มีเงิน 20,000 ลงทุนอะไรดีให้เหมาะกับตัวเอง
มีเงิน 20,000 ลงทุนอะไรดี? การลงทุนด้วยเงิน 20,000 บาทสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของคุณได้หากมีการวางแผนและจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งการจัดการนั้นเป็นไปได้หลายทางเลือก เช่น การลงทุนในตลาดเงิน การลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น คราวนี้เราจึงขอพามาดูทางเลือกที่นักลงทุนสามารถเลือกนำไปใช้บริหารเงินของตัวเองได้เพื่อสร้างการเติบโตให้กับเงินทุนตามที่ต้องการ
การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อผลตอบแทนที่มั่นคง
การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เป็นการลงทุนที่เน้นการปกป้องเงินต้น แต่ก็ยังม ีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยสำหรับการนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุน ซึ่งดอกเบี้ยที่จะได้รับมักเป็นสัดส่วนไม่มาก (ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย) และมีโอกาสน้อยที่นักลงทุนจะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง ทำให้เหมาะกับผู้นักลงทุนที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่การรักษาเงินต้นและได้รับผลตอบแทนที่สามารถชดเชยเงินเฟ้อได้ เช่น การฝากเงิน การลงทุนในตลาดเงิน การลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนรวมตราสารหนี้
1.การฝากเงิน: บัญชีออมทรัพย์ / บัญชีดิจิทัล / บัญชีฝากประจำ
การลงทุนด้วยการฝากเงินเป็นรูปแบบหนึ่งของการออมที่เหมาสำหรับผู้เริ่มเก็บเงิน หรือไว้ใช้สำหรับสร้างผลตอบแทนสำหรับเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เนื่องจากวิธีนี้มีสภาพคล่องสูง มีความเสี่ยงต่ำ และมีการประกันเงินต้นจากรัฐบาล ทำให้เหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นคงทางการเงินเพราะเงินต้นไม่หายและได้ดอกเบี้ยค่อนข้างแน่นอน โดยสามารถเลือกได้ทั้งการฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ หรือฝากเงินด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ผู้รับฝากเสนอผลตอบแทนให้ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประจำเริ่มต้นที่ราว 1.00% และเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นคุณอาจต้องแลกกับการฝากเงินโดยไม่ถอนเป็นเวลานานขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยได้สูงถึง 3.50% ต่อปี บนเงื่อนไขการฝากเงินและผู้ให้บริการที่ต่าง ๆ กันไป
รายละเอียด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง: 1.00 – 3.50% (เปลี่ยนแปลงได้ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายและระยะเวลาการฝากเงิน)
เหมาะกับสไตล์การลงทุน: เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการผลตอบแทนชดเชยเงินเฟ้อ
ข้อได้เปรียบ: มีความเสี่ยงต่ำที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง สภาพคล่องสูง
ข้อจำกัด: อัตราผลตอบแทนไม่สูงจนบางครั้งไม่คุ้มกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในแต่ละปี
2.ตราสารหนี้: หุ้นกู้ / พันธบัตรรัฐบาล
การลงทุนในตราสารหนี้ (Fixed Income) เป็นการลงทุนที่นักลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยตามที่กำหนดบนหุ้นกู้หรือพันธบัตรและได้สิทธิในเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดชำระ จึงเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงต่ำ เพราะนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยจ่ายคืนเป็นงวด ๆ ที่แน่นอนคล้ายดอกเบี้ยจากการฝากเงินและได้รับเงินต้นคืน แต่จะมีความเสี่ยงจากเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้การลงทุนในตราสารหนี้ก็จะให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นกว่าการฝากเงินด้วย โดยปัจจุบันผลตอบแทนตราสารหนี้เอกชนอยู่ที่ราว 2.5 – 6.0% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนและเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้
รายละเอียด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง: 2.5 – 6.0% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนและเครดิตของผู้ออก
เหมาะกับสไตล์การลงทุน: ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอและรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้
ข้อได้เปรียบ: สามารถสร้างผลตอบแทนได้แบบสม่ำเสมอตามดอกเบี้ยและระยะเวลาที่กำหนด
ข้อจำกัด: ให้ผลตอบแทนต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้น เป็นการลงทุนที่มีสภาพคล่องไม่มากและอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
3.กองทุนรวมตราสารหนี้
การลงทุนในกองทุน (Mutual Funds) เป็นการรวบรวมเงินจากนักลงทุนหลาย ๆ คนเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น กองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ตามนโยบายในหนังสือชี้ชวน ซึ่งกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำจะได้แก่กองทุนรวมในตลาดเงินและกองทุนรวมตราสารหนี้
กองทุนรวมแต่ละกองทุนจะมีผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ซึ่งเป็นมืออาชีพทำหน้าที่บริหารและจัดการการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามเป้าหมายที่กำหนด โดยรวมแล้วกองทุนรวมเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงการลงทุนที่หลากหลายและบริหารโดยมืออาชีพ จึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้ดีวิธีหนึ่ง
รายละเอียด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง: ขึ้นอยู่กับโนยบายการลงทุน ประมาณได้จากผลตอบแทนย้อนหลังในหนังสือชี้ชวน
เหมาะกับสไตล์การลงทุน: ต้องการกระจายความเสี่ยง ไม่ต้องการจัดการการลงทุนด้วยตัวเอง และเป็นตัวเลือกในการกระจายการลงทุนที่ดี
ข้อได้เปรียบ: มีผู้เชี่ยวชาญดูแลเงินลงทุนให้โดยเฉพาะตามนโยบายการลงทุนของกองทุนแต่ละกอง มีความหลากหลายของสิททรัพย์ที่เข้าลงทุน มีสภาพคล่องในการซื้อขายหน่วยลงทุนสูง ไม่มีภาระภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม
ข้อจำกัด: การลงทุนไม่ยืดหยุ่นเพราะขึ้นอยู่กับนโยบายกองทุนเป็นหลัก และมีค่าธรรมเนียมซื้อขาย/บริหารจัดการเป็นต้นทุนเพิ่มเติม
เงินฝาก | ตราสารหนี้ | กองทุนรวม | |
ผลตอบแทน | ดอกเบี้ย | ดอกเบี้ย (คูปอง) | ส่วนต่างราคา (และ/หรือ) ปันผล |
ความเสี่ยง | ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย | ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกตราสาร | ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านการบริหารงานของกองทุน ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน |
สไตล์การลงทุน | เน้นสภาพคล่องสูงที่ทำให้ฝากถอนได้ง่าย | เป็นการลงทุนระยะกลางเนื่องจากตราสารหนี้มีอายุ 1-2 ปีขึ้นไป | เน้นการถือลงทุนระยะกลางถึงยาว |
ข้อได้เปรียบ | ให้ผลตอบแทนแน่นอน เงินต้นไม่หาย | ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น เงินต้นค่อนข้างปลอดภัย (ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ออกตราสารหนี้) | ใช้เงินลงทุนไม่มาก มีมืออาชีพคอยดูแลเงินลงทุนให้ มีสินทรัพย์ให้เลือกหลายประเภท |
ข้อจำกัด | ผลตอบแทนต่ำจนบางครั้งไม่คุ้มกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น | เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่แน่นอนจำเป็นต้องถือตราสารให้ครบอายุ | การลงทุนไม่ยืดหยุ่น มีค่าธรรมเนียมซื้อขายและบริหารจัดการ |
การลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางและสูง เพื่อแสวงหาผลตอบแทนสูงขึ้น
การลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงความเสี่ยงสูง คือ สินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือนักลงทุนมีโอกาสที่จะได้รับผลกำไรในสัดส่วนที่มากขึ้น ในทางตรงกันข้ามก็สามารถขาดทุนจากเงินต้นได้ด้วยเช่นกัน การลงทุนเหล่านี้มักเรียกร้องความรู้ความเข้าใจในตลาดและผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การลงทุนในหุ้น การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์
4.ตราสารทุน: หุ้นของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ
การลงทุนในหุ้น (Stocks) คือการซื้อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนที่ถือหุ้นจะกลายเป็นเจ้าของบริษัทนั้น ๆ ตามสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่ ทำให้มีสิทธิที่จะได้ส่วนแบ่งรายได้เป็นเงินปันผลหรือกำไรสะสม และมีส่วนได้รับชำระมูลค่าคงเหลือของกิจการหากสุดท้ายบริษัทต้องปิดไป
การลงทุนในหุ้นโดยหลัก ๆ แล้วนักลงทุนจะได้ผลตอบแทนจากการถือหุ้นจาก เงินปันผล และ การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นที่ถืออยู่ ซึ่งสามารถนำไปซื้อขายเปลี่ยนมือหุ้นที่ถือนั้นได้ในตลาดรอง (Stock Exchange) ของประเทศต่าง ๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET), ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค (NYSE) ฯลฯ โดยการลงทุนประเภทนี้มักเป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10 – 15% แต่ก็ยังสามารถติดลบในปีที่เกิดวิกฤตได้ด้วยเช่นกัน
รายละเอียด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง: ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว 10 – 15% ต่อปี
เหมาะกับสไตล์การลงทุน: ที่มีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้สูง เน้นการถือระยะยาว นักลงทุนควรมีความรู้และความเข้าใจในตลาดหุ้นเป็นอย่างดี
ข้อได้เปรียบ: เป็นวิธีที่ให้โอกาสสร้างผลตอบแทนสูง การซื้อขายมีสภาพคล่อง และนักลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ
ข้อจำกัด: เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจทั้งด้านธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมซื้อขาย และภาษี
5.สินทรัพย์ทางเลือก: ทองคำ / สินค้าโภคภัณฑ์ / สินทรัพย์ดิจิทัล
สินทรัพย์ทางเลือกเป็นหนึ่งในชั้นของสินทรัพย์ (Asset Class) ที่ได้รับความนิยมใช้ทั้งในการเก็งกำไรและการประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน เนื่องจากสินทรัพย์ทางเลือก เช่น ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล มักมีการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่ไปในทางเดียวกับสินทรัพย์อื่น เช่น หุ้น หรือ พันธบัตร และมักมีราคาสูงในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้น (น้ำมัน ทองแดง) ไปจนถึงช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว (ทองคำ) ซึ่งเป็นช่วงที่สินทรัพย์ เช่น หุ้น มักให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี
อย่างไรก็ดีราคาของสินทรัพย์ทางเลือกมักเปลี่ยนแปลงไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจทำให้มีช่วงที่ราคาปรับสูงขึ้นได้มากและช่วงที่ราคาซบเซามาก ทำให้สินทรัพย์ประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงแต่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงมากได้เช่นกัน
รายละเอียด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง: ขึ้นอยู่กับประเภทสินทรัพย์ซึ่งอาจสร้างผลตอบแทนได้สูงหลายร้อยเปอร์เซนต์
เหมาะกับสไตล์การลงทุน: รับความเสี่ยงได้สูง มีความสามารถในการจับจังหวะเพื่อเก็งกำไร หรือประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
ข้อได้เปรียบ: ใช้ประกันความเสี่ยงพอร์ตในช่วงวิกฤตได้ดี ให้โอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูง
ข้อจำกัด: มีโอกาสสร้างผลขาดทุนที่สูง ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในการลงทุน
6.ตราสารอนุพันธ์: Forex / CFD
หากคุณมีเงิน 20,000 บาทและมองหาตัวเลือกสำหรับการเพิ่มผลตอบแทนก็สามารถแบ่งสรรเงินบางส่วนมาใช้เครื่องมือตราสารอนุพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลกำไรได้ ด้วยคุณสมบัติของตราสารอนุพันธ์อย่าง Forex หรือ CFD ที่มีลักษณะเป็นสัญญาอ้างอิงราคาสินทรัพย์อื่น (Underlying Asset) ช่วยให้นักลงทุนใช้เงินจำนวนน้อยเพื่อเก็งกำไรในการเปลี่ยนแปลงของราคสินทรัพย์อ้างอิงได้
สินทรัพย์ประเภทตราสารอนุพันธ์มักมีการอ้างอิงราคาสินทรัพย์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ค่าเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หรือแม้แต่ดัชนี ทำให้สามารถเก็งกำไรในสินทรัพย์เดี่ยวหรือไขว้กับสินทรัพย์หลายชนิดประกอบเป็นกลยุทธ์ที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้ตัวตราสารอนุพันธ์ยังสามารถใช้เพื่อเก็งกำไรจากทิศทางราคาได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง ทั้งยังมีสภาพคล่องสูงทำให้เหมาะสำหรับการเก็งกำไรในระยะสั้นตอบสนองกลยุทธ์ที่หลากหลายได้ดี
อย่างไรก็ดีเครื่องมือประเภทตราสารอนุพันธ์ เช่น CFD เป็นการลงทุนที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจให้กำไรได้ไม่จำกัด ในทางตรงกันข้ามก็สามารถทำให้ต้องสูญเสียเงินทุนทั้งหมดได้เช่นกัน การลงทุนประเภทนี้จึงเรียกร้องความรู้ความเข้าใจทั้งต่อผลิตภัณฑ์และปัจจัยที่มีผลราคาสินทรัพย์อ้างอิงด้วย
รายละเอียด
อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง: ขึ้นอยู่กับอัตราทดที่ใช้ ซึ่งมีได้ตั้งแต่ 2 – 1,000 เท่าขึ้นไป
เหมาะกับสไตล์การลงทุน: รับความเสี่ยงได้สูง เน้นการเทรดระยะสั้น
ข้อได้เปรียบ: มีสภาพคล่องสูง ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ได้เปรียบจากการใช้อัตราทด
ข้อจำกัด: มีความเสี่ยงสูง ซับซ้อน อาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นการเฉพาะ และไม่ได้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์จริง ๆ
หากคุณสนใจการซื้อขาย CFD ลองใช้ Mitrade สำหรับผู้เริ่มต้น คุณสามารถฝึกฝนการซื้อขายผลิตภัณฑ์มากกว่า 400 รายการ เช่น EURUSD, หุ้น Tesla/Google/Meta หรือทองคำ, Bitcoin โดยใช้บัญชีทดลอง ลงทะเบียนและเริ่มต้นวันนี้ 👇👇👇
ตราสารทุน | สินทรัพย์ทางเลือก | ตราสารอนุพันธ์ | |
ผลตอบแทน | ปันผล / ส่วนต่างราคา | ส่วนต่างราคา | ส่วนต่างราคา |
ความเสี่ยง | ความเสี่ยงด้านราคา ความเสี่ยงอุตสาหกรรม ความเสี่ยงเฉพาะธุรกิจ | ความเสี่ยงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ความเสี่ยงจากเหตุการณ์เฉพาะ | ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการใช้อัตราทด ความเสี่ยงจากการไม่เข้าใจผลิตภัณฑ์ |
สไตล์การลงทุน | ลงทุนระยะกลางถึงยาว | เก็งกำไรตามรอบ | เก็งกำไรระยะสั้น |
ข้อได้เปรียบ | นักลงทุนมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ | ใช้กระจายการลงทุนได้ดี | มีสภาพคล่องสูง เก็งกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง |
ข้อจำกัด | อาศัยความรู้ความเข้าใจ
มีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าธรรมเนียม ภาษี เพิ่ม | ราคามีลักษณะเป็นวัฏจักร ช่วงที่ให้ผลตอบแทนไม่ดีก็สามารถให้ผลตอบแทนติดลบเป็นจำนวนมากได้ | ไม่ได้ทำให้นักลงทุนเป็นเจ้าของสินทรัพย์จริง ๆ
มีความเสี่ยงสูงมาก ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นการเฉพาะ |
วิธีเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวเอง
การลงทุนมีวิธีการและสินทรัพย์หลากหลายและเหมาะสมกับนักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนที่ต่าง ๆ กันไป การลงทุนให้ประสบความสำเร็จนักลงทุนจึงควรเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งมีวิธีเลือกการลงทุนดังนี้
กำหนดเป้าหมายการลงทุน เช่น เพื่อสร้างรายได้สม่ำเสมอ เพื่อการเกษียณ การออมซื้อบ้าน การศึกษาบุตร ฯลฯ จะช่วยให้เห็นแนวทางและกำหนดระยะเวลาในการลงทุนได้
กำหนดระยะเวลาในการลงทุน ควรสอดคล้องกับเป้าหมาย เช่น การสร้างรายได้สม่ำเสมอควรกำหนดระยะเวลาการลงทุนระยะสั้น เช่น รายวัน / รายเดือน ส่วนเป้าหมายเพื่อการเกษียณควรเป็นการลงทุนระยะยาวจนถึงสิบปีได้
กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ นักลงทุนบางท่านอาจสามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน ควรเลือกสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ ในขณะที่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูงได้ สามารถเลือกสินทรัพย์ที่ราคามีความผันผวนสูงขึ้นได้
กำหนดระดับสภาพคล่องที่ต้องการ สินทรัพย์ที่ลงทุนแต่ละตัวสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้ยากง่ายแตกต่างกัน นักลงทุนควรคำนึงถึงสภาพคล่องก่อนเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใด ๆ
คำนึงถึงวัตถุประสงค์และความต้องการส่วนบุคคล เช่น ประโยชน์ทางภาษี หรือความชอบส่วนตัว เช่น การลงทุนในอุตสาหกรรมที่รักษ์สิ่งแวดล้อม
คำนึงถึงข้อจำกัดด้านต้นทุนในการลงทุน เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าบริหารจัดการการลงทุน
เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ทั้งหมดได้ นักลงทุนจะสามารถเลือกสินทรัพย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ เป้าหมาย และความเสี่ยงที่ตนเองสามารถรับได้ ซึ่งจะช่วยให้ลงทุนได้อย่างสบายใจมากขึ้น
สรุป
การลงทุนมีทางเลือกหลากหลาย คราวนี้กับคำถามที่ว่ามีเงิน 20,000 ลงทุนอะไรดีก็มีคำตอบให้มากมาย ตั้งแต่ การฝากเงิน การลงทุนในตราสารหนี้ การลงทุนในกองทุนรวม ลงทุนในหุ้น ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ หรือแม้แต่ตราสารอนุพันธ์ เช่น CFD และ Forex ทั้งนี้นักลงทุนสามารถแบ่งสรรเงินไปไว้ในสินทรัพย์ที่ต่าง ๆ กันเพื่อตอบโจทย์ที่หลากหลายและยังเป็นการกระจายความเสี่ยงของเงินต้นได้ด้วย เพียงเท่านั้นก็สามารถประกอบเป็นวิธีที่จะทำให้เงินทุนงอกเงยเติบโตในระยะยาวได้ด้วยเครื่องมือและตัวเลือกที่แม้แต่นักลงทุนรายย่อยก็สามารถนำไปใช้ได้
บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย >> เทรดทองเบื้องต้นยังไงดี วิธีการเทรดทองคำสำหรับมือใหม่ |
ลงทุนในไทยเสียภาษีอย่างไร
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน