CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    On Balance Volume คืออะไร

    6 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 23 พ.ย. 2566 10:14 น.

    ว่ากันว่าแนวโน้มราคาที่เชื่อถือได้ต้องยืนยันด้วยปริมารการซื้อขาย (Volume) แต่เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายหรือวอลุ่ม (Volume) นั้นมีไม่มาก On Balance Volume เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์สายวอลุ่มที่นักเทรดนิยมนำมาใช้วัดแรงซื้อขายสะสมที่ช่วยยืนยันแนวโน้มหรือบอกจุดกลับตัวของราคาที่มีความแม่นยำสูงตัวหนึ่ง ซึ่งคราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอินดิเคเตอร์อย่าง On Balance Volume คืออะไร และจะนำไปใช้ประยุกต์ใช้กับการเทรดได้อย่างไรบ้าง


    ตัวอย่างของ On Balance Volume

    On Balance Volume คืออะไร

    OBV หรือ On Balance Volume คือ อินดิเคเตอร์สายวอลุ่ม (Volume Based Indicator) ที่คำนวณจากผลรวมของปริมาณซื้อขายที่เกิดขึ้น ถือเป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่มโมเมนตัม (Momentum Indicator) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Joseph Graniville ตั้งแต่ปี 1963 จากหนังสือ Granville's New Key to Stock Market Profits เขาเชื่อว่าปริมาณการซื้อขายเป็นปัจจัยหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังราคา เขาจึงออกแบบ OBV ขึ้นมาใช้ โดยมีแนวคิดในการคำนวณคร่าว ๆ จาก


    • ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนที่เกิดขึ้นสูงกว่าราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า (ราคาปิดเป็นบวก) ปริมาณการซื้อขายที่เกิดจะถูกนำมาบวกเพิ่มกับปริมาณซื้อขายสะสมเดิม (OBV ปรับเพิ่มขึ้น)


    • ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนที่เกิดขึ้นต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า (ราคาปิดเป็นลบ) ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาหักลบออกจากปริมาณซื้อขายสะสมเดิม (OBV ปรับลดลง)


    • ถ้าราคาปิดของแท่งเทียนที่เกิดขึ้นเท่ากับราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นจะไม่ถูกนำไปหักลบจากปริมาณซื้อขายสะสมเดิม (OBV ไม่เปลี่ยนแปลง)


    ด้วยแนวคิดนี้ทำให้นักลงทุนสามารถสังเกตได้ว่าสินทรัพย์ที่กำลังซื้อขายอยู่นั้นมีปริมาณการซื้อขายสะสมคงเหลือเท่าไหร่ และนำมาใช้ติดตามทิศทางหรือแนวโน้มการซื้อขายของนักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนกลุ่มสถาบันที่มักมีการซื้อขายครั้งละเป็นจำนวนมาก ๆ ได้ โดยดูจาก


    • การปรับสูงขึ้นของราคาสินทรัพย์ที่มาพร้อมการยืนยันจากปริมาณการซื้อขายสะสม (OBV) ที่เร่งตัวขึ้น เป็นการยืนยันแนวโน้มการปรับตัวขึ้นของราคาว่ายังเป็นขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง


    • การปรับลดลงของราคาสินทรัพย์ที่มาพร้อมการยืนยันจากปริมาณการซื้อขายสะสม (OBV) ที่เร่งตัวลง เป็นการยืนยันแนวโน้มการปรับตัวลงของราคาว่ายังเป็นขาลงอย่างแข็งแกร่ง


    • การปรับสูงขึ้นของราคาสินทรัพย์ที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายสะสม (OBV) ที่มีลักษณะเพิ่มขึ้นน้อยลง เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มขาขึ้นอาจใกล้จบลงแล้ว


    • การปรับลงของราคาสินทรัพย์ที่มาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายสะสม (OBV) ที่มีลักษณะปรับลงน้อย เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มขาลงอาจใกล้จบลงแล้ว

    3. วิธีคำนวณ On Balance Volume

    การคำนวณ On Balance Volume ทำได้จาก


    ◆ สูตร

    OBVt = OBVt-1 + Volumet : ถ้า ราคาปิดปัจจุบัน (t) เป็น +

    OBVt = OBVt-1 - Volumet : ถ้า ราคาปิดปัจจุบันเป็น (t) -

    OBVt = OBVt-1 + 0 : ถ้า ราคาปิดปัจจุบัน (t) = ราคาปิดก่อนหน้า (t-1)


    โดยที่

    OBVt = ปริมาณซื้อขายสะสมใน Time Frame ปัจจุบัน

    OBVt-1 = ปริมาณซื้อขายสะสมใน Time Frame ก่อนหน้า

    Volumet = ปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นใน Time Frame ปัจจุบัน


    ตัวอย่างการคำนวณ OBV: GOOG, Daily

    OBVt = OBVt-1 + ( Volumet * (+/-) )


    Date

    Price

    Volume

    +/-

    OBV

    02/10/23

    135.17

    19,210,394

    1

    19,210,394

    03/10/23

    133.30

    19,628,736

    -1

    -418,342

    04/10/23

    136.27

    22,847,987

    1

    22,429,645

    05/10/23

    135.99

    15,922,944

    -1

    6,506,701

    06/10/23

    138.73

    20,826,683

    1

    27,333,384

    09/10/23

    139.50

    16,599,099

    1

    43,932,483

    10/10/23

    139.20

    19,554,916

    -1

    24,377,567

    11/10/23

    141.70

    20,146,341

    1

    44,523,908

    12/10/23

    140.29

    18,173,107

    -1

    26,350,801

    13/10/23

    138.58

    19,447,565

    -1

    6,903,236

    16/10/23

    140.49

    17,345,556

    1

    24,248,792

    17/10/23

    140.99

    17,424,024

    1

    41,672,816

    18/10/23

    139.28

    18,304,869

    -1

    23,367,947

    19/10/23

    138.98

    21,831,181

    -1

    1,536,766

    20/10/23

    136.74

    24,970,263

    -1

    -23,433,497

    23/10/23

    137.90

    20,780,665

    1

    -2,652,832

    24/10/23

    140.12

    26,535,198

    1

    23,882,366

    25/10/23

    126.67

    58,796,067

    -1

    -34,913,701

    26/10/23

    123.44

    33,907,363

    -1

    -68,821,064

    27/10/23

    123.40

    37,367,673

    -1

    -106,188,737

    30/10/23

    125.75

    24,165,631

    1

    -82,023,106

    31/10/23

    125.30

    21,123,418

    -1

    -103,146,524

    01/11/23

    127.57

    26,536,604

    1

    -76,609,920

    02/11/23

    128.58

    24,091,672

    1

    -52,518,248

    03/11/23

    130.37

    19,529,448

    1

    -32,988,800

    06/11/23

    131.45

    15,360,362

    1

    -17,628,438

    07/11/23

    132.40

    19,223,786

    1

    1,595,348

    08/11/23

    133.26

    15,093,598

    1

    16,688,946

    09/11/23

    131.69

    17,976,533

    -1

    -1,287,587

    10/11/23

    134.06

    20,879,838

    1

    19,592,251

    13/11/23

    133.64

    16,409,856

    -1

    3,182,395

    14/11/23

    135.43

    22,317,345

    1

    25,499,740

    15/11/23

    136.38

    15,840,883

    1

    41,340,623


    เมื่อนำค่า OBV ที่ได้มาพล็อตเป็นกราฟร่วมกับราคา จะพบว่าทิศทางของราคาและ OBV มักยืนยันไปในทิศทางเดียวกันและสามารถบอกสัญญาณชี้นำบางอย่างของราคาได้


    ทิศทางของราคาและ OBV มักยืนยันไปในทิศทางเดียวกัน


    การนำ On Balance Volume ไปใช้แบบเบื้องต้น

    OBV เป็นอินดิเคเตอร์สายโมเมนตัมที่ใช้บอกความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ทำให้สามารถนำมาใช้ประกอบการเทรดแบบเบื้องต้นได้ทั้งการช่วยยืนยันแนวโน้ม (Continuous Pattern) และ การหาจุดกลับตัวของแนวโน้ม (Reversal Pattern)


    1.ใช้ในการยืนยันแนวโน้ม

     ปริมาณการซื้อขาย (Volume) สามารถนำมาใช้บอกความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้โดยที่แนวโน้มที่แข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงจะมีการยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขายสูง นั่นคือแม้ราคาสูงขึ้นก็ยังมีคนยินดีจะซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับขาลงที่แม้ราคาจะปรับตัวลงก็ยังมีคนยืนยันจะขายหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยืนยันว่าแนวโน้มราคาที่กำลังดำเนินไปนั้นจะมีการดำเนินต่อไป (Continuous Pattern)


    การเทรด OBV บนแนวโน้ม นักเทรดสามารถใช้ OBV กับกลยุทธ์ Swing Trade ในการย่อซื้อที่จุดสวิงเพื่อทำกำไรจากราคาหุ้นที่กำลังเคลื่อนตัวไปบนแนวโน้ม (อ่านเพิ่มเติม Swing Trade)


    ตัวอย่างการนำ On Balance Volume ไปใช้ในการยืนยันแนวโน้ม


    2. ใช้ในการหาจุดกลับตัวของแนวโน้ม

    การกลับตัวของแนวโน้มจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดสัญญาณขัดแย้งจาก OBV (OBV Divergence) จากการที่ราคาและปริมาณซื้อขายสะสมส่งสัญญาณขัดแย้งกัน คือ


    เมื่อราคาเคลื่อนตัวในแนวโน้มขาขึ้น แต่ OBV เริ่มไม่ปรับตัวขึ้นและเริ่มปรับตัวลง หมายความว่าในช่วง Time Frame ที่ราคาปรับตัวขึ้นนั้นมีปริมาณการซื้อขายน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นใน Time Frame ที่ราคาปรับลดลง แสดงว่าการปรับขึ้นของราคานี้เริ่มไม่เสถียรและมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการกลับตัวลง


    เมื่อราคาเคลื่อนตัวในแนวโน้มขาลง แต่ OBV เริ่มไม่ปรับตัวลงตามและเริ่มปรับตัวขึ้น หมายความว่าในช่วง Time Frame ที่ราคาปรับตัวลงมีปริมาณการซื้อขายน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นใน Time Frame ที่ราคาปรับตัวขึ้น ทำให้การลงของราคานั้นไม่เสถียรและมีแนวโน้มที่จะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ในที่สุด


    การเทรด OBV บนจุดกลับตัว นักเทรดสามารถใช้ OBV กับกลยุทธ์ Pull Back/ Throw Back เพื่อหาจุดเข้าเปิดสถานะในการเกิดจุดกลับตัวของแนวโน้ม (อ่านเพิ่มเติม Pull Back / Throw Back)


    ตัวอย่างการนำ On Balance Volume ไปใช้ในการหาจุดกลับตัวของแนวโน้ม


    กลยุทธ์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับ On Balance Volume

    การใช้ OBV แค่ตัวเดียวเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเทรดอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากตัวอินดิเคเตอร์คำนวณมาจากปริมาณการซื้อขายเพียงอย่างเดียว การนำ OBV มาใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ในกลุ่มแนวโน้ม (Trend Indicator) จึงเป็นตัวช่วยเพิ่มความแม่นยำให้กับการสร้างระบบเทรดได้ ตัวอย่างเช่น


    1. OBV + MA

    Moving Average (MA) หรือ เส้นค่าเฉลีย คือ การหาค่าเฉลี่ยของราคาแบบเคลื่อนที่จากการนำราคาย้อนหลังมาหาค่าเฉลี่ยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งค่านี้จะเป็นตัวบอกว่าในช่วงเวลานั้นมีค่ากลางของราคาในการเทรดอยู่ที่เท่าไหร่ เราจึงสามารถใช้ค่านี้เป็นแนวรับแนวต้าน รวมทั้งบอกแนวโน้มราคาได้ (อ่านเพิ่มเติม EMA)


    การเทรด OBV + MA จะเป็นการหาจุดกลับตัวของแนวโน้มราคาจากสัญญาณขัดแย้ง OBV และยืนยันการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มด้วยการทำ MA Breakout


    ตัวอย่าง JPYUSD, 1H


    ตัวอย่าง JPYUSD, 1H


    หากสังเกตราคา JPYUSD ในขาลงที่เคลื่อนตัวต่ำกว่า EMA 25 มาตลอด พร้อมกับการปรับลงของ OBV อย่างต่อเนื่องเป็นการยืนยันทิศทางราคาขาลง แต่เมื่อ OBV เริ่มไม่ทำจุดต่ำใหม่แล้ว (OBV Divergence) ราคาเริ่มปรับตัวขึ้นและพยายามเบรคเอาท์เส้น EMA25 ที่ถูกใช้เป็นเส้นแนวโน้ม เป็นจุดที่นักเทรดสามารถเปิดสถานะซื้อ และตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ที่จุดต่ำสุดที่เคยทำไว้ได้


    2. OBV + Bollinger Bands

    Bollinger Bands (BB) คำนวณขึ้นมาจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของราคาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทั้งบวกและลบ เป็นกรอบ (Band) ที่ราคามีแนวโน้มเคลื่อนที่อยู่ภายใน และมีเส้นค่าเฉลี่ย (MA) คอยบอกค่ากลาง ทำให้นักเทรดสามารถประมาณกรอบการเคลื่อนไหวของราคาที่มีแนวโน้มดีดตัวกลับเข้าสู่ค่ากลางหรือเส้นค่าเฉลี่ยได้ 


    การเทรด OBV + Bollinger Bands จะเป็นการหาจุดกลับตัวของแนวโน้มราคาจากสัญญาณขัดแย้ง OBV และหาจุดยืนยันการกลับตัวของราคาเพื่อเข้าเปิดสถานะด้วย Bollinger bands


    ตัวอย่าง MSFT, 1D


    ตัวอย่าง MSFT, 1D



    สังเกตราคาหุ้น Microsoft ก่อนหน้ามีการปรับตัวเป็นขาขึ้นโดยทำจุดสูงสุดใหม่เสมอ (Higher High) พร้อมกับ OBV ที่ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในทิศทางเดียวกันเป็นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งก่อนหน้า


    แต่เมื่อ OBV เริ่มส่งสัญญาณ Divervence ที่ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่พร้อมกับราคาที่ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิม นักเทรดสามารถหาจังหวะการเข้าเทรด (Entry) ได้ด้วยการรอให้ราคาชนกรอบบนของ Bollinger Bands แล้วหลุดเส้น SMA20 ลงมาเป็นแท่งสีแดงขนาดใหญ่ซึ่งหมายถึงแรงขายจำนวนมากเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มขาลง จากนั้นตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ที่จุดสูงเดิมที่เคยทำไว้ และวางจุดปิดสถานะเพื่อทำกำไรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มหรือแนวโน้มขาลงที่เกิดขึ้นมีการชะลอตัวลง


    สรุป

    มาถึงตรงนี้คงไม่ต้องสงสัยกันอีกแล้วว่า On Balance Volume คืออะไรเพราะ On Balance Volume หรือ OBV คืออินดิเคเตอร์สายโมเมนตัมหนึ่งในไม่กี่ตัวที่นำปริมาณการซื้อขายมาใช้ในการคำนวณ ทำให้นักเทรดและนักลงทุนสามารถสังเกตปริมาณการซื้อขายสะสมของสินทรัพย์ตัวนั้น ๆ ได้แบบคร่าว ๆ แต่มีผลอย่างมากในการเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยเทรด เนื่องจากการคาดการณ์ราคาที่แม่นยำนั้นต้องอาศัยการยืนยันจากปริมาณการซื้อขายไปพร้อมกัน ดังนี้แล้วการทำความรู้จักอินดิเคเตอร์ OBV ไว้จะช่วยทำให้นักเทรดสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ช่วยคาดการณ์ราคาได้อย่างแม่นยำขึ้นมากไปกว่าการใช้แต่อินดิเคเตอร์สายแนวโน้มเท่านั้น

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    placeholder
    เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    placeholder
    8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    placeholder
    DCA คือ อะไร? เปิดบัญชีออมหุ้น DCA ที่ไหนดี 2024สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก