7 หุ้นโรงพยาบาล ตัวไหนดีในปี 2567
การลงทุนในหุ้นโรงพยาบาลถือว่าเป็นหนึ่งในชุดหุ้นกองหลังหรือ Defensive เนื่องจากมีความสำคัญต่อสังคมและเศรษ ฐกิจทุกชาติเนื่องจากการดูแลสุขภาพมีความสำคัญต่อทุกคน ดังนั้นบทความนี้เราจะมารู้จักให้มากขึ้นกับหุ้นโรงพยาบาล
วิธีเลือกซื้อหุ้นโรงพยาบาล
การเลือกซื้อหุ้นโรงพยาบาลเป็นการลงทุนที่ต้องทำอย่างรอบคอบและอย่างมีความระมัดระวัง เนื่องจากนี่เป็นบางข้อแนะนำเพื่อสมควรในการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้นโรงพยาบาล:
👉 ศึกษาโรงพยาบาล: ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโรงพยาบาลที่คุณสนใจ เราค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของบริการทางการแพทย์, ค่าใช้จ่าย, รายได้, และนโยบายสาธารณสุขที่มีผลต่อโรงพยาบาล
👉 วิเคราะห์ความสามารถการเงิน: ตรวจสอบการเงินของโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายและรายได้ การดำเนินการแพทย์ที่ใช้ค่าใช้จ่าย และรายงานการเงินอื่น ๆ ของโรงพยาบาล
👉 วิเคราะห์โครงสร้างองค์กร: ทราบถึงโครงสร้างและการบริหารจัดการของโรงพยาบาล เข้าใจถึงการบริหารจัดการและการวางแผนทางธุรกิจของโรงพยาบาล
👉 ระดมข้อมูลเกี่ยวกับราคาหุ้น: ระดมข้อมูลเกี่ยวกับราคาหุ้นของโรงพยาบาล ควรตรวจสอบการแสดงผลราคาหุ้นในอดีตและแนวโน้มล่าสุด รวมถึงข่าวสารทางการเงินและการลงทุนที่มีผลต่อราคาหุ้น
👉 รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: หากคุณไม่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หุ้น ควรพิจารณาการรับคำแนะนำจากนักวิเคราะห์หุ้นที่มีประสบการณ์และมีความรู้ในวงการดูแลสุขภาพ
นักลงทุนหลายคนจะเริ่มลงทุนหุ้นกลุ่มนี้อาจสับสน ว่าจะเลือกลงทุนในหุ้นของโรงพยาบาลไหนดี เพราะมีมากมายหลายตัวแถม แต่ละตัวก็ชื่อเสียงโรงพยาบาลหรือไปใช้บริการมาน่าลงทุนทั้งนั้น เรามาติดตามกันให้ชัดเจนขึ้นสำหรับการเลือกหุ้นในกลุ่มนี้
1) ประเภทของหุ้นโรงพยาบาล
ดูทีผู้ที่มารับการรักษาหรือคนไข้ เป็นหลัก เช่น โรงพยาบาลที่โฟกัสไปยังกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ เช่น BH BDMS BCH และประเภทที่สอง คือ โรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าในประเทศ หุ้นอย่างเช่น VIBHA CHG PR9 THG นั่นเอง เพราะว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็มีนโยบายจับลูกค้าที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ฉะนั้นถ้าเราเข้าใจรายได้ที่มาจากลูกค้ากลุ่มไหน หรือแม้แต่จุดเด่นของโรงพยาบาลนั้น จะทำให้เราสามารถจับจุดวิเคราะห์ได้ถูก เพราะหากเป็น รพ. ที่เน้นต่างชาติเป็นหลัก จำเป็นต้องติดตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นเช่นกัน เช่น หุ้นโรงพยาบาล ที่จับลูกค้ากลุ่มยุโรป พอประเทศในกลุ่มมีปัญหาเศรษฐกิจหรือซบเซา ทำให้การบินมาก็มาใช้บริการน้อยลงนั่นเองครับ หรือถ้าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงจากประเทศอาหรับ มีการจัดแพคเกจเพื่อดึงดึงลูกค้าในกลุ่มนี้เป็นต้น
2) ฝึกดูอัตราส่วนตัวเลขทางการเงิน
การศึกษาอัตราส่วนตัวเลขทางการเงินเช่น PE (Price-to-Earnings) และ ROE (Return on Equity) มีความสำคัญเนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในหุ้นหรือบริษัท เรามาดูความสำคัญของแต่ละตัวดังนี้
⭐ PE เป็นอัตราส่วนที่นิยมใช้ในการประเมินความคุ้มค่าของหุ้นหรือบริษัท โดยเปรียบเทียบราคาหุ้นกับกำไรต่อหุ้น (Earnings per Share - EPS) ของบริษัท หรือ PE = ราคาหุ้น / EPS. โดยที่ค่า PE ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจว่ากำไรที่บริษัททำได้ต่อราคาหุ้นเป็นเท่าไร นอกจากนี้ยังช่วยในการเปรียบเทียบความคุ้มค่าของหุ้นในอุตสาหกรรมและระหว่างบริษัท
⭐ ROE คืออัตราส่วนที่บ่งบอกถึงกำไรที่บริษัททำได้ต่อส่วนของเงินทุนของผู้ถือหุ้น (Equity) ซึ่งเป็นส่วนทุนที่คนลงทุนเข้ามาในบริษัท. ROE ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจว่าบริษัทใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้า ROE สูงแสดงว่าบริษัทสามารถทำกำไรมากต่อส่วนของเงินทุนที่ถือหุ้น นี่อาจช่วยในการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในบริษัท
การศึกษา PE และ ROE จะช่วยในการตัดสินใจในการลงทุนในหุ้นหรือบริษัท โดยที่สูง PE และ ROE สูงสามารถหมายความว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงและต้องชำระราคาสูง แต่มีโอกาสทำกำไรมาก ส่วน PE ต่ำและ ROE ต่ำอาจชี้ว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงน้อยแต่กำไรน้อย คำสำคัญคือต้องพิจารณาและเปรียบเทียบอัตราส่วนนี้ร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อตัดสินใจการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายการเงินของคุณและระดับความเสี่ยงที่คุณพร้อมยอมรับ
3) กลยุทธ์ที่ใช้ทำธุรกิจและการเติบโต
ดูว่าธุรกิจของโรงพยาบาลนั้นๆสามารถเติบโตต่อไปในอนาคตโดยอาศัยกลยุทธแบบใด เพราะหมายถึงราคาหุ้นและเงินปันผลที่คาดหวังในทิศทางของโรงพยาบาล เช่น
⭐ กลยุทธ์การเติบโต ด้วยการควบรวมกิจการ อยากโตไวทั้งรายได้และกำไร ก็ใช้ทางลัดกันไปเลย โดยวิธีการซื้อโรงพยาบาลอื่น แล้วนำมารีโนเวทใหม่ ตกแต่งให้เป็นธีมเดียวกัน สวมแบรนด์ของเขาเข้าไป
⭐ กลยุทธ์ขยายสาขาโรงพยาบาลใหม่ในพื้นที่กลยุทธ์ เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่มีเชนสาขาของตัวเอง อาจจะไปเปิดสาขาเพิ่มในจุดยุทธศาสตร์ทีดี เป็นพื้นที่ต้องการโรงพยาบาลที่เหมาะกับรายได้และจำนวนความหนานแน่นของประชากร ใครที่ถือหุ้นโรงพยาบาลที่ขยายตัวจากการสร้างตึกใหม่ ก็ต้องรอกันหน่อย เพราะหลังจากสร้างเสร็จก็มีค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมามากมาย
⭐ กลยุทธ์จับกลุ่มเฉพาะความเชี่ยวชาญ กลยุทธ์นี้หลังๆอินเทรนท์มาแรงอย่างยิ่ง เช่น มีโรงพยาบาลแห่งหนึ่งจับกลุ่มคนจีนที่อยากมีลูก ทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ หรือโรงพยาบาลที่มีจุดเด่นเรื่อง แพคเกจครบวงจร ทั้งรักษาและมีคอร์สฟื้นฟูสปาไปพร้อมกัน แม้แต่การนำจุดขายเรื่องศัลยกรรมเข้ามาชูโรงเช่นกัน
7 หุ้นโรงพยาบาล ตัวไหนดีในปี 2567
1.หุ้น BDMS หรือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน)
บริษัทเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศ โดยมีโรงพยาบาลเครือข่ายในไทยและกัมพูชา ดำเนินการภายใต้ชื่อโรงพยาบาล 6 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบี เอ็น เอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล นอกจากนี้เครือข่ายของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ยังรวมถึงธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์ ได้แก่ ธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ธุรกิจผลิตยาและธุรกิจผลิตน้ำเกลือ เป็นต้น
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 448,949
🔸 กำไร ปี 2566(ล้านบาท) : 14,375
🔸 สัดส่วนรายได้ สัดส่วนรายได้คนไข้ในประเทศ อยู่ที่ 70% และ คนไข้ต่างชาติ 30%โดยคนไข้ประกันสุขภาพเป็นที่นิยมมากขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนคนไข้ประกันสุขภาพปัจจุบัน อยู่ที่ 36%
🔸 ROE : 15.53 %
🔸 P/E (เท่า) : 31.23
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : 1,750 บาท
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : 175,000 บาท
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน)
2.หุ้น BCH หรือ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน)
บริษัทดำเนินธุรกิจในรูปแบบกลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งมีโรงพยาบาลในเครือทั้งหมด 15 แห่ง และโพลีคลินิก 1 แห่ง ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดและในสปป.ลาว เพื่อให้บริการทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ-ตติยภูมิ ภายใต้ 4 กลุ่มโรงพยาบาล คือ 1.กลุ่มโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล 2.กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 3.กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ และ 4.กลุ่มโรงพยาบาลการุญเวช เพื่อให้บริการครอบคลุมผู้ป่วยทุกกลุ่มตั้งแต่ผู้ป่วยทั่วไป ชาวต่างชาติ และผู้ป่วยในโครงการประกันสังคม
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 51,121.71
🔸 กำไร 2566(ล้านบาท) : 1,406
🔸 สัดส่วนรายได้ มีสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยทั่วไปคิดเป็น 79.22% และสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยโครงการประกันสังคม 20.34% และสัดส่วนรายได้อื่น 0.44%
🔸 ROE 11.23%
🔸 P/E (เท่า) 36.35
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : 1,295 บาท
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : 129,500 บาท
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน)
3.หุ้น BH บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล ในกรุงเทพมหานคร โดยมีการให้บริการทางการแพทย์ครบวงจรทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมทั้งศูนย์บริการผู้ป่วยต่างชาติ และลงทุนในธุรกิจการแพทย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 178,856.12
🔸 กำไร 2566 (ล้านบาท) : 7,006
🔸 สัดส่วนรายได้ รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยชาวไทยคิดเป็นสัดส่วน 33.1% จากทั้งหมด ขณะที่รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยต่างประเทศคิดเป็น 66.9%
🔸 ROE 32.21 %
🔸 P/E (เท่า) 25.55
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : 18,900 บาท
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : 378,000 บาท
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
4.หุ้น CHG บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชน เริ่มก่อตั้งในปี 2529 จนถึงปัจจุบัน มีทุนจดทะเบียนรวม 1,100 ล้านบาท ประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวน 11 บริษัท มีสาขาของโรงพยาบาลสถานพยาบาลและคลินิกในกลุ่มรวมทั้งหมด 14 แห่ง
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 31,240.00
🔸 กำไร 2566 (ล้านบาท) : 1,046
🔸 สัดส่วนรายได้ กลุ่มลูกค้าหลัก ซึ่งเป็นสมาชิกประกันสังคม คิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณ 30% ของ CHG
🔸 ROE 13.90%
🔸 P/E (เท่า) 29.86
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : 245 บาท
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : 122,500 บาท
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน)
5.หุ้น THG บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
กลุ่มบริษัทประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในลักษณะโรงพยาบาลทั่วไป (General Hospital) ภายใต้ชื่อ "โรงพยาบาลธนบุรี"
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 34,110.18
🔸 กำไร 2566 (ล้านบาท) : 295.41
🔸 สัดส่วนรายได้ รายได้จากธุรกิจบริบาลผู้ป่วยและเครื่องมือแพทย์ 198 ล้านบาท และรายได้จากธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ 4,819 ล้านบาท
🔸 ROE 2.97%
🔸 P/E (เท่า) 115.47
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : 3,990 บาท
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : 79,800 บาท
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
6.หุ้น PR9 บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ในลักษณะโรงพยาบาลทั่วไป (General Hospital) ภายใต้ชื่อ "โรงพยาบาลพระรามเก้า"
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 15,332.91
🔸 กำไร 2566 (ล้านบาท) : 557.86
🔸 สัดส่วนรายได้ สัดส่วนรายได้ผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มเป็น 15% ของรายได้รวม (จาก 13% ปีที่แล้ว และเป้าระยะยาว 20%)
🔸 ROE 11.37%
🔸 P/E (เท่า) 27.49
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : ไม่มีให้บริการ
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : ไม่มีให้บริการ
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน)
7.หุ้น VIBHA บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน)
VIBHA หรือบริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหุ้นโรงพยาบาลอีกบริษัทที่มีขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไทย โดย ณ วันที่ 11 กันยายน 2561 บริษัทมีขนาดเป็นอันดับ 6 ของกลุ่มโรงพยาบาลในตลาดหุ้นไทย รองจาก BDMS, BH, BCH, SVH และ RAM ตามลำดับ
🔸 Market Cap มูลค่าตลาด (ล้านบาท) : 31,496.10
🔸 กำไร 2566 (ล้านบาท) : 865.12
🔸 สัดส่วนรายได้ แนวโน้มการเติบโตของกำไรในช่วงไตรมาสที่ 3/2566 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2566 แต่ยังต่ำกว่าไตรมาส 2/2565 เนื่องจากโรงพยาบาลวิภาวดี และเริ่มกลับมามีกำไรจากการล้างมูลค่าหุ้นในช่วงที่ผ่านมา
🔸 ROE 6.34%
🔸 P/E (เท่า) 36.34
🔸 หลักประกัน SSF (บาท) : ไม่มีให้บริการ
🔸 หลักประกัน Block Trade (บาท) : : ไม่มีให้บริการ
🔸 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน)
ตารางเปรียบเทียบหุ้นโรงพยาบาลที่น่าสนใจ จำนวน 7 โรงพยาบาล จากข้อมูลด้านบน
ชื่อโรงพยาบาล | ชื่อหุ้น | Market Cap (ลบ.) | ราคาหุ้น (บาท/หุ้น) | P/E (เท่า) | ROE (%) |
โรงพยาบาลกรุงเทพ | BDMS | 448,949 | 28.25 | 31.23 | 15.53 |
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ | BCH | 51,121.71 | 20.80 | 36.35 | 11.23 |
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ | BH | 178,856.12 | 228 | 25.55 | 32.21 |
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ | CHG | 31,240.00 | 2.86 | 29.86 | 13.90 |
โรงพยาบาลธนบุรี | THG | 34,110.18 | 41.25 | 115.47 | 2.97 |
โรงพยาบาลพระรามเก้า | PR9 | 15,332.91 | 19.80 | 27.49 | 11.37 |
โรงพยาบาลวิภาวดี | VIBHA | 31,496 | 2.32 | 36.34 | 6.34 |
ทำไมหุ้นโรงพยาบาลถึงน่าลงทุน?
นอกจากจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ความต้องการรับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานแล้ว การเกิดโรคใหม่ๆ ถือเป็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาล ทำให้หุ้นกลุ่มนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น เพราะมองว่าเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงและความเสี่ยงต่ำ และเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต
1.เป็นธุรกิจที่มีรายได้สม่ำเสมอ ข้อนี้ต้องขอออกตัวก่อนว่าเป็นลักษณะของหุ้นโรงพยาบาลในภาพรวมนะครับ เพราะในแต่ละโรงพยาบาลมีฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกโรงพยาบาลมีเหมือนกัน คือ รายได้ระยะยาว ที่เกิดจากการใช้บริการของลูกค้าหรือผู้ป่วย โดยในตอนแรก หลังจากลงทุนสร้างอาคารและอุปกรณ์ เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือจะเป็นการเก็บรายได้จากผู้ใช้บริการล้วน ๆ ซึ่งแต่ต่างจากธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ที่ต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้างเรื่อย ๆ เพื่อรักษาอัตรากำไร
2. เป็นธุรกิจที่ความเสี่ยงน้อย ข้อนี้มีชื่อเรียกตามภาษานักลงทุนว่า เป็นหุ้น Defensive Stock ข้อดีของมันคือ ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังอยู่ในหายนะ หุ้นโรงพยาบาลดี ๆ ก็ไม่ได้ร่วงลงมามากนัก ตรงกันข้ามหากตลาดหุ้นกำลังรุ่งพุ่งแรง หุ้นโรงพยาบาลก็ไม่ได้พุ่งปรี๊ดทะลุปรอทเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่า เป็นหุ้นปลอดภัย ถือกันได้ยาว ๆ ครับ
3. เป็นธุรกิจที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ข้อนี้เป็นผลต่อเนื่องจากข้อ 1 ที่ลงทุนครั้งเดียว แล้วจะมีกระแสเงินสดตามมาเรื่อย ๆ สุดท้ายก็สามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว
ธุรกิจโรงพยาบาลมักจะเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ดังนั้น จึงถูกมองว่าเป็นหุ้นกลุ่มเชิงรับ (Defensive Stock) ทำให้เห็นการซื้อขายค่อนข้างคึกคักในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และหากสังเกตก็พบว่าโรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่ทำความเข้าใจได้ง่าย นักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งก่อนตัดสินใจลงทุนหุ้นโรงพยาบาล ต้องทำการวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ศึกษาข้อมูลบทวิจัยและขอคำแนะนำจากนักวิเคราะห์ อีกทั้งควรลงทุนในระยะยาว
สรุป
ผ่านไปทั้ง 7 หุ้นโรงพยาบาลที่โดดเด่นและน่าสนใจ สำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาหุ้นที่รายได้สม่ำเสมอและของมันต้องมีประกอบไว้ในพอร์ตการลงทุน แต่ละโรงพยาบาลก็มีจุดขาย จุดเติบโตที่น่าสนใจ ถ้าใครมองที่โรงพยาบาลที่มีลูกค้าต่างชาติส่วนมาก ให้มองไปที่รพ.ขนาดใหญ่ชื่อดัง หรือถ้าชอบเรื่องสาขาและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางก็ดูขนาดที่ย่อมลงมา ดังนั้นหุ้นโรงพยาบาลแม้จะดูเหมือนธุรกิจไม่ได้มีอะไรในกอไผ่ แต่อัตราการเติบโตและทำกำไรไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ห้ามพลาดสำหรับการประดับเก็บเข้าพอร์ตยาวๆ
จุดแข็งที่น่าสนใจสำหรับการเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลมีปัจจัยอะไรบ้าง
ถ้าจะเลือกลงทุนในหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล นักลงทุนต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในด้านใดบ้าง
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน