CBDC คืออะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

นอกจากคริปโทเคอเรนซีแล้ว CBDC คือนวัตกรรมใหม่ด้านการเงินที่ถูกจับตามองมากไม่แพ้กัน จากการที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในโลกเริ่มกระโดดเข้ามาสร้างสกุลเงินดิจิทัลกันเสียเองอย่างที่เรารู้จักกันดีเช่นหยวนดิจิทัล (Yuan Digital) ที่เริ่มเปิดตัวในปี 2020 จนมาถึงโปรเจกต์ฮามิลตัน (Project Hamilton) ปี 2022 ที่สหรัฐเองก็เริ่มทดลองคิดค้นสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาใช้งานบ้างแล้ว แต่ CBDC คืออะไรกันแน่? และจากวันนั้นสู่วันนี้ CBDC ถูกพัฒนาไปถึงไหนกันแล้วบ้าง? คราวนี้เราจะมาอัปเดทเรื่องนี้ให้ฟังกัน

CBDC คืออะไร?

Central bank digital currencies หรือ CBDC คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางซึ่งรวมถึง “เงิน” และ “ระบบ” ที่รองรับอยู่เบื้องหลัง เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือสามารถชำระราคาได้รวดเร็วและมีความแม่นยำตรวจสอบได้


CBDC ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


  • CBDC สำหรับธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงิน (wholesale CBDC) 

เป็นระบบการเงินที่ออกแบบมาเพื่อการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินให้มีความแม่นยำและรวดร็วขึ้น เช่น การหักบัญชีระหว่างธนาคาร การโอนเงินระหว่างประเทศของสถาบันการเงินต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยได้ทดลองใช้ไปแล้วกับโครงการอินทนนท์


  • CBDC สำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุุรกิจและประชาชน (retail CBDC) 

เป็นการขยายวงมาใช้กับประชาชนรายย่อยให้นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ และสามารถนำไปเชื่อมต่อกับบริการทางการเงินใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประเทศไทยกำลังทดลองใช้ในโครงการบางขุนพรหม

ความแตกต่าง CBDC vs Cryptocurrency vs PromptPay

CBDC


CBDC ไม่ใช่เงินดิจิทัลเพียงชนิดเดียวที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เพราะยังมีเงินดิจิทัลอีกหลายประเภท เช่น Cryptocurrency และ เงินดิจิทัล หรือ ProptPay ที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่เงินดิจิทัลทั้งสามประเภทก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่


CBDC vs. Cryptocurrency

ทั้ง CBDC และ Cryptocurrency ต่างก็เป็น “เงินดิจิทัล” เหมือนกัน และอาจใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ แต่เงินทั้งสองก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่คือ 


CBDC ถูกสร้างและควบคุมโดยธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ (Central Bank) ที่หมายรวมทั้ง “เงิน” และ “ระบบชำระเงินเบื้องหลัง” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่าเงินจะถูกดูแลโดยธนาคารกลางที่มีระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ หนุนหลังอยู่ ทำให้ค่าเงินมักมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากและยากต่อการเก็งกำไรในระยะสั้น ยกเว้นว่ามีเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลต่อค่าเงินให้เปลี่ยนแปลงไปได้มาก


Cryptocurrency ถูกสร้างและนำออกมาใช้โดยภาคเอกชน ซึ่งอาจเป็นแค่ “เหรียญ” หรือ “เงิน” ที่รวมหรือไม่รวม “ระบบชำระเงินเบื้องหลัง” ไว้ก็ได้ นอกจากนี้ Cryptocurrency มักไม่ได้ถูกดูแลหรือแทรกแซงมูลค่าโดยผู้สร้างหรือเจ้าของโปรเจกต์ แต่ปล่อยให้มูลค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการซื้อขายเหรียญที่เกิดขึ้น ทำให้มูลค่าของเงินมีความผันผวนสูงและสามารถเก็งกำไรได้

CBDC vs. Digital Money หรือ PromptPay

ทั้ง CBDC และ Digital Money หรือ PromptPay มีความคล้ายกันในแง่ที่ว่ามีเงิน (Fiat Currency) เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมเหมือน ๆ กัน แต่เงินทั้งสองก็ยังมีความต่างกันในแง่ที่ว่า


CBDC เป็นเงินบาทในรูปดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยธนาคารกลางแห่งประเทศไทย ที่หมายรวมทั้ง “เงิน” และ “ระบบชำระเงิน” เบื้องหลัง ซึ่งอาจใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนก็ได้ แต่หากนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ก็จะทำให้เงินดิจิทัล CBDC สามารถกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน (Programmable) และนำไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้


Digital Money หรือ PromptPay เป็นเพียง “ระบบชำระเงิน” ที่สร้างโดยเอกชน ดำเนินการกับ “เงิน (Fiat Money)” ที่มีอยู่แล้วและถูกนำเข้าระบบ (ฝาก) ไว้กับสถาบันการเงิน การทำธุรกรรมกับเงินประเภทนี้จึงทำได้เพียงฝาก ถอน โอน แบบทั่วไปเท่านั้น

ที่มาและจุดมุ่งหมายของ CBDC คืออะไร?

CBDC เป็นการรุกเข้ามาของธนาคารกลางในตลาด “ระบบโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงิน” ที่เดิมมีเอกชน เช่น ธนาคารพานิชย์ หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ ดำเนินการอยู่แล้ว แต่เมื่อมีผู้ให้บริการหลายเจ้า การชำระบัญชีจึงมีความซับซ้อนและใช้เวลาในการตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Cross-border Payment 


การเพิ่มขึ้นของการใช้งานเงินในรูปแบบดิจิทัลยังเพิ่มขึ้นจนทำให้จำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นตามไปได้วย ทำให้ตัว “ระบบโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงิน” ยิ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นทั้งในด้านการทำธุรกรรมของรายใหญ่ (Wholesale) และรายย่อย (Retail) บวกรวมกับการเติบโตของ Cryptocurrency ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินอื่น ๆ ตามมา ธนาคารกลางผู้เป็นคนดูแลสกุลเงิน (Fiat Currency) จึงต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงโครงสร้างการชำระเงินให้รองรับการทำธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ธนาคารกลางต่าง ๆ จึงมีเป้าหมายในการพัฒนา CBDC เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ความแม่นยำ ความรวดเร็ว ความสะดวก และเพิ่มการเข้าถึงการใช้งานของคนให้มากขึ้นด้วยการ


ลดต้นทุนการทำธุรกรรมเดิมของโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงิน ซึ่งทำได้ด้วยการลดต้นทุนในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และลดต้นทุนการทำ cross-border ให้ง่ายและมีประสิทธิภาพ และเสนอทางเลือกในการทำธุรกรรมให้กับผู้ใช้งานเดิมด้วยต้นทุนที่ต่ำลง


ลดความเสี่ยงของผู้ใช้เงินที่จะหันไปใช้บริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency ที่มีความผันผวนมากกว่า ด้วยการเสนอทางเลือกที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันด้วยความน่าเชื่อถือที่มากว่า

โปรเจกต์ CBDC ของธนาคารกลางทั่วโลกมีที่ไหนบ้าง?

สำหรับประเทศที่นำ CBDC ออกใช้งานแล้ว เช่น


  • จาไมก้า ที่เปิดตัว JAM-DEX ในช่วงกลางปี 2022 ซึ่งนับเป็น CBDC ตัวแรกที่นำมาใช้อย่างถูกกฎหมายและเป็นทางการ แต่ CBDC ตัวนี้ไม่ได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้


  • ไนจีเรีย นำ eNaira มาใช้ในช่วงปลายปี 2021 


และยังมีประเทศอื่น ๆ เช่น บาฮามาส, โดมินิกา, เซนต์ ลูเซีย, ไนจีเรีย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีประเทศที่น่าจับตามองอย่างประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่กำลังเริ่มทดลองโปรเจกต์ CBDC กันอยู่ เช่น


  • จีน มีการนำ CBDC หรือ หยวนดิจิทัล มาทดลองใช้แล้วในกลางปี 2022 ด้วยมูลค่าเงินหมุนเวียน 83 พันล้านหยวน


  • อินเดีย ช่วงต้นปี 2022 ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศจะเปิดตัว Digial Rupee ในช่วงปลายปี 2023


  • สวีเดน Riksbank ที่เป็นธนาคารกลางของสวีเดนกำลังพัฒนา e-Krona หลังจากที่ความต้องการใช้เงินสดในประเทศลดลง


  • สหรัฐอเมริกา กำลังอยู่ในช่วงคิดค้นเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการชำระเงินในโปรเจกต์ Hamilton ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางและ MIT 


  • อังกฤษ กำลังอยู่ในช่วงการคิดค้นการนำ CBDC เข้ามาใช้ร่วมกับระบบการเงินเดิม


  • แคนาดา อยู่ในช่วงค้นคว้าการประยุกต์ใช้ CBDC เพื่อเสริมความสามารถของระบบการเงินเดิม


  • ไทย ได้มีการนำ CBDC มาใช้ในฝั่ง Wholesale CBDC แล้ว และกำลังอยู่ในช่วงทดลองแบบจำกัดวงสำหรับการนำ Retail CBDC มาใช้


นอกจากนี้ยังมีออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย บราซิล เปรู ชิลี สิงคโปร์ ฯลฯ ที่อยู่ในช่วงการวางแผนนำ CBDC มาใช้เช่นกัน

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ CBDC มีใครบ้างและต้องปรับตัวอย่างไร

CBDC


การมาถึงของ CBDC จะกระทบต่อระบบการเงินเป็นวงกว้าง แต่ผู้ที่มีส่วนได้เสียที่จะได้รับผลกระทบหลัก ๆ จะได้แก่ ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเดิม ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน รวมถึงนักลงทุนที่ลงทุนอยู่ในสกุลเงินดิจิทัล ให้ต้องปรับตัวเตรียมพร้อมดังนี้


  • ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน

    ควรปรับตัวให้มีทางเลือกของการใช้งานได้มากขึ้น บนการใช้งานที่เชื่อถือได้และรวดเร็ว


  • ธนาคารพานิชย์และผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน

    ควรประเมินทางเลือกในการเลือกใช้บริการโครงสร้งพื้นฐานทางการเงินที่ตอบโจทย์ตัวเองได้มากที่สุดบนต้นทุนที่ต่ำ


  • นักลงทุนที่อยู่ในตลาด cryptocurrency

    ต้องประเมินผลกระทบที่ CBDC จะมีต่อความต้องการใช้สกุลเงิน cryptocurrency ที่ตนเองถือ ซึ่ง CBDC อาจทำให้ cryptocurrency บางตัวเสื่อมความต้องการไปได้


สรุป

Central bank digital currencies หรือ CBDC คืออนาคตของระบบการเงินที่กำลังจะมาถึงค่อนข้างแน่นอนแล้ว เพียงแต่ว่าจะมาถึงในรูปแบบไหนและช้าเร็วแค่ไหนเท่านั้น ซึ่งการมาถึงของ CBDC จะมีผลกระทบทั้งต่อผู้ให้บริการทางการเงิน รวมถึงผู้ใช้บริการทั้งฝั่งผู้ค้าและประชาชนรายย่อย รวมถึงนักลงทุนและผู้เล่นในตลาด cryptocurrency อย่างแน่นอน การรู้จักว่า CBDC คืออะไรจะช่วยให้เราประเมินความเสี่ยงและความเป็นไปได้สำหรับการปรับตัวในอนาคต

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์