CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Sharpe Ratio คืออะไร

    4 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 25 ต.ค. 2566 08:06 น.

    Sharpe Ratio เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญและมีนิยมในวงการการลงทุนและการเงิน ที่ช่วยในการประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของหลักทรัพย์ต่าง ๆ  ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนรุ่นมืออาชีพ คุณคงเคยได้ยินถึง Sharpe Ratio กันมาแล้ว แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่าความจริงแล้ว Sharpe Ratio คืออะไร มีวิธีการคำนวณและนำไปใช้ได้อย่างไร ในบทความนี้จะมาไขคำตอบเหล่านั้นให้คุณ

    Sharpe Ratio คืออะไร?

    Sharpe Ratio หมายถึง “อัตราผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยง” หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ มันคือตัวชี้วัดทางการเงินที่ทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรลงทุนในหลักทรัพย์นั้นหรือไม่

     

    เพื่อให้เห็นภาพขอยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกซื้อระหว่าง นมกล่องเล็กที่ขายแยกทีละกล่อง กับ นมกล่องที่ขายเป็นแพ็ค ถ้าต้องการซื้อนมกล่องในราคาที่คุ้มค่าที่สุดก็ต้องเอา “ราคา” ไปหารจำนวนกล่องว่าตกแล้วกล่องละเท่าไรแล้วนำมาเทียบกัน ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับ Sharpe Ratio แต่ต้องเป็นการเปรียบเทียบระหว่างหลักทรัพย์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น กองทุนรวม กับ กองทุนรวม หรือ หุ้นขนาดใหญ่กับหุ้นประเภทเดียวกัน เป็นต้น


    สูตรการคำนวณ Sharpe Ratio

    Sharpe ratio = (ผลตอบแทน - ผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยง) / ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


    โดยที่

    ·  ผลตอบแทน คือ ผลตอบแทนของการลงทุนในช่วงเวลาหนึ่ง

    ·  ผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยง คือ ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง เช่น เงินฝากธนาคาร, เงินลงทุนในตั๋วเงินคลัง, พันธบัตร เป็นต้น

    ·  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ ความผันผวนของผลตอบแทน

    ตัวอย่างการคำนวณ Sharpe Ratio

    Sharpe Ratio


    สมมติว่า กองทุน A ให้ผลตอบแทน 20% ต่อปี กองทุน B ให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี

     

    เห็นแบบนี้แล้ว กองทุน A ดูน่าสนใจกว่าเพราะค่าผลตอบแทนมีค่าสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่เราต้องพิจารณาที่ความเสี่ยงในกองทุนรวมจากค่า Sharpe Ratio ด้วย


    สมมติว่ากองทุนรวม A มีผลตอบแทน 20% กองทุนรวม B มีผลตอบแทน 10% ผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยงเท่ากับ 5% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทนของกองทุนรวม A เท่ากับ 20% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทนของกองทุนรวม B เท่ากับ 10%

     

    จากสูตร Sharpe ratio = (ผลตอบแทน - ผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยง) / ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


    Sharpe ratio ของกองทุนรวม A

    Sharpe ratio = (20% - 5%) / 20%

    = 0.75


    Sharpe ratio ของกองทุนรวม B

    Sharpe ratio = (10% - 5%) / 10%

    = 0.5

     

    ดังนั้น Sharpe ratio ของกองทุนรวม A เท่ากับ 0.75 สูงกว่า Sharpe ratio ของกองทุนรวม B ที่เท่ากับ 0.5 หมายความว่า กองทุนรวม A ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญมากกว่ากองทุนรวม B


    ค่า Sharpe Ratio ดูได้ที่ไหน?

    ค่า Sharpe Ratio สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของผู้ให้บริการกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะมีข้อมูลนี้แสดงไว้ในส่วนข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนหรือหลักทรัพย์นั้น ๆ

     

    นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณค่า Sharpe Ratio ได้ด้วยตนเองโดยใช้สูตรต่อไปนี้


    Sharpe ratio = (ผลตอบแทน - ผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยง) / ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    Sharpe Ratio เท่าไรถึงดี?

    ค่า Sharpe Ratio ที่ดีควรมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งหมายความว่ากองทุนหรือหลักทรัพย์นั้นสามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเกินจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 1% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ค่า Sharpe Ratio เป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหรือหลักทรัพย์เท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วย

     

    โดยทั่วไปแล้ว กองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีค่า Sharpe Ratio สูงมักจะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีค่า Sharpe Ratio ต่ำ การลงทุนในกองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีค่า Sharpe Ratio สูงจึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น

    ประโยชน์ของการใช้ Sharpe Ratio

    Sharpe Ratio


    เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนหรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ

    Sharpe Ratio สามารถนำมาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนหรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ภายใต้ความเสี่ยงที่เท่ากัน เพื่อหากองทุนหรือหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า


    วัดประสิทธิภาพของผู้จัดการกองทุน

    Sharpe Ratio สามารถนำมาวัดประสิทธิภาพของผู้จัดการกองทุนว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีอ้างอิงได้หรือไม่


    ช่วยให้เลือกกองทุนหรือหลักทรัพย์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยง

    Sharpe Ratio สามารถนำมาช่วยเลือกกองทุนหรือหลักทรัพย์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของนักลงทุน โดยกองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีค่า Sharpe Ratio สูงมักจะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีค่า Sharpe Ratio ต่ำ

    ข้อควรระวังในการใช้ค่า Sharpe Ratio

    ค่า Sharpe Ratio เป็นเพียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง

    หมายความว่าค่า Sharpe Ratio ในปัจจุบันอาจไม่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานในอนาคตได้ ผลการดำเนินงานในอนาคตอาจดีกว่าหรือแย่กว่าค่า Sharpe Ratio ในปัจจุบันก็ได้ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนหรือหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่าการลงทุนนั้นยังคุ้มค่าหรือไม่


    ค่า Sharpe Ratio ไม่สามารถวัดความเสี่ยงทั้งหมดของกองทุนหรือหลักทรัพย์ได้

    ความเสี่ยงของกองทุนหรือหลักทรัพย์อา จไม่ได้วัดได้เพียงจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของกองทุนหรือหลักทรัพย์ เช่น ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น นักลงทุนจึงควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้ด้วย


    ค่า Sharpe Ratio อาจไม่เหมาะสมสำหรับกองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

    กองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมักจะมี Sharpe Ratio ที่สูง แต่อาจไม่เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำควรพิจารณากองทุนหรือหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือปานกลางแทน


    สรุป

    Sharpe Ratio คือ ตัวชี้วัดทางการเงินที่สะท้อนให้เห็นว่าหลักทรัพย์นั้นมีผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงมากหรือน้อยอย่างไร มีความน่าสนใจในการลงทุนหรือไม่ การคำนวณหาค่า Sharpe Ratio สามารถหาได้จากการคำนวณโดยตรงหรือดูจากข้อมูลผลดำเนินการของหลักทรัพย์นั้น ๆ ได้ทางเว็บไซต์ทางการ โดยยิ่งค่า Sharpe Ratio สูงก็ยิ่งคาดการณ์ได้ว่าหลักทรัพย์นั้นมีความคุ้มค่าน่าลงทุนมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรนั้นการเลือกลงทุนควรพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย

    บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย>>>

    งบการเงิน : งบการเงิน มีอะไรบ้าง และวิธีการอ่าน?

    ROA คืออะไร และ ROA ที่ดีเป็นยังไง?

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    placeholder
    เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    placeholder
    8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    placeholder
    DCA คือ อะไร? เปิดบัญชีออมหุ้น DCA ที่ไหนดี 2024สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก