CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    มีสัญญาณเศรษฐกิจสำคัญ อะไรบ้าง? ที่บอกว่าควรเริ่มลงทุน

    3 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 06 พ.ย. 2566 06:38 น.

    หลายคนช่วงนี้กังวลภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากช่วงนี้ค่าครองชีพแพงขึ้น จากภาวะน้ำมันและอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟก็แพงขึ้นอยู่ต่อเนื่อง หลายบริษัทใหญ่ๆ ต้องปรับตัว ไล่จำนวนพนักงานออกไปมาก จากการทำรายได้และกำไรไม่เป็นไปตามเป้า  ดัชนีหุ้นทั่วโลกก็ต่างปรับฐานลงมาอย่างต่อเนื่อง


    แล้วเราจึงมีคำถามว่า ช่วงนี้เริ่มลงทุนได้รึยัง?  โอกาสการลงทุนจะมาตอนไหน มีตัวเลขเศรษฐกิจอะไรบ้างที่ต้องติดตาม 


    วันนี้ผมมี 6 ตัวเลขเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ที่จะบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจ ตอนนี้เราควรจะทำอะไร? ลงทุนได้หรือ หรือค่อยๆเก็บสะสมการลงทุน 


    มาดูตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ GDP,อัตราการว่างงาน,เงินเฟ้อ,ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค,ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ และดัชนีการลงทุนภาคเอกชน กันเลยว่ามันคืออะไร? และสำคัญอย่างไร?


    6 ตัวเลขสัญญาณเศรษฐกิจที่สำคัญ

    1. GDP (Gross Domestic Product)

     

    GDP เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศที่คำนวณมาจาก 


    GDP =C+I+G+(X-M)


    ● C = Consumption คือ การใช้จ่ายทั่วไปของคนในประเทศ เช่น อาหาร ยา ปัจจัย 4 

    ●  I = Investment คือ การลงทุนภาคเอกชน เช่น การก่อสร้าง ซื้อเครื่องจักร สร้างโรงงาน ลงทุนโครงการต่างๆ

    ● G = Government Spending คือ ค่าใช้จ่ายของภาครัฐบาล เช่น สร้างถนน สร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ  การเดินทาง ไฟฟ้า 

    ● X-M = X คือ Export M คือ Import  การส่งออกหักด้วยการนำเข้าฃ

     

    จะเห็นได้ว่าตัวเลข GDP จะเป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุดที่บ่งบอกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศในแต่ละปีว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด จากภาคการบริโภคของคนทั่วไป การลงทุนของเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ การนำเข้าส่งออกของธุรกิจ ซึ่งทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบ การจ้างงานต่างๆ 


    โดยหาก GDP เป็นบวกและดูดีขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่า เศรษฐกิจภาพรวมเติบโตขึ้นจากปีก่อน หรือช่วงก่อน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่เราอาจจะเริ่มสะสมลงทุนได้แล้ว 


    แต่ในทางกลับกัน หาก GDP ติดลบและดูลดลงเรื่อยๆ จากช่วงก่อนๆ  หมายความว่า จะบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงักหรือชะลอตัว อาจจะเข้าลดพอร์ตการลงทุนไม่ควรลงทุนมาก เน้นถือเงินสดมากกว่า 


    2. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

    ตัวเลขนี้คำนวณมาจากผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจเทียบกับกำลังแรงงานรวมของแต่ละประเทศนั้นๆ 


    ตัวเลขการว่างงานเป็นตัวเลขที่สำคัญ ที่จะรายงานทุกเดือนของแต่ละประเทศอยู่แล้ว  ซึ่งตัวเลขนี้ในภาพรวมยิ่งน้อยยิ่งดี 


    ถ้าตัวเลขนี้ยิ่งน้อย หมายความว่า ประเทศนั้นมีคนว่างงานน้อย 


    ส่วนใหญ่คนมีงานทำ ทำมาหากินได้ มีเงินใช้


    แต่ในทางกลับกัน ถ้าตัวเลขนี้มาก หมายความว่า คนว่างงานเยอะ เป็นหนี้เยอะ ไม่มีเงินมาผ่อนหนี้สินต่างๆ จะเป็นปัญหาในภาคเศรษฐกิจต่อไป 


    ตัวเลขนี้สามารถบ่งบอกสภาพเศรษฐกิจโดยรวม และแนวโน้มการว่างงานในอนาคตได้ ถ้าเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่กำลังขยายตัว


    อัตราการว่างงานมักจะต่ำ เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ จะทำการขยายงานจึงต้องมีการจ้างงานเพิ่ม เพื่อให้กิจการเติบโต 


    ถ้าตัวเลขนี้มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่ดีในการเริ่มลงทุนนะครับ! 

     

    3. เงินเฟ้อ (Inflation Rate)

    อัตราเงินเฟ้อ คือ ตัวเลขที่บอกการเปลี่ยนของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า  เช่น อัตราเงินเฟ้อ 5%  หมายถึง สินค้าและบริการจากเดิม 100 ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 105


    ซึ่งอัตราเงินเฟ้อคำนวณมาจาก 2 วิธี


    1.ต้นทุนในการผลิตสินค้าที่สูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

    จากต้นทุนสินค้า บริการ น้ำมันแพง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถุดิบแพงมากขึ้น 


    2.ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (Demand-Pull Inflation) จากความต้องการภาคบริโภค

    การที่เงินเฟ้อในไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนในภาวะปัจจุบัน เกิดมาจามต้นทุนสินค้าและบริการที่แพงขึ้น ภาวะพลังงานน้ำมันแพงขึ้น อย่างต่อเนื่อวจึงถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่ไม่ดีเท่าไหร่ 


    เพราะจะทำให้กระทบกับค่าครองชีพ และส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของคนทั่วไป 


    เงินเฟ้อที่ดี ควรมาจากภาวะที่มีความต้องการสินค้าและบริการที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง และไม่สูงเกินไป (มีเงินเฟ้อแบบอ่อนๆ 1-4%) เพราะเงินเฟ้อแบบไม่สูงมากจะทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติได้


    ตัวอย่างธนาคารกลางแห่งประเทศไทย จะควบคุมให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบ 2%  ไม่ให้สูงเกินไป


    มากกว่านี้ หากอัตราเงินเฟ้อขยับสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) ปรับลดลง เช่น หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 1.0% ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อหรือราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 3% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ จะอยู่ที่ -2.0% ต่อปี คือเงินลดลงต่อเนื่องถ้าเราไปฝากธนาคาร เราจึงควรมองหาสินทรัพย์ลงทุนที่ได้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อในระยะยาว  เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ เป็นต้น


    4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index)

    ทำโดยการสำรวจความเห็นของผู้บริโภคจากแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ผ่านความคิดเห็นและทัศนคติต่อมุมมองต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างไร  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือแย่ลง หรือมุมมองต่อการบริโภค จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นหรือไม่ 


    จากนั้นจะนำผลสำรวจมาคำนวณดัชนี โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคนั้นจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 หากตัวเลขมีค่าเกิน 50 คือผู้บริโภคมีความมั่นใจสูง แต่หากตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 50 คือผู้บริโภคมีความมั่นใจต่ำ ในบางกรณีที่เศรษฐกิจของบางประเทศมีการเติบโตดีมากค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็อาจจะเกิน 100 ได้ด้วยเช่นกัน


    ถ้าตัวเลขนี้ที่ดี ควรมากกว่า 50 ขึ้นไปแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะแสดงให้เห็นว่าประเทศนั้น ประชาชนมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจดีขึ้น สามารถจับจ่ายใช้สอยได้ดีขึ้นเรื่อยๆ 


    ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ ที่วัดระดับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสถานะโดยรวมของเศรษฐกิจของประเทศ และรวมไปถึงสถานการณ์ทางการเงินของตนเองด้วย ว่าจะมีมุมมองการใช้เงินอีก 3-6 เดือนข้างหน้าเป็นอย่างไร? และจะส่งผลต่อตัวเลข GDP ในอนาคต


    5. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment Index)

    ทำโดยการสำรวจความเห็นคล้ายๆกับสำรวจของผู้บริโภค แต่จะต่างกันคือสำรวจของของบริษัทจดทะเบียนในประเทศนั้นๆ  รวมไปธุรกิจขนาดเล็ก กลางใหญ่ แทน ในคำถาม 6 ข้อที่สำคัญ ได้แก่ 


    1)ผลประกอบการ

    2)คำสั่งซื้อทั้งหมด

    3)การลงทุน

    4)การจ้างงาน 

    5)ต้นทุนการประกอบการ  

    6)การผลิต 


    รวมไปถึงการแข่งขัน อีกทั้งแนวโน้มธุรกิจในอีก 4-6 เดือนข้างหน้า และสถานะการเงินของบริษัท


    จากนั้นจะนำผลสำรวจมาคำนวณดัชนี โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่น

    ภาคธุรกิจ นั้นจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 หากตัวเลขมีค่าเกิน 50 คือผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจดีขึ้นจากเดิม แต่หากตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 50 คือผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจแย่ลงกว่าเดิม 


    ถ้าตัวเลขนี้ที่ดี ควรมากกว่า 50 ขึ้นไปแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะแสดงให้เห็นว่าประเทศนั้น ภาคธุรกิจมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจดีขึ้น กล้าลงทุนและขยายกิจการ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและสะท้อนไปยังตัวเลข GDP


    6. ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index)

    ดัชนีนี้ที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้ประเมินแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชน โดยมีองค์ประกอบ 5 รายการ ได้แก่ 


    1)พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง 

    2)ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง) 

    3)การนำเข้าสินค้าทุน รวมการซื้อเครื่องบิน หัวจักร แท่นขุดเจาะ

    4)ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักร/อุปกรณ์ในประเทศ 

    5)ปริมาณจำหน่ายยานยนต์เพื่อการลงทุน 


    ผ่านการคำนวณและเทียบกับปีฐาน ตัวอย่างของธนาคารแห่งประเทศไทย ใช่ปีฐาน คือปี 2553 


    ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชน เป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในภาคเอกชน ที่สะท้อนให้เห็น การเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า อย่างแท้จริง


    ถ้าตัวเลขนี้ที่ดีควรขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะแสดงให้เห็นว่าที่ผู้ผลิตภาคเอกชน ขายสินค้าและบริการได้  ทำให้ ผู้ผลิตภาคเอกชนก็มีแนวโน้มที่จะสั่งของมาผลิตเพิ่มขึ้น ซื้อเครื่องจักรหรือขยายโรงงานมากขึ้น มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น 


    แต่ถ้าตัวเลขนี้ลดลงอย่างต่อเนื่องก็อาจหมายถึงมีการชะลอการลงทุน เนื่องจากขายสินค้าและบริการยากขึ้นกว่าเดิม

    อย่างไรก็ตาม การติดตามตัวเลขสัญญาณทางเศรษฐกิจ ทั้ง 6 ตัวเลขนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ต่อแนวโน้มการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจในอนาคต เป็นภาพใหญ่ของภาพรวมเศรษฐกิจ


    สำหรับคนที่อยากเริ่มลงทุนควรมองปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจการลงทุนเพิ่มเติม เช่น ช่วงนี้กลุ่มไหน หรืออุตสาหกรรมลงทุน และบริษัทไหนดี ในอุตสาหกรรมนั้นๆ จะมีผลประกอบการ รายได้และกำไรเติบโตอย่างยั่งยืน 


    ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนลงทุนประสบความสำเร็จครับ พบกันใหม่บทความถัดไปครับ! 

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
    placeholder
    อินดิเคเตอร์หุ้นคืออะไร? อินดิเคเตอร์หุ้น 3 ประเภทที่มีประโยชน์สำหรับการซื้อขายสิ่งชี้วัดหุ้นคืออะไร? สิ่งชี้วัดหุ้นช่วยในการซื้อขายอย่างไร? ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสิ่งชี้วัดหุ้น และทีมงานได้เลือกสิ่งชี้วัดหุ้น 3 อันดับสำหรับคุณ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สิ่งชี้วัดหุ้นคืออะไร? สิ่งชี้วัดหุ้นช่วยในการซื้อขายอย่างไร? ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสิ่งชี้วัดหุ้น และทีมงานได้เลือกสิ่งชี้วัดหุ้น 3 อันดับสำหรับคุณ
    placeholder
    10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2566ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
    placeholder
    กองทุน ETF คืออะไร? ในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน