• ข่าวสาร
    ทั้งหมด
    Forex
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    คริปโต
    การวิเคราะห์ทางเทคนิค
    สุขภาพทางเศรษฐกิจ
    ชาติ
  • การวิเคราะห์
    ทั้งหมด
  • ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
    ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
  • บล็อก
    ทั้งหมด
    หุ้น
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    Forex
    สกุลเงินดิจิตอล
    การศึกษา
  • การศึกษา
    คอร์สการลงทุน
  • เกี่ยวกับเรา
    ทีมผู้เชี่ยวชาญ
    นโยบายกองบรรณาธิการ

    บทความยอดนิยม

    บทวิเคราะห์ยอดนิยม

    noData

    บทความยอดนิยมในบล็อก

    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    honor1
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    honor2
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    ดัชนีราคาผู้บริโภค คืออะไร ส่งผลต่อกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างไร

    8 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 23 พ.ค. 2566 03:29 น.

    ก่อนจะเข้าบทความเรามาทำความรู้จักกับดัชนีผู้บริโภคหรือ CPI ที่ย่อมาจาก Consumer Price Index  กันก่อนว่ามีความเป็นมาอย่างไร นักลงทุนบางคนอาจจะยังรู้จักไม่มากนัก บทความนี้ได้หาคำตอบมาให้นักลงทุนหมดแล้ว

    ดัชนีราคาผู้บริโภคคืออะไร? เชื่อถือได้แค่ไหน?

    ดัชนีผู้บริโภคหรือ (CPI) เป็นดัชนีชี้วัดตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ ที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหนในแต่ละช่วงเวลา เช่น 


       - ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน 

       - เทียบกับเดือนปัจจุบันที่ผ่านมา

       - เทียบดัชนีเฉลี่ยกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


    โดย CPI จะเป็นตัววัดมูลค่ารวมในระบบเศรษฐกิจ ทำการวัดกำลังซื้อของหน่อยสกุลเงินของประเทศ ในการคำนวณนั้นจะนำค่าเฉลี่ยของราคาสินค้าและบริการมีใช้คำนวณ CPI ต่อมาก็ได้มีการใช้กันอย่างเป็นวงกว้าง อย่างเช่น คนว่างงาน ผู้ทำอาชีพอิสระ ฯลฯ เพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้สถานะทางเศรษฐกิจ เป็นตัวสะท้อนเงินเฟ้อทางเศรษฐกิจให้เห็นถึงภาวะเงินเฟ้อหรือมูลค่าของเงิน แล้วสามารถนำไปใช้ให้นักลงทุนปรับพอร์ตรับมือกับเงินเฟ้อได้ด้วย


    • ดัชนีราคาผู้บริโภคมีกี่ประเภท


    ประเภท

    ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป

    ดัชนีราคาผู้บริโภครายได้น้อย

    ดัชนีราคาผู้บริโภคเขตชนบท

    ครัวเรือนที่ตั้ง

    ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพ และปริมณฑล

    ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพ และปริมณฑล

    ในเขตเทศบาลเมือง 4 ภาค กรุงเทพ และปริมณฑล

    สมาชิกในครัวเรือน

    1 - 5  คน

    1 - 5  คน

    2 - 6  คน

    รายได้/ต่อครัวเรือน

    3,000 – 60,000 บาท

    3,000 – 15,000 บาท

    2,000 – 25,000 บาท


    • ประโยชน์และข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้บริโภค

    ประโยชน์ของ CPI

        - ใช้วัดภาวะอัตราเงินเฟ้อระดับจังหวัดและประเทศ

        - เป็นแนวทางมาตรฐานในการปรับค่าจ้าง เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ และเงินช่วยเหลือสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ 

        - เป็นแนวทางในการปรับค่าจ้างแรงงาน เงินเดือนของข้าราชการและเอกชน

        - ใช้ในการหาค่าของเงินหรือมูลค่าที่แท้จริง (Real value) ของประชาชน

        - ใช้วัดค่าครองชีพของประชากรทุกระดับรายได้

        - ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย  พยากรณ์การตลาด  และราคาสินค้าต่าง ๆ ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการเงินและการคลังของประเทศ


    ข้อจำกัดของ CPI

         - ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ใช้วัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงราคาแท้จริงของสินค้าและบริการแต่ไม่มีผลต่อการวัดปัจจัยอื่น ๆ 

         - ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่ซื้อขายกันในกลุ่มคนทำงานและมีรายได้ระดับกลางเท่านั้น     ไม่สามารถนำไปใช้กับผู้มีรายได้ระดับอื่นหรือใช้กับคนทั่วไปได้ 

         - ไม่สามารถใช้แทนดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดหรือบุคคลหนึ่งได้ เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคแบบกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกัน


    • พารามิเตอร์ใดที่ส่งผลต่อ CPI 

    ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาผู้บริโภคคือ อัตราแลกเปลี่ยน ปริมาณของค่าเงิน การว่างงาน เศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ ที่จะเป็นเครื่องมือในการอธิบายอัตราการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภค-บริโภคต่าง ๆ 


    ตัวอย่างเช่น 

       - อัตราแลกเปลี่ยน อาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อเศรษฐกิจไทย อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว จะทำให้รายได้จากการส่งออกที่แปลงเป็นมูลค่าเงินบาทลดลง รวมไปถึงส่งผลต่อเนื่องไปยังค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกด้วย


       - อัตราการว่างงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อ CPI เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนลดลง ไม่เกิดการกระจายรายได้ทำให้เกิดปัญหาทางสังคม จนนำไปสู่ความสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งรวมไปถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย


    • ประวัติดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศไทย

    การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ในประเทศไทย จัดทำโดยกรมการสนเทศ ในปี พ.ศ. 2486 แต่เป็นการใช้งานเฉพาะภายในหน่วยงานเท่านั้น ต่อมาถึงได้มีการเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2491 โดยใช้ปี พ.ศ. 2491 มาเป็นฐานการพัฒนาปรับปรุงการจัดทำดัชนีราคา จนมาเป็นดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบันนั่นเอง จากนั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงดัชนีราคา CPI มาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ


    ระยะที่ 1  ระยะเริ่มต้น  (ปี 2486 - 2504)

       - เป็นการจัดทำดัชนีค่าครองชีพขึ้นมา เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของคนงาน ข้าราชการรายได้น้อยในกรุงเทพฯ มีรายการสินค้าที่สำรวจเพียง 21 รายการเท่านั้น  

       - ต่อมาได้จัดทำดัชนีราคาขายปลีก เป็นการคำนวณแบบง่าย ๆ เป็นราคาเฉลี่ยสัมพัทธ์ของสินค้า  58  ชนิด


    ระยะที่  2  ระยะพัฒนา  (ปี  2505 – 2519)

    เริ่มเข้าสู่ยุคการปฎิรูป มีการจัดทำดัชนีผู้บริโภคครั้งใหญ่ 

       - มีการสำรวจรายจ่ายของครอบครัวเฉพาะในเขตพื้นที่ เพื่อนำมาคำนวณน้ำหนักดัชนีราคาผู้บริโภค CPI และปรับปรุงดัชนีผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน

       - นำผู้เชี่ยวชาญทางสถิติมาช่วยปรับปรุงให้คำแนะนำ และเพิ่มรายการสินค้าเป็น 232 รายการ  


    ระยะที่  3  ระยะสืบสานและก้าวหน้า  (ปี  2519 – ปัจจุบัน)

       - ระยะที่  3 นี้ มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เข้าสู่ระบบสากลแล้ว และมีการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ มาตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป

    ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

    CPI ของประเทศไทยในปี 2564

    CPI ของประเทศไทยในปี 2564

    ที่มา:price.moc.go.th


    ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 101.86 (ปีฐาน 2562 = 100)


    เมื่อเทียบกับ

    การเปลี่ยนแปลง

    ร้อยละ

    เดือนธันวาคม 2563 (YoY)

    สูงขึ้น

    2.17

    เดือนพฤศจิกายน 2564 (MoM)

    ลดลง

    -0.38

    เฉลี่ย ปี 2564 เทียบกับ ปี 2563 (AoA)

    สูงขึ้น

    1.23

    ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน (YoY)

    สูงขึ้น

    2.42

    ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(QoQ)       

    สูงขึ้น

    1.80


    อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2564เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.17 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2564 สูงขึ้น ร้อยละ 2.71)

    CPI ของประเทศไทยในปี 2565

    CPI ของประเทศไทยในปี 2565

    ที่มา:price.moc.go.th


    ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 107.86 (ปีฐาน 2562 = 100)


    เมื่อเทียบกับ

    การเปลี่ยนแปลง

    ร้อยละ

    เดือนธันวาคม 2564 (YoY)

    สูงขึ้น

    5.89

    เดือนพฤศจิกายน 2565 (MoM)

    ลดลง

    -0.06

    เฉลี่ย ปี 2565 เทียบกับ ปี 2564 (AoA)

    สูงขึ้น

    6.08

    ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน (YoY)

    สูงขึ้น

    5.81

    ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)

    สูงขึ้น

    0.40

    ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 107.86 เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 5.89 (YoY) (พฤศจิกายน 2565 สูงขึ้น ร้อยละ 5.55)


    ตาราง สรุปดัชนีเศรษฐกิจการค้า ปี 2564 - 2566



    2564

    2565

    2566

    ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI

    เฉลี่ย

    ม.ค.

    ก.พ.

    มี.ค.

    เม.ย.

    พ.ค.

    มิ.ย.

    ก.ค.

    ส.ค.

    ก.ย.

    ต.ค.

    พ.ย.

    ธ.ค.

    เฉลี่ย

    ม.ค.

    เฉลี่ย

    เงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI)

    1.23

    3.23

    5.28

    5.73

    4.65

    7.10

    7.66

    7.61

    7.86

    6.41

    5.98

    5.55

    5.89

    6.08

    5.02

    5.02

    -หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มี

    -0.13

    2.39

    4.51

    4.56

    4.83

    6.18

    6.42

    8.02

    9.35

    9.82

    9.58

    8.40

    8.87

    6.92

    7.70

    7.70

    อาหารสด

    -1.00

    3.05

    3.67

    3.20

    3.47

    5.82

    5.87

    7.76

    10.32

    10.97

    10.48

    8.08

    8.91

    6.81

    7.32

    7.32

    -หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม

    2.12

    3.81

    5.79

    6.56

    4.54

    7.74

    8.49

    7.35

    6.83

    4.10

    3.56

    3.59

    3.87

    5.51

    3.18

    3.18

    พลังงาน

    11.88

    19.22

    29.22

    32.43

    21.07

    37.24

    39.97

    33.82

    30.50

    16.10

    13.07

    13.09

    14.62

    24.49

    11.08

    11.08

    เงินเฟ้อพื้นฐาน

    (Core CPI)

    0.23

    0.52

    1.80

    2.00

    2.00

    2.28

    2.51

    2.99

    3.15

    3.12

    3.17

    3.22

    3.23

    2.51

    3.04

    3.04

    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

















    -โดยรวม

    43.0

    44.6

    44.6

    43.8

    45.7

    44.7

    44.3

    45.5

    46.3

    46.4

    47.7

    49.9

    50.4

    46.2

    51.3

    51.3

    ในปัจจุบัน

    35.3

    35.6

    35.1

    34.5

    36.4

    35.2

    34.4

    36.0

    36.9

    37.1

    38.7

    40.4

    41.3

    36.8

    42.3

    42.3

    ในอนาคต

    48.1

    50.6

    50.9

    50.0

    52.0

    51.0

    50.9

    51.9

    52.6

    52.5

    53.7

    56.3

    56.5

    52.4

    57.2

    57.2

    -กลุ่มอาชีพ

















    เกษตรกร

    43.6

    47.0

    46.3

    45.5

    46.9

    45.7

    45.4

    46.4

    47.1

    47.9

    49.1

    49.2

    50.9

    47.3

    50.6

    50.6

    พนักงานเอกชน

    41.5

    41.6

    46.1

    41.4

    43.9

    42.5

    42.2

    43.7

    43.2

    44.0

    45.3

    48.6

    49.3

    43.9

    50.5

    50.5

    ผู้ประกอบการ

    43.7

    45.4

    45.8

    43.7

    46.2

    45.6

    44.8

    46.0

    48.6

    47.2

    49.2

    51.7

    51.1

    47.1

    52.6

    52.6

    รับจ้างอิสระ

    40.5

    42.8

    42.4

    41.6

    43.4

    42.5

    42.8

    43.3

    44.7

    44.4

    45.5

    47.6

    47.4

    44.0

    48.4

    48.4

    พนักงานของรัฐ

    48.9

    50.5

    51.3

    50.7

    52.1

    50.7

    49.3

    51.6

    52.1

    51.5

    52.9

    55.7

    55.7

    52.0

    56.9

    56.9

    นักศึกษา

    39.9

    39.0

    39.5

    41.0

    43.0

    41.6

    43.4

    45.5

    44.9

    45.6

    45.7

    50.1

    51.1

    44.2

    50.9

    50.9

    ไม่ได้ทำงาน

    37.9

    41.5

    40.9

    42.9

    40.8

    41.9

    41.4

    40.3

    42.2

    41.3

    40.9

    44.9

    45.6

    42.1

    46.9

    46.9

    -รายภาค

















    กรุงเทพฯ/ปริมณฑล

    40.7

    35.4

    38.6

    42.0

    42.7

    40.7

    44.2

    43.4

    43.1

    43.8

    48.5

    50.8

    48.0

    43.4

    52.2

    52.2

    กลาง

    42.9

    44.4

    43.6

    43.0

    46.2

    44.5

    43.5

    44.8

    45.1

    45.4

    44.9

    49.3

    49.5

    45.4

    50.9

    50.9

    เหนือ

    41.3

    44.6

    43.7

    42.9

    43.8

    43.2

    42.1

    43.4

    44.7

    45.9

    46.9

    49.5

    50.3

    45.1

    59.7

    49.7

    ตะวันออกเฉียงเหนือ

    44.4

    46.8

    47.2

    45.3

    47.3

    46.4

    46.8

    47.4

    49.3

    47.8

    49.8

    51.3

    51.5

    48.1

    52.0

    52.0

    ใต้

    44.0

    45.0

    45.2

    44.4

    47.0

    47.8

    44.2

    46.6

    46.7

    46.8

    48.5

    48.7

    50.5

    46.7

    51.1

    51.1



    ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนมกราคม 2566 เท่ากับ 108.18 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 5.02(YoY) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น ร้อยละ 3.18 (YoY) (เดือนธันวาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 3.87)


    การคาดการณ์ CPI สำหรับประเทศไทยในปี 2566

    ประเมินการคาดการณ์ CPI เศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโตที่ 3.4% จะฟื้นตัวต่อเนื่อง จากปี 2565 ที่ขยายตัวได้ 3.2% โดยแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจะถูกเปลี่ยนผ่าน ไปสู่ภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเครื่องยนต์เดียวจึงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่มาก แต่คาดว่าจำนวนของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องโดยอาจแตะระดับ 22.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จากแรงกดดันของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงจะกระทบต่อการส่งออกซึ่งอาจขยายตัว เพียง 0.7% เท่าน้ัน ส่วนค่าเงินบาทยังเผชิญความผันผวนจากการคาดการณ์นโยบาย การเงินของสหรัฐฯ โดยมีการประเมินว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.75-36.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งต้องเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนผ่านเชิงนโยบายสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะมาตรการทางการเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับค่าธรรมเนียม FIDF กลับสู่ระดับเดิมที่ 0.46% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่า ณ สิ้นปี 2566 จะขึ้นไปสู่ระดับ 2.00% เพื่อจัดการกับเงิน เฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง จึงเป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัว


    ดัชนีราคาผู้บริโภคส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร?

    การที่ค่า CPI สูงขึ้น จะเป็นตัวผลักดันให้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงมากขึ้น ตัวเลข CPI ครั้งล่าสุด คือ 0.3% และเมื่อรายงาน CPI ออกมาแล้วจะทำให้เกิดความผันผวนเป็นอย่างมากในตลาดการลงทุน จากตัวเลขที่สูงขึ้นจะทำให้นักลงทุนหันไปกระจายความเสี่ยงกับตลาดคริปโตฯ กองทุน และตลาดหุ้นแทน 


    ในทางกลับกันหากตัวเลขการปรับอัตราดอกเบี้ยออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อนได้ค่อย ๆ ลดอัตราเงินเฟ้อลง ผลกระทบคือค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นและทำให้สกุลเงินอื่น ๆ รวมถึงสกุลเงินดิจิทัลและสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนค่าลง


    ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ส่งผลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยอีกด้วย แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อทิศทางราคาสินทรัพย์อย่างแน่นอน เมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ย่อมดึงดูดเม็ดเงินให้เข้ามาลงทุนในสินทรัพย์การเงินที่เป็นสกุลเงิน USD ทำให้สกุลเงิน USD แข็งค่า และการแข็งค่าของสกุลเงิน USD ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ภายในประเทศสูงขึ้น จึงส่งผลให้ความต้องการสินค้าที่มีราคาสูงลดน้อยลงและสินค้าที่มีราคาต่ำกว่าจากนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลต่อค่า CPI ภายในประเทศตามมานั่นเอง

    อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยส่งผลต่อกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร?

    อัตราเงินเฟ้อทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นลดลง โดยช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่หักด้วยอัตราเงินเฟ้อนั้นมักจะติดลบไปด้วย และทำให้การวางแผนการลงทุนนั้นมีความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่อาจคาดการณ์ได้แน่นอนว่าจะต้องลงทุนด้วยจำนวนเท่าไหร่เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ซึ่งเป็นผลมาจากผลตอบแทนที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินเฟ้อ ทำให้ส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาดหุ้นด้วย เนื่องจากการเพิ่มดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้นตามนั่นเอง 


    • ผลบวกบางประการของอัตราเงินเฟ้อ 

    อัตราเงินเฟ้อทำให้เราทำกำไรจากการลงทุนในหุ้นเพื่อจัดการกับความเสี่ยงได้ เพราะการถือเงินสดไว้กับตัวเองนั้นจะทำให้มูลค่าของเงินที่เราถือไว้นั้นลดลง หลายคนจึงเลือกลงทุนผ่านหุ้น 

       - กลุ่มธนาคาร SCB, KBANK, BBL

       - กลุ่มประกัน BLA, TIPH

       - กลุ่มส่งออกอาหาร  ASIAN, CFRESH


    หุ้นกลุ่มพวกนี้จะได้รับประโยชน์โดยตรง นอกจากจะเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้นแล้ว ยังสามารถทำกำไรได้จากการลงทุนเทรดทองคำ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนเพื่อเก็งกำไร เพราะซื้อง่าย ขายคล่อง และจับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น 

       - การลงทุนในทองคำแท่ง

       - การลงทุนทองคำผ่านกองทุนรวม และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Gold Futures)

       - การเทรดทองคำออนไลน์ สามารถซื้อขายได้สะดวก 


    ปัจจุบันมีผู้ให้บริการผ่านโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือมากมาย เช่น โบรกเกอร์ Mitrade เป็นแพลตฟอร์มเทรดที่ใช้งานง่าย และยังสามารถเลือกการเทรดได้หลากหลาย เช่น เทรดฟอเร็กซ์ สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนี หุ้น และตราสารทางการเงินยอดนิยมอื่น ๆ อีกมากมายบน Mitrade

    คำแนะนำการลงทุนภายใต้ภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อในปี 2566

    เมื่อภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น อย่าเก็บเงินสดไว้ที่บ้าน ทางที่ดีให้นำเงินไปฝากธนาคารโดยการกินดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ อย่าไปฝากแบบระยะยาว และเลือกลงทุนในตราสารหุ้นต่าง ๆ ที่ได้กำไรจากภาวะเงินเฟ้อ จะมีการลงทุนอะไรบ้าง ไปดูกันเลย


          - กองทุนรวม แนะนำให้กระจายุความเสี่ยงผ่านการลงทุนในหลายสินทรัพย์ ที่มีผู้จัดการกองทุนจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้ เป็นวิธีที่สะดวกสำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุนแต่มีเวลาน้อย 


          - ลงทุนในตราสารหนี้ แต่ไม่ควรถือตราสารหนี้ในระยะยาวมากเกินไปในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะการปรับนโยบายดอกเบี้ยขึ้น อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินต้องมีการปรับเพิ่มตามไปด้วย  แต่อาจจะต้องเลือกประเภทของตราสารหนี้ที่เป็น Floating Rate bond หรือ Inflation Linked Bond ที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละงวดตามอัตราดอกเบี้ย


          - เทรดทองคำ หลายคนรู้กันดีว่าทองคำเป็นสิ่งที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดีเลย ยิ่งเงินเฟ้อสูงราคาทองยิ่งเติบโต สามารถลงทุนได้ในระยะยาวอีกด้วย แนะนำเลยการเทรดทองในช่วงภาวะเงินเฟ้อน่าสนใจมาก


          - ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จะทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อได้เช่นกัน เนื่องจากราคาสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ 

          - ลงทุนหุ้น ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ แต่ก็ต้องเลือกหุ้นที่มีความปลอดภัยสูง อาทิเช่น



    หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์

    ราคาขายสินค้าและอัตรากำไรขั้นต้นปรับสูงขึ้น                                        

    หุ้นที่ประกอบธุรกิจนำเข้า

    ต้นทุนการนำเข้าสินค้าต่ำลงจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น                                        

    ข้อสังเกตก่อนการลงทุน

    - รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

    - รายได้จากค่าธรรมเนียม

    ข้อสังเกตก่อนการลงทุน

    -ต้นทุน

    - อัตรากำไรขั้นต้น

    หุ้นธนาคารพาณิชย์

    ยอดสินเชื่อเติบโต

    หุ้นประกันชีวิต

    ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้ปรับสูงขึ้น

    ข้อสังเกตก่อนการลงทุน

    - รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ

    - รายได้จากค่าธรรมเนียม

    ข้อสังเกตก่อนการลงทุน

    - ผลกำไร-ขาดทุน จากการลงทุน



    อย่างสุดท้ายเลือกลงทุนใน Cryptocurrency ก็เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้นะ เพราะว่าเหรียญ Bitcoin มีจำนวนจำกัด ทำให้มีความต้องการซื้อมากขึ้น ก็จะเป็นการนำไปสู่ราคาของ Cryptocurrency ที่มากขึ้นตามไปด้วย


    และทั้งหมดนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นของการลงทุนภายใต้สภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อในปี 2566 ผู้เขียนหวังว่านักลงทุนทุกคนจะนำข้อมูลการลงทุนไปปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน และเลือกจัดการพอร์ตการลงทุนของตนเองให้เข้ากับสภาวะของตลาดนะคะ 


    อ้างอิง:krungthai


    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    notDataไม่พบข้อมูล
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์