CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร และ มีอะไรบ้าง

    5 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 26 ต.ค. 2566 10:02 น.

    การอ่านงบการเงินเป็นทักษะจำเป็นสำหรับนักลงทุนสายเน้นคุณค่าที่ช่วยแสดงถึงความแข็งแกร่งของกิจการและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งทักษะนี้ประกอบด้วยหลายส่วนด้วยกัน และในคราวนี้หากใครที่เกิดสงสัยถึงส่วนประกอบเล็ก ๆ อย่างส่วนที่แสดงสินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร สำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง ก็ตามมาดูต่อได้เลย เพราะคราวนี้เราจะมาลงรายละเอียดถึงเรื่องนี้เพื่อให้นักลงทุนสามารถมองเห็นความสามารถในการเอาตัวรอดผ่านวิกฤตจากงบการเงินในส่วนนี้กัน


    สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร

    สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) เป็นส่วนของงบดุลที่แสดงอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ (Asset) ที่สามารถแบ่งออกได้เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Noncurrent Asset) 


    สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) คือ ส่วนที่แสดงถึงมูลค่าสินทรัพย์ที่บริษัทสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี ซึ่งหากบริษัทกำลังตกอยู่ในวิกฤตที่ขาดสภาพคล่อง บริษัทจะสามารถดึงสินทรัพย์ตัวนี้ออกมาใช้ได้ง่าย ทำให้ตัวเลขสินทรัพย์หมุนเวียนนี้สามารถบ่งบอกความสามารถในการรับมือกับวิกฤตของบริษัทได้ดี ยิ่งบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากจะแสดงถึงความสามารถในการรับแรงกระแทกหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันทางการเงินของบริษัทได้เป็นอย่างดี

     

    สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) แตกต่างจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Noncurrent Asset) ตรงที่ความยากง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสด 


    • สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) เป็นสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในเวลา 1 ปีจึงถือเป็นสินทรัพย์ที่แสดงสภาพคล่องของบริษัทในระยะสั้นได้ เช่น เงินสด ตราสารหนี้หรือตราสารทุน ตั๋วรับเงิน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น อุปกรณ์สำนักงาน วัสดุสิ้นเปลือง ฯลฯ 


    • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Noncurrent Asset) เป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะสั้นและเป็นสินทรัพย์ที่บริษัทมีไว้ในครอบครองระยะยาวเกินกว่า 1 ปี เช่น ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์เครื่องจักร หรือเงินลงทุนในระยะยาว ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวแต่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดหรือสภาพคล่องได้ง่ายเมื่อเกิดวิกฤต

    สินทรัพย์หมุนเวียนมีอะไรบ้าง

    จากที่เราทราบแล้วว่าสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นสินทรัพย์ของบริษัทที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะสั้นกว่า 1 ปี ซึ่งสามารถแจกแจงเป็นประเภทของสินทรัพย์ได้ดังต่อไปนี้


    • เงินสด (Cash) 

    เงินสดถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือและนำไปชำระหนี้ได้เร็วที่สุด เป็นสื่อกลางการชำระราคาที่ทุกคนยอมรับจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาสภาพคล่อง แต่การถือเงินสดไม่มีผลตอบแทนทำให้บริษัทที่เก็บรักษาเงินสดไว้มากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี


    • เงินฝาก (Cash Equivalents) 

    เป็นสินทรัพย์ที่คล้ายกับเงินสดและสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้รวดเร็วใกล้เคียงกัน การถือเงินฝากอาจมีความเสี่ยงจากสภาพคล่องของธนาคารอยู่บ้างแต่ก็มีจุดเด่นที่มีผลตอบแทนให้ในชื่อ ดอกเบี้ย


    • เงินลงทุนระยะสั้น (Short Term Investment) 

    เป็นการลงทุนที่บริษัทตั้งใจถือไว้ในระยะสั้น ๆ น้อยกว่า  ปีและสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น หุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ ซึ่งแม้จะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มเติมเข้ามา แต่ก็มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนให้กับบริษัทได้ด้วย


    • ตั๋วรับเงิน (Notes Receivable) 

    เป็นสัญญารับเงินที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น สัญญากู้ยืม สัญญาซื้อขาย ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มเติมเข้ามา ต่าสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับเงินทุนได้จากดอกเบี้ยเช่นกัน


    • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ๆ (Receivable) 

    เป็นยอดหนี้ค้างชำระจากลูกค้าที่ต้องจ่าย และยอดค้างชำระหนี้อื่น ๆ ที่บริษัทต้องได้รับแต่ยังไม่ได้รับ ส่วนนี้มักเป็นไปเพื่อความคล่องตัวในการทำธุรกิจ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการค้างชำระขึ้นอยู่กับเครดิตของลูกหนี้เอง


    • สินค้าคงคลัง (Inventory) 

    เป็นส่วนของวัตถุดิบหรือสินค้าที่ผลิตสำเร็จแล้วกำลังรอการจำหน่ายหรือขายออก ซึ่งสามารถกลายมาเป็นส่วนลดในการซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมหรือกลายมาเป็นเงินสดจากรายรับในอนาคต แต่ส่วนของสินค้าคงคลังก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นักลงทุนควรระวังในการอ่านงบว่าสินทรัพย์ในส่วนนี้มีการระบายออก (ลดลง) ไปบ้างหรือไม่ หรือเป็นการผลิตมาเก็บรักษาไว้และกลายเป็นต้นทุนจมของบริษัทในอนาคต


    • วัสดุสำนักงาน (Supplies) 

    คิดจากวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ ที่ใช้แล้วหมดไป เช่น วัสดุสำนักงานต่าง ๆ


    • รายได้ค้างรับและค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Accrued Revenue & Prepaid Expenses) 

    คือรายได้ที่ยังไม่ได้รับแต่มีแนวโน้มที่จะได้รับค่อนข้างแน่นอนในอนาคต และรายจ่ายที่บริษัทได้จ่ายไปแล้วเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในอนาคต


    การอ่านงบการเงินส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนบอกอะไรได้บ้าง?

    สินทรัพย์หมุนเวียน


    ส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญในงบดุล (Balance Sheet) ที่แสดงอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ (Asset) ซึ่งจะถูกลิสต์ขึ้นมาเป็นรายการแรก ๆ และแตกย่อยลงไปเป็นประเภทของสินทรัพย์ให้นักลงทุนได้ทราบว่างบดุลของบริษัทนั้น ๆ ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่


    มูลค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนที่แสดงในงบดุลช่วยให้นักลงทุนได้ทราบว่าสภาพคล่องในระยะสั้นของบริษัทนั้น ๆ มีอยู่มากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งสินทรัพย์ส่วนนี้จะสามารถถูกนำออกมาแปลงเป็นเงินสดเพื่อขับเคลื่อนกิจการต่อไปได้เมื่อบริษัทเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เกิดเหตุการณ์ที่บริษัทไม่สามารถขายหรือเรียกเก็บรายได้ได้ชั่วคราว ซึ่งอาจยืดเยื้อยาวนานหลายเดือนเหมือนการเกิดโควิด19 และบริษัทยังต้องจ่ายค่าดูแลรักษาเครื่องจักร เงินเดือนพนักงาน รวมถึงค่าเช่า/ดูแลสำนักงาน บริษัทยังสามารถนำสินทรัพย์ส่วนนี้มาเปลี่ยนกลับเป็นสภาพคล่องและใช้จ่ายไปก่อนได้


    ในอีกทางหนึ่งประเภทของสินทรัพย์หมุนเวียนยังสามารถบอกคุณภาพของการเปลี่ยนกลับสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ เช่น ตั๋วรับเงินหรือเงินฝากสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้แน่นอนว่าลูกหนี้การค้าที่เวลาเกิดวิกฤตอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่ตกลงไว้ ดังนั้นสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้แน่นอนแม้เกิดวิกฤตจึงเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีกว่าและเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรลงรายละเอียดในการวิเคราะห์สินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัทที่จะเข้าลงทุนด้วย


    ตัวอย่างการวิเคราะห์สินทรัพย์หมุนเวียนของ Apple

    ตัวอย่างการวิเคราะห์สินทรัพย์หมุนเวียนของ Apple



    Apple (APPL) ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐและได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องสูงจนการประชุมผู้ถือหุ้นในช่วงต้นปี 2020 อันเป็นการเริ่มต้นของโควิด ทิม คุก CEO ของบริษัทยังกล่าวไว้ว่าสภาพคล่องไม่เป็นปัญหาสำหรับ Apple ซึ่งในการปิดงบสิ้นปี 2019 บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนอยู่ทั้งสิ้น $162,819 พันล้าน คิดเป็นเงินสดและสินทรัพย์ใกล้เคียงเงินสด (Cash & Cash Equivalents) $59 พันล้าน 


    หากลองดูงบดุลของ Apple จะพบว่าสินทรัพย์หมุนเวียนจากปี 2020 ลดลงเล็กน้อย จาก $143 พันล้านเป็น $135 พันล้าน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือบริษัทมีการถือเงินสดและสินทรัพย์ใกล้เคียงเงินสด (Cash & Cash Equivalents) ลดลงจาก $90 พันล้านเหลือ $48 พันล้าน (ลดลง 46%) แต่มียอดหนี้ค้างชำระ (Receivable) เพิ่มขึ้นจาก $37 พันล้านเป็น $60 พันล้าน (เพิ่มขึ้น 62.7%) ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการเรียกเก็บเงินจากคู่ค้าหรือหมายถึงความสามารถในการเรียกเก็บเงินจากคู่ค้าที่ลดลงก็ได้

    สรุป

    และทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่เราเอามาเล่าสู่กันฟังว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไรและมีอะไรบ้าง การอ่านและตีความสินทรัพย์หมุนเวียนทำได้อย่างไร รวมถึงนักลงทุนควรอ่านและระมัดระวังกับตัวเลขต่าง ๆ ที่แสดงในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขสินทรัพย์หมุนเวียนในงบการเงินจะช่วยสามารถบอกให้นักลงทุนทราบถึงสภาพคล่องระยะสั้นของบริษัทได้แบบคร่าว ๆ แต่คุณภาพของสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในงบการเงินนั้นนักลงทุนอาจต้องเจาะเข้าไปดูว่าสินทรัพย์หมุนเวียนที่แสดงในงบนั้นสามารถคิดเป็นสินทรัพย์ได้มากน้อยแค่ไหนและจะสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเงินสดได้แม้ในช่วงเกิดวิกฤตอย่างที่เคยเกิดขึ้นหรือเปล่า เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเข้าลงทุนในบริษัทต่อไป


    บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย

    งบกระแสเงินสด(Cash Flow Statement) คืออะไร

    EBITDA คืออะไร

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    placeholder
    เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    placeholder
    8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    placeholder
    DCA คือ อะไร? เปิดบัญชีออมหุ้น DCA ที่ไหนดี 2024สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก