กำไรจากคริปโตต้องเสียภาษีไหม? เรื่องภาษีคริปโตที่ไม่ควรมองข้าม
การลงทุนจากคริปโตก็ถือเป็นรายได้ธุรกิจและการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ต้องการเสียภาษีเหมือนกับการลงทุนอื่น ๆ ในตอนนี้จึงเป็นการดีที่จะเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับภาษีคริปโตนี้และผู้มีรายได้จากคริปโตฯ กลุ่มไหนต้องเสียภาษีอย่างไรมาทำความเข้าใจกันต่อได้เลย
ภาษีคริปโต คืออะไร
ก่อนที่จะมีการประกาศเรื่องภาษีคริปโตจากกรมสรรพากรอย่างเป็นทางการนั้น รายได้ที่ได้จากการขายคริปโตก็จะต้องนำมาคำนวณในมาตรา 40 (8) แห่งประมวล รัษฎากรอยู่แล้ว จากนั้นเมื่อการขายคริปโตเป็นเรื่องการของลงทุนมากขึ้นจึงได้ออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นเพียงการจัดประเภทเงินได้ใหม่
การประกาศล่าสุดเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2567 ระบุว่า บุคคลใดก็ตามที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 180 วัน จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่รวมถึงคริปโตเคอร์เรนซี
คำว่าคริปโตเคอร์เรนซี หรือ คริปโตในทางกฎหมายไทย หมายถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ชนิดหนึ่งที่มีเป้าหมายที่จะใช้เป็นสื่อกลางในลักษณะคล้าย ระบบการค่าต่างตอบแทน (Barter Trade) หรือของแลกของในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยน ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล
ในปัจจุบันนอกจากที่จะซื้อคริปโตมาเก็บได้แล้วเรายังสามารถเทรดผ่านโบรกเกอร์ CFD ที่มีเลเวอเรจเพื่อกำไรที่มากขึ้น สำหรับในการเสียภาษีคริปโตรูปแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่
1.กรณีผู้ขาย
นักลงทุนอาจมีกำไรหรือขาดทุนจากการขายคริปโต แต่หากการขายเกิดกำไรขึ้นเกินกว่าที่ลงทุนถือว่าส่วนเกินดังกล่าวเป็นกำไรอันถือเป็นเงินได้พึงประเมินจากกาผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโตที่นักลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาต้อง นำ มารวมคนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร
2.กรณีผู้ซื้อ
เมื่อผู้ซื้อได้ซื้อคริปโตจากผู้ขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ สำหรับคำว่าเงินได้หมายถึงกำไรที่เกิดจากขายคริปโตที่ผู้ขายได้รับโดยนำมาหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15
ดังนั้น เมื่อได้กำไรจากคริปโตจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ) และมาตรา 40(4)(ฌ) ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 กรณีนี้ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีได้ และต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจำนวนร้อยละ 15
เช็คลิสต์ผู้ที่ต้องเสียภาษีคริปโต
หากคุณมีหนึ่งในเช็คลิสต์เหล่านี้ก็ถือว่าเข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษีคริปโตโดยการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
1.จำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัลหรือ คริปโตเคอร์เรนซี
ข้อบังคับภาษีมาตรา 40(4)(ฌ) ระบุถึงการจัดการกับรายได้จากการซื้อ-ขาย-โอน-แลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลให้แก่บุคคลอื่น โดยการเก็บรายได้ที่เกินราคาต้นทุนเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
การคำนวณต้นทุนจะใช้วิธีมาตรฐานการบัญชีรับรอง ได้แก่ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average cost) และต้องแยกตามประเภทของเหรียญ หากเลือกใดแล้วจะต้องใช้ตลอดปีภาษี เมื่อมีขาดทุนสามารถหักลดหย่อนกับกำไรอื่นได้ แต่ต้นทุนไม่รวมเฉพาะราคาซื้อเท่านั้น กรณีที่คริปโตเคอร์เรนซีถือไว้ไม่ขายจะไม่มีรายได้ และต้องเก็บเป็นต้นทุนสำหรับปีถัดไป นอกจากนี้ ถ้ามีภาษีเงินได้หักไว้ สามารถใช้เป็นเครดิตภาษีในการยื่นภาษีแบบธรรมดาได้
2.การขุดคริปโต
การขุดคริปโตเคอร์เรนซีไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน แต่เมื่อมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีที่ขุดมาแล้ว จะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษี
ในกรณีนี้ ผู้ขุดต้องเก็บเอกสารสำคัญและจัดทำบัญชีต้นทุน เช่น ค่าซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าไฟฟ้า และค่าอินเทอร์เน็ต ที่เกิดขึ้นจริงในปีภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยต้องคำนวณต้นทุนโดยใช้วิธีการบัญชีมาตรฐาน เช่น FIFO หรือ moving average cost และแยกตามประเภทของเหรียญ
3.ได้รับคริปโตเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
หากได้รับคริปโตเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง จะสามารถนำมูลค่าที่ได้รับไปเสียภาษีและใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อรับรายได้ในระหว่างปีภาษี หากถูกหักภาษีเงินได้หักไว้ สามารถนำมาใช้เป็นเครดิตภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านอินเทอร์เน็ต ให้แสดงรายได้จากเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงานหรือรายได้จากรับจ้างทั่วไป
4.รับคริปโตจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล
การรับคริปโตเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ของกฎหมายภาษี ไม่ว่าจะมาจากธุรกิจใดก็ตามที่ไม่ได้ระบุไว้ในรายการอื่น ๆ ที่มีในกฎหมาย ในกรณีที่ได้รับคริปโตเคอร์เรนซีมาแล้ว และได้เสียภาษีไปแล้ว สามารถนำมาใช้เป็นต้นทุนในการคำนวณภาษีเมื่อขายได้จริง และในกรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต จะต้องแสดงรายการรายได้ที่มาจากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ ประเภทเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง และเงินได้อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการรับคริปโตเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลจากการให้หรือได้รับเป็นรางวัลด้วย
5.ได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครองโทเคนดิจิทัลหรือ คริปโตเคอร์เรนซี
ในกรณีนี้แบ่งออกเป็นสองกรณีได้แก่
โทเคนดิจิทัล: เช่น Yield farming หรือ Staking เงินส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัลเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ซ)
คริปโตเคอร์เรนซี: เช่น Yield farming หรือ Staking ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครองคริปโตเคอร์เรนซีถือเป็นเงินได้ตามมมาตรา 40(8) แห่งประมวล รัษฎากร เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์
กิจกรรมคริปโตที่ต้องเสียภาษีคริปโต
กิจกรรม | เสียภาษีคริปโตตามมาตรา |
ได้รับ Airdrop | มาตรา 40(8) |
ทำการขายคริปโตออกมาเป็นเงินเฟียต | มาตรา 40(4)(ฌ) |
การขาย NFT |
|
การขุดเหมือง | มาตรา 40(8) |
การ Staking หรือ Yield Farming บน Defi |
|
การแลกเปลี่ยนเหรียญหนึ่งเป็นอีกเหรียญหนึ่ง | มาตรา 40(4)(ฌ) |
ผลประโยชน์จากการถือคริปโต | มาตรา 40(4)(ซ) |
การใช้คริปโตซื้อสินค้า | มาตรา 40(4)(ฌ) |
การใช้คริปโตซื้อบริการต่าง ๆ | มาตรา 40(4)(ฌ) |
ชำระสินค้า หรือ บริการด้วคริปโต | การเสียภาษีจะแตกต่างกันไปตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
|
ผลประโยชน์จาก GameFi | มาตรา 40(4)(ซ) |
ได้คริปโตมาฟรีจากเพื่อน ญาติ หรือคนรู้จัก | มาตรา 40(8) |
ได้คริปโตมาฟรีจากพ่อแม่ คู่สมรส หรือผู้สืบสันดาน | ตามมาตรา 40(8) |
วิธีการคำนวณภาษีคริปโตและตัวอย่างการคำนวณ
หลักการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีคริปโต
การคำนวณกำไรจะใช้การคำนวณเป็นรายธุรกรรมทุกครั้งที่ขายหรือแลกเปลี่ยนโดยมีวิธีการคำนวณดังต่อไปนี้
หลักการคำนวณต้นทุน
กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีต้องเลือกวิธีคำนวณต้นทุนสำหรับการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีในแต่ละปี โดยสามารถทำได้ 2 วิธี หากเลือกวิธีใดแล้วก็จะต้องใช้ทั้งปี แต่สามารถเปลี่ยนวิธีคำนวณในปีถัดไปได้
ต้นทุนแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
การคำนวณต้นทุนคริปโตที่ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อนตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการ คริปโตที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายเป็นคริปโตที่ซื้อมาครั้งหลังสุด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือให้ใช้ราคาต้นทุนของเหรียญที่มาแรกสุดที่เหลืออยู่สำหรับคำนวณมาเป็นต้นทุน
ตัวอย่างการคำนวณวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
หากมีการซื้อบิทคอยน์ 3 ครั้งที่รวมค่าธรรมเนียมแล้วดังนี้
ครั้งแรก: ซื้อ 1 บิทคอยน์ ในราคา 100,000 บาท
ครั้งที่สอง: ซื้อ 1 บิทคอยน์ ในราคา 300,000 บาท
ครั้งที่สาม: ซื้อ 1 บิทคอยน์ ในราคา 200,000 บาท
เมื่อขาย 1 บิทคอยน์ ในราคา 400,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมขาย 4,000 บาท ในกรณีนี้ ใช้ราคาต้นทุนของบิทคอยน์ที่ซื้อมาแรกสุดจึงคำนวณได้ว่า
ต้นทุนคือ 104,000 บาท
กำไร 400,000 - 104,000 - 4,000= 296,000 บาท
ต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost)
จะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของคริปโตประเภทเดียวกันโดยนับวันจากวันต้นปีกับต้นทุนของคริปโตที่ซื้อมาในระหว่างปีซึ่งคำนวณทุกครั้งที่ซื้อคริปโต พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการนำต้นทุนมาถัวเฉลี่ยใหม่ทุกครั้งที่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเหรียญคริปโต เราจะใช้ราคาถัวเฉลี่ยใหม่เพื่อคำนวณเป็นต้นทุนสำหรับเหรียญคริปโตที่มีทั้งหมด
ตัวอย่างการคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost)
หากมีการซื้อ บิทคอยน์ 3 ครั้ง และมีการขาย 1 บิทคอยน์ ในราคา 400,000 บาท การคำนวณต้นทุนจะใช้ราคาถัวเฉลี่ยของ BTC ทั้ง 3 ครั้งที่รวมค่าธรรมเนียมแล้วมีดังต่อไปนี้
ต้นทุนรวม 100,000 + 300,000 + 200,000 = 600,000 บาท
จำนวนบิทคอยน์ = 3 BTC
ดังนั้น ต้นทุนต่อ บิทคอยน์ คือ 600,000 ÷ 3 = 200,000 บาท
ค่าธรรมเนียมขาย 4,000 บาท
ดังนั้นมีกำไร 400,000 - 200,000 - 4,000 = 196,000 บาท
Exchange ที่รับรองโดยตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ต้องเสียภาษี
โดยปกติแล้วเราสามารถซื้อหรือเทรดคริปโตผ่านโบรกเกอร์ CFD แทนที่จะเปิดกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อเก็บเหรียญจริง ในกรณีนี้เราสามารถทำธุรกรรมกับโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงและปลอดภัยซึ่งเสนอการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลผ่านบัญชีซื้อขาย CFD ได้ ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถทำการซื้อทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้แบบยืดหยุ่น เนื่องจากวิธีการเทรดคือการคาดเดาการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตของสกุลเงินดิจิทัลนั่นเอง
ต่อไปนี้คือ Exchange ที่ได้รับรองโดยตลาดหลักทรัพย์และต้องเสียภาษีสำหรับกำไร ได้แก่
BITKUB: Exchange ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ เช่น Bitcoin, Ethereum และอื่น ๆ
Orbix: ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งในไทยดูแลโดยธนาคารกสิกรไทย
ERX: Exchange ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย นำเสนอคู่การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและบริการต่างๆ แก่ผู้ใช้
Z.comEX: ดำเนินการโดย GMO Internet Group ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ ในหลายประเทศ
InnovestX: ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินไทยที่ให้บริการทางการเงินที่หลากหลาย รวมถึงบริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการลงทุนในสินทรัพย์แบบดั้งเดิมและดิจิทัล
Zipmex: การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดำเนินงานในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำนวยความสะดวกในการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย
Upbit: การแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ตั้งอยู่ในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยนำเสนอคู่การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหลากหลายประเภท
สรุป
ในตอนนี้แม้แต่ Stable coin อย่าง USDT ก็ถือเป็นเหรียญคริปโตที่จะต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้จากวันที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน สิ่งที่น่าสนใจคือในการคำนวณภาษีนี้มีรายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น กิจกรรมคริปโตที่ส่งผลให้ต้องเสียภาษี รายได้ต่าง ๆ โดยผู้เสียภาษีจำเป็นต้องเข้าใจวิธีคำนวณต้นทุน และราคาขายเพื่อให้สามารถคำนวณภาษีคริปโต 2567 ได้ถูกต้องและได้ประโยชน์สูงสุด
ภาษีคริปโต เริ ่มเก็บปีไหน?
กำไรจากคริปโตต้องเสียภาษีไหม?
คริปโต เป็นเงินได้ประเภทไหน?
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน