคำหรือบิทคอยน์ แต่คุณมีเงินไม่มากแต่ก็มีความคาดหวังว่าจะเก็งกำไรในระยะสั้น การลงทุนด้วยเครื่องมือ CFD อาจจะเป็นคำตอบสำหรับการลงทุนของคุณ ว่าแต่ CFD คืออะไร, CFD ทำงานอย่างไร CFD, จะช่วยให้คุณลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยอย่างไร, ข้อดีและความเสี่ยงในการเทรด CFD คืออะไร เรามาหาคำตอบกันครับ
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์