CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Villeroy สมาชิก ECB เผย “สถานการณ์ในตะวันออกกลางไม่ควรชะลอการลดดอกเบี้ยไปจากเดือนมิถุนายน”

    แหล่งที่มา Fxstreet
    22 เม.ย. 2567 04:41 น.

    Francois Villeroy de Galhau ประธานธนาคารกลางฝรั่งเศสกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า ความตึงเครียดในตะวันออกกลางไม่น่าจะผลักดันราคาพลังงานให้สูงขึ้น และไม่ควรส่งผลกระทบต่อแผนการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ตามรายงานจากรอยเตอร์

    ข้อความอ้างอิงสําคัญ

    "หากไม่มีเซอร์ไพรส์ใด ๆ ก็ไม่จำเป็นจะต้องรอนานกว่านั้น" 

    "ซึ่งนั่นควรตามมาด้วยการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม ในจังหวะที่ทำได้ในทางปฏิบัติ" 

    "ในขณะนี้สถานการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ ไม่ได้นําไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันอย่างชัดเจน และหากเป็นไปในกรณีนี้ เราจะต้องวิเคราะห์นโยบายการทางเงินว่าภาวะช็อกนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและผลลัพท์เพียงจํากัดหรือไม่ หรือจะส่งผ่าน—นอกเหนือจากสินค้าโภคภัณฑ์—ไปยังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานด้วย" 

    ปฏิกิริยาของตลาด

    รายงานความคิดเห็นเหล่านี้มีปฏิกิริยาของตลาดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อค่าเงินยูโร  คู่ EUR/USD ซื้อขายที่ระดับ 1.0659 วิ่งบวก 0.03% ในรายวัน


    ECB: คําถามที่พบบ่อย

    ECB คืออะไรและมีอิทธิพลต่อเงินยูโรอย่างไร?

    ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี เป็นธนาคารกลางสําหรับยูโรโซน ธนาคารกลางยุโรปกําหนดอัตราดอกเบี้ยและจัดการนโยบายการเงินในภูมิภาค

    จุดประสงค์หลักของ ECB คือการรักษาเสถียรภาพของราคา ซึ่งหมายถึงการรักษาอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ประมาณ 2% เครื่องมือหลักในการบรรลุเป้าหมายนี้คือการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงมักจะส่งผลให้ยูโรแข็งค่าขึ้นและถ้าลดก็จะทำให้สกุลเงินอ่อนค่า

    คณะรัฐมนตรีธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจนโยบายการเงินในการประชุมที่จัดขึ้น 8 ครั้งต่อปี การตัดสินใจจะเกิดขึ้นโดยหัวหน้าของธนาคารกลางยูโรโซน, สมาชิกถาวรหกคน และประธานธนาคารกลางยุโรปนางคริสติน ลาการ์ด

    การผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) คืออะไรและมีผลต่อเงินยูโรอย่างไร?

    ในสถานการณ์ที่รุนแรง ธนาคารกลางยุโรปสามารถออกกฎหมายเครื่องมือนโยบายที่เรียกว่าการผ่อนคลายเชิงปริมาณ QE เป็นกระบวนการที่ ECB พิมพ์เงินยูโรและใช้เพื่อซื้อสินทรัพย์ซึ่งโดยปกติจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลหรือบริษัทจากธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ QE มักจะส่งผลให้ยูโรอ่อนค่าลง

    การทำ QE เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อลำพังแค่ลดอัตราดอกเบี้ยไม่น่าจะบรรลุวัตถุประสงค์สร้างเสถียรภาพด้านราคาได้ ธนาคารกลางยุโรปใช้ QE ในช่วงวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ในปี 2009-11 ในปี 2015 เมื่ออัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับในช่วงการระบาดของโควิด

    การคุมเข้มเชิงปริมาณ (QT) คืออะไรและส่งผลต่อเงินยูโรอย่างไร?

    การคุมเข้มเชิงปริมาณ (QT) เป็นกระบวนการตรงกันข้ามของ QE ดําเนินการหลังการทำ QE เมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกําลังดําเนินไปและอัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังทำ QE ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและบริษัทจากสถาบันการเงินเพื่อให้พวกเขามีสภาพคล่องใน QT คือการที่ ECB หยุดซื้อพันธบัตรเพิ่ม หยุดลงทุนเงินต้นที่ครบกําหนดในพันธบัตรที่ถืออยู่แล้ว QT มักจะเป็นบวก (หรือขาขึ้น) ต่อเงินยูโร

     

    ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต
    placeholder
    ข่าวด่วน! เงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ 2.8% เทียบกับที่คาดว่าจะลดลงมาที่ 2.6%อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวัดจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้นเป็น 2.7% ต่อปีในเดือนมีนาคม จากที่ 2.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามรายงานของสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหรัฐเมื่อวันศุกร์ ตัวเลขนี้สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 2.6% ดัชนีราคา PCE หลัก ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน ตอนนี้ทรงตัวที่ 2.8% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 2.6% และเมื่อเทียบเป็นรายเดือน ดัชนีราคา PCE และดัชนีราคา Core PCE เพิ่มขึ้น 0.3%
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวัดจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้นเป็น 2.7% ต่อปีในเดือนมีนาคม จากที่ 2.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามรายงานของสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหรัฐเมื่อวันศุกร์ ตัวเลขนี้สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 2.6% ดัชนีราคา PCE หลัก ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน ตอนนี้ทรงตัวที่ 2.8% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 2.6% และเมื่อเทียบเป็นรายเดือน ดัชนีราคา PCE และดัชนีราคา Core PCE เพิ่มขึ้น 0.3%
    placeholder
    ประธาน Ueda แห่ง BOJ เผย: “เงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายจะต้องคงอยู่ในขณะนี้”Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) กล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการประชุมนโยบายในวันศุกร์ว่า ทางธนาคาร "จะปรับระดับการผ่อนคลายทางการเงินหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น" และเสริมว่า "เงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายจะยังต้องคงอยู่ในขณะนี้"
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) กล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการประชุมนโยบายในวันศุกร์ว่า ทางธนาคาร "จะปรับระดับการผ่อนคลายทางการเงินหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น" และเสริมว่า "เงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายจะยังต้องคงอยู่ในขณะนี้"
    placeholder
    Ramsden สมาชิก BoE เผย “ความเสี่ยงต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในประเทศกําลังลดลง”"ผมมีความมั่นใจมากขึ้นในหลักฐานที่แสดงว่าความเสี่ยงต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในประเทศกําลังลดลง" เดฟ แรมส์เดน รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเมื่อวันศุกร์ ตามรายงานของรอยเตอร์
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    "ผมมีความมั่นใจมากขึ้นในหลักฐานที่แสดงว่าความเสี่ยงต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในประเทศกําลังลดลง" เดฟ แรมส์เดน รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเมื่อวันศุกร์ ตามรายงานของรอยเตอร์
    goTop
    quote