ROA คืออะไร และ ROA ที่ดีเป็นยังไง?

4 นาที
อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

ROA คืออะไร? หนึ่งในคำศัพท์ทางการเงินที่นักลงทุนหลายคนกำลังให้ความสนใจเนื่องจากนี่เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดทางการเงินที่มีความสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพการเงินของบริษัทได้อย่างดี และมีบทบาทมากต่อการพิจารณาการลงทุน ในบทความนี้จึงมาจะอธิบายว่า ROA คืออะไรและเหตุผลที่ทำให้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการวิเคราะห์การลงทุนของ ROA คืออะไร  วิธีการคำนวณพร้อมตัวอย่างการนำ ROA ไปใช้ในการวิเคราะห์ทางธุรกิจจริง เพื่อให้คุณมีแนวทางในการตัดสินใจลงทุนที่มีเสถียรภาพและประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น 

ROA คืออะไร

ROA คือ Return on Asset หมายถึง อัตราส่วนการเงินที่เปรียบเทียบระหว่าง “กำไรสุทธิ” (Net Income) กับ “สินทรัพย์รวม” (Total Assets) เป็นอัตราส่วนที่นักลงทุนนิยมนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจาก ROA คือตัวสะท้อนถึงพื้นฐานของบริษัทนั้น ๆ ว่ามีการทำกำไรจากสินทรัพย์ที่ถือครองได้มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน

 

อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้ว เมื่อกล่าวถึง “สินทรัพย์” ตามหลักการบัญชีจะหมายถึง การรวมกันของหนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่ง “หนี้สิน” ก็มีบทบาทในการพิจารณาในการลงทุนด้วยเช่นกัน ดังนั้นอัตราส่วนที่นิยมนำมาคิดควบคู่กับ ROA คือ DE Ratio (Debt to Equity Ratio) หมายถึง อัตราส่วนที่บอกว่าบริษัทมีหนี้สินเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่ง DE Ratio ยิ่งน้อยก็ยิ่งดีนั่นเอง

ROA คำนวณยังไง

▲ สูตรคำนวณ ROA

 

สูตรคำนวณ ROA


การคำนวณ ROA คืออะไรที่สำคัญมาก ในการพิจารณาลงทุนสำหรับนักลงทุน โดยสามารถหาค่า ROA ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


▲ ขั้นตอนการคำนวณ ROA

1. หาข้อมูลของ กำไรสุทธิ (Net Income) และ สินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets ) ของบริษัทที่คุณสนใจ 

ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากงบการเงิน (Financial Statements) ของบริษัท โดยเฉพาะในงบทางการเงินประจำปี (Annual Financial Statements) เช่น งบดุล, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงรายรับ-รายจ่าย  เป็นต้น ซึ่งควรอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือ เช่น Bloomberg, Reuters หรือเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์นั้น ๆ


2. คำนวณกำไรสุทธิ (Net Income) ของบริษัท 

หากยังไม่มีข้อมูลกำไรสุทธิในรูปแบบที่คุณต้องการ สามารถคำนวณได้จากสูตร


กำไรสุทธิ = รายได้รวม - รายจ่ายรวม


3. คำนวณค่า ROA 

ขั้นตอนต่อไปในการคำนวณ ROA คือ การนำค่า “กำไรสุทธิ” ที่คำนวณมาจากขั้นตอนที่ 2 และ “สินทรัพย์ทั้งหมด” จากงบการเงิน มาใช้ในสูตร ROA ก็จะได้ค่า ROA ออกมาใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน


▲ ตัวอย่างการคำนวณค่า ROA

※ ตัวอย่างการคำนวณค่า ROA แบบง่ายๆ

สมมติว่าบริษัท ABC มี กำไรสุทธิ (Net Income) ปีล่าสุดเท่ากับ 1,000,000 บาท และสินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets) เท่ากับ 5,000,000 บาท


ROA = (1,000,000/5,000,000) x 100 % = 20%


ดังนั้น ROA ของบริษัท ABC ในปีล่าสุดคือ 20%


※ ตัวอย่างการคำนวน ROA ในสถานะจริง 

  • ตัวอย่างที่ 1 :การคำนวน ROA ของบริษัท CPALL

เพื่อเป็นการแสดงตัวอย่างคำนวณ ROA บทความนี้จะเลือกใช้ข้อมูลจากบริษัท CP All Public Company Limited (CPALL) ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการในธุรกิจร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยตามปีการเงินปี 2563 โดยคำนวณตามขั้นตอนดังนี้


1. หาข้อมูลกำไรสุทธิ (Net Income) และสินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets) จากงบการเงินปี 2563 ของ CP All Public Company Limited (CPALL)


หาข้อมูลกำไรสุทธิจากงบการเงินของ CPALL

ข้อมูลกำไรสุทธิ (Net Income) จากงบการเงินปี 2563 ของ CPALL 


หาข้อมูลสินทรัพย์ทั้งหมดจากงบการเงินของ CPALL

ข้อมูลสินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets) จากงบการเงินปี 2563 ของ CPALL 



  • กำไรสุทธิ (Net Income): ประมาณ 16,102.42 ล้านบาท

  • สินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets): ประมาณ 523,354.33 ล้านบาท


2. คำนวณ ROA ด้วยสูตร


ROA = (กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100 %

ROA = (16,102.42/523,354.33) x 100 % ≈ 3.08%


ดังนั้น ในปี 2563 บริษัท CP All Public Company Limited  (CPALL) มีค่า ROA คือประมาณ 3.08%


  • ตัวอย่างที่ 2 :การคำนวน ROA ของบริษัท BDMS

เพื่อเป็นการแสดงตัวอย่างคำนวณ ROA บทความนี้จะเลือกใช้ข้อมูลจากบริษัท Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศ ข้อมูลตามงบการเงินปี 2565 โดยคำนวณตามขั้นตอนดังนี้


1. หาข้อมูลกำไรสุทธิ (Net Income) และสินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets) จากงบการเงินปี 2565 ของ Bangkok Dusit Medical Services (BDMS)


หาข้อมูลกำไรสุทธิจากงบการเงินของ BDMS

ข้อมูลกำไรสุทธิ (Net Income) จากงบการเงินปี 2565 ของ BDMS


หาข้อมูลสินทรัพย์ทั้งหมดจากงบการเงินของ BDMS

ข้อมูลสินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets) จากงบการเงินปี 2565 ของ BDMS



  • กำไรสุทธิ (Net Income): ประมาณ 12,606.20 ล้านบาท

  • สินทรัพย์ทั้งหมด (Total Assets): ประมาณ 141,542.86 ล้านบาท


2. คำนวณ ROA ด้วยสูตร


ROA = (กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม) x 100 %

ROA = (12,606.20/141,542.86) x 100 % ≈ 8.91%


ดังนั้น ในปี 2565 บริษัท Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) มีค่า ROA คือประมาณ 8.91%

ROA ใช้ยังไง

เมื่อทราบแล้วว่า ROA คืออะไร มีหลักการคำนวณอย่างไร ที่สำคัญคือต้องทราบว่าหลักการใช้ ROA คืออะไร ซึ่งการใช้ ROA (Return on Assets) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงินที่มีประโยชน์ในการประเมินประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรทางการเงินในการสร้างกำไร ดังนี้คือวิธีการใช้ ROA 


1. วิเคราะห์ค่า ROA

หลังจากคำนวณค่า ROA แล้ว สามารถทำการวิเคราะห์ค่านี้เพื่อเข้าใจประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรทางการเงินได้ 


  • ค่า ROA สูง

    ค่า ROA ที่สูงแสดงถึงการบริหารทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และทรัพย์สินถูกใช้ในการสร้างกำไรอย่างดี นักลงทุนและผู้บริหารอาจต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลใดที่ทำให้ ROA สูงและวิธีการที่สามารถเพิ่มค่า ROA ได้


  • ค่า ROA ต่ำ

    ค่า ROA ที่ต่ำอาจแสดงถึงปัญหาในการบริหารทรัพยากรทางการเงิน และการใช้ทรัพย์สินเพื่อสร้างกำไร ผู้บริหารควรสำรวจสาเหตุที่ทำให้ ROA ต่ำ เช่น ความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่าย การบริหารลูกหนี้ หรือการจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อปรับปรุงส่วนที่มีปัญหา


2. เปรียบเทียบ ROA

ROA คือ ค่าที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับค่า ROA ของบริษัทคู่แข่งหรือค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อดูว่าบริษัทมีประสิทธิผลมากกว่าหรือน้อยกว่า การเปรียบเทียบ ROA คืออะไรที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารเห็นภาพรวมของตนเองว่าเป็นอย่างไรในตลาดและอุตสาหกรรมได้ชัดเจนขึ้น


3. ตัดสินใจการลงทุน

ROA สามารถช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในองค์กร การที่ ROA มีค่าสูงหมายถึง องค์กรใช้ทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างกำไร การลงทุนในองค์กรที่มี ROA สูงนับเป็นทางเลือกที่ดี


4. การวิเคราะห์แนวโน้ม

การติดตามแนวโน้มของค่า ROA คือสิ่งที่ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มของประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรทางการเงิน และช่วยในการตรวจสอบถึงการเปลี่ยนแปลงในการบริหารทรัพยากร


ข้อจำกัดของ ROA

ข้อจำกัดของ ROA คือ สิ่งที่นักลงทุนควรพิจารณาเพิ่มเติม เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ได้ดีขึ้น โดยมีข้อจำกัดของ ROA ดังนี้


1. การไม่คำนึงถึงความแตกต่างในอุตสาหกรรม

ROA ไม่สามารถเปรียบเทียบแบบข้ามอุตสาหกรรมกันได้ เนื่องจากมีลักษณะการใช้งานทรัพยากรและโครงสร้างทางการเงินที่แตกต่างกันไป


2. ไม่คำนึงถึงความแตกต่างในรายได้และรายจ่าย

ROA คือตัวชี้วัดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินธุรกิจในมุมของผลกำไรต่อทรัพย์สินเท่านั้น แต่ไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของรายได้และค่าใช้จ่าย อาจมีบริษัทที่มี ROA สูงเนื่องจากการลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดจากการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ที่อาจไม่เหมาะสมในระยะยาวก็เป็นได้


3. ข้อมูลปัจจุบันและอดีต

ROA ไม่สามารถทำนายแนวโน้มในอนาคตได้แม่นยำ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์และตลาด สถานการณ์ปัจจุบันอาจไม่สะท้อนถึงปัจจัยที่สำคัญในอนาคตที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของบริษัท


4. ไม่คำนึงถึงหนี้สินและโครงสร้างทางการเงิน

ROA ไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งอาจมีผลต่อความเสี่ยงและความคงทนของบริษัทในระยะยาว


การใช้ ROA คือเพื่อการวิเคราะห์หุ้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่สามารถใช้ในการประเมินผลการลงทุนในหุ้นได้ ควรพิจารณาร่วมกับตัวชี้วัดและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้ได้ภาพครอบคลุมและมีความเชื่อถือในการตัดสินใจการลงทุน

ROA ดูยังไง ROA ที่ดีเป็นยังไง

ROA ที่ถือว่าดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและบริบททางธุรกิจของบริษัท แต่ส่วนใหญ่แล้ว ROA ที่น่าพอใจอยู่ในช่วงที่ 5% ถึง 10% หรือสูงกว่านั้น อย่างไรก็ตาม อัตราที่ดีของ ROA คืออะไร สามารถแบ่งแยกตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยคร่าว ๆ ดังนี้


1. ธนาคารและสถาบันการเงิน

ROA ที่ดีสำหรับธนาคารและสถาบันการเงินอาจมีค่าอยู่ในช่วง 1% - 2% หรือมากกว่านั้น เป็นเพราะธนาคารมักจะมีการกำหนดต้นทุนที่สูงและกำไรสุทธิที่มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรทางการเงิน


2. อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในอุตสาหกรรมนี้ ROA ที่ดีสามารถอยู่ในช่วง 10% - 20% หรือมากกว่านั้น เนื่องจากต้นทุนความรับผิดชอบในการพัฒนาซอฟต์แวร์และข้อมูลมักจะต่ำ และธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้มีความสามารถในการทำกำไรที่สูง


3. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

สำหรับอุตสาหกรรมนี้ ROA ที่เหมาะสมอาจอยู่ในช่วง 5% - 10% หรือมากกว่านั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าที่สูงและเป็นธุรกิจที่ต้องมีการจัดการสต็อกสินค้า


4. อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์

ในอุตสาหกรรมนี้ ROA ที่เหมาะสมอาจอยู่ในช่วง 5% - 15% หรือมากกว่านั้น เนื่องจากมีการลงทุนในทรัพยากรทางการเงินในระดับสูง เพื่อให้บริษัทสามารถทำงานในระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว


5. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และเทคโนโลยีขั้นสูง

ROA ที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมนี้อาจอยู่ในช่วง 10% - 20% หรือมากกว่านั้น เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรทางการเงินในการวิจัยและพัฒนาและธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้มีความสามารถในการสร้างกำไรจากการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้

ดูค่า ROA ได้จากที่ไหน

แหล่งที่สามารถดู ROA คือ งบการเงินของบริษัทในส่วนของงบกำไรขาดทุน (Income Statement) และงบแสดงฐานะการเงิน (Balance Sheet) หรือเราสามารถเช็คค่า ROA ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตามขั้นตอนดังนี้


1. เข้าไปที่เว็บไซต์ > https://www.set.or.th/th/home


เข้าไปที่เว็บไซต์ SET



2. พิมพ์ชื่อหุ้นที่เราสนใจในช่องค้นหา แล้วกดเลือกหุ้นที่แสดงผลขึ้นมา


ค้นหาหุ้นที่เราสนใจ


3. เลือกงบการเงิน เพื่อดูข้อมูลทางการเงินของบริษัท


เลือกงบการเงิน


4. ไปที่แท็บ “อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ” > ดูค่า ROA


ไปที่แท็บ “อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ”

ROA vs. ROE

ROA (Return on Assets) และ ROE (Return on Equity) ทั้งสองเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการเงินของบริษัท แต่วัตถุประสงค์และวิธีการคำนวณของทั้งสองอัตราส่วนนี้มีความแตกต่าง ดังนี้


ROA (Return on Assets)

ROA คือตัววัดประสิทธิภาพในการสร้างกำไรโดยใช้สินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทมีในการดำเนินธุรกิจ แสดงถึงว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรในร้อยละเท่าไรของทรัพยากรทางการเงิน


สูตรคำนวณ 


ROA = (กำไรสุทธิ /สินทรัพย์รวม) x 100%


ROE (Return on Equity)

ROE คือตัววัดประสิทธิภาพในการสร้างกำไรโดยใช้ส่วนของส่วนทุนที่เป็นของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของทุนเอาไว้ในบริษัท แสดงถึงว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรในร้อยละเท่าไรของส่วนของทุนของผู้ถือหุ้น


สูตรคำนวณ

ROE = (กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น) x 100%


▲ ความแตกต่างระหว่าง ROA และ ROE

1. แหล่งที่มาของทรัพยากรทางการเงิน

ROA นับทรัพยากรทางการเงินทั้งหมดที่บริษัทใช้ เช่น สินทรัพย์ทั้งหมด ในขณะที่ ROE นับเฉพาะส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น


2. การแสดงผลความสามารถในการสร้างกำไร

ROA คือการแสดงถึงความสามารถในการสร้างกำไรจากทรัพยากรทางการเงินทั้งหมดที่บริษัทมีในการดำเนินธุรกิจ ROE แสดงถึงความสามารถในการสร้างกำไรจากส่วนของทุนที่ถือหุ้น และบ่งบอกถึงการเสริมทรัพยากรทางการเงินด้วยการกู้ยืม


3. ระดับความเสี่ยง

ROE มีการจัดการทางการเงินที่ซับซ้อนกว่า ROA เนื่องจากมีการใช้ส่วนของทุนที่ถือหุ้นซึ่งเป็นเงินของผู้ถือหุ้นในการลงทุน ทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ทรัพยากรทางการเงินทั้งหมดแบบ ROA


4. การพิจารณาการลงทุน

นักลงทุนคุณค่า (VI) จะพิจารณาค่า ROA ที่เพิ่มขึ้น ในอัตราส่วน 8-10% ขึ้นไป และพิจารณาค่า ROE ที่เพิ่มขึ้น ในอัตราส่วน 10% ขึ้นไป

FAQ

ROA สูงหรือต่ำถึงจะดี?

ROA (Return on Assets) สูงหมายถึงบริษัทสามารถใช้ทรัพยากรทางการเงินที่มีอยู่ในการสร้างกำไรสูง การมี ROA สูงส่งผลในด้านประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรทางการเงินและการลงทุนในกิจกรรมที่สร้างรายได้ ดังนั้น ROA สูงจึงดีกว่า อย่างไรก็ตาม ROA ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและสภาวะการณ์ของบริษัทด้วย 

mitrade

เทรดหุ้นยอดนิยมทั่วโลก 350+ ตัวแบบง่ายดาย!


dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
dago เทรดด้วยอัตราทดสูงถึง 1:20
dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
dago เงินเสมือนจริงฟรี $50,000 ดอลล่าร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

ส่งท้าย

ROA คือตัวชี้วัดทางการเงินที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรทางการเงินของบริษัทในการสร้างกำไรสุทธิ ค่า ROA สูงมักแสดงถึงบริษัทที่มีการจัดการทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและลงทุนในกิจกรรมที่สร้างมูลค่า ซึ่งส่งผลในการเสริมความมั่นคงและสามารถในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตามการเลือกลงทุนควรพิจารณาตัวชี้วัดทางเงินและปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย

บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> 

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 12 พ.ค. 2023
‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
placeholder
เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี? 6 โบรกเกอร์หุ้นที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2024ใครที่กำลังมองหาโบรกเกอร์หุ้นหรือกำลังเริ่มต้นลงทุนแล้วมองหาที่เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักวิธีการลงทุนในหุ้นผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมาประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกโบรกเกอร์หุ้นโบรกเกอร์ไหนดี คราวนี้เราได้รวบรวม 6 โบรกเกอร์หุ้นน่าสนใจปี 2024 มาไว้ให้แล้ว ตามไปดูกัน!
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 24 พ.ค. 2023
ใครที่กำลังมองหาโบรกเกอร์หุ้นหรือกำลังเริ่มต้นลงทุนแล้วมองหาที่เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักวิธีการลงทุนในหุ้นผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เพื่อมาประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกโบรกเกอร์หุ้นโบรกเกอร์ไหนดี คราวนี้เราได้รวบรวม 6 โบรกเกอร์หุ้นน่าสนใจปี 2024 มาไว้ให้แล้ว ตามไปดูกัน!
placeholder
เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2567การลงทุนในหุ้น คือการดำเนินกลยุทธทางธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไรที่งดงามที่สุด หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ ลงทุนให้น้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากที่สุด เช่นเดียวกัน การลงทุนหุ้น แม้ว่าเงินทุนหลักของเราคือการจ่ายค่าซื้อหุ้นเข้ามาเก็บไว้ในพอร์ต แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรายจ่ายแอบแฝงที่ถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้น นั่นคือ ค่าธรรมเนียมการเทรดหุ้น แต่โบรกเกอร์แต่ละแห่ง มีรูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2567 เพื่อช่วยสำหรับในการที่จะทำให้รายได้เราเพิ่มพูนขึ้น เรามาเลือกไปพร้อมๆ กันครับ
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 25 พ.ค. 2023
การลงทุนในหุ้น คือการดำเนินกลยุทธทางธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไรที่งดงามที่สุด หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ ลงทุนให้น้อยที่สุด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากที่สุด เช่นเดียวกัน การลงทุนหุ้น แม้ว่าเงินทุนหลักของเราคือการจ่ายค่าซื้อหุ้นเข้ามาเก็บไว้ในพอร์ต แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีรายจ่ายแอบแฝงที่ถือเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้น นั่นคือ ค่าธรรมเนียมการเทรดหุ้น แต่โบรกเกอร์แต่ละแห่ง มีรูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ โบรกไหนค่าคอมถูกสุด 2567 เพื่อช่วยสำหรับในการที่จะทำให้รายได้เราเพิ่มพูนขึ้น เรามาเลือกไปพร้อมๆ กันครับ
placeholder
ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
placeholder
แนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุน! หุ้นตัวไหนน่าลงทุนที่สุดในปี 2567ต้อนรับเข้าสู่โลกของโอกาสทางการเงินและการลงทุน ท่ามกลางเทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีทั้งมาใหม่และจบไป สินค้าและบริการต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้น และเมื่อไหร่ที่เราสามารถจับโอกาสและเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงนั้น จากคนธรรมดาสามารถแปรเปลี่ยนเป็นนักลงทุนที่สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการดี รายได้เติบโตหรือแม้แต่จับกระแสสั้น ๆ เพื่อหาโอกาสเก็งกำไร จึงแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนในบทความนี้
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 14 ก.ค. 2023
ต้อนรับเข้าสู่โลกของโอกาสทางการเงินและการลงทุน ท่ามกลางเทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีทั้งมาใหม่และจบไป สินค้าและบริการต่าง ๆ ต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า และผู้ถือหุ้น และเมื่อไหร่ที่เราสามารถจับโอกาสและเข้าใจของการเปลี่ยนแปลงนั้น จากคนธรรมดาสามารถแปรเปลี่ยนเป็นนักลงทุนที่สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการดี รายได้เติบโตหรือแม้แต่จับกระแสสั้น ๆ เพื่อหาโอกาสเก็งกำไร จึงแนะนำ 10 หุ้นน่าลงทุนในบทความนี้
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์