Trend Line คืออะไรและขั้นตอนการตี Trend Line เป็นยังไง

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

การเทรดตามแนวโน้มเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่คำถามคือจะเทรดอย่างไร? Trend Line คือเครื่องมืออย่างง่ายสำหรับนักเทรดมือใหม่ที่ทำความเข้าใจได้ง่ายและนำไปประยุกต์ใช้กับการเทรดได้ทันที แต่การตี Trend Line ก็มีจุดที่ต้องระวังและการนำไปใช้จริงก็มีจุดที่อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้บ้าง คราวนี้เราจึงจะมาแนะนำการตี Trend Line สำหรับการเทรด Forex รวมถึงตัวอย่างการใช้งานจริงพร้อมจุดที่ควรใช้ความระมัดระวังในการเทรดกัน

Trend Line คืออะไร

Trend Line คือ เส้นรูปวาดที่ช่วยให้นักเทรดได้เห็นแนวโน้มของราคาได้อย่างชัดเจนและเป็นเส้นที่วาดเชื่อมจุดต่าง ๆ บนซีรีส์ราคาที่เกิดขึ้นได้อย่างลงตัวที่สุด จนได้เป็นผลลัพธ์ที่ทำให้นักเทรดได้เห็นแนวโน้มของราคา ความเร่งตัวของราคาและแนวรับแนวต้านของราคาที่มีโอกาสเกิดขึ้น


การวาด Trend Line นั้นไม่มีสูตรตายตัว มีแต่ไกด์ไลน์คร่าว ๆ ทำให้ Trend Line ที่นักเทรดแต่ละคนใช้อาจมีความแตกต่างกันไป การตี Trend Line อย่างง่ายทำได้ด้วยการลากจุดต่ำสุดหรือจุดสูงสุดของช่วงราคาเชื่อมเข้าด้วยกันจนได้เส้นนำสายตาที่ช่วยให้นักเทรดเห็นแนวการเคลื่อนตัวของราคาได้ชัดเจนขึ้น การลากเส้น Trend Line สามารถวาดได้ทั้งจากส่วนไส้ของแท่งเทียนเชื่อมต่อกัน ลากจากตัวของแท่งเทียน (body) เชื่อมต่อกัน หรือแม้แต่การใช้กราฟเส้น (Line Chart) ในการตีเส้น Trend Line ได้เช่นกัน แต่ไม่สามารถตีเส้น Trend Line ผ่านตัวแท่งเทียน (body) ได้


เส้น Trend Line ที่ได้มีทั้งแบบเฉียงขึ้น เฉียงลง และแนวนอน เส้น Trend Line แต่ละแบบก็สามารถบอกบอกข้อมูลและนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ได้ต่างกันออกไป 



ตัวอย่างเส้น Trend Line

Trend Line บอกอะไรได้บ้าง

เส้น Trend Line เป็นเครื่องมือที่นักเทรดเอามาบอกได้ 3 อย่าง ดังนี้


1. บอกแนวโน้ม

1)Trend Line เฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวา (ความชันเป็นบวก) แสดงแนวโน้มราคาขาขึ้น (Up Trend) และราคาที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนตัวอยู่เหนือเส้น Trend Line นักเทรดสามารถใช้ Trend Line นี้กำหนดกลยุทธ์การเทรดอย่างง่ายด้วยการใช้ Trend Line เป็นแนวรับแล้ว ซื้อที่แนวรับ (Buy on Dip)


2)Trend Line เฉียงลงจากซ้ายไปขวา (ความชันเป็นลบ) แสดงแนวโน้มราคาขาลง (Down Trend) และราคาที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนตัวอยู่ใต้เส้น Trend Line นักเทรดสามารถใช้ Trend Line นี้กำหนดกลยุทธ์การเทรดอย่างง่ายด้วยการใช้ Trend Line เป็นแนวต้าน แล้วขายที่แนวต้าน (Selling into Strength)


2. บอกแนวรับแนวต้าน (Support & Resistance)  

1)Trend Line บอกแนวรับ (Support) เกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น (Up Trend) ที่มักจะมาพร้อมแรงซื้อที่แข็งแกร่งทำให้แนวรับที่เกิดขึ้นมีแรงรอซื้ออยู่จำนวนมากสามารถเชื่อถือได้ว่าราคาจะไม่หลุดผ่านไปได้ง่าย ๆ และค่อนข้างมีความแม่นยำ ขณะที่การใช้ Trend Line เป็นแนวต้านในแนวโน้มขาขึ้นอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งราคาสามารถเบรคทะลุแนวต้านได้เสมอ


2)Trend Line บอกแนวต้าน (Resistance) เกิดขึ้นเมื่อแนวโน้มราคาเป็นขาลง (Down Trend) ที่มักจะมาพร้อมแรงขายที่แข็งแกร่งทำให้แนวต้านที่เกิดขึ้นมีแรงรอขายจำนวนมากจนสามารถเชื่อถือได้ว่าราคาจะไม่วิ่งผ่านไปได้ง่าย ๆ และค่อนข้างมีความแม่นยำ ขณะที่การใช้ Trend Line เป็นแนวรับในแนวโน้มขาลงอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากแนวโน้มขาลงที่แข็งแกร่งสามารถมีการหลุดของราคาที่แนวรับได้เสมอ


3. คาดการณ์ราคาที่น่าจะเป็นในอนาคต 

ความชันของเส้น Trend Line สามารถใช้เป็นสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของราคาและเวลาได้แบบคร่าว ๆ คือ หาก Trend Line มีความชัน = 0.2 ซึ่งความชันเป็นบวกหมายถึงเส้น Trend Line ที่เฉียงขึ้นจากซ้ายไปขวาและเป็น Trend Line ของแนวโน้มขาขึ้น ตัวเลขนี้สามารถตีความได้ดว่าเมื่อเวลาปรับเพิ่ม 1 หน่วย ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น 0.2 หน่วย ดังนั้น หากราคาปัจจุบันของหุ้นตัวนี้อยู่ที่ $45 เมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน ราคามีแนวโน้มจะปรับขึ้นเป็น $54 ดังนั้น Trend Line จึงสามารถนำมาใช้คาดการณ์ราคาในอนาคตแบบคร่าว ๆ ได้ด้วย


4. บอกการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

Trend Line เป็นเส้นที่ช่วยบ่งบอกแนวโน้ม เมื่อราคายังเคลื่อนตัวไปตามเส้น Trend Line แสดงถึงการดำเนินอย่างต่อเนื่องของแนวโน้ม (Continuous) แต่เมื่อราคาเริ่มเคลื่อนตัวตัดเส้น Trend Line ในครั้งแรกมักหมายถึงสัญญาณเตือนที่มีแนวโน้มที่ Trend Line จะถูกทำลาย และเมื่อเส้น Trend Line ถูกทำลายจะหมายถึงการเปลี่ยนแนวโน้มไปจากเดิม

ขั้นตอนการตี Trend Line ในงานเทรดจริง

Trend Line คืออะไร


การตี Trend Line ในงานเทรดจริงมักใช้คู่กับกลยุทธ์การเทรดแบบ Swing Trade ด้วยกาเข้าเปิดสถานะที่จุดสวิงของราคาการตี Trend Line ในงานเทรดจริงมักใช้คู่กับกลยุทธ์การเทรดแบบ Swing Trade ด้วยการเข้าซื้อหรือขายที่จุดสวิงของราคา ซึ่งจุดนี้มักเป็นจุดที่ราคาและเส้น Trend Line สัมผัสกัน ดังนั้นในการตีเส้น Trend Line เพื่อใช้งานจริงต่อไปนี้จึงเป็นการตีเส้น Trend Line เพื่อใช้กับกลยุทธ์นี้เป็นหลัก โดยมีขั้นตอนดังนี้


  1. สังเกตจุดกลับตัวที่ราคาเริ่มเปลี่ยนเป็นแนวโน้มใหม่

    จุดกลับตัวของแนวโน้มสามารถตรวจจับได้หลายวิธี เช่น รูปแบบราคาแบบกลับตัว, การเบรคเอาท์ของราคา, การเกิดสัญญาณขัดแย้ง จากจุดนี้มีแนวโน้มที่ราคาจะเริ่มฟอร์มตัวในแนวโน้มใดแนวโน้มหนึ่งในทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มก่อนหน้า


  2. หาจุดสวิงตัวของราคาอย่างน้อย 3 จุดแล้วลากจุดเชื่อมเพื่อแสดง Trend Line

    ทำได้ด้วยการสังเกตจุดต่ำที่ยกสูงขึ้น (Hight Low) ในแนวโน้มราคาที่กลับตัวเป็นขาขึ้น หรือ สังเกตจุดสูงสุดที่ต่ำลง (Lower Hight) ในแนวโน้มราคาที่กลับตัวเป็นขาลง แล้วลากเส้น Trend Line เชื่อมจุดสูงหรือจุดต่ำอย่างน้อย 3 จุดเข้าด้วยกัน จะได้เส้น Trend Line ที่สามารถนำไปใช้ได้และจะเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแรงพอจะใช้เป็นจุดเข้าทำรายการได้


  3. สังเกตการหลุด/เบรคของราคาจากเส้น Trend Line

    การเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นแนวโน้มขาขึ้นจะเคลื่อนอยู่เหนือเส้น Trend Line ขณะที่ราคาที่เป็นแนวโน้มขาลงจะเคลื่อนอยู่ใต้เส้น Trend Line ในช่วงนี้กลยุทธ์ Swing Trade บนแนวโน้มจะสามารถนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการเทรดที่ได้ผล แต่เมื่อราคาเริ่มหลุดจากเส้น Trend Line ไปจากเดิมเป็นสัญญาณเตือนว่าเส้น Trend Line จะไม่สามารถทำหน้าที่เป็นแนวรับแนวต้านได้ต่อไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะเริ่มเปลี่ยนแนวโน้ม การหลุดของราคาในครั้งแรกมักไม่ใช่การหลุดจริงจึงไม่ใช่จุดที่ดีสำหรับการเข้าทำรายการ แต่เป็นจุดที่ควรเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น


ข้อสังเกต Trend Line ที่ใช้งานได้ดี 

  • Trend Line ที่นำไปใช้งานได้แม่นยำควรลากเชื่อมจุดสวิงของราคา 3 จุดขึ้นไป โดยปกติแล้วแค่จุดสวิง 2 จุดก็สามารถลากเส้น Trend Line ได้แล้ว แต่ไม่มีอะไรการันตีว่าเส้น Trend Line ที่ได้จากการลากเชื่อม 2 จุดจะเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งได้ การลาก Trend Line จากการเชื่อมจุดสวิงของราคา 3 จุดหมายถึงเส้น Trend Line นี้มีการทดสอบของราคามาแล้ว 3 ครั้งทำให้มีแนวโน้มเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างดี


  • Trend Line สามารถลากตัดไส้เทียนได้ แต่ไม่สามารถลากตัดตัวของแท่งเทียนได้ การที่ Trend Line ตัดผ่านตัวของแท่งเทียนหมายถึงราคาเริ่มไม่สามารถยืนอยู่บนเส้น Trend Line และมีโอกาสเบรคเอาท์หรือหลุดเส้น Trend Line ได้

ตัวอย่างกลยุทธ์การเทรดบน Trend Line

นอกเหนือจากกลยุทธ์ Swing Trade นักเทรดยังสามารถนำ Trend line ไปใช้ประกอบกลยุทธ์การเทรดได้อีกหลากหลายประเภท และคราวนี้เราจะขอยกตัวอย่างกลยุทธ์ 2 แบบที่นักเทรดสามารถนำไปลองใช้ได้


1. กลยุทธ์การเบรค Trend Line และดึงกลับ

แนวคิดเบื้องต้นของกลยุทธ์นี้คือการฉวยจังหวะการเบรกเอาท์ของราคาจากเส้น Trend Line ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม ซึ่งมักตามมาด้วยการดึงกลับของราคาเพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของเส้น Trend Line ที่เป็นแนวรับแนวต้านเดิมแล้วจึงเริ่มวิ่งกลับเป็นแนวโน้มใหม่ และการดึงกลับของราคานี้จะเป็นจุดที่นักเทรดจับจังหวะเข้าทำรายการได้



กลยุทธ์การเบรค Trend Line และดึงกลับ



  • ในแนวโน้มราคาขาขึ้น

    นักเทรดสามารถจับจังหวะที่ราคากำลังเปลี่ยนเทรนด้วยการหลุดจากเส้น Trend Line ลงมาเป็นจังหวะแรกที่ต้องเฝ้าระวัง และเมื่อราคารีบาวน์กลับมาทดสอบเส้น Trend Line ที่เคยเป็นแนวรับแล้วไม่สามารถเบรกกลับขึ้นไปได้ เส้น Trend Line นี้จะกลายมาเป็นแนวต้านและราคาได้เปลี่ยนมาเป็นแนวโน้มขาลงโดยสมบูรณ์ นักเทรดสามารถเปิดสถานะขาย (Short) เพื่อคาดหวังกำไรจากแนวโน้มราคาขาลงได้


  • ในแนวโน้มราคาขาลง

    นักเทรดสามารถจับจังหวะที่ราคากำลังเปลี่ยนเทรนด้วยการเบรกเอาท์จากเส้น Trend Line ขึ้นไปเป็นจังหวะแรกที่ต้องเฝ้าระวัง และเมื่อย่อตัวกลับมาทดสอบเส้น Trend Line ที่เคยเป็นแนวต้านแล้วไม่หลุดลงมา เส้น Trend Line นี้จะกลายมาเป็นแนวรับและราคาได้เปลี่ยนมาเป็นแนวโน้มขาขึ้นโดยสมบูรณ์ นักเทรดสามารถเปิดสถานะซื้อ (Long) เพื่อคาดหวังกำไรจากแนวโน้มราคาขาขึ้นได้


2. กลยุทธ์ราคาดีดตัวจาก Trend Line

แนวคิดเบื้องต้นของกลยุทธ์นี้คือการมองหารูปแบบราคาที่มีการบีบตัวเข้าหาเส้น Trend Line ซึ่ง Trend Line ที่มีการทดสอบมาแล้วหลายครั้งจะเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งและราคาจะไม่หลุดหรือเบรกเอาท์จากเส้น Trend Line ออกไป แต่ราคาจะมีการดีดตัวออกจากเส้น Trend Line แทน และนักเทรดสามารถจับจังหวะรูปแบบการดีดตัวของราคานี้เพื่อทำกำไรได้



กลยุทธ์ราคาดีดตัวจาก Trend Line



  • ในแนวโน้มราคาขาขึ้น

    ราคาจะเคลื่อนตัวอยู่เหนือเส้น Trend Line และเมื่อราคาเริ่มบีบและฟอร์มตัวเข้าใกล้เส้น Trend Line ด้วยรูปแบบราคา เช่น ฟอร์มตัวเป็นรูปธง มีแนวโน้มที่ราคาจะดีดตัวหรือ สามเหลี่ยม มีแนวโน้มที่ราคาจะดีดตัวจากเส้น Trend Line ขึ้นไป นักเทรดสามารถจับจังหวะที่ราคาเบรกรูปแบบการฟอร์มตัวของราคาและเข้าซื้อ (Long) เพื่อคาดหวังกำไรจากการดีดของราคาในขาขึ้นได้


  • ในแนวโน้มราคาขาลง

    ราคาจะเคลื่อนตัวอยู่ใต้เส้น Trend Line และเมื่อราคาเริ่มบีบและฟอร์มตัวเข้าใกล้เส้น Trend Line ด้วยรูปแบบราคา เช่น ฟอร์มตัวเป็นรูปธง หรือ สามเหลี่ยม มีแนวโน้มที่ราคาจะดีดตัวจากเส้น Trend Line ลงมา นักเทรดสามารถจับจังหวะที่ราคาเบรกรูปแบบการฟอร์มตัวของราคาและขาย (Short) เพื่อคาดหวังกำไรจากการดีดของราคาในขาลงได้

ข้อควรระวัง: ราคาหลุด Trend Line ที่ไม่จริง (False Breakout) และวิธีเอาตัวรอด

การเบรกเอาท์ของราคาที่ไม่จริง (False Breakout) คือ การเบรกเอาท์ของราคาจากเส้น Trend Line ซึ่งควรเปลี่ยนแนวโน้มเป็นแนวโน้มใหม่ แต่ราคาได้กลับมาเคลื่อนที่ต่อในแนวโน้มเดิม ทำให้นักเทรดที่ใช้กลยุทธ์การเทรดบนการเบรกเอาท์ต้องตัดขาดทุน


การหลีกเลี่ยงการเทรดบนการเบรกเอาท์ของราคาที่ไม่จริง (False Breakout) ทำได้ด้วยการสังเกตรายละเอียดของการเบรกเอาท์ของราคา เช่น


1. การเบรกเอาท์ที่ดีต้องมาพร้อมวอลุ่ม

เพราะการเบรกเอาท์ของราคาหมายถึงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่ควรถูกยืนยันด้วยความเห็นของนักเทรดจำนวนมาก ซึ่งสามารถยืนยันได้ด้วยปริมาณการซื้อขาย การเบรกเอาท์ที่มาพร้อมปริมาณการซื้อขายจำนวนมากจะเป็นการเบรกเอาท์ที่แข็งแกร่ง ขณะที่การเบรกเอาท์ที่มีปริมาณการซื้อขายเบาบางมักไม่สามารถฝืนแนวโน้มอยู่ได้นานจนต้องกลับมาเคลื่อนไหวในแนวโน้มเดิมจนเกิดเป็นการเบรกเอาท์ที่ไม่จริง (False Breakout)


2. การเบรกเอาท์ที่ดีควรมีการทดสอบแนวรับแนวต้านเดิมก่อน

การเบรกเอาท์ของราคาเป็นการทำลายแนวรับแนวต้านเดิม แนวรับที่แข็งแกร่งจะกลายเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง ขณะที่แนวต้านที่แข็งแกร่งจะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง ซึ่งควรต้องมีการทดสอบแนวรับแนวต้านเก่าก่อนที่จะเกิดเป็นแนวโน้มใหม่ขึ้นมา


3. นักเทรดอาจใช้เครื่องมือที่หลากหลายขึ้นในการยืนยันการเบรกเอาท์ให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น

เช่น การใช้ MA เพื่อช่วยยืนยันการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มประกอบนอกเหนือไปจากการเบรกเอาท์ Trend Line ของราคา หรือ ใช้สัญญาณ Divergence เพื่อคาดการณ์ความน่าจะเป็นที่ราคาจะเปลี่ยนแปลงแนวโน้มและมีการเบรกเอาท์ของราคาจากแนวโน้มเส้น Trend Line ต่อไป


อย่างไรก็ดีการเบรกเอาท์ของราคาที่ไม่จริง (False Breakout) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปและไม่มีวิธีไหนที่จะสามารถป้องกันได้ 100% เพียงแค่สามารถลดโอกาสในการโดนหลอกด้วยการเพิ่มความแม่นยำและควบคุมความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบในทางลบ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับการเบรกที่ไม่จริงคือการตั้งจุดตัดขาดทุนไว้เพื่อจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นประกอบการเปิดสถานะเสมอ

mitrade    

ทดลองใช้อินดิเคเตอร์ต่างๆ ด้วยเงินเสมือนฟรี $50,000    

   
dago ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
dago เทรดด้วยอัตราทดสูงถึง 1:200    
dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

สรุป

Trend Line คือเครื่องมืออย่างง่ายที่นักลงทุนสามารถนำไปใช้ประกอบการเทรดได้อย่างตรงไปตรงมา Trend Line สามารถสร้างได้จากการลากเส้นเชื่อมจุดสวิงของราคา 3 จุดขึ้นไป ซึ่งเส้น Trend Line ที่ได้จะสามารถบอกแนวโน้มราคา แนวรับแนวต้าน ไปจนถึงการคาดการณ์ราคาในอนาคตได้ แต่ Trend Line ก็ไม่ใช่เครื่องมือครอบจักรวาลเนื่องจากสามารถเกิด


ความคลาดเคลื่อนในการใช้งานได้ เช่น การเกิดการเบรกของราคาที่ไม่จริง นักลงทุนที่นำ Trend Line ไปใช้ประกอบการเทรดจึงควรทำความเข้าใจประโยชน์ของการนำไปใช้และข้อควรระวังเพื่อปิดความเสี่ยงในการเทรดให้เครื่องมือตัวนี้สามารถนำไปใช้เพื่อทำกำไรให้ได้มากและจำกัดความเสี่ยงที่จะขาดทุนให้น้อยที่สุด

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์