• ข่าวสาร
    ทั้งหมด
    Forex
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    คริปโต
    การวิเคราะห์ทางเทคนิค
    สุขภาพทางเศรษฐกิจ
    ชาติ
  • การวิเคราะห์
    ทั้งหมด
  • ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
    ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
  • บล็อก
    ทั้งหมด
    หุ้น
    สินค้าโภคภัณฑ์
    ดัชนี
    Forex
    สกุลเงินดิจิตอล
    การศึกษา
  • การศึกษา
    คอร์สการลงทุน
  • เกี่ยวกับเรา
    ทีมผู้เชี่ยวชาญ
    นโยบายกองบรรณาธิการ

    บทความยอดนิยม

    บทวิเคราะห์ยอดนิยม

    noData

    บทความยอดนิยมในบล็อก

    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    honor1
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    honor2
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Elliott Wave คืออะไร: วิธีหาจุดเข้าซื้อและทำกำไร

    6 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 02 มิ.ย. 2566 07:22 น.

    ทฤษฎีใหม่ที่รู้จักกันอย่างมากในวงการเทรด Forex ก็คือ Elliott Wave หรือ คลื่นของ Elliott เรามาดูความเป็นมาของเจ้าทฤษฎีนี้กันว่าคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร และช่วยในการวิเคราะห์ได้อย่างไรบ้าง

    Elliott Wave คืออะไร? ทฤษฎี Elliott Wave มาจากไหน?

    "Elliott Wave" อ่านว่า เอลเลียตเวฟ ถูกคิดค้นขึ้นโดย Ralph Nelson Elliott เป็นนักบัญชีชาวอเมริกัน ซึ่งเขาได้ศึกษาตลาดหุ้นอเมริกาจนเห็นถึงวงจรของตลาด จนเกิดมาเป็นหลักการกราฟที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น (การขึ้น ลง ขึ้น ลง) ซึ่งพฤติกรรมการขึ้นลงดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมของคนที่เล่นหุ้น หรือเทรด forex ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง จนสามารถแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟราคา นำมาคำนวณเป็นสูตรของ Elliott Wave ได้ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะราคาบนกรอบเวลาต่าง ๆ การคาดการณ์อนาคต มีการใช้กันค่อนข้างแพร่พลายในการเทรดคริปโต หรือ แม้กระทั่งตลาดอื่นๆ ด้วย

    Elliott Wave ทำงานอย่างไร?

    การทำงานของ Elliott Wave มักจะแสดงในรูปแบบเดียวกันเสมอ ราคาจะถูกเคลื่อนไหวด้วยแรงจูงใจ และจะมีวิธีแก้ไขความเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นซ้ำจะถูกเรียกว่าคลื่น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท


    1.Impulse Wave (คลื่นส่งลง) เป็นคลื่นที่เคลื่อนไหวไปตามทิศทางเทรนแนวโน้มหลัก  การปรับขึ้นลงของราคาจำนวน 5 ครั้ง 

            - โดยคลื่นลูกที่ 1, 3 และ 5 จะเป็นการปรับตัวขึ้น (1-2-3-4-5)

            - คลื่นลูกที่ 2 และ 4 เป็นการปรับตัวลง


    2.Correction Wave (พักตัว) เป็นคลื่นสวนแนวโน้มที่เคลื่อนไหวสวนทางกับเทรนแนวโน้มหลัก จะมีการปรับขึ้นลงของราคาจำนวน 3 ครั้ง 

             - แทนด้วยคลื่น A, B และ C คือ คลื่น A และ C จะเป็นการปรับตัวลดลง 

             - และมีคลื่น B ซึ่งเป็นการพักตัวและปรับขึ้นเล็กน้อย (A-B-C)


    ตัวอย่างของ Elliott Wave

    สีที่แสดงโดยแต่ละคลื่น

    ทั้งคลื่นที่วิ่งในทิศทางหลัก (Motive Wave) และคลื่นพักตัวสามารถเห็นได้ในรูปแบบข้างต้น สิ่งสำคัญคือความยาวคลื่นและสัดส่วน คลื่น2 มักยาว60% ของคลื่นแรกคลื่น3 มักใหญ่กว่าคลื่น1 และคลื่น4 ที่ติดกันมักยาว30% หรือ40% ของคลื่น3 โดยใช้กฎเดียวกันสำหรับแนวโน้มขาลง


    ถึงแม้ว่าทฤษฎี Elliott Wave จะถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการเทรดหุ้นโดยเฉพาะ แต่มันก็สามารถนำไปปรับใช้กับตราสารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้เช่นกัน โดยมีหลักการทำงานสำคัญ คือ การใช้พิจารณาความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ซึ่งคาดการณ์ได้ไม่ยากเนื่องจากหุ้นมักจะมีแพทเทิร์นการวิ่งขึ้นและลงแบบซ้ำๆ เดิมๆ เราจึงเรียกแพทเทิร์นการขึ้นลงเหล่านั้นว่า 'คลื่น (wave)' และเชื่อกันว่าอารมณ์ของนักลงทุนมีอิทธิพลต่อรูปแบบคลื่นเหล่านั้น

    โครงสร้างของรูปแบบ Elliott Wave

    Elliot Wave จะมีลักษณะของคลื่นใหญ่ ๆ อยู่ 2 รูปแบบ คือ Motive Wave และ Corrective wave ซึ่งในแต่ละคลื่นใหญ่ จะมีรูปแบบย่อยลงไปอีกตาม Time frame ที่เล็กลง  


    1. Motive Wave คือ คลื่นหลักที่เคลื่อนไปตามเทรนแนวโน้ม ประกอบด้วย Impulse wave, Diagonal wave

       - Impulse wave คือ คลื่นที่เคลื่อนไหวไปตามทิศทางเทรนแนวโน้มหลัก ประกอบด้วย คลื่น1, คลื่น3, คลื่น5 และมีกฎ 3 ข้อ เพื่อใช้เป็นที่ยึดหลักในการนับคลื่น

       - Diagonal wave คือ คลื่นที่เคลื่อนไหวตามทิศทางเทรนแนวโน้มหลัก แต่การเคลื่อนไหวจะมีลักษณะเป็น “ลิ่ม” ประกอบด้วย Ending Diagonals, Leading Diagonals ในคลื่นย่อยอาจนับไม่ถึง 5คลื่น ขึ้นอยู่กับประเภทของคลื่น


    2. Corrective Wave คือ คลื่นสวนแนวโน้มที่เคลื่อนไหวสวนทางกับเทรนแนวโน้มหลัก ประกอบด้วย Sideways Corrective, Sharp Corrective

       - Sideways Corrective คือ รูปแบบการปรับตัวชนิดหนึ่ง ที่ราคาจะค่อยๆเคลื่อนตัวไปหาราคาก่อนหน้า อย่างช้าๆ

       - Sharp Corrective คือ รูปแบบการปรับตัวที่ซับซ้อน ที่มี 4 รูปแบบย่อย


    • Zigzag Correction


    ภาพที่แสดง คลื่นเปลี่ยนทิศทาง โดยภายในจะมีคลื่นย่อยเป็น 5-3-5



    • Flat Correction

    ภาพที่แสดง ลักษณะคลื่น C จะไม่ลงไปต่ำกว่าคลื่น A และคลื่น B จะขึ้นไปในอัตราส่วนที่เท่ากันกับคลื่น A



    • Horizontal Triangles


    ภาพที่แสดง รูปแบบคลื่นจะเกิดขึ้นในกรอบสามเหลี่ยม โดยมีคลื่น A, B, C, และ E ตามลำดับ ภายในจะมีคลื่นย่อยเป็น a, b และ c


    • Correction Combinations


    ภาพที่แสดง  เป็นการผสมผสาน อาจเป็นได้ทั้ง Double หรือ Triple



    ลักษณะของแต่ละคลื่น

    ตัวอย่างของ elliott wave

    ลักษณะของแต่ละคลื่น

    ความสัมพันธ์ระหว่าง Elliott Wave กับ Fibonacci Ratios

    ความสัมพันธ์จากอนุกรม Fibonacci (0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, 987, 1597, 2584,  …)  กับทฤษฎีคลื่น Elliott Wave (5:3) เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะใช้งานได้อย่างไม่เต็มที่ ระดับ Fibonacci จะช่วยหาจังหวะเข้าออก และวิเคราะห์โครงสร้างราคา ด้วย  Elliott Wave อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ยากอย่างที่นักลงทุนหลายคนคิด


    Fibonacci จะเป็นตัวช่วยเสริมให้ระดับราคาของแนวรับและแนวต้าน ซึ่งการกลับตัวในทิศทางอาจเกิดขึ้น และสามารถใช้เพื่อสร้างระดับการเข้า ระดับการย้อนกลับของ Fibo จะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวก่อนหน้าในตลาด


    - หลังจากราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก นักลงทุนจะวัดการเคลื่อนไหวจากล่างขึ้นบน เพื่อหาว่าราคาจะย้อนกลับไปจุดใดก่อนพุ่งสูงขึ้น

    - หลังจากราคาร่วงลง นักลงทุนจะวัดการคเลื่อนไหวจากบนลงล่างเพื่อหาว่าราคาจะย้อนกลับไปที่จุดใดก่อนจะปรับฐานให้ต่ำลง


    ตัวอย่างของ Fibonacci

    ที่มา: admiralmarkets


    อัตราส่วน Fibonacci มีประโยชน์ในการวัดราคาเป้าหมายของการเคลื่อนที่ของราคา ในรูปแบบคลื่นภายใต้โครงสร้าง Elliott Wave คลื่นต่างๆ ในโครงสร้าง Elliott Wave จะมีความสัมพันธ์กันด้วยอัตราส่วน Fibonacci ตัวอย่างเช่น Impulse: 


          Wave 2 โดยปกติคืออัตราส่วน 50%, 61.8%, 76.4% หรือ 85.4% ของคลื่น 1

          Wave 3 ปกติ 161.8% ของเวฟ 1

          Wave 4 โดยปกติคือ 14.6%, 23.6% หรือ 38.2% ของคลื่น 3

          Wave 5 โดยปกติจะแปรผัน 1.236 – 1.618% ของคลื่น 4 เท่ากับคลื่น 1 หรือ 61.8% ของคลื่น 1+3 


    ดังนั้นนักลงทุนจะสามารถใช้ข้อมูลข้างต้นเพื่อกำหนดจุดเริ่มเข้าเทรด และ จุดทำกำไร เมื่อส่งคำสั่งเทรดได้นั่นเอง


    มีประโยชน์สำหรับการเทรดอย่างไร?

    1. การใช้ Elliott Wave สามารถช่วยให้เรา มองหาจุดเข้าของสัญญาณได้ นั้นหมายถึงเราอาจจะสามารถทำกำไรได้สูงมาก ๆ อาจมากจนกลายเป็นกำไร 

    2. สามารถคาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำจากการศึกษารูปแบบคลื่น

    3. เพิ่มโอกาสในการเทรดด้วยเทรนด์ที่อาจเกิดขึ้น

    4. เพิ่มความมั่นใจในผลลัพธ์สำหรับการลงทุนในระยะยาว

    5. รู้ทันอารมณ์ของนักลงทุนและตลาด

    6. ใช้มองหาเป้าหมายราคาที่อาจทำหน้าที่เป็นแนวรับได้ เมื่อราคาปรับตัว  โดยใช้ Fibonacci

    7. การเลือกใช้ Elliott Wave ทำให้นักลงทุนสามารถรู้จุดที่จะสามารถเทรด ทำกำไรได้ง่ายมาก และที่สำคัญคือเป็นความชัวร์อย่างแน่นอนที่นักลงทุนจะได้เงิน

    8. ใช้ทำนายแนวโน้มราคาว่า จบขาขึ้น  หรือ ขาลงในรอบนั้น


    การใช้ Elliott Wave กับ Forex

     ตัวอย่าง การใช้ Elliott Wave กับ Forex 

    ภาพที่แสดง ตัวอย่างการใช้ Elliott Wave กับ Forex

    จากภาพเป็นการใช้ Elliott Wave กับการเทรด Forex จะเห็นได้ว่า A-B-C เป็นขาลงของ Elliott Wave หรือ Correction Wave (พักตัว) อธิบายว่า A คือลง B คือเด้งขึ้น เพราะคนคิดว่าลงไม่จริง ส่วน C นี่คือลงยาว เมื่อหุ้นอยู่ในขาลง A-B-C นักลงทุนควรจะคิดขายทิ้ง แต่คุณอาจจะสามารถมาขายที่ High ของ B ได้ แต่พอเป็น C คือช่วงขาลง คุณควรเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นเพื่อให้ได้ผลตอบแทน


    หากคุณต้องการดูว่า Elliott Wave เป็นกลยุทธ์ที่ดีหรือไม่? คุณสามารถลงทะเบียนบัญชีและใช้เงินเสมือนจริงเพื่อซื้อขาย ไม่เพียงแต่คุณสามารถทดสอบว่า Elliott Wave เป็นกลยุทธ์ที่ดีหรือไม่เท่านั้น แต่ยังสามารถยกระดับเพิ่มพูนความรู้ในการเทรดของคุณได้อีกด้วย ทำไมไม่ลองล่ะ


    illustration แจกโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ฝึกฝนเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50,000 ฟรีกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่มีอำนาจบริการด้วยภาษาไทย 24 ชั่วโมง 5 วันค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำฝากถอนเงินผ่านธนาคารไทย

    สรุป

    อย่างไรก็ตาม ทฤษฎี Elliott Wave สามารถนำไปใช้กับตลาดการเงินต่าง ๆ ได้รวมถึง Forex, ตลาดหุ้น หรือตลาด Cryptocurrency ที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิคการเทรดเพื่อผลลัพธ์มีประสิทธิภาพของการเทรดมากยิ่งขึ้น เลยมีการนำเทคนิคการเทรดแบบ Elliott Wave เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาดสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกตลาดการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาด Forex, ตลาดหุ้น หรือตลาด Cryptocurrency ซึ่งมีการวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานเรื่องกรอบเวลาหรือ Time Frame ที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 


    เทคนิคการเทรดแบบ EW ได้พัฒนามาจาก Dow Theory โดยองค์ประกอบของ Elliott Wave มีทั้งคลื่นทิศทางขาขึ้นและคลื่นทิศทางขาลง ให้นักลงทุนสามารถใช้  Elliott Wave เพื่อระบุรูปแบบคลื่นที่มีอยู่ในตลาดและทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตและเข้ารับตำแหน่ง แต่สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าทฤษฎี Elliott Wave ไม่ใช่วิธีการที่รับประกันได้ นักลงทุนควรใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ร่วมด้วย

    คำถามที่พบบ่อย
    Elliott Wave เป็นกลยุทธ์ที่ดีหรือไม่?
    เป็นกลยุทธ์การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้รูปแบบคลื่นเพื่อทำนายแนวโน้มของตลาด นักเทรดบางคนเชื่อว่า Elliott Wave อาจเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการเทรด และเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์
    Elliott Wave แม่นยำแค่ไหน?
    วิธีการของ Elliott wave หากนำไปใช้อย่างเหมาะสม และมีวิธีการตั้งค่าอย่างแม่นยำ การเทรดที่ดูจากความเคลื่อนไหวของคลื่น EW อาจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำกำไรและเชื่อถือได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามนักลงทุนคงต้องใช้เวลาและความพยายามในการฝึกฝนทักษะนี้หากต้องการความเชี่ยวชาญและความแม่นยำมากยิ่งขึ้น สภาวะตลาดอาจคาดเดาไม่ได้และอาจทำให้คลื่นมีพฤติกรรมแตกต่างไปจากที่คาดไว้
    ตัวบ่งชี้ใดดีกว่าที่จะใช้กับ Elliott Wave
    มีตัวบ่งชี้หลายตัวที่สามารถใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ Elliott Wave เพื่อให้การเทรดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวบ่งชี้ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่, RSI (ดัชนีความสัมพันธ์สัมพัทธ์), MACD (Moving Average Convergence Divergence) และ Fibonacci retracements การเลือกใช้ตัวบ่งชี้ที่จะใช้ในท้ายที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับความชอบและสไตล์การเทรดของแต่ละคน

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    notDataไม่พบข้อมูล
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์