หุ้น Growth Stock vs Value Stock หุ้นสไตล์ไหน...ที่เหมาะกับคุณ?

3 นาที
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหุ้น
อัพเดทครั้งล่าสุด 09 พ.ค. 2566 09:42 น.
ผู้เขียน

ทำไมต้องลงทุน + โอกาสการลงทุน?

หลายคนคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผลตอบแทนของตลาดหุ้นช่วงหลังโควิดที่ผ่านมา ต่างปรับตัวสูงขึ้น สร้างสถิติใหม่หลายประเทศ หลังจากที่ประชาชนได้รับวัคซีนเแล้ว และเริ่มกลับมาเปิดประเทศแล้ว อีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว เริ่มผ่านจุดต่ำสุด เริ่มกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นถือเป็นโอกาสที่ดีเลย  โดยผลตอบแทนของหุ้นไทยหรือหุ้นทั่วโลก ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังประมาณ  8-10% 


การลงทุนในหุ้นไทย นักลงทุนส่วนใหญ่ก็คงหวังว่า ซื้อหุ้นที่มีการเติบโตที่ดี ราคายังถูกอยู่ และคาดหวังรอในอนาคตราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นสะท้อนตามการเติบโตของรายได้ของบริษัท แล้วค่อยไปขายตอนราคาที่ปรับตัวสูง โดยผลตอบแทนหุ้นไทยย้อนหลัง 10 ปีที่ 11.61% ต่อปี 


หรืออีกกลุ่มเน้นจะได้รับเงินปันผล เป็นกระแสเงินสดในการลงทุน ซึ่งหุ้นที่ให้ปันผลสูงในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่ จะให้ปันผลตั้งแต่ 4-6% ต่อปี จะเห็นได้ว่าการลงทุนในหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและน่าสนใจ เมื่อเทียบกับการฝากเงินไว้ในธนาคาร การซื้อหุ้นกู้หรือพันธบัตร และทองคำ  


โดยหลักการทั่วไป หุ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นเติบโต (Growth Stock) และ หุ้นคุณค่า (Value Stock) แต่หุ้นเติบโต (Growth Stock) และหุ้นคุณค่า (Value Stock) คืออะไร? 

 

แล้วเราจะลงทุนในหุ้นกลุ่มไหนดี? หุ้น Growth หรือ Value มันคืออะไรและต่างกันอย่างไร?  และหุ้นแบบไหนเหมาะกับเรามาดูกันเลยครับ

Growth Stock(หุ้นเติบโต) คืออะไร? มาทำความรู้จักลักษณะของ Growth Stock

เป็นบริษัทที่มีการเติบโตของรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย มีความสามารถเหนือคู่แข่ง อยู่ในการเทรนด์ในการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีนวัตกรรม และกลยุทธ์การแข่งขันที่ดี   มีอัตราจ่ายปันผลที่ต่ำหรือไม่จ่ายปันผล หรือที่เรียกว่า “หุ้นเติบโต” 

 

สามารถดูรายละเอียดได้จาก

1. อัตราการจ่ายเงินปันผล (Low Dividend Yield) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากธุรกิจต้องสำรองเงินทุนหมุนเวียนสำหรับขยายธุรกิจ


2. หุ้นที่มีการซื้อขายที่มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากมียอดขายและความสามารถในการทำกำไรที่ดี ทำให้นักลงทุนยินดีที่จะซื้อหุ้นในราคาแพง

3. หุ้นที่มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน


Value Stock(หุ้นคุณค่า) คืออะไร? มาทำความรู้จักลักษณะหุ้น Value Stock?

เป็นบริษัทที่มีความมั่นคง มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี มีการเติบโตของธุรกิจของรายได้สม่ำเสมอ มีกระแสเงินสดต่อเนื่องและอัตราการจ่ายปันผลที่สูง หรือที่เรียกว่า “หุ้นดีราคาถูก”


สามารถดูรายละเอียดได้จาก

1. อัตราการจ่ายเงินปันผล (High Dividend Yield) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน


2. อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หุ้นลักษณะนี้จะมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันหรือต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์


3. มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ratio) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน


Growth Stock & Value Stock ต่างกันอย่างไร?

แล้วรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ ระหว่าง หุ้น Growth Stock  & Value Stock มันแตกต่างกันอย่างไร? สามารถดูได้จากตารางนี้เลย!


ข้อมูลหุ้น Growth Stockหุ้น Value stock
ผลตอบแทนของราคาหุ้น
(ส่วนต่างราคา Capital Gain)
สูงกว่าต่ำกว่า
ผลตอบแทนเงินปันผล
(Dividend Yield)
ต่ำกว่าสูงกว่า
การเคลื่อนไหวของราคา
(ความผันผวน)
สูงกว่าต่ำกว่า
ความเสี่ยงสูงกว่าต่ำกว่า
การเติบโตของรายได้สูงกว่าต่ำกว่า
อัตราส่วนราคาต่อกำไร ต่อหุ้น
(P/E Ratio)
สูงกว่าต่ำกว่า
อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าบัญชี ต่อหุ้น
(P/BV Ratio)
สูงกว่าต่ำกว่า
เหมาะกับใครต้องการผลตอบแทนจากกำไรส่วนต่าง และรับความเสี่ยงได้สูง ลงทุนระยะสั้น (<1ปี)ต้องการผลตอบแทน
อย่างสม่ำเสมอจากเงินปันผล
และส่วนต่างราคา
รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงต่ำ
ลงทุนระยาวได้ (>3 ปี)
ตัวอย่างกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี ไอที
สื่อสาร
บริการ
พลังงาน
การเงิน
สินค้าอุปโภคและบริโภค
วัตถุดิบเพื่ออุตสาหกรรม
ตัวอย่างหุ้นTIDLOR ADVANC
CCET IMH BDMS
MINT AOT
PTT EGCO TTW
CPALL BANPU KTB
INTUCH QH GLOW


หุ้นทั้ง เติบโต VS คุณค่า เหมาะกับใคร?

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนหุ้นทั้งสองประเภท นักลงทุนสไตล์ลงทุนระยะสั้น (ต่ำกว่า 1 ปี) และมีเป้าหมายทำกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น (Capital gain)  และรับความผันผวนของราคาหุ้นได้ จะเลือกหุ้นเติบโตเป็นหลัก เหมาะกับนักลงทุน “สายซิ่ง” 


ในขณะที่หากเป็นนักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนระยะยาว (3 ปี ขึ้นไป)  เน้นรับเงินปันผลและรับความผันผวนของราคาหุ้นได้ต่ำก็จะลงทุนหุ้นคุณค่าเป็นหลัก เหมาะกับนักลงทุน “สายปลอดภัย”


โควิดและวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมากระทบการลงทุน?

ทุกๆ วิกฤตมีโอกาสเสมอ จะเห็นได้ช่วงโควิดที่ผ่าน ตลาดหุ้นไทยช่วงโควิดแรกๆ มกราคม 2020 ดัชนีอยู่ที่ 1600 จุด และมีการปรับฐานมากกว่า 10% ถึง 3 ครั้ง ช่วงเดือน มีนาคม 2020 ทำให้หยุดการซื้อขาย (Circuit Breaker) ทำจุดต่ำสุดที่ 969 จุด ติดลบกว่า 40%  และหลังจากนั้นตลาดๆ ค่อยฟื้นตัวกลับมาได้ และกลับมายืนที่เดิมได้ โดยใช้เวลาไม่นานมาก กลุ่มได้รับผลกระทบหนักช่วงนั้นก็คือกลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม การบินมีการปรับฐานหนักมาก และหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยหรือแทบไม่ได้รับผลกระทบ อย่างกลุ่มเทคโนโลยี ของกินของของใช้ ปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นในช่วงนั้น  พอทุกอย่างเริ่มกลับมาปกติก็เกิดการเปลี่ยนการลงทุนของอุตสาหกรรมขายที่กลุ่มที่แพงและกลับมาซื้อกลุ่มที่เติบโตตามเศรษฐกิจ 


และถ้าถามว่าควรมีหุ้นแบบไหนอยู่ในพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นเติบโต Growth Stock หรือหุ้นคุณค่า Value Stock โดยมุมมองผมคิดว่าควรกลับมาถามที่วัตถุประสงค์ของการลงทุน เป้าหมายการเงิน, การลงทุน, ระยะเวลาของเงินที่เราลงทุนได้ และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง จะทำให้สามารถเลือกหุ้นมาไว้ในพอร์ตตามความเหมาะสมกับตัวเองได้ และเพื่อนๆ เป็นนักลงทุนสายไหนครับ ชอบหุ้นแบบไหนมากกว่ากัน บอกกันได้เลยนะครับ 


สิ่งสำคัญที่สุดคือการลงทุนในความรู้ มีแผนการลงทุนทุกครั้งก่อนขอให้พี่ๆ  เพื่อนๆนักลงทุนทุกคนประสบความสำเร็จและมีความสุขกับการลงทุน


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย