CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    บัญชีมาร์จิ้น คืออะไร? ทำงานอย่างไร วิธีการซื้อขายด้วยบัญชีมาร์จิ้น!

    6 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 12 มี.ค. 2567 03:42 น.

    การลงทุนเต็มไปด้วยโอกาสและความเสี่ยง คุณอาจเคยได้ยินคำว่า "บัญชีมาร์จิ้น" จากทั้งตลาดหุ้น ตลาดสินทรัพย์ต่าง มาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนักลงทุนที่จะต้องเข้าใจที่มาที่ไป และใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากบัญชีมาร์จิ้นที่มีให้บริการในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จและลดความเสี่ยงในการลงทุน

    บัญชีมาร์จิ้น คืออะไร

    "บัญชีมาร์จิ้น" (Margin Account) คือ ประเภทหนึ่งของบัญชีการซื้อขายหลักที่ใช้ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอนุญาตให้ลูกค้าทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้เงินยืมจากโบรกเกอร์ เพื่อเพิ่มการลงทุนและซื้อหลักทรัพย์ได้มากกว่าที่พวกเขามีเงินจริง ลูกค้าสามารถกำหนดมาร์จิ้นหรือสัดส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ต้องใช้เป็นเงินมัดจำต่อการยืม และสามารถนำไปลงทุนในหลาย ๆ ประเภทของหลักทรัพย์ได้ เช่น หุ้น, พันธบัตร,สินค้าโภคภัณท์,ETF,และอื่น ๆ หลักๆประกอบไปด้วย 


    1. Minimum Margin คือ จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องอยู่ในบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าเพื่อรักษาตำแหน่งที่ถืออยู่ หากมูลค่าของตำแหน่งหลักทรัพย์ลดลงต่ำกว่า Minimum Margin ที่กำหนดไว้ ลูกค้าอาจจะต้องเติมเงินมาร์จิ้น


    2. Initial Margin คือ จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีมาร์จิ้นของตนเองเพื่อเปิดตำแหน่งใหม่ หรือทำการซื้อหลักทรัพย์โดยใช้เงินยืมจากโบรกเกอร์ วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินของโบรกเกอร์และให้ความมั่นใจว่าลูกค้ามีเงินมาร์จิ้นเพียงพอที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในตลาด


    3. Maintenance Margin คือ ระดับขั้นต่ำของมูลค่ามาร์จิ้นที่ลูกค้าต้องรักษาในบัญชีมาร์จิ้นของตนเองเพื่อให้ตำแหน่งที่ถืออยู่ยังคงมีอยู่ มักถูกกำหนดในร้อยละของมูลค่าของตำแหน่งที่ถือ


    4. Margin Interest Rates คือ อัตราดอกเบี้ยที่ลูกค้าต้องจ่ายในกรณีที่ใช้เงินยืม (มาร์จิ้น) เพื่อทำการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

    ตัวอย่างของลักษณะของมาร์จิ้นแบบต่างๆ

    ที่มา: Angleone

    บัญชีมาร์จิ้น ทำงานอย่างไร

    มีขั้นตอนดังต่อไปนี้


    1. เปิดบัญชีมาร์จิ้น ลูกค้าต้องเปิดบัญชีมาร์จิ้นกับโบรกเกอร์หรือสถาบันการเงินที่ให้บริการบัญชีมาร์จิ้น. ในขั้นตอนนี้, ลูกค้าจะต้องมีบัญชีธนาคารที่เชื่อมโยงเพื่อทำการโอนเงินและรับเงินยืม


    2. การกำหนดมูลค่ามาร์จิ้น โบรกเกอร์จะกำหนดมูลค่ามาร์จิ้นที่ลูกค้าต้องมีในบัญชีเพื่อทำการลงทุน. มูลค่ามาร์จิ้นนี้มักถูกกำหนดในรูปแบบของร้อยละ (%) ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลูกค้าต้องการซื้อ


    3. เริ่มทำการลงทุน เมื่อมูลค่ามาร์จิ้นได้รับการกำหนดและบัญชีมาร์จิ้นพร้อมใช้งาน, ลูกค้าสามารถทำการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้เงินยืม. ลูกค้าสามารถซื้อหรือขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด


    4. การรักษามูลค่ามาร์จิ้น ลูกค้าต้องรักษามูลค่ามาร์จิ้นในบัญชีเพื่อรักษาตำแหน่งที่ถือไว้. หากมูลค่ามาร์จิ้นลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด, ลูกค้าอาจต้องทำการเติมเงินมาร์จิ้นหรือปิดตำแหน่งเพื่อป้องกันการขาดทุน


    5. การจ่ายดอกเบี้ยมาร์จิ้น ถ้าลูกค้าใช้เงินยืม, จะมีการคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด. ดอกเบี้ยนี้เรียกว่า "มาร์จิ้นอินเตอเรสต์" หรือ "มาร์จิ้นเบี้ย" (Margin Interest) และจะถูกเพิ่มเข้าไปในบัญชีของลูกค้าในระยะเวลาที่ทำการยืมเงิน

    ตัวอย่างการทำงานของบัญชีมาร์จิ้น


    ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน นอกเหนือจากหุ้น สามารถซื้อได้ด้วยมาร์จิ้น เทรดเดอร์ฟิวเจอร์สก็มักใช้มาร์จิ้นเช่นกัน สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นและหลักประกันการ


    รักษาสภาพจะแตกต่างกันไป กำหนดข้อกำหนดมาร์จิ้นขั้นต่ำ นั่นหมายความว่ามาร์จิ้นอาจแตกต่างกันไปตามโบรกเกอร์ โดยทั่วไปมาร์จิ้นเริ่มต้นที่จำเป็นสำหรับ FUTURE จะต่ำกว่าหุ้นมาก แม้ว่านักลงทุนหุ้นจะต้องวางมูลค่าการซื้อขาย 50% แต่ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอาจต้องวางเงินระหว่าง 3% ถึง 12% เท่านั้น

    ข้อดีข้อเสียของบัญชีมาร์จิ้น

    ข้อดีของบัญชีมารจิ้น

     เพิ่มโอกาสในการทำกำไร: การใช้มารจิ้นช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรโดยที่ไม่ต้องใช้เงินทุนเต็มตัวของลงทุน

    ✅ การลงทุนในหลายทรัพย์สิน: ลูกค้าสามารถลงทุนในหลายทรัพย์สินทางการเงิน เช่น หุ้น, พันธบัตร, หลักทรัพย์ที่ดูแลค่าเงินตลอดเวลา (ETF), และอื่น ๆ โดยใช้เงินยืม

    ✅ ความยืดหยุ่นในการซื้อขาย: ลูกค้าสามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์มากกว่าทุนที่มีจริง, ทำให้มีโอกาสในการทำกำไรมากขึ้น


    ข้อเสียของบัญชีมารจิ้น

    ความเสี่ยงทางการเงิน: การใช้มารจิ้นเพิ่มความเสี่ยงทางการเงิน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ตำแหน่งที่ถือไว้จะขาดทุนมากขึ้น

    มูลค่าดอกเบี้ย: ลูกค้าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่คุณภาพสูงสำหรับการใช้เงินยืม ซึ่งอาจทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

    การถูก Margin Call: ถ้ามูลค่ามารจิ้นลดลงต่ำกว่าที่กำหนด, ลูกค้าอาจถูก Margin Call ซึ่งต้องทำการเติมเงินมารจิ้นหรือปิดตำแหน่งเพื่อรักษามูลค่ามารจิ้น

    บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) vs บัญชีเงินสด (Cash account)

    Cash account คืออะไร?

    บัญชีเงินสด Cash account คือ เป็นบัญชีที่ต้องชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวนด้วยเงินสด โดยโบรกเกอร์จะพิจารณาอนุมัติวงเงินที่นักลงทุนจะสามารถ ใช้ซื้อหลักทรัพย์จากหลักฐานการเงิน แต่จะต้องฝากเงินเพื่อเป็นหลักประกัน (15% หรือตามที่โบรกเกอร์นั้นๆวางไว้) ทั้งนี้จะต้องชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อ


    ตารางเปรียบเทียบ บัญชีมาร์จิ้น VS บัญชีเงินสด

    ประเภทบัญชี

    บัญชีมาร์จิ้น(Margin Account)

    บัญชีเงินสด( Cash Account)

    ความเสี่ยงใช้งานบัญชี

    สูง มีโอกาสกำไร/ขาดทุนสูง

    ความเสี่ยงต่ำ

    วางหลักประกัน

    จ่ายบางส่วน+กู้ยืมบางส่วน

    15-20% หรือตามเงื่อนไข

    ดอกเบี้ย

    มีดอกเบี้ย

    ไม่มีดอกเบี้ย

    การชำระเงิน

    วางเงินสดหรือหลักทรัพย์วางไว้

    2 วันทำการหลังจากซื้อหุ้น

    เหมาะกับนักลงทุน

    ประสบการณ์สูงเข้าใจความเสี่ยง

    มีวินัยในการชำระเงินที่ดีเลิศ


    คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าบัญชีมาร์จิ้นเหมาะกับคุณ?

    การจะรู้ว่าบัญชีมาร์จิ้นเหมาะกับคุณหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้


    1.เป้าหมายการลงทุน

    ต้องการเก็งกำไรระยะสั้น: บัญชีมาร์จิ้นอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร

    ต้องการลงทุนระยะยาว: บัญชีมาร์จิ้นอาจไม่จำเป็น


    2.ระดับความเสี่ยงที่รับได้

    รับความเสี่ยงสูง: บัญชีมาร์จิ้นอาจเหมาะกับคุณ

    รับความเสี่ยงต่ำ: บัญชีมาร์จิ้นอาจไม่เหมาะกับคุณ


    3.ความรู้และประสบการณ์

    มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน: บัญชีมาร์จิ้นอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์

    ไม่มีประสบการณ์: ควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อนใช้บัญชีมาร์จิ้น


    4.สภาพคล่องทางการเงิน

    มีเงินทุนสำรองเพียงพอ: บัญชีมาร์จิ้นอาจเป็นตัวเลือก

    เงินทุนจำกัด: บัญชีมาร์จิ้นอาจไม่เหมาะ


    5.สถานการณ์ตลาด

    ตลาดขาขึ้น: บัญชีมาร์จิ้นอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร

    ตลาดขาลง: บัญชีมาร์จิ้นอาจเพิ่มความเสี่ยง


    วิธีการเทรดด้วยบัญชีมาร์จิ้นสำหรับมือใหม่

    สำหรับการลงทุนด้วยบัญชีมาร์จิ้น มีให้เลือกลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ ในตัวอย่างต่อไปนี้ เราจะมาดูที่ลงทุนในตลาด CFD ของหุ้นต่างประเทศ ค่าเงิน และทองคำ โดยใช้บัญชีเทรดของโบรกเกอร์ Mitrade ซึ่งมีรูปแบบของ Margin Account ให้ได้ศึกษา และข้ได้เปรียบจากเลเวอเรจหรืออัตราทดช่วยให้ใช้เงินลงทุนน้อยลงไปอีก


    ชาร์ตราคาของหุ้น Apple


    จากชาร์ตราคา เป็นสินทรัพย์หุ้นต่างประเทศ นั่นคือ หุ้น APPLE ที่ราคา 188.62$ และเลือกเลเวเรจได้สูงสุด 1:20 หรือ 20 เท่าของเงินประกัน ระบบจะคำนวญให้อัตโนมัติว่า มาร์จิ้นที่ต้องการ(USD) คือ 9.38 USD ถ้าต้องการออกออเดอร์ปริมาณ 1 Lot Size จะเห็นว่าปกติถ้าซื้อหุ้นจริงๆต้องใช้เงินถึง 188.62 USD / 1 หุ้น แต่ถ้าบัญชีมาร์จิ้นและมีเลเวอเรจ จะใช้เงินเพียง 9.8 USD 


    ที่ Mitrade สำหรับนักลงทุนใช้เทรดสินค้าในรูปแบบของ CFD ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันสามารถเริ่มต้นเปิดบัญชีมาร์จิ้นด้วยเงินเริ่มต้นเพียง 50 USD หรือประมาณ 1,800 บาท แต่ควรศึกษาเรื่องของประโยชน์และการใช้งานเลเวอเรจให้เหมาะสม เพื่อลดวามเสี่ยงจากการลงทุน


    mitrade
    🎉ห้ามพลาด!!!
    ค่าคอมฯ 0 สเปรดต่ำ เงินฝากขั้นต่ำ $50
    แจกโบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์ 
    ฝึกเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 ฟรี
    การลงทุนมีความเสี่ยง อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน

    วิธีจัดการความเสี่ยงของบัญชีมาร์จิ้น

    การจัดการความเสี่ยงของบัญชีมารจิ้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันการขาดทุนที่ไม่คาดคิดและรักษาความมั่นใจในการลงทุนของคุณ


    • กำหนดแผนการลงทุนที่ชัดเจนและเน้นความรับผิดชอบทางการเงิน.กำหนดวัตถุประสงค์การลงทุน, ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับ, และระยะเวลาการลงทุน


    • ให้ความสำคัญกับมูลค่ามารจิ้นที่ต้องการรักษาตำแหน่ง. คำนวณมูลค่ามารจิ้นตามกฎหรือนโยบายของโบรกเกอร์และตลาด


    • กำหนดแผนการทำงานสำหรับกรณีที่ตำแหน่งลดค่า.พิจารณาว่าจะทำการเติมเงินมารจิ้นหรือปิดตำแหน่งในกรณีที่มูลค่ามารจิ้นลดลง


    • ติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อตลาด Forex. ทำการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อตรวจสอบแนวโน้มของตลาด


    • ปฏิบัติตามแผนการลงทุนของคุณและรักษาวินัยการลงทุน.ไม่ควรตัดสินใจที่เร่งรีบหรืออิจฉาริยะเมื่อตลาดเปลี่ยนแปลง


    สรุปบัญชีมาร์จิ้น

    เทรดด้วยบัญชีมาร์จิ้นเป็นอีกตัวเลือกการลงทุนที่ดีที่จะช่วยให้นักลงทุนสร้างกำไรที่เติบโตมากขึ้นได้ โดยเฉพาะในรูปแบบของ CFD หรือสัญญาส่วนต่าง โดยมีเลเวอเรจด้วยอีกทาง ที่ช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าบัญชีมาร์จิ้นเองก็มีข้อจำกัดสำหรับความเสี่ยงสูงที่เกิดขึ้น จึงควรศึกษาข้อดีข้อเสียให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

    คำถามที่พบบ่อย
    ทำไมนักลงทุนถึงควรใช้ประเภทบัญชีมาร์จิ้น
    ใช้บัญชีมารจิ้นทำให้นักลงทุนสามารถควบคุมตำแหน่งทางการเงินได้มากกว่าทุนที่มีจริง เพิ่มโอกาสในการทำกำไร: นักลงทุนสามารถใช้เงินยืมในการลงทุนในหลายทรัพย์สิน, เช่น คู่เงิน, หุ้น, พันธบัตร, และอื่น ๆ.ทำให้มีโอกาสในการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่มีความหลากหลาย. และสำหรับนักลงทุนที่ต้องการการหลีกเลี่ยงการขาดทุนมาก การใช้มารจิ้นทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการความเสี่ยง
    ข้อควรระวังสำหรับนักลงทุนที่ใช้บัญชีมาร์จิ้น
    1.การใช้มารจิ้นทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูง, โดยที่นักลงทุนอาจต้องรับผิดชอบมูลค่ามารจิ้นทั้งหมดที่ถือไว้. 2.นักลงทุนต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการใช้มารจิ้น. ควรทราบถึงอัตราดอกเบี้ยและวิเคราะห์ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถต่องจ่ายได้หรือไม่. 3.ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาด:ตลาดการเงินมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การใช้มารจิ้นสามารถทำให้ขาดทุนมากขึ้นในกรณีที่ตลาดเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่คาดคิด 4.ถ้ามูลค่ามารจิ้นลดลงต่ำกว่าที่กำหนดโดยโบรกเกอร์, นักลงทุนอาจถูก Margin Call ซึ่งต้องทำการเติมเงินมารจิ้นหรือปิดตำแหน่ง.
    นักลงทุนมือใหม่ที่เทรดในควรใช้บัญชีมาร์จิ้นหรือไม่
    โดยทั่วไปไม่เหมาะสมสำหรับบัญชีหุ้นหรือถ้าเกิดถูก Force Sell ทำให้เป็นหนี้จากการขาดทุน แต่ถ้าสำหรับรูปแบบของ CFD นักลงทุนสามารถใช้คำสั่ง Stop loss เพื่อช่วยวางแผนหรือ นโยบายเรื่องของ Stop out ยังช่วยให้นักลงทุนไม่สูญเสียเกินกว่าเงินเริ่มต้นที่ลงทุน ดังนั้นใช้ได้และควรศึกษาเรื่องกฏข้อบังคับให้เข้าใจ

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    บิทคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร? ศึกษาให้ดีก่อนลงทุน ห้ามพลาด! บทความนี้จะตอบคำถามทั้งหมดที่นักลงทุนที่สนใจลงทุนใน Bitcoin รวมถึง Bitcoin คืออะไร, Bitcoin ทำงานอย่างไร, การขุด Bitcoin คืออะไรและได้เงินจริงไหม, จัดเก็บ bitcoin อย่างไร, บิทคอยน์ ผิดกฎหมายไหม พร้อมคำถามที่น่าตื่นเต้นที่สุด - วิธีเริ่มต้นเทรด Bitcoin นะครับ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    บทความนี้จะตอบคำถามทั้งหมดที่นักลงทุนที่สนใจลงทุนใน Bitcoin รวมถึง Bitcoin คืออะไร, Bitcoin ทำงานอย่างไร, การขุด Bitcoin คืออะไรและได้เงินจริงไหม, จัดเก็บ bitcoin อย่างไร, บิทคอยน์ ผิดกฎหมายไหม พร้อมคำถามที่น่าตื่นเต้นที่สุด - วิธีเริ่มต้นเทรด Bitcoin นะครับ
    placeholder
    วิเคราะห์แนวโน้มราคาบิทคอยน์ 2024 จะไปในทิศทางใดบทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    บทความนี้จะเป็นการเรียบเรียงข้อข้อมูลเกี่ยวกับ “Bitcoin” โดยตรง รวมไปถึงการวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ 10 ปีย้อนหลัง การวิเคราะห์ราคาบิทคอยน์ปี 2023 และวิเคราะห์บทสุปราคาบิทคอยน์จะขึ้นหรือลดลงและยังน่าลงทุนอยู่ไหมในปี 2024
    placeholder
    CFD คืออะไรและทำงานอย่างไร?หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์เช่น forex หุ้น ดัชนี ทองคำหรือบิทคอยน์ แต่คุณมีเงินไม่มากแต่ก็มีความคาดหวังว่าจะเก็งกำไรในระยะสั้น การลงทุนด้วยเครื่องมือ CFD อาจจะเป็นคำตอบสำหรับการลงทุนของคุณ ว่าแต่ CFD คืออะไร, CFD ทำงานอย่างไร CFD, จะช่วยให้คุณลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยอย่างไร, ข้อดีและความเสี่ยงในการเทรด CFD คืออะไร เรามาหาคำตอบกันครับ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์เช่น forex หุ้น ดัชนี ทองคำหรือบิทคอยน์ แต่คุณมีเงินไม่มากแต่ก็มีความคาดหวังว่าจะเก็งกำไรในระยะสั้น การลงทุนด้วยเครื่องมือ CFD อาจจะเป็นคำตอบสำหรับการลงทุนของคุณ ว่าแต่ CFD คืออะไร, CFD ทำงานอย่างไร CFD, จะช่วยให้คุณลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยอย่างไร, ข้อดีและความเสี่ยงในการเทรด CFD คืออะไร เรามาหาคำตอบกันครับ
    placeholder
    5 เว็บเทรด Bitcoin ต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้การเทรด bitcoin โดยเลือกผู้ให้บริการจากต่างประเทศกลายเป็นวิธีการลงทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักลงทุนชาวไทย วันนี้เราจึงได้รวบรวม 5 เว็บเทรด bitcoin ต่างประเทศให้กับนักลงทุนทุกท่าน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้การเทรด bitcoin โดยเลือกผู้ให้บริการจากต่างประเทศกลายเป็นวิธีการลงทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักลงทุนชาวไทย วันนี้เราจึงได้รวบรวม 5 เว็บเทรด bitcoin ต่างประเทศให้กับนักลงทุนทุกท่าน
    placeholder
    ภาวะเงินฝืด คืออะไร? ลงทุนอะไรดีกว่าในช่วงเงินเฟ้อบทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับภาวะเงินฝืด (Deflation) คืออะไร น่าเชื่อถือแค่ไหน นักลงทุนสามารถนำไปปรับใช้เพื่อรับมือกับเงินฝืดได้อย่างไร และวิธีการลงทุนในช่วงภาวะของเงินฝืดยังไงให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด ไปอ่านในบทความกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับภาวะเงินฝืด (Deflation) คืออะไร น่าเชื่อถือแค่ไหน นักลงทุนสามารถนำไปปรับใช้เพื่อรับมือกับเงินฝืดได้อย่างไร และวิธีการลงทุนในช่วงภาวะของเงินฝืดยังไงให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด ไปอ่านในบทความกันเลย
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์