Investor Relations หรือ IR คืออะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

แม้ว่าความหมายที่ตรงตัวของคำว่า “นักลงทุนสัมพันธ์” (investor relations) จะมีความคล้ายคลึงกับ “การประชาสัมพันธ์” (Public Relation) ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ของงานแล้วมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ในบทความนี้จะมาตีแผ่ความหมายเชิงลึกในหน้าที่ของ ir ในแบบเข้าใจง่าย ๆ กันเลย


Investor Relations หรือ IR คืออะไร

ก่อนเข้าเรื่องถึงนักลงทุนสัมพันธ์ที่หลายคนมักจะสับสนกับการประชาสัมพันธ์ขององค์กร เรามาทำความเข้าใจสั้น ๆ กันก่อนว่าการทำหน้าที่การประชาสัมพันธ์นั้นคือการสร้างภาพลักษณ์ด้วยทัศนคติและภาพพจน์ขององค์กรที่ดีโดยเป็นการสื่อสารระหว่างบริษัทและสาธาณชนในหลาย ๆ ด้านซึ่งงานเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่จะรวมหลักการบริการในหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกันโดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท ยิ่งไปกว่านั้นยังมีหน้าที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงไปยังตลาดหลักทรัพย์ที่อาจเป็นราคาหุ้นของบริษัท ดังนั้นจึงเห็นว่ากิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์เป็นภารกิจสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมกิจการของบริษัทได้อย่างมาก


นักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations หรือ IR) คือ

นักลงทุนสัมพันธ์จะรับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ผสมผสานการปฏิบัติการด้านการเงิน การสื่อสาร การตลาด และหลักทรัพย์เข้าด้วยกันที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบสองทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างบริษัท ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมีส่วนทำให้หลักทรัพย์ของบริษัทบรรลุการประเมินมูลค่าที่ยุติธรรม 


แม้ว่าหน้าที่ของ IR จะคล้ายกับการประชาสัมพันธ์โดยเน้นไปที่การสื่อสารอย่างที่หลายคนเข้าใจก็ตาม แต่ก็เป็นหน้าที่ที่แตกต่างจากการประชาสัมพันธ์ตรงที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทได้อย่างเหมาะสม


หนึ่งในคุณสมบัติของนักลงทุนสัมพันธ์นั้นควรมีความเข้าใจในเรื่องโมเดลธุรกิจของบริษัทอย่างชัดเจน อีกทั้งยังต้องมีความรู้ในด้านการเงิน  การตลาด ตลาดทุน รวมไปถึงงานด้านการประชาสัมพันธ์อย่างทะลุปรุโปร่ง เพราะหน้าที่ของนักลงทุนสัมพันธ์จะต้องเป็นคนกลางที่ทำการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทให้แก่นักลงทุนและหน่วยงาน

เหตุใดนักลงทุนสัมพันธ์จึงมีความสำคัญ

นักลงทุนสัมพันธ์มีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้บริษัทสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณะ รักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และปฏิบัติตามกฎระเบียบทางกฎหมายที่บริษัทมหาชนเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของตน ต่อไปนี้เป็นบทบาทที่ทำให้หน้าที่ของ IR เป็นองค์ประกอบสำคัญของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์


การติดต่อประสานงานในตลาดทุน

IR ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารให้กับผู้บริหารบริษัท ฝ่ายกฎหมาย และทีมบัญชี อีกทั้งยังติดตามข่าวสารกิจกรรมในตลาดทุนและรวบรวมรายละเอียดที่ผู้ลงทุนกำลังให้ความสนใจ ด้วยการกระทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานได้ นอกจากนี้ทีมนักลงทุนสัมพันธ์ยังประสานงานด้านการสื่อสารกับแผนกอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมทางการตลาดสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทเพื่อให้สามารถดึงดูดนักลงทุนรายใหม่และทำให้ผู้ถือหุ้นปัจจุบันมีความพึงพอใจ


การสื่อสารกับนักลงทุน

ทีมนักลงทุนสัมพันธ์มักจะทำงานร่วมกับนักวิเคราะห์ที่ต้องการข้อมูลบริษัท เช่น งบการเงินและเอกสารประกอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท จากนั้นนักวิเคราะห์จะแนะนำนักลงทุนในการตัดสินใจและมักจะแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์กับชุมชนการลงทุนเพื่อสนับสนุนหรือขัดขวางนักลงทุนจากการซื้อหุ้นของบริษัท อีกทั้งยังสื่อสารกับนักลงทุนในปัจจุบันและในอนาคตเพื่อจัดหาแถลงการณ์ที่เป็นปัจจุบัน การตอบคำถาม และส่งเสริมบริษัทให้เป็นโอกาสในการลงทุนในอนาคต

เป้าหมายของ Investor Relations หรือ IR คืออะไร

investor relations

ที่มา: pexels

นักลงทุนสัมพันธ์มีเป้าหมายอะไรบ้างสามารถอ่านได้จากหัวข้อนี้


สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

IR มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มและรักษาความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในหุ้นโดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท 


การสื่อสารแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท

มีเป้าหมายเพื่อสื่อสารแผนยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์ของบริษัท ดังนั้น IR จึงมีภารกิจที่จะเพิ่มมูลค่าสูงสุดของผู้ถือหุ้นด้วยการให้ภาพรวมแก่นักลงทุนเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและวัตถุประสงค์ในการขยายบริษัท ข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยเพิ่มความสนใจจากนักลงทุนเดิมที่อาจต้องการซื้อหุ้นของบริษัทเพิ่มเติม และทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นในที่สุดนั่นเอง


ส่งเสริมและดูแลกิจกรรมของบริษัทให้เป็นไปตามศีลธรรม

มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการโดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าธุรกิจได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติทางศีลธรรมซึ่งจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงตลาดทุนของบริษัท รวมถึงชื่อเสียงและความไว้วางใจที่มีต่อนักลงทุนอีกด้วย


เป็นสื่อกลางระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทและนักลงทุน

IR ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทและนักลงทุน สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจหลักภายในบริษัทได้ นอกจากนี้ยังสามารถสนับสนุนบริษัทในการแก้ไขปัญหาของนักลงทุนด้วยการให้ข้อมูลแก่ฝ่ายบริหาร และส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายอื่น ๆ ของ IR ได้แก่:

  • การสร้างรายงาน เช่น รายงานประจำปี และการประเมินผลการปฏิบัติงานของตลาด

  • การให้ข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงินแก่นักลงทุนที่มีศักยภาพเพื่อส่งเสริมมูลค่าของบริษัท

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทางการเงินทั้งหมดและการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปตามกฎหมาย

  • รายงานผู้บริหารของบริษัทเกี่ยวกับการสื่อสารของทีมงาน IR กับสาธารณชน

  • นำเสนอข้อมูลบริษัทแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุนเพื่อจูงใจเพื่อกระตุ้นยอดขาย


Investor Relations มีวิธีดำเนินงานอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วทีมงาน IR จะได้รับมอบหมายให้ประสานงานการประชุมผู้ถือหุ้น การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน การบรรยายสรุปของนักวิเคราะห์ทางการเงินชั้นนำ การเผยแพร่รายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์


หน้าที่ของ IR จะต้องมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ และให้คำแนะนำบริษัทเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้และไม่สามารถทำได้ บทบาทที่ใหญ่ที่สุดของแผนก IR คือการมีปฏิสัมพันธ์กับนักวิเคราะห์การลงทุนที่ให้ความเห็นสาธารณะเกี่ยวกับบริษัทว่าเป็นโอกาสในการลงทุน ความคิดเห็นเหล่านี้มีอิทธิพลต่อชุมชนการลงทุนโดยรวม และเป็นหน้าที่ของแผนก IR ในการจัดการความคาดหวังของนักวิเคราะห์ ดังนั้นการดำเนินงานของนักลงทุนสัมพันธ์หลัก ๆ ยังเน้นการเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับนักวิเคราะห์หรือนักลงทุน ได้แก่


  • พันธกิจขององค์กร หลักการบรรษัทภิบาลของบริษัท รวมทั้งการสรุปข้อมูลและแนวโน้มทางการเงินที่สำคัญ

  • ข้อความจากประธานกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง

  • รายละเอียดโครงสร้างการบริหาร, วิเคราะห์ฐานผู้ถือหุ้นของบริษัท, ตารางปฏิทินทางการเงินที่สำคัญ, ธุรกิจและกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ

  • ข้อมูลด้านการวิเคราะห์อุตสาหกรรม รวมทั้งการดำเนินธุรกิจตามเงื่อนไข

  • ทำรายงานสถานะการเงินของบริษัทและข้อมูลทางการเงินที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมาย

  • ทำการสรุปงบกำไรขาดทุนภายในรอบระยะเวลา 5 ปี


วิธีการทำงานของนักลงทุนสัมพันธ์

ต่อไปนี้คือกระบวนการทำงานของ IR ที่สำคัญ


  1. กำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ แผนกลยุทธ์ และแนวทางการดำเนินธุรกิจ

  2. วางแผนเครื่องมือและช่องทางในการสื่อสารระหว่างองค์กรและสาธารณชน

  3. ตั้งโฆษกประจำบริษัท เช่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)

  4. อธิบายแนวทางการเปิดเผยข้อมูลและรวบรวมแผนงานประจำปี


ประโยชน์ของ Investor Relations หรือ IR มีอะไรบ้าง

ประโยชน์หลัก ๆ ของนักลงทุนสัมพันธ์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนได้แก่ 


ลดต้นทุนการเงินของบริษัท

ผู้เชี่ยวชาญด้าน IR สามารถจัดการเรื่องราวในสาธารณะ หรือดำเนินการเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจว่าช่องว่างในการประเมินมูลค่านี้จะเกิดขึ้นที่ใด เพราะในการได้รับข้อมูลนี้ในนามของบริษัท ผู้เชี่ยวชาญด้านนักลงทุนสัมพันธ์สามารถช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สื่อสารคุณค่าของตนกับนักลงทุนได้ดีขึ้นและใช้เวลาการตัดสินใจไม่นานจึงเป็นการลดต้นทุนการเงินของบริษัทได้อย่างดีเยี่ยม


ราคาหุ้นของบริษัทจะสะท้องมูลค่าที่แท้จริงได้

ผู้เชี่ยวชาญด้าน IR อาจเข้าใจพฤติกรรมของตลาดสำหรับผู้บริหารให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารบอกเล่าเรื่องราวของบริษัทในการควบรวมกิจการหรือแสวงหานักลงทุนที่นำไปสู่การเสนอขายหุ้น IPO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากที่บริษัทมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ พนักงาน IR สามารถใส่ข้อมูลในมุมมองเมื่อใดก็ตามที่มีข่าวธุรกิจ เช่น เมื่อใดก็ตามที่มีการเปิดเผยรายได้


สร้างการรับรู้จากมุมมองของบุคคลภายนอก

กลยุทธ์นักลงทุนสัมพันธ์ส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารกับผู้นำผู้บริหารและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ซึ่งรวมถึงนักลงทุนด้วย เนื่องจากเจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์จำนวนมากได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัทแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งนำไปสู่การนำบริษัทเข้าสู่สาธารณะ


สร้างความโปร่งใสให้กับบริษัท

IR มีส่วนช่วยให้เกิดความโปร่งใสให้กับบริษัทโดยการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาแก่นักลงทุนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท ตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ และการพัฒนาที่สำคัญอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความไว้วางใจของนักลงทุนและชื่อเสียงของบริษัท


ขยายฐานนักลงทุนให้แก่บริษัท

IR ที่มีประสิทธิภาพอาจช่วยธุรกิจในการขยายฐานนักลงทุนและดึงดูดเงินทุนหน้าใหม่และเพิ่มโอกาสการขยายความต้องการหุ้นให้กับบริษัท อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นของบริษัทได้ สิ่งนี้สามารถเพิ่มมูลค่าของบริษัทและทำให้นักลงทุนทุกคนซื้อขายได้ง่ายขึ้น


โดยรวมแล้ว IR จะช่วยส่งเสริมการจัดการกิจกรรมของบริษัทด้วยการสร้างความมั่นใจว่าธุรกิจจะปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานทางศีลธรรมซึ่งจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงตลาดทุนของบริษัท รวมถึงชื่อเสียงและความไว้วางใจที่มีต่อนักลงทุนอีกด้วย


บทบาทและความรับผิดชอบของ Investor Relations หรือ IR

หน้าที่หลักของนักลงทุนสัมพันธ์อาจกล่าวได้ว่าเป็นโฆษกประจำบริษัทที่ติดตามการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในหลาย ๆ วิธี เช่น การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและการเปลี่ยนแปลงของบริษัทให้แก่นักลงทุนอย่างสม่ำเสมอโดยเน้นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักวิเคราะห์และผู้ลงทุนเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีต่อนักลงทุนเก่าและใหม่ รวมทั้งมีหน้าที่เป็นคนกลางในการสื่อสารข้อมูลทั้งภายในและภายนอกบริษัท ดังนั้ง บทบาทและความรับผิดชอบของงานนักลงทุนสัมพันธ์สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้


  • ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

  • มีบทบาทหลักในการสะท้อนความเห็นจากบุคคลภายนอกด้วยการรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารระดับสูง

  • ทำหน้าที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานและกำหนดกลยุทธ์ของบริษัท

  • เป็นผู้ดูแลนักลงทุนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัท


การเป็นนักลงทุนสัมพันธ์ที่ดีควรมีอะไรบ้าง

นักลงทุนสัมพันธ์ที่ดีมีความเป็นมืออาชีพและมีจริยธรรม และอื่น ๆ ดังต่อไปนี้


  • ความเข้าใจด้านการเงินขององค์กรที่ดี: ผู้เชี่ยวชาญด้าน IR ต้องมีความเข้าใจการเงินองค์กรเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ


  • ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล: โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญด้าน IR จะสื่อสารข้อมูลทั้งทางวาจาและภาพ ดังนั้นการมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่แข็งแกร่งจึงมีความจำเป็นสำหรับอาชีพนี้


  • มีทักษะการสื่อสารที่ชัดเจนและกระชับ: ผู้เชี่ยวชาญด้าน IR จะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ชัดเจนและสามารถเรียบเรียงใจความสำคัญให้ฟังเข้าใจได้ง่าย


  • เป็นผู้ที่มีความใส่ใจในรายละเอียด: เนื่องจากความใส่ใจในรายละเอียดคือสิ่งที่ทำให้การเป็นนักลงทุนสัมพันธ์มีคุณภาพและเป็นมืออาชีพ เนื่องจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจความแตกต่างในข้อมูลทางการเงินที่ซับซ้อน และสื่อสารได้อย่างถูกต้องกับหน่วยงานหลายฝ่ายทั้งนักลงทุน พนักงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่หลากหลาย


ดังนั้นโดยรวมแล้วการทำงานเป็นนักลงทุนสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้เชี่ยวชาญของอาชีพที่สามารถสร้างหรือทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกคนที่เหมาะสมสำหรับงานที่สำคัญนี้


สรุป Investor Relations

นักลงทุนสัมพันธ์หมายถึงแผนกภายในบริษัทที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของบริษัทแก่นักลงทุน ช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแผนก IR จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับแผนกบัญชีและกฎหมาย ตลอดจนฝ่ายบริหารเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญและถูกต้อง


บ่อยครั้งที่บริษัทต่าง ๆ จัดตั้งแผนก IR ก่อนที่จะเปิดเผยหุ้นต่อสาธารณะ โดยแผนกนี้จะช่วยเหลืองานของบริษัทในด้านต่าง ๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จาก IR บริษัทจะสามารถเพิ่มการเข้าถึงตลาดทุน ซึ่งช่วยให้องค์กรได้รับการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและด้วยต้นทุนที่ลดลง


ข้อมูลเพิ่มเติม วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2023>>

คำถามที่พบบ่อย

1.IR ย่อ มาจากอะไร?

IR หรือ Investor Relations หรือในภาษาไทยใช้คำว่า นักลงทุนสัมพันธ์

2.นักลงทุนสัมพันธ์ เงินเดือนเท่าไหร่?

สำหรับเงินเดือนของนักลงทุนสัมพันธ์เริ่มต้น 30,000-70,000 บาทขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน

3.นักลงทุนสัมพันธ์ ทำอะไร?

IR คือ งานของ บริษัทจดทะเบียนที่มีหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างสาธารณชนละบริษัท โดยมีบทบาทเป็นผู้สื่อสารให้กับทุกฝ่ายทั้งผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ เป็นต้น

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์