Arb coin คืออะไร? Arbitrum ต่างจาก Ethereum อย่างไร?

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

การเติบโตของระบบนิเวศ Ethereum ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่หลายคนกำลังจับตามอง ด้วยความท้าทายเชิงโครงสร้างที่เหล่าวิศวกรมักเผชิญหน้าเมื่อต้องพัฒนา dApp มันจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราต้องพึ่งพาบล็อกเชน Layer 2 อย่าง Arbitrum ดิจิทัลโทเคนประสิทธิภาพสูงที่เข้ามาทลายข้อจำกัดได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว ในบทความนี้ผมจะมาสรุปให้ฟังว่า Arb coin คืออะไร? มันแตกต่างและสำคัญต่อ Ethereum อย่างไร? ไปดูกันครับ

Arb coin คืออะไร?

Arbitrum หรือ Arb coin คือดิจิทัลโทเคนประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนาโดยเทคโนโลยีบล็อกเชน มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของ dApp เป็นอย่างมาก เพราะมันทำหน้าที่เป็นเลเยอร์ 2 (Layer 2) ซึ่งช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ปรับขนาด และเอาชนะข้อจำกัดอย่างที่ Ethereum ทำไม่ได้


ความเป็นมาของ Arbitrum

Arb coin เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2021 ด้วยการนำทีมของหัวกะทิจาก Princeton University พวกเขาเปิดตัวโซลูชั่น Offchains Lab ที่ภายหลังสามารถระดมทุนจาก Series B ได้สูงถึง 120 ล้านดอลลาร์ กับแผนที่จะพัฒนาโปรโตคอลต่างๆ ในอนาคต พร้อมโปรแกรม Arbitrum Odyssey ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการใช้งานและทำให้ธุรกรรมมีราคาถูกกว่าบน mainnet ถึง 25 เท่า


แม้ Arbitrum จะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งกว่าจะเปิดให้บริการก็ล่วงเวลาไปเกือบ 3 ปีแล้ว แต่เหล่าบรรดานักวิเคราะห์ก็เชื่อมั่นในศักยภาพของเฟรมเวิร์กนี้ เพราะมันอยู่ภายใต้การดูแลของ 3 ผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ Ed Felten, Steven Goldfeder และ Harry Kalodner ซึ่งทั้งหมดล้วนจบการศึกษาในสาขาคอมพิวเตอร์กันทั้งนั้น


หน้าที่สำคัญของ Arbitrum

Arb coin ถูกใช้เป็นโทเคนหลักของเครือข่าย Arbitrum ที่ถูกพัฒนาภายใต้เทคโนโลยีบล็อกเชนอัจฉริยะ หรือถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็คือ เป็นเสมือนหน่วยดิจิทัลหลักที่ใช้จ่ายค่าธรรมเนียม, ออกสิทธิ์ออกเสียง, เพิ่มสภาพคล่อง รวมถึงใช้คำประกันในการเป็นผู้ตรวจสอบภายในเครือข่ายได้อีกด้วย


หน้าที่ของ Arbitrum ยังรวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในฐานะของ Layer 2 ซึ่งจะสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมบน dApp ลดความหน่วง เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมได้มากถึง 65,000 รายการต่อวินาที แต่สิ่งที่ทำให้นักลงทุนเซอร์ไพร์สสุดๆ ก็คงจะหนี้ไม่พ้นต้นทุนเฉลี่ยที่อยู่ราวๆ 0.6 ดอลลาร์ต่อครั้งเท่านั้น!!


นอกเหนือจากฟังก์ชันสุดเจ๋งที่ดึงดูดฐานผู้ใช้งานขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่องแล้ว Arbitrum ยังช่วยรองรับโปรโตคอลจาก DeFi ได้หลายตัว โดยมีแอปที่ถูกพัฒนามากกว่า 400 รายการ ส่งผลให้บริษัท DeFi ยักษ์ใหญ่ต่างยื่นข้อเสนอและอนุมัติให้ติดตั้งบน Arbitrum จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Uniswap, Curve Finance และอีกมากมาย


ทำความรู้จักกับ Layer 2

เอาล่ะ ก่อนที่เราจะลงลึกถึงวิธีการทำงานของ Arbitrum นักลงทุนจะต้องเข้าใจก่อนว่า “เลเยอร์ 2” หมายถึงอะไรกันแน่? ซึ่งถ้าอธิบายตามทฤษฏีจะพบว่า Layer 2 คือ โปรโตคอลหรือเฟรมเวิร์กชั้นรองที่สร้างบนบล็อกเชนเช่นเดียวกันกับ Layer 1 แต่จะถูกพัฒนาและปรับปรุงให้ดีกว่า เร็วกว่า และปลอดภัยยิ่งกว่า มันจึงไม่แปลกที่ Layer 2 จะสร้างโดยมีพื้นฐานมาจาก Layer 1 บนเครือข่ายของ Ethereum นั่นเอง


โดยในทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น บล็อกเชนที่มีอยู่ใน Ethereum จะทำหน้าที่เป็นผู้เก็บค่าธรรมเนียมหรือที่เรียกว่า “Gas” และถ้าจำนวนธุรกรรมมีมากขึ้นเท่าไหร่ ค่าธรรมเนียมก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น Arb coin จึงออกแบบมาเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายนี้ ผ่านโซลูชั่น Rollups ที่ช่วยส่งคำสั่งธุรกรรม “แบบเป็นชุด” เพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล แต่ยังคงรักษาการกระจายอำนาจและความปลอดภัยขั้นสูงไว้ได้อยู่


จากระบบการทำงานของ Layer 1 ที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ 100% นักพัฒนาจึงพยายามผสมผสานเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องซึ่งกลายมาเป็น Layer 2 ในเวลาต่อมา มันมีประโยชน์อย่างมาในอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน, การพัฒนาสัญญาอัจฉริยะ, เป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนา dApp ที่ง่ายและมีคุณสมบัติครบถ้วน

Arbitrum ทำงานอย่างไร?

รู้หรือไม่? คุณสามารถเข้าใจหลักการทำงานของ Arbitrum ได้ภายใน 30 วินาที เพราะคอนเซ็ปท์หลักๆ จะใช้ Optimistic Rollup เพื่อลดขนาดและเพิ่มความสามารถในการทำงานบนบล็อกเชน โดยไม่ว่าคุณจะทำธุรกรรมหรือเขียนสัญญาอัจฉริยะก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนเปลี่ยนรหัสใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้เป็นผลดีมาจาก Layer 2 ที่จำลองการทำงานผ่านโหนดหลายๆ อันมาต่อร่วมกันนั่นเอง


แล้ว Optimistic Rollup ทำงานยังไงล่ะ? Rollups คือขั้นตอนที่ใช้โครงสร้างโปรโตคอลในการทำธุรกรรม มันช่วยให้ Ethereum เกิดการกระจุกตัวที่น้อยลง อีกทั้งยังสามารถติดตั้งผ่าน Sidechain อื่นๆ อย่างอิสระ โดย Arbitrum ส่งต่อข้อมูลธุรกรรมกลับไปใน Ledger เพื่อสร้างโหนดในบล็อกเชนต่อไป


เพราะอย่างที่คุณรู้ Arb coin พยายามที่จะจัดการกับธุรกรรมอันมหาศาลด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำและเร็วกว่า Ethereum ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่คำสั่งเริ่มขึ้น โหนดแต่ละอันจะเรียงต่อกันเสมือนหลายๆ บล็อกเชน ทำให้ Layer 1 มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมรายชื่อธุรกรรม ส่วน Layer 2 ก็ทำหน้าที่สำหรับยืนยันสถานะของเชน


แต่รู้มั้ยอะไรคือส่วนที่พีคที่สุด?? ใช่แล้วครับ มันคือค่าตอบแทนสำหรับผู้ที่รวบรวมเชนต่างๆ นั่นเอง เพราะถ้าใครที่ส่งรายการธุรกรรมบน Layer 1 อย่างสม่ำเสมอ ก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นคริปโตในหน่วย ETH ที่สามารถนำไปแลกหรือสะสมมูลค่าต่อไปได้อีก


ฟังก์ชันโทเคน ARB ที่ต้องรู้

ARB เป็นโทเคนที่ถูกใช้ภายในเครือข่าย Arbitrum หนึ่งในเฟรมเวิร์ก Layer 2 ที่พัฒนาในระบบเดียวกันกับบล็อกเชน Ethereum มันจึงมีความพิเศษพร้อมฟังก์ชันโดนๆ ที่คุณจำเป็นต้องรู้ดังนี้


  • ใช้เป็นฟังก์ชันเพื่อพัฒนา DApps ของตนเองได้ง่ายๆ ผ่านระบบ Arbitrum ที่ช่วยลดเวลาในขั้น Validation

  • บีบอัดข้อมูลให้เป็นไฟล์เดียว ช่วยลดความซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำ ผ่านสัญญาอัจฉริยะ Ethereum หลายๆ ชุดคำสั่ง พร้อมส่งกลับไปยัง Mainnet ในรูปของ Calldata

  • มีฟีเจอร์เพิ่มสภาพคล่องให้แก่สินทรัพย์ เป็นสื่อกลางในการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ

  • ใช้เป็นโทเคนเพื่อค้ำประกันได้ 100% ผู้ที่ถือ Arb coin สามารถใช้เหรียญเพื่อค้ำประกันในสถาการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเพื่อเป็นผู้ตรวจสอบในเครือข่าย หรือที่เรียกกันว่า Validator

  • เมื่อใช้ค้ำประกันเพื่อเป็น Validator แล้ว ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ถือครองมีสิทธิ์ในการกำกับและกำหนดนโยบายสำหรับการพัฒนา Arbitrum ในอนาคตได้อีกด้วย

  • ในขั้นตอน Rollup Process จะมีฟังก์ชันตัวหนึ่งที่คอยตรวจเช็คความโปร่งใสของข้อมูล เมื่อใดก็ตามที่ธุรกรรมมีความผิดปกติ เครือข่ายจะใช้ฟังก์ชัน Validator กับธุรกรรมในแต่ละแบตช์


Arb coin vs. Ethereum: อะไรคือข้อแตกต่าง?

Arb coin เป็นดิจิทัลโทเคนที่ออกแบบมาเพื่อ Arbitrum โดยเฉพาะ ซึ่งเครือข่าย Arbitrum ก็ถูกพัฒนามาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน Ethereum เช่นเดียวกัน เพียงแต่ ARB คือเวอร์ชั่นของ Layout ที่ดีกว่า เพราะถูกโปรแกรมจากข้อจำกัดที่ Ethereum ทำไม่ได้ หรือ ทำได้ไม่ดีพอ


นักพัฒนาจำนวนมากจึงหันมาใช้ Arbitrum ในการทำ DApps รวมถึงโซลูชันต่างๆ ที่จะช่วยให้การดำเนินการนั้นรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


  • Ethereum เปรียบเสมือน Layer 1 ในขณะที่ Arbitrum จะเป็น Layer 2 ที่ถูกพัฒนามาให้ดีกว่า

  • Arbitrum จะช่วยให้ผู้ถือเหรียญเสียค่าใช้จ่ายในการทำธุกรรมที่ถูกกว่า Ethereum

  • ใครที่ถือ Arb coin จะใช้สิทธิ์ในการโหวต, ปรับปรุง, เปลี่ยนแปลงได้เหมือนกับ Ethereum

  • นักพัฒนาสามารถย้ายโมเดลที่เคยพัฒนาใน Ethereum มาสู่ Arbitrum ได้ทันที ไม่ต้องปรับอะไรทั้งนั้น

  • เหรียญ ARB จะใช้สำหรับการกำกับดูแลโปรโตคอลบน Arbitrum เท่านั้น


ข้อดีและข้อจำกัดของ Arb coin ที่ควรรู้

อีกหนึ่งสิ่งที่นักลงทุนอย่างเราๆ ไม่ควรมองข้าม อย่างข้อจำกัดของ Arbitrum ที่ดูเหมือนจะสร้างความน่ากังวลใจได้ไม่น้อยเลย ในรีวิวนี้ ผมจึงสรุปจุดเด่นและความเสี่ยงที่หลายคนอาจพบเมื่อเทรด Arb coin มาฝากกัน


ข้อดีของ Arb coin

  1. ลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม 

  2. เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับนักพัฒนาและโปรแกรมเมอร์ ตามหลักการของ EVM

  3. ปรับขนาด ลดเวลา และเพิ่มความปลอดภัยบนเครือข่ายของบล็อกเชน

 

ข้อเสียของ Arb coin

  1. Arbitrum อาจได้รับผลกระทบจากสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่อาจนำไปสู่การสูญเงินที่ลงทุนเข้าไปในพอร์ต

  2. ระบบ Decentralization ที่ไม่ 100% เพราะ Arbitrum มีเครื่องมือตรวจสอบบางตัวที่ยังคงมีอิทธิพลต่อการทำงานของโปรโตคอลอยู่

  3. ข้อจำกัดด้านสภาพคล่องของ DApps ที่ปัจจุบันได้เพิ่มโซลูชั่น Layer 2 เข้ามาแก้ไขเรียบร้อยแล้ว

การวิเคราะห์อนาคตของเหรียญ Arbitrum (ARB)

ภาพการเคลื่อนไหวของราคา ARB

ที่มา: tradingview


การคาดการณ์ราคา Arbitrum (ARB) ในปี 2024

ราคาปัจจุบันของ ARB เฉลี่ยอยู่ที่ $1.88 ซึ่งจากการวิเคราะห์เชิงเทคนิคแสดงให้เห็นว่าราคา Arbitrum อาจเคลื่อนไหวอยู่ที่ระหว่าง $0.23 และ $2.11 โดยระบุราคาเฉลี่ยไว้ที่ $1.89 ภายในปี 2024 อย่างไรก็ตาม หากคุณซื้อ Arb coin ในตอนนี้ มันมีโอกาสขยับขึ้นไปถึง +45% ภายในสิ้นปี


การคาดการณ์ราคา Arbitrum (ARB) ในปี 2025

หากวิเคราะห์เทรนราคาไปจนถึงปี 2025 คุณอาจพบข้อมูลที่น่าตกในไม่น้อยเลย เพราะถึงแม้ราคาเฉลี่ยภายในปีจะอยู่ที่ $2.00 แต่ราคากลับแกว่งอยู่ราวๆ $0.06 – $2.06 อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าท้ายที่สุดแล้วราคาจะกลับมาให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ +53%


การคาดการณ์ราคา Arbitrum (ARB) ในปี 2030

สำหรับใครที่ซื้อ Arb coin ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปี 2030 คุณมีแนวโน้มที่จะสะสมมูลค่าได้มากถึง +118% จากราคาที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ $0.03 – $2.87 หรือเฉลี่ยที่ $2.84 

ตัวอย่างวิธีการใช้งาน Arbitrum ฉบับมือใหม่

สำหรับใครที่ยังไม่เคยใช้บริการจาก Arbitrum ในรีวิวนี้ผมได้รวบรวมตัวอย่างการใช้งานแบบง่ายๆ มาฝากกัน ซึ่งปกติแล้ว นักลงทุนจะสามารถเปิดใช้งานได้ผ่านทาง DApps ได้ทันที แต่ที่นิยมจะเป็นการเชื่อมต่อ Wallet เข้ากับ Arb coin โดยตรง ดังตัวอย่างการใช้งานต่อไปนี้


ขั้นตอนที่ 1 เปิดบัญชีกับ Arbitrum

อันดับแรกให้ทำการสมัครสมาชิกและเปิดบัญชีกับ Arbitrum Bridge จากนั้นเชื่อมต่อ Wallet ของคุณเพื่อใช้ทำธุรกรรมภายในเครือข่าย Arbitrum โดยกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับบล็อกเชน Ethereum จะมีมากกว่าสกุลเงินดิจิทัลตัวอื่นๆ อยู่แล้ว


ขั้นตอนที่ 2  ทำธุรกรรมโดยใช้ Ethereum

ก่อนเริ่มทำธุรกรรม ให้คุณตรวจสอบความถูกต้องของ Wallet ก่อน จากนั้นเลือกโทเคน ETC-20 ที่ต้องการเชื่อมกับ Arbitrum พร้อมระบุจำนวนเงินก่อนจะคลิกฝากเงิน อย่างไรก็ตามในขั้นตอนนี้นักลงทุนจะต้องเสียค่า Gas และใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที


ขั้นตอนที่ 3 เชื่อม Arbitrum ใน Wallet ของคุณ

เงินที่โอนเข้าไปยัง Wallet จะยังไม่ปรากฏจนกระทั้งเครือข่าย Arbitrum จะถูกเพิ่มเข้าไปยัง Wallet ของคุณ ซึ่งวิธีเพิ่มก็ง่ายมากๆ แค่เพิ่ม Layer 2 Network แบบอัตโนมัติ 


แต่ถ้าการเทรดคริปโตฯ นั้นดูเสี่ยงเกินไปสำหรับคุณ ผมขอแนะนำให้เทรดแบบ CFD กับ MiTrade โบรกเกอร์ชั้นนำที่สามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชม. คอมมิชชั่นเท่ากับ 0 ใช้เงินลงทุนไม่มาก สามารถใช้เลอเวอเรจเพื่อซื้อขาย Ethereum หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ได้ ไม่มีค่าธรรมเนียม


mitrade
🎉ห้ามพลาด !!!
ค่าคอมฯ 0 สเปรดต่ำ เงินฝากขั้นต่ำ $50 
โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
ฝึกเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 ฟรี
การลงทุนมีความเสี่ยง อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน

สรุป Arbitrum

Arb coin เป็นดิจิทัลโทเคนที่ใช้ในเครือข่าย Arbitrum ถูกออกแบบและพัฒนาโดย Offchain Labs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อจำกัดของ Ethereum ไม่ว่าจะเป็นการปรับขนาดของเครือข่าย เพิ่มความรวดเร็ว และลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ใช้เฟรมเวิร์กจาก Layer 2 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและความสามารถในการพัฒนา DApps โดยคุณสามารถลงทุนผ่านการซื้อคริปโตแล้วเก็งกำไร หรือ เทรด CFD ได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ทุนสูง

คำถามที่พบบ่อย

ทำไมนักพัฒนา DApps จึงชื่นชอบ Arbitrum?

เครือข่าย Arbitrum เหมาะอย่างยิ่งในการพัฒนา DApps บนเทคโนโลยีบล็อกเชน เพราะคุณสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษายอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Rust, C++ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้นักพัฒนาสามารถย้าย dApps และ DeFi ไปยัง Arbitrum ได้อย่างง่ายดาย

Arbitrum ต่างจาก Optimism อย่างไร?

ความแตกต่างระหว่าง Optimism และ Arbitrum คือ การใช้หลักฐานเพื่อตรวจจับความผิดปกติแบบครั้งเดียว ในทางกลับกัน Arbitrum จะใช้หลักฐานเพื่อตรวจจับการฉ้อโกงแบบหลายครั้ง ผ่านระบบที่เรียกว่า Multi-Round Fraud-Proof ซึ่งจะยืนยันความผิดปกติในรายการธุรกรรมที่จุดใดจุดหนึ่ง ต่างจาก Optimism ที่ใช้ระบบ Single-Round Fraud-Proof เพื่อการตรวจสอบรายการธุรกรรม L1 และ L2

Arb coin ดีกว่า ETH จริงหรือไม่?

ไม่มีเหรียญดิจิทัลสกุลไหนที่สมบูรณ์แบบไปซะทุกเรื่อง ทั้ง ARB และ ETH ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดย Arbitrum ถือเป็นโซลูชั่น Layer 2 ที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้ ส่วน Layer 1 อย่าง Ethereum และ Bitcoin ก็ยังโชว์ฟอร์มในด้านความปลอดภัยและการเป็นอิสระที่เหนือกว่า

การ Airdrop เหรียญ ARB คืออะไร?

ไม่กี่ปีที่ผ่านมาก Arbitrum ได้ประกาศว่าจะเปิดตัวเหรียญ ARB และกำหนดที่จะปล่อย Airdrop ให้กับผู้ใช้และผู้พัฒนาโดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งการ Airdrop เหรียญนั้นถือเป็นการตลาดที่เบสิกมากๆ ในโลกของคริปโตเคเรนซี เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาถือครองและใช้เหรียญนี้ในการโหวตลงคะแนนภายในเครือข่าย หลังจากประกาศ ARB Airdrop สภาพคล่องก็เพิ่มขึ้นจนสร้างสถิติใหม่เกือบ 2 พันล้านดอลลาร์

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีที่ดีที่สุดสำหรับปี 2024มีโปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีมากมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกสิ่งที่ใช่สำหรับตัวคุณเอง ดังนั้น ทางเราจะช่วยคุณค้นหาโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ดีที่สุดที่เหมาะกับคุณที่สุดโดยการตรวจสอบโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
มีโปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีมากมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกสิ่งที่ใช่สำหรับตัวคุณเอง ดังนั้น ทางเราจะช่วยคุณค้นหาโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ดีที่สุดที่เหมาะกับคุณที่สุดโดยการตรวจสอบโปรแกรมขุดบิทคอยน์ที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด
placeholder
Bitcoin Wallet อันไหนดี? 9 กระเป๋าบิทคอยน์ที่คนไทยนิยมใช้กัน 2024ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่าก็สามารถติดตั้ง Bitcoin Wallet ได้ด้วยตัวเอง ใครที่มีกระเป๋า Bitcoin ในใจ หรือกำลังมองหากระเป๋า Bitcoin ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
วันที่ 15 มี.ค. 2023
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่าก็สามารถติดตั้ง Bitcoin Wallet ได้ด้วยตัวเอง ใครที่มีกระเป๋า Bitcoin ในใจ หรือกำลังมองหากระเป๋า Bitcoin ที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
placeholder
10 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุน 2024 ฉบับมือใหม่!เหรียญที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะยังคงรักษาระดับความเข้มข้นนี้ไว้ได้หรือไม่ ในปีนี้จะมีเหรียญอะไรใหม่ๆ ที่มาแรงและน่าจับตามองกันบ้าง เราจะพาทุกคนไปสำรวจ 10 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะสั้นในปี 2024 กันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 12 พ.ค. 2023
เหรียญที่ได้รับความนิยมในปี 2024 จะยังคงรักษาระดับความเข้มข้นนี้ไว้ได้หรือไม่ ในปีนี้จะมีเหรียญอะไรใหม่ๆ ที่มาแรงและน่าจับตามองกันบ้าง เราจะพาทุกคนไปสำรวจ 10 อันดับเหรียญคริปโตที่น่าลงทุนระยะสั้นในปี 2024 กันเลย
placeholder
วิเคราะห์แนวโน้มราคาบิทคอยน์ 2024 จะไปในทิศทางใดบทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 19 พ.ค. 2023
บทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
placeholder
Ripple (XRP) น่าลงทุนหรือไม่ในกระแสการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 16 ส.ค. 2023
คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินนี้กัน รวมถึงคำถามที่ว่า Ripple (XRP) น่าลงทุนไหม วิธีเทรด Ripple (XRP) และเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Bitcoin และ Ethereum แล้ว Ripple (XRP) ยังดูน่าสนใจอยู่หรือไม่ ตามไปดูกันได้เลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์