CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Matic Coin (Polygon) คืออะไร? ดีไหมและน่าลงทุนไหม?

    5 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 12 ต.ค. 2566 03:51 น.

    แต่ถ้าจะถามว่าเหรียญ Matic Coin คืออะไร เราต้องมาทำความเข้าใจกับ Polygon ไว้ด้วย 


    Polygon เป็นเครือข่าย blockchain ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนา dApps (Decentralized Applications) และ smart contract โดยมีการจัดการการทำธุรกรรมแบบ Layer-2


    ซึ่ง Polygon ยังสร้างเหรียญดิจิทัลประจำตัวของตัวเองไว้ นั้นก็คือ Matic Coin นั้นเอง เป็นเหรียญดิจิทัลที่สนับสนุนเครือข่าย MATIC ใช้เป็นการชำระเงินระหว่างผู้ใช้ภายในเครือข่ายนั้นเอง


    ในบทความต่อไปนี้จะเล่ารายละเอียดให้เพื่อนๆ ทุกท่านว่า Matic Coin คืออะไร Polygon ทำงานอย่างไร ทีมงานเบื้องหลัง Polygon ข้อดีและข้อเสียของ Polygon รวมไปถึง Matic Coin ดีไหมและน่าลงทุนไหม ตามมาเลยนะครับ

    Polygon คืออะไร?

    Polygon หรือชื่อที่เรารู้จักกันว่า Matic Network มีเป้าหมายในการเข้ามาเพื่อการใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาปรับปรุงเรื่องความเร็ว ลดต้นทุน และความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมบนเครือข่ายบล็อกเชน 


    โดยมีศูนย์กลางเป็น Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่มีการทำแพลตฟอร์มแบบ Decentralized application (dApp)  หรือ แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ เปิดโอกาสให้นักพัฒนาทุกคนสามารถเข้ามาร่วมพัฒนาใช้งานต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีหลากหลายสิ่งที่น่าสนใจบนบล็อกเชนของ Ethereum เช่นการเข้าร่วมโลก Metaverse, เล่นเกม NFT, ซื้อขายผลงานศิลปะ NFT และบริการทางด้านการเงินที่หลากหลาย แน่นอนว่ากิจกรรมเหล่านี้ทำให้การทำงานบนบล็อกเชนของ Ethereum นั้นสามารถทำงานได้ช้าลง เนื่องจากจำนวนผู้ใช้ที่มากขึ้นทำให้เกิดการติดขัด


    ในส่วนของ Polygon นั้น จึงเกิดมาเป็นเหมือนบล็อกเชนที่เข้ามาสนับสนุนในฝั่ง Ethereum ถือว่าเป็น Solution Layer 2 สำหรับ Ethereum เลยก็ว่าได้ โดย Polygon นั้นจะเข้าม้วยในเรื่อง Scaling หรือการขยายขนาดความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประโยชน์ใช้สอยต่างๆ พยายามให้นักพัฒนา แล้วผู้ใช้งานที่เข้ามาใช้งานบนบล็อกเชน สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และสามารถประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากขึ้นกว่าเดิม

    Matic Coin คืออะไร? ใช้มาทำอะไร?

    Matic Coin


    ในช่วงปี 2021 หลายคนคงเคยเห็นว่ามีหลายโครงการที่ใช้งานร่วมกับ MATIC Network ชื่อเดิมของทาง Polygon ก่อนที่จะมีการรีแบรนด์ใหม่เป็น Polygon ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 ซึ่งอาจจะมีนักลงทุนหลายคนสับสน Polygon จึงตัดสินใจที่จะทำโทเค็นแบบ Utility ขึ้นมาให้รู้ว่าเป็นโครงการเดียวกัน


    เหรียญ MATIC เป็นโทเค็น ERC-20 ถูกสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลายอย่าง โดยหลักๆ แล้วคือการใช้บนระบบนิเวศบล็อกเชนของ Polygon ใช้สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียม หรือค่าแก๊ส รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการกำกับและดูแลเครือข่ายโดยการลงคะแนนเพื่อปรับปรุงระบบต่างๆ หรือที่เรียกว่า Polygon Improvement Proposals (PIPs) 


    การกระจายอุปทานโทเค็น MATIC มีดังนี้:


    ที่ปรึกษา: 4%

    การขายส่วนตัว: 4%

    การทำงานของเครือข่าย: 12%

    ทีม: 16%

    การขาย Launchpad: 19%

    ระบบนิเวศ: 23%

    ผู้ก่อตั้ง: 22%

    ทีมงานเบื้องหลัง Polygon (MATIC)

    ในช่วงแรกที่เรียกว่า Matic Network ถูกก่อตั้งที่อินเดีย โดย Polygon ถูกสร้างขึ้นในเดือนตุลาคม 2017 โดย Jaynti Kanani, Sandeep Nailwal และ Anurag Arjun ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีคริปโตคนแรกของอินเดีย ผู้ก่อตั้งร่วมทั้งสามรายได้พัฒนา Polygon เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม หรือค่าแก๊ส และเครือข่ายที่ค่อนข้างหนาแน่นของ Ethereum เนื่องจากผู้ใช้งานบนบล็อกเชนของ Ethereum ค่อนข้างเยอะ ทำให้เรื่องนี้เป็นข้อด้อยที่เห็นได้ชัดของ Ethereum


    โดยทีมงานที่อยู่เบื้องหลังการในสร้าง Polygon มีผู้ก่อตั้งสามคน ในช่วงแรก คือ


    Jaynti Kanani,Sandeep Nailwal,Anurag Arjun, Mihailo Bjelic ทีมงานเบื้องหลัง Polygon (MATIC)


    Jaynti Kanani ผู้ร่วมก่อตั้ง CEO และวิศวกรซอฟต์แวร์อาวุโส


    Sandeep Nailwal  ผู้ร่วมก่อตั้งซีอีโอ


    Anurag Arjun ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์


    Mihailo Bjelic ผู้ร่วมก่อตั้งและวิศวกรซอฟต์แวร์


    Mihailo Bjelic เป็นคนสุดท้ายที่เพิ่งมาเข้าร่วมบริษัทได้ไม่นานหลังจากที่  Matic ถูกรีแบรนด์เป็น Polygon และกลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคนที่สี่ Polygon อีกทั้งยังมีการร่วมมือกับ Decentraland, Chainlink และ MakerDAO นักลงทุนของบริษัท ได้แก่ Mark Cuban เจ้าของมหาเศรษฐีของทีม NBA Dallas Mavericks อีกด้วย

    Polygon (MATIC) ทำงานอย่างไร?

    รูปแบบการทำงานของ Polygon ทำงานคล้ายกับโปรโตคอล Proof of Stake (PoS) อื่นๆ ในแง่ของโหนดเครือข่าย การกำกับดูแล และฟังก์ชันการทำงานอื่นๆ มาลองดูกันว่าระบบการทำงานแบบละเอียดของ Polygon นั้นมีวธีการทำงานอย่างไร

     

    ●  ระบบการทำงานแบบ Proof of Stake

    แพลตฟอร์มของ Polygon ใช้ระบบแบบ Proof of Stake ซึ่งอาศัยจากการตรวจสอบโหนดเพื่อตรวจสอบการทำธุรกรรมบนเครือข่ายบล็อกเชน แทนที่จะพึ่งพา Proof of Work (PoW) แบบดั้งเดิม Polygon เลือกที่จะใช้ระบบนี้เพื่อเพิ่มพลังในการประมวลผลจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างบล็อกใหม่


    ความแตกต่างหลักคือแทนที่จะต้องทำงาน (งานคำนวณในอัลกอริทึม PoW) ใน PoS ผู้ถือโทเค็นจะตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม


    Polygon เป็นแพลตฟอร์มหลายระดับที่มีเป้าหมายในการขยายขนาด Ethereum ด้วย sidechains มากมาย หากใครที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับ sidechains นั้น sidechains เป็นระบบบล็อกเชนที่ไม่ซ้ำใคร ทำการผูกกับบล็อคเชน Ethereum เป็นหลัก และมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนโปรโตคอล Decentralized Finance (DeFi) จำนวนมากที่มีอยู่ใน Ethereum ด้วยเหตุนี้ Polygon จึงสามารถเปรียบเทียบกับเครือข่ายบล็อกเชนคู่แข่งอื่นๆ ได้ เช่น Polkadot, Cosmos และ Avalanche เป็นต้น


    ระบบนิเวศ Proof of Stake ของ Polygon ทำงานโดยให้รางวัลผู้ใช้ด้วย MATIC ซึ่งเป็นโทเค็นดั้งเดิมของโปรโตคอล โดยมีเงื่อนไขในการรับ MATIC ผุ้ใช้งานสามารถจำเป็นต้องเลือกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งตามนี้:


    เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมบนบล็อกเชน ในฐานะผู้ตรวจสอบโหนด โดยผู้ใช้งานจะได้รับโดยเป็นในส่วนของค่าธรรมเนียม และ การสร้างเหรียญ MATIC ขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้งานทำผิดกฎที่ตั้งไว้ หรือเกิดข้อผิดพลาด ผู้ใช้งานจะถูกตัดสิทธิ์โดยการไม่ได้รับผลตอบแทนในส่วนนั้นไป


    มาเป็นผู้มอบสิทธิ์ ในฐานะผู้มอบสิทธิ์ ผู้ใช้งานจะได้รับ MATIC ของผู้อื่น และนำมาใช้เพื่อช่วยเครือข่ายดำเนินการตรวจสอบ Proof of Stake ยิ่งผลตอบแทนมากเท่าไร อำนาจการลงคะแนนของผู้มอบสิทธิ์ก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น สิ่งนี้ง่ายกว่าการเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง แต่ก็มาพร้อมกับความท้าทายด้วย

     

    ●  Polygon Bridge

    หากผู้ใช้งานต้องการโอนเงินจากเครือข่าย Ethereum ไปยัง Polygon คุณต้องใช้ Proof of Stake Bridge ซึ่งเป็นชุดคำสั่งของ Smart Contract ที่ช่วยดำเนินการโอนสินทรัพย์จาก Ethereum Mainnet ไปยัง Polygon sidechain


    สะพาน Proof of Stake ถือเป็นแกนหลักในการโอนสินทรัพย์จาก Ethereum ไปยัง Polygon หลังจากนั้นถึงจะใช้เงินในส่วนนี้เพื่อใช้งานกับแอพ และบล็อคเชนบนระบบนิเวศของ Polygon ได้ แน่นอนว่าผู้ใช้งานจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเป็น ETH ซึ่งอาจมีราคาแพง แต่เมื่อเรา Polygon แล้วนั้นก็ไม่ต้องก่วงอีกต่อไป เพราะค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมจะถูกมาก มีมูลค่าน้อยกว่าหนึ่งดอลลาร์

     

    ●  Polygon Protocol

    Polygon Protocol เชื่อมต่อบล็อกเชนแบบ Polygon ทั้งหมดเข้าด้วยกันกับเครือข่าย Ethereum นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบสามารถเข้าถึง Ethereum เพื่อยังสามารถรักษาความปลอดภัยไว้ได้

     

    ●  ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Polygon (SDK)

    ในช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2021 Polygon ได้ประกาศ Polygon Software Development Kit (SDK) ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์แบบ Plug and Play ที่จะสามารถช่วยให้นักพัฒนาได้มีโอกาสพัฒนาบล็อกเชน และ dApps ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


    แนวคิดหลักคือการทำให้ Ethereum เป็นระบบ Multi-Chain ที่สมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีอยู่แล้ว แต่ยังถือว่ามีข้อจำกัดบางส่วนอยู่ในปัจจุบัน ทำให้นักพัฒนาที่เข้ามาบนระบบของบล็อกเชน Ethereum นั้นทำงานได้ยากขึ้น


    Polygon จึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมระบบนิเวศด้วย Polygon SDK ตามหลักแนวคิดทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน:


    1. ความเข้ากันได้ของ Ethereum

    2. Modularity (การแยกส่วน)

    3. ความสามารถในการขยาย


    ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ Polygon เป็นเฟรมเวิร์กที่ยืดหยุ่นสำหรับนักพัฒนา ที่,ความต้องการจะทำงานกับบล็อกชนของ Ethereum

     

    Polygon SDK แบ่งออกเป็นสองเวอร์ชั่นด้วยกัน เวอร์ชั่นแรกรองรับเชนStand Alone ที่เข้ากันได้กับ Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่มีอำนาจสูงสุดในการดูแลโมดูลและความปลอดภัย กลุ่มเหล่านี้สามารถใช้สะพานรูปหลายเหลี่ยมเพื่อสื่อสารกับ Ethereum (เช่น การโอนสินทรัพย์หรือส่งข้อความตามอำเภอใจ) โดยที่ยังคงความเป็นอิสระ ส่วนในเวอร์ชันที่สอง เราจะเห็นการสนับสนุนสำหรับเชนประเภทอื่นๆ เช่น Layer 2 พร้อมชุดโมดูลและเครื่องมือของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับนักพัฒนา

    Polygon โดดเด่นอย่างไร?

    อะไรทำให้ Polygon โดดเด่นกว่าคู่แข่งใน Layer 2 Polygon เป็นเครือข่ายเดียวที่อนุญาตให้ใช้โทเค็น MATIC บนบล็อกเชนของ Polygon ที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับดอกเบี้ยทุกปีเพื่อช่วยตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมบนบล็อคเชน Polygon ยังมีโซลูชันสำหรับผู้ใช้ทุกวัน นักพัฒนา และองค์กร วัตถุประสงค์หลักของ Polygon คือการสร้าง Internet of Things (IoT) สำหรับ Ethereum blockchain โปรเจ็กต์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายขนาด Ethereum เป็นหนึ่งพันล้านผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียสละการกระจายอำนาจ และยังปลอดภัยอยู่


    สิ่งที่ทำให้ Polygon แตกต่างไปจากจากโซลูชัน Layer 2 อื่นๆ คือ แนวทาง Polygon มอบโซลูชันมากมายให้กับนักพัฒนา ช่วยให้นักพัฒนาสามารถควบคุมและปรับแต่งได้ในระดับที่สูงขึ้นเมื่อเลือกโซลูชันการปรับขนาดที่เหมาะสมกับ DApp บนบล็อกเชนของ Polygon นักพัฒนาสามารถเลือกระหว่าง zk-rollups หรือ rollups ได้ พวกเขาอาจเลือกใช้ Polygon Avail แทน ซึ่งเป็นบล็อกเชนสำหรับข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงสำหรับเชนแบบ standalone chains, sidechains and off-chain scaling solutions.

    DApps ที่นิยมบนบล็อกเชนของ Polygon?

    ●  SushiSwap

    การแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจบน Ethereum (DEX) ซึ่งทำงานเป็น Automated Market Maker (AMM)


    ●  Curve Finance

    แหล่งรวมสภาพคล่องในการแลกเปลี่ยนบน Ethereum ที่ให้การซื้อขาย stablecoin ที่ราบรื่นและมีความเสี่ยงต่ำ


    ●  1 inch

    ตัวรวบรวม DEX ที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมสภาพคล่องระหว่างโปรโตคอล DeFi ต่างๆ ให้ผู้ใช้มีสภาพคล่องที่ดีที่สุดบน Ethereum, Binance Smart Chain (BSC), Polygon และอื่นๆ


    ●  Aave

    โปรโตคอลการรวมผลตอบแทนที่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมคริปโต เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการทำ Flash Lending


    ●  QuickSwap

    การแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจที่ทำงานบนเครือข่าย Polygon สามารถทำทำธุรกรรมได้รวดเร็ว และค่าธรรมเนียมต่ำ

    ข้อดีและข้อเสียของ Polygon

    หลายคนอาจจะกำลังสงสัยเกี่ยวกับจุดแข็ง และจุดอ่อนที่สำคัญของ Polygon โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนที่กำลังพิจารณาซื้อ MATIC ควรลองอ่านข้อมูลต่อไปนี้ เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจข้อดี และข้อเสียของ Polygon ก่อนที่จะเลือกลงทุน

     

    ●  ข้อดีของ Polygon

    -  ความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว:

    โดยใช้กลไกของ Proof of Sake ที่ทำให้กระบวนการยืนยันธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ในบล็อกเดียว Polygon สามารถรักษาความเร็วในการประมวลผล

    ธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว เวลาประมวลผลบล็อกเฉลี่ยของรูปหลายเหลี่ยมคือ 2.1 วินาที.10 ซึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่าการรูปแบบ Proof of work


    -  ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่ำมาก:

    Polygon เก็บค่าธรรมเนียมสำหรับในการใช้แพลตฟอร์มค่อนข้างต่ำ โดยมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมปกติประมาณ 0.01 ดอลลาร์

    ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างเป็นข้อดีสำคัญที่ Polygon ทำออกมาได้ดี

     

    ●  ข้อเสียของ Polygon

    -  ไม่ใช่ระบบบล็อกเชนแบบอัตโนมัติ:

    Polygon เป็นโซลูชันเลเยอร์ 2 ที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม Ethereum หากแพลตฟอร์ม Ethereum เกิดมีปัญหาการเกิดขึ้น หรือมีข้อผิดพลาดที่ต้องทำให้บล็อกเชนหยุดชะงักอย่างรุนแรงหรือยุติลง  Polygon อาจสูญเสียมูลค่าของมันไปได้


    -  การใช้งานที่ค่อนข้างจำกัดสำหรับ MATIC:

    โทเค็น MATIC ได้รับการออกแบบมาเพื่อควบคุม และรักษาความปลอดภัยแพลตฟอร์ม Polygon และชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ไม่เหมือนกับสกุลเงินดิจิทัลบางสกุล MATIC ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้สำหรับการซื้อของทั่วไปในชีวิตประจำวัน

    Polygon vs. Ethereum

    Ethereum อยู่ในอันดับที่ 2 และ Polygon อยู่ในอันดับที่ 9 ตามมูลค่าราคาตลาดของ CoinmatketCap


    Polygon และ Ethereum เป็นสองสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในขณะที่ Ethereum อยู่ในอันดับที่ #2 ต่อจาก Bitcoin Polygon นั้นเองก็อยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเหรียญนี้ติดอยู่ในรายชื่อ 10 อันดับแรกของสกุลเงินดิจิทัลตามมูลค่าราคาตลาดของ CoinmatketCap (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) ซึ่งทั้งสกุลเงิน และเครือข่ายบล็อกเชนมีฟังก์ชันเฉพาะของตนเองและให้บริการตามวัตถุประสงค์


    Polygon นั้นเข้ามาเป็นโซลูชันการปรับขนาด และเสริมระบบบล็อกเชนของ Ethereum โดยที่ Polygon ตั้งเป้าที่จะปรับปรุง Ethereum ในฐานะเครือข่ายการพัฒนาบล็อคเชน โดยพัฒนาคุณสมบัติเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย การทำธุรกรรมให้รวดเร็วขึ้น อำนาจอธิปไตยของบล็อกเชน ประสบการณ์ของผู้ใช้และนักพัฒนา และโมดูลาร์


    ปัจจุบัน Ethereum ใช้กลไกการพิสูจน์ข้อตกลงร่วมกันแบบ Proof of work และกำลังค่อยๆ เปลี่ยนไปใช้ระบบแบบ Proof of stake ด้าน Polygon ใช้กลไกแบบ Proof of stake ซึ่งในส่วนนี้จึงสามารถช่วยให้ธุรกรรมสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และราคาถูกลง ทำให้ส่งผลดีต่อผู้เข้ามาใช้งานมากขึ้น

    การวิเคราะห์แนวโน้มราคาเหรียญ Matic

    เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในช่วงปี 2021 ที่ผ่าน สกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ล้วนแต่มีการทำจุดราคาสูงสุดกันเป็นจำนวนมาก และถูกพูดถึงเป็นวงว้างด้วยเช่นกัน สำหรับเหรียญ Matic ก็เป็นอีกหนึ่งเหรียยที่น่าจับตามอง ด้วยพื้นฐานเหรียญที่มีความน่าสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว


    ในประเด็นนี้ทางผู้เขียนจะพาทุกคนมาดูการวิเคราะห์ราคาเหรียญ Matic ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2023 และดูการคาดการ์ณราคาเหรียญ Matic 2024 แบบภาพรวมว่ามีความน่านสนใจและน่าลงทุนหรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


    การคาดการ์ณราคาเหรียญ Matic ในเดือนตุลาคม 2023

    นักวิเคราะห์ Crypto ได้ตรวจสอบความผันผวนของราคาของ Polygon ในปี 2023 และในปีก่อนหน้า ดังนั้นอัตรา MATIC เฉลี่ยที่พวกเขาคาดการณ์อาจอยู่ที่ประมาณ $0.77 ในเดือนตุลาคม 2023 และอาจลดลงเหลือ $0.73 เป็นขั้นต่ำ ค่าสูงสุดอาจเป็น $0.81


    การคาดการ์ณราคาเหรียญ Matic ในเดือนพฤศจิกายน 2023

    จะเห็นได้ว่าในช่วงกลางปี 2566 ราคา MATIC จะมีการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ $0.79 ดังนั้นในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2023 อาจเห็นมูลค่าราคาเหรียญเพิ่มขึ้นเป็น $0.84 ทั้งนี้มีการสันนิษฐานเบื้องต้นว่าราคาจะไม่ลดลงต่ำกว่า $0.76 ในเดือนนี้นั่นเอง


    การคาดการ์ณราคาเหรียญ Matic ในเดือนธันวาคม 2023

    ในสิ้นปีนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญด้าน Crypto ได้วิเคราะห์ราคาค่าเฉลี่ยการซื้อขายโดยประมาณสำหรับเดือนธันวาคม 2023 จะอยู่ที่ $0.82 อัตรามูลค่าการซื้อขาย MATIC ต่ำสุดจะอยู่ที่ระดับราคา $0.79 และมูลค่าการซื้อขายสูงสุดอาจเป็น $0.87 นั่นเอง

     

    การคาดการ์ณราคาเหรียญ Matic ในปี 2024

    หลังจากวิเคราะห์ราคาของ Polygon ในปี 2023 ที่ผ่านมาแล้วนั้น ทางนักวิเคราะห์ได้มีการสันนิษฐานว่าในปี 2024 ราคาขั้นต่ำของ Polygon จะอยู่ที่ประมาณ $1.15 ราคา MATIC ที่คาดหวังสูงสุดอาจอยู่ที่ประมาณ $$1.37 โดยเฉลี่ยแล้วราคาซื้อขายอาจอยู่ที่ 1.18 ดอลลาร์ในปี 2023 ทังนี้ราคามีการคาดการ์ณราคาเหรีญทั้ง 12 เดือนของปี 2024 ดังรูปภาพข้างล่างดังนี้ 


    การวิเคราะห์การราคาเหรียญ Matic

    (ที่มาของรูปภาพและการวิเคราะห์การราคาเหรียญ Matic www.chanely.com)

    เหรียญ Matic ยังน่าลงทุนหรือไม่?

    จากสถานการ์ณตลาดในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าราคาเหรียญยังคงมีความผันผวนสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะไม่เหมาะสมต่อการลงทุนในระยะสั้นสักเท่าไหร่ ทั้งนี้หากนักลงทุนมีความสนใจที่อยากลองลงในระยะยาวอาจจะต้องติดตามสถานการ์ณตลาดตลอดจนถึงข่าวสารจากทีมงานว่าจะมีการพัฒนาโปรเจกต์อะไรใหม่ๆเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหากพิจาณาในปัจจัยทางพื้นฐานของแพลตฟอร์มก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าสนใจในการลงทุนในอนาคต 

    illustration เทรด Matic Coin กับโบรกเกอร์ชั้นนำในโลก! เปิดบบัญชีจริง เปิดบบัญชี Demo ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำเลเวอเรจที่ยืดหยุ่นเปิดบัญชีได้ง่ายและเร็วภายใน 3 นาทีกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่มีอำนาจฟรีเงินเสมือนจริง $50,000

    อ้างอิง


    What is Polygon (MATIC) — ‘Ethereum’s internet of blockchains’?

    Is Polygon (MATIC) a Good Crypto Investment?

    What Is Polygon (MATIC)? Definition, Strengths, and Weaknesses

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    ขุด Bitcoin ยังไง?วิธีขุด Bitcoin สำหรับมือใหม่ 2024 หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาคำตอบว่าต้องขุด Bitcoin ยังไง ก็ตามมาเลย เพราะในบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีขุด Bitcoin สำหรับมือใหม่ 2023 ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาคำตอบว่าต้องขุด Bitcoin ยังไง ก็ตามมาเลย เพราะในบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีขุด Bitcoin สำหรับมือใหม่ 2023 ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว!
    placeholder
    Ethereum(ETH) คืออะไร? ทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้Ethereum คือ Programmable Blockchain หรือแพลตฟอร์ม Blockchain ที่รองรับแอพริเคชั่นหลากหลายด้วยการใช้ Smart contract รองรับการมาของ Web3 ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเรา
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    Ethereum คือ Programmable Blockchain หรือแพลตฟอร์ม Blockchain ที่รองรับแอพริเคชั่นหลากหลายด้วยการใช้ Smart contract รองรับการมาของ Web3 ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเรา
    placeholder
    เหรียญ IOST คืออะไร? ดีไหม? การวิเคราะห์แนวโน้ม IOST COINIOST คืออะไร? IOST ย่อมาจาก ‘Internet of Service Token’ โดยมีจุดมุ่งหมายแรกว่าจะเป็นผู้ให้บริการบล็อคเชนบนอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งพร้อมรับการเข้ามาใช้เป็นจำนวณมาก (Scalability)
    ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
    IOST คืออะไร? IOST ย่อมาจาก ‘Internet of Service Token’ โดยมีจุดมุ่งหมายแรกว่าจะเป็นผู้ให้บริการบล็อคเชนบนอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งพร้อมรับการเข้ามาใช้เป็นจำนวณมาก (Scalability)
    placeholder
    Stellar Lumens คืออะไรและแนวโน้มเหรียญ XLM ในปี 2023 เป็นอย่างไรในบทความนี้เราพร้อมที่จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Stellar Lumens หรือ XLM Coin คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2023 เหรียญ XLM น่าลงทุนหรือไม่
    ผู้เขียน  ชัญญาพัชร์ ประวาสุขInsights
    ในบทความนี้เราพร้อมที่จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Stellar Lumens หรือ XLM Coin คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไรบ้าง มีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2023 เหรียญ XLM น่าลงทุนหรือไม่
    placeholder
    Solana(SOL) คืออะไร? เหรียญ SOL ดีไหม? อนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง?Solana เหรียญสาย Smart Contract น้องใหม่ไฟแรงที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Solana(SOL) คืออะไร เหรียญ SOL ดีไหมและอนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง
    ผู้เขียน  ภัสนัย จิรฤกษ์มงคลInsights
    Solana เหรียญสาย Smart Contract น้องใหม่ไฟแรงที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามาสำรวจกันว่า Solana(SOL) คืออะไร เหรียญ SOL ดีไหมและอนาคตของเหรียญ SOL จะเป็นไงบ้าง
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์