วิเคราะห์ราคาทองวันนี้|วิเคราะห์ทองคํา forex วันนี้|วิเคราะห์ XAUUSD วันนี้ - วันที่ 8 พ.ค. 2568

ราคาทองคำวันนี้
กราฟแสดงราคาทองคำวันนี้
*ค่าคอม ฯ 0 และสเปรดต่ำ 0️⃣
*เงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลลาร์ 💰
*โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ 🎁
บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> |
วิเคราะห์ราคาทองวันนี้|วิเคราะห์ทองคํา forex วันนี้|วิเคราะห์ XAUUSD วันนี้
วิเคราะห์ราคาทองวันนี้ ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 เปิดหัวมาก็ต้องบอกว่าราคาทองคำ XAU/USD มีอาการแกว่งตัวให้ใจหายใจคว่ำกันเล็กน้อยเมื่อวาน
ตัวการหลักก็คือการประชุมของ “เฟด” หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่คณะกรรมการ FOMC มีมติ “คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ไว้ที่ 4.25%–4.50% เป็นครั้งที่สามของปี 2025 นี้ เหตุผลคือเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง แถมยังเสี่ยงทั้งเรื่องการจ้างงานและเสถียรภาพราคา เฟดยังวางใจไม่ได้นั่นเอง
ประธาน Jerome Powell ออกมาด้วยมาดนิ่งๆ ว่านโยบายปัจจุบัน “เหมาะสม” ดีแล้ว เฟดไม่ได้รีบร้อนปรับเปลี่ยน แต่ก็พร้อม “ดำเนินการอย่างรวดเร็วและเหมาะสม” หากสถานการณ์พลิกผัน แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือเป้าหมายเฟดอาจไม่สำเร็จ หากปัญหา “กำแพงภาษี” ยังอยู่ เอ๊ะ! เรื่องนี้ต้องจับตา
ท่ามกลางความนิ่งของเฟด ก็มีข่าวดีมาบ้าง เมื่อรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ Scott Bessent และรองนายกฯ จีน He Lifeng เตรียมเปิดโต๊ะเจรจาเรื่อง “สงครามการค้า” ที่สวิตเซอร์แลนด์ ข่าวนี้ช่วยให้นักลงทุนใจชื้นขึ้น ลดความกลัวสงครามการค้า ทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย เพราะบางส่วนเทขายทำกำไรทองคำไปอุ้มดอลลาร์แทน แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักยังมองว่า ราคาทองคำโดยรวมยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้อีก จากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-ฮามาส หรืออินเดีย-ปากีสถาน ปัจจัยเหล่านี้แหละที่หนุนให้ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่น่าสน
ปัจจัยไหนทำตลาดป่วน จนประธานเฟดยังกุมขมับ?
กลับมาที่ Jerome Powell เพราะทุกคำพูดของแกมีผลต่อตลาดโลก โดยในงานแถลงข่าวหลังประชุม FOMC แกย้ำจุดยืน “รอดูไปก่อน” (wait and see approach) เมื่อถูกถามว่าระหว่าง “เงินเฟ้อ” กับ “การจ้างงาน” ตอนนี้อะไรน่าห่วงกว่า หรือต้องการการดูแลเร่งด่วน Powell ก็ตอบแบบเลี่ยงๆ ว่า “ข้อมูลหลังจากนี้จะเป็นตัวบอกเอง”
Powell ยอมรับตรงๆ ว่าความเสี่ยงทั้งการจ้างงานร้อนแรงและเงินเฟ้อพุ่งเพิ่มสูงขึ้นทั้งคู่ เทียบกับมีนาคม และที่สำคัญ ยังบอกไม่ได้ว่าเรื่องนี้จะคลี่คลายไปทางไหน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนมหาศาลจากนโยบายภาษีว่าจะจบอย่างไร กระทบเศรษฐกิจ การเติบโต การจ้างงานแค่ไหน ยังเร็วเกินไปที่จะรู้ ทำเอาหลายคนกุมขมับตาม!
แม้จะดูน่ากังวล แต่ Powell ก็ยังมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตแข็งแกร่ง ตลาดแรงงาน แข็งแกร่งมั่นคง เงินเฟ้อสูงกว่าเป้า 2% เล็กน้อย นโยบายปัจจุบัน “คุมเข้มเล็กน้อยถึงปานกลาง” (modestly or moderately restrictive) คือเข้มงวดน้อยกว่าปลายปีที่แล้ว เฟดมองว่าจุดนี้ ทำให้เราอยู่ในสถานะที่ดีที่จะรอดูสถานการณ์ และไม่จำเป็นต้องรีบร้อน เพราะต้นทุนการรอดูค่อนข้างต่ำ
เมื่อถูกถามถึงโอกาส Soft landing ตัว Powell ชี้ไปที่ความไม่แน่นอนของภาษีการค้าอีกครั้ง! ถ้ากำแพงภาษีถูกใช้จริงตามที่คุยกัน (ซึ่งยังไม่แน่) เฟดคงไม่เห็นความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายในอีกปีข้างหน้า แต่แกก็ย้ำว่า “เรายังไม่รู้แน่ชัด” เพราะมันไม่แน่นอนสูงมากทั้งขนาด ขอบเขต และระยะเวลาของภาษี
แล้วเรื่อง “ลดดอกเบี้ย” ปี 2025 ล่ะ มีลุ้นไหม? Powell ตอบสไตล์เดิมๆ ว่า “แล้วแต่สถานการณ์” มีทั้งกรณีที่อาจเหมาะสมและไม่เหมาะสมที่จะลด สรุปคือ “เรายังไม่รู้” จนกว่าจะชัดเจนเรื่องภาษีและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
แต่มีประเด็นที่ Powell พูดหนักแน่นมาก คือแรงกดดันจากประธานาธิบดีทรัมป์ที่ให้ลดดอกเบี้ย “ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเราเลย” เฟดตัดสินใจโดยอิงข้อมูลเศรษฐกิจ แนวโน้ม และความเสี่ยงเท่านั้น ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจที่แย่ลงหลังประกาศขึ้นภาษีเมื่อ 2 เมษายน Powell บอกว่า “หากยังเป็นเช่นนี้ และไม่มีอะไรมาบรรเทา ก็คงจะเริ่มส่งผลกระทบต่อข้อมูลเศรษฐกิจ” แต่ตอนนี้ “ยังไม่เกิดขึ้น” เฟดกำลังจับตาดูใกล้ชิดที่สุดแต่ยังไม่เห็นสัญญาณชัดเจนในข้อมูล
ปิดท้ายด้วยคำถามที่ว่าทำไม Powell ยังไม่เคยพบทรัมป์ แกตอบชัดว่า “ไม่เคยขอพบประธานาธิบดีคนไหน และจะไม่ทำด้วย” มันควรมาจากอีกทาง คือประธานาธิบดีต้องการพบ แต่เรื่องนั้นยังไม่เกิดขึ้น ชัดเจนสไตล์คนคุมนโยบายการเงิน!
รายใหญ่ยังเคลื่อนไหว! ธนาคารกลางทั่วโลกเดินหน้าตุนทองคำไม่ยั้ง
พักเรื่องนโยบายเฟด มาดูความเคลื่อนไหวของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก ที่ยังคงช้อนซื้อทองคำเข้าคลังกันต่อเนื่อง ไม่สนว่าราคาจะพุ่งไปถึงไหน
เริ่มที่พี่ใหญ่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) เดือนเมษายนเพิ่มทองคำสำรองอีก 2 ตัน เป็นการซื้อต่อเนื่องเดือนที่ 6 โดยตั้งแต่ต้นปี 2025 จีนซื้อสุทธิไปแล้ว 15 ตัน ทองคำสำรองพุ่งแตะ 2,294 ตัน
ช่วง 6 เดือนล่าสุด จีนซื้อเพิ่มราว 30 ตัน ทั้งที่ราคาทองบวกเกือบ 30% ในปีนี้ ข้อมูลนี้จาก Krishan Gopaul ที่ World Gold Council (WGC) ส่วน Ross Norman จาก Metals Daily บอก Bloomberg ว่า “จีนจะซื้อก็ต่อเมื่อราคาดึงดูดใจ” และคาดว่าจะซื้อทองต่อไป พร้อมลดการถือครองสินทรัพย์ดอลลาร์สหรัฐฯ
World Gold Council (WGC) เผยรายงาน Gold Demand Trends ล่าสุดว่า การซื้อทองของธนาคารกลางยังเป็น “เสาหลักที่แข็งแกร่ง” ในตลาดทองคำ แม้ความต้องการโดยรวมจะชะลอตัวจากปีก่อน มกราคม-มีนาคม 2025 ธนาคารกลางซื้อไป 243.7 ตัน ลดลง 21% YoY แต่ยังถือว่าแข็งแกร่ง สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีถึง 24% และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปีล่าสุด (ช่วงต้องการสูงมาก) เพียง 9% นักวิเคราะห์ WGC เสริมว่า แนวโน้มการซื้อทองโดยรวมของธนาคารกลางเข้าสู่ปีที่ 16 แล้ว
อนาคตความต้องการทองคำจากกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร? WGC คาดว่า ความไม่แน่นอนที่ยังสูง จะยังคงทำให้ทองคำมีบทบาทสำคัญในฐานะองค์ประกอบมีค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป และจะช่วยสนับสนุนความต้องการทองคำในระยะสั้น
สรุปคือ ทองยังเนื้อหอมในสายตาธนาคารกลางทั่วโลก บวกกับปัจจัยความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคุกรุ่น ก็เป็นแรงหนุนให้ราคาทองคำน่าจับตา และมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีก
วิเคราะห์กราฟทองวันนี้
หลังจากเมื่อวานใจหายใจคว่ำกับแท่งแดงยาวที่ทุบลงมาจนเกือบจะหลุดแนวรับสำคัญ $3,366 แต่ล่าสุด จากภาพที่เราเห็น ราคาทองคำดูเหมือนจะฮึดสู้ ดีดตัวกลับขึ้นมายืนเหนือแนว $3,409 - $3,410 ได้อีกครั้งแบบสวยๆ ต้องบอกว่างานนี้มีลุ้นกันมันหยดจริงๆ ครับพี่น้อง
เมื่อวานที่เราคุยกันว่าแนว $3,366 คือจุดวัดใจสำคัญสุดๆ เพราะถ้าหลุดแนวนี้ไปได้ มีหวังได้เห็นการถอยไปตั้งหลักกันใหม่ที่ $3,330 เลยทีเดียว แต่จากกราฟล่าสุด ดูเหมือนว่าแนวรับ $3,366 จะทำงานได้อย่างดี สามารถหยุดแรงขายเอาไว้ได้ ราคามีการดีดตัวกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนตอนนี้กลับมายืนเหนือเส้น EMA12 (สีแดง) ได้อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีมากๆ ว่าแรงซื้อยังคงหนุนหลังอยู่ไม่ห่าง และที่สำคัญคือราคากลับมาทดสอบแนวต้านเดิมที่บริเวณ $3,409 - $3,410 อีกรอบ
หากรอบนี้สามารถเบรคทะลุแนวต้านนี้ขึ้นไปยืนได้อย่างมั่นคงแข็งแรง มีโอกาสสูงมากที่เราจะได้เห็นราคาทองคำเดินหน้าต่อไปยังเป้าหมายถัดไปที่ $3,420 หรืออาจจะไปได้ไกลกว่านั้น
ด้าน RSI หลังจากที่เมื่อวานเริ่มมีอาการหักหัวลงมาบ้างเล็กน้อย ตอนนี้ดูเหมือนจะเริ่มเงยหัวกลับขึ้นไปอีกครั้ง สะท้อนว่าโมเมนตัมฝั่งซื้อเริ่มกลับมาคึกคัก ส่วน Stoch RSI ก็เริ่มหักหัวขึ้นจากโซนล่าง ดังนั้น สถานการณ์ตอนนี้ยังคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะถึงแม้ว่าภาพรวมจะดูดีขึ้น แต่ความผันผวนก็ยังคงสูงอยู่
ในอีก 24 ชั่วโมงข้างหน้า บอกเลยว่า “ห้ามกระพริบตา” แนวต้าน $3,409 - $3,410 คือด่านสำคัญที่ต้องฝ่าไปให้ได้ ถ้าผ่านไปได้แบบสวยๆ มีวอลุ่มสนับสนุนแน่นๆ ก็เตรียมเฮกันได้เลย
แต่ถ้าเกิดแรงขายกลับมาอีกครั้ง จนราคาทุบกลับลงไปต่ำกว่าแนว $3,366 อีกรอบ คราวนี้แหละครับ สถานการณ์อาจจะพลิกกลับตาลปัตรกลายเป็นฝั่งหมีได้เปรียบอีกครั้งก็เป็นได้
แนวรับสำคัญที่ต้องจับตามอง
$3,366
$3,331
$3,278
แนวต้านสำคัญที่ต้องจับตามอง
$3,409
$3,440
$3,474
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน