หากสงครามและโรคระบาดเป็นสาเหตุให้อาณาจักรอันเกรียงไกรล่มสลายลงได้ฉันใด วิกฤตเศรษฐกิจและการพุ่งทะยานของเงินเฟ้อก็ทำให้สกุลเงินหนึ่ง ๆ ล่มสลายลงได้ฉันนั้น เรื่องราวของวิกฤตเศรษฐกิจและเงินเฟ้อมีปรากฏเป็นที่กล่าวขวัญอยู่บ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ จากเงินโบลิวาร์ของเวเนซูเอลา ย้อนไปจนถึงเงินมาร์คของเยอรมัน ล่วงเลยไปจนถึงเงินกระดาษในราชวงศ์ซ่งของจีน ที่การล่มสลายของเงินตราก่อให้เกิดความยากลำบากของผู้คน เศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ไปจนถึงการล่มสลายของค่าเงินในที่สุด แต่เงินเฟ้อคืออะไร? สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อคืออะไร? เงินเฟ้อน่ากลัวอย่างที่ใครต่อใครกล่าวถึงหรือไม่ และจะมีวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างไร? ทั้งหมดเป็นคำถามที่เราจะมาหาคำตอบกันในคราวนี้
ภาพแรกที่เรามักคิดถึงเงินเฟ้อมักจะเป็นภาพที่มีคนแบกเงินฟ่อนโต ๆ ไปแลกอาหารหรือของใช้ เป็นภาพที่ผู้คนมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นในแบบที่ถึงมีเงินมากแต่ก็ซื้ออะไรได้ไม่มากนัก ซึ่งกระทบความรู้สึกของผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก แต่นั่นก็เป็นเพียงด้านหนึ่งของเงินเฟ้อเท่านั้น เป็นภาวะเงินเฟ้อแบบสุดขั้วที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวด (Hyper-Inflation) ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และการเกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็กระทบต่อระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง
แท้จริงแล้วภาวะเงินเฟ้อไม่จำเป็นต้องรุนแรงถึงขั้นนั้นจึงจะเรียกได้ว่าเป็นภาวะเงินเฟ้อ ในความเป็นจริงเงินเฟ้ออยู่กับเราในชีวิตประจำวันและใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ตัวอย่างเช่นราคาค่าขนส่งสาธารณะที่มีการปรับราคาขึ้นทุกปี รวมถึงราคาวัตถุดิบอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่ และอาหารสำเร็จรูปที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน นั่นก็เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเฟ้อขนาดย่อม ๆ ได้เหมือนกัน
มาถึงตรงนี้หลายท่านอาจจะเริ่มสงสัยว่าตกลงเงินเฟ้อคืออะไรกันแน่ เพื่อจะตอบคำถามนั้นเราลองมาดูที่คำนิยามตั้งต้นกันก่อน
ความหมายของเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลต่อฐานะและความเป็นอยู่ของคนโดยทั่วไป จากนิยามนี้ แค่ราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้น ก็เรียกได้ว่าเป็นเงินเฟ้ออ่อน ๆ แล้ว ดังที่เราเคยได้ยินหน่วยงานทางเศรษฐกิจออกมาประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทุกปีที่ราว 1-3 เปอร์เซนต์ นั่นหมายความว่าราคาสินค้าและบริการทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้วเฉลี่ย 1-3 เปอร์เซ็นต์ และหมายถึงอำนาจในการซื้อของเงินลดลง 1-3 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน
เงินเฟ้อสรุปง่ายๆ ก็คือดัชนีชี้วัดการปรับขึ้นของราคาสินค้าในหน่วยสกุลเงินหนึ่ง ๆ ซึ่งมองในมุมกลับ เมื่อต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเท่าเดิม เงินเฟ้อจึงกลายเป็น ดัชนีชี้วัดการลดลงของอำนาจในการซื้อของเงินสกุลหนึ่ง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
เงินเฟ้อเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับค่าเงินที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดและประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เงินตราเป็นสิ่งที่ยึดโยงอยู่กับสังคมและอิงอาศัยกับความเชื่อ (trust) หากไม่มีการแทรกแซงจากมนุษย์ เงินเฟ้อก็ยังจะเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับเหตุการณ์ทางสังคมอื่น ๆ ทั่วไป แต่อีกทางหนึ่งเงินเฟ้อก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการควบคุมของมนุษย์หรือการกำหนดนโยบายของรัฐบาลด้วยเช่นกัน แต่เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์เราจะกล่าวถึงสาเหตุภาวะเงินเฟ้อในแบบที่มันเป็น (as it is) คือการเกิดขึ้นจากการล้นเกินของกำลังซื้อนั่นเอง (Excess Demand)
การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าใดก็ตามเกิดขึ้นจากภาวะล้นเกินของกำลังซื้อ (Excess Demand) ที่ผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก (Demand Side) หรือ ผู้ผลิตต้องการขายสินค้าและบริการนั้นลดลง (Supply Side) เมื่อนำแนวคิดนี้มาใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ ก็ทำให้เรามองสาเหตุของเงินเฟ้อได้ทั้งจากฝั่งผู้ซื้อสินค้าและฝั่งผู้ผลิตสินค้า
เงินเฟ้อที่เกิดจากฝั่งผู้ซื้อ เกิดจากการดึงขึ้นของกำลังซื้อ Demand-Pull Effect เป็นการเพิ่มขึ้นของความต้องการซื้ออย่ากะทันหัน ในขณะที่เราไม่สามารถเพิ่มการผลิตได้ในระยะสั้น ทำให้เกิดความต้องการสินค้าส่วนเกินจนนำไปสู่การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าทั่วไป กรณีนี้เห็นได้ชัดในช่วงเวลาที่บ้านเมืองเกิดสงคราม ปัจจัยด้านอาหารและเชื้อเพลิงในการขนส่งจะถูกใช้ไปในกิจกรรมทางกองทัพอย่างมหาศาล ทำให้เกิดการแย่งสินค้าออกจากระบบ เมื่อสินค้าในระบบน้อยลง คนจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากขึ้นเพื่อแย่งกันซื้อสินค้าเหล่านั้น นำไปสู่การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าทั่วไป
อีกกรณีหนึ่ง การเกิด fiat money หรือ เงินกระดาษ ก็จัดอยู่ในส่วนของ Demand Pull Effect นี้เช่นกัน การเกิด fiat money คือ เหตุการณ์ที่ค่าเงินหนึ่ง ๆ สูญเสียความเชื่อมั่นว่าจะยังคงมูลค่าตามที่ตราไว้ที่ธนบัตรได้อยู่หรือไม่ เหตุการณ์นี้อาจเกิดจากภาวะล้มละลายทางการคลังของรัฐบาล หรือการที่พิมพ์เงินออกมาหมุนเวียนในระบบ (Money Supply) มากเกินไป จนทำให้มูลค่าสินทรัพย์ที่หนุนหลังเงินสกุลนั้นอยู่มีค่าไม่มากเมื่อเทียบกับมูลค่าเงินที่พิมพ์ออกมาใช้ ทำให้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากขึ้นในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นสินค้า เกิดเป็นภาวะเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบ และในขั้นเลวร้าย หากสกุลเงินนั้น ๆ ไม่เหลือมูลค่า ก็จะกลายเป็นกระดาษเปล่าไป เช่น เงินสกุลมาร์คของเยอรมันในช่วงหลังสงครามโลกนั่นเอง
เงินเฟ้อที่เกิดจากฝั่งผู้ผลิต เกิดจาก การผลักกลับของต้นทุนการผลิต Cost-Push Effect เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในกรณีนี้มีสาเหตุมาจากฝั่งการผลิต (Supply) เป็นการปรับตัวขึ้นของราคาต้นทุนการผลิตอย่างกะทันหัน ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องผลักภาระไปยังผู้บริโภคโดยการปรับเพิ่มราคาขายสินค้าและบริการ จนนำไปสู่การปรับขึ้นของราคาสินค้าทั่วไปในที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น ในภาวะที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตหลักในการผลิตสินค้าเกือบทุกประเภทเนื่องจากเป็นต้นทุนหลักของพลังงานและการขนส่ง เมื่อน้ำมันแพงขึ้นต้นทุนการผลิตสินค้าก็สูงขึ้นทำให้กำไรของผู้ขายลดลงจนอาจถึงขั้นขาดทุน วิธีที่ยังทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้คือการผลักภาระนี้ไปให้กับผู้ซื้อด้วยการปรับขึ้นราคาขายสินค้า และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากคาราน้ำมันคือสินค้าเกือบทุกชนิดในตลาด ทำให้เกิดการปรับตัวสูงขึ้นของสินค้าเป็นวงกว้าง อันเป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นในที่สุด
อีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ คือ การปรับขึ้นของค่าจ้างแรงงานและแรงงานเป็นปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการส่วนมากในระบบเศรษฐกิจเช่นกัน เมื่อผู้ผลิตผลักต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นไปให้กับผู้บริโภค ก็ทำให้เกิดการปรับตัวสูงขึ้นของราคาเป็นวงกว้างเช่นกัน
สังเกตได้ว่าทั้งการเกิด Cost-Push Effect และ Demand-Pull Effect ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า ไม่เพียงเท่านั้น การปรับเพิ่มของราคาสินค้าจำเป็นต้องเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คน นั่นจึงเป็นปัจจัยที่กระทบต่อการคำนวนเงินเฟ้อ ซึ่งหากเป็นการปรับขึ้นของราคาสินค้าเป็นส่วน ๆ และเป็นส่วนที่ไม่ได้กระทบต่อคนทั่วไป เช่น การปรับเพิ่มของราคาตั๋วเครื่องบินเนื่องจากการ disrupt ของวิกฤตเศรษฐกิจจะไม่นับเป็นปัจจัยที่ทำให้การคำนวณเงินเฟ้อเปลี่ยนไป เพราะเป็นการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า/บริการที่ไม่ได้กระทบต่อคนทั่วไปนั่นเอง
และสาเหตุสุดท้าย Built-In Effect เป็นการเกิดขึ้นของเงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยทั้งสองอย่างข้างต้น คือ เกิดการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าทั่วไป ทำให้ต้นทุนการใช้ชีวิตของคนสูงขึ้น ต้องใช้เงินในการซื้อหาอาหารและปัจจัยที่สูงขึ้น นำไปสู่การเรียกร้องขอขึ้นค่าแรง เมื่อค่าแรงปรับสูงขึ้นส่งผลกลับไปให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นไปอีก และเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นก็จะวนกลับไปยังจุดแรกที่ทำให้ต้นทุนการใช้ชีวิตของคน นำไปสู่การเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้นไม่สิ้นสุด วงจรนี้หากดำเนินต่อไปจะทำให้เกิดการปรับตัวขึ้นของสินค้าและบริการไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งแสดงถึงอำนาจซื้อของสกุลเงินหนึ่ง ๆ เสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว
การปรับตัวสูงขึ้นของเงินเฟ้อแสดงภาวะของราคาสินค้าที่สูงขึ้น เงินเฟ้ออ่อน ๆ แสดงถึงการจับจ่ายใช้สอยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน และทำให้เงินที่ฝากออมไว้เสื่อมมูลค่าไปในระดับที่ทำให้คนส่วนหนึ่งเลือกที่จะนำเงินไปลงทุนมากกว่าเก็บออมไว้เฉย ๆ ด้วยเหตุนี้ เงินเฟ้อในระดับที่ควบคุมได้มักส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขับเคลื่อนไปได้ แต่ภาวะความไม่ปกติที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจนทำให้เงินเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลต่อความเชื่อมั่นนั้นเป็นอันตรายต่อระบบการเงิน ทั้งราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นยังกระทบต่อต้นทุนการใช้ชีวิตของผู้คนด้วย
จากที่กล่าวถึงในส่วนที่แล้วจะเห็นได้ว่าเงินเฟ้อเกิดจากปัจจัยในภาพใหญ่ (เศรษฐกิจมหภาค) ลำพังคนเล็กคนน้อยไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและกระทบคนเป็นวงกว้างแบบนี้ได้ ทำให้ผู้ที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อในแต่ละครั้งจึงเป็นธนาคารกลาง และ รัฐบาลของแต่ละประเทศ
การแก้ปัญหาเงินเฟ้อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมองจากสาเหตุการเกิดขึ้นเป็นหลัก เช่น หากมีเงินเฟ้อในระบบอันเนื่องมาจากมีปริมาณเงินหมุนเวียนมาก หรือ มีความต้องการซื้อสินค้าและบริการสูงขึ้น ผู้กำหนดนโยบายอย่างธนาคารกลางมักใช้เครื่องมือทางการเงิน (Monetary Policy) เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบโดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อจูงใจให้คนเลือกออมมากขึ้น และลดการใช้จ่ายลง ซึ่งจะบรรเทาความต้องการซื้อของผู้คน รวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าได้
ในอีกกรณีหนึ่ง หากเงินเฟ้อเกิดขึ้นจากปัญหาด้าน Supply หรือต้นทุนการผลิต มักเป็นรัฐบาลที่เข้ามาแทรกแซงระบบด้วยนโยบายทางการคลังเพื่อบรรเทาปัญหานี้ เช่น ในปี 2004 ราคาน้ำมันทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เนื่องจากสงครามที่อเมริกาประกาศต่ออิรัก เป็นผลให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นวงกว้าง ปีนั้นรัฐบาลไทยตัดสินใจจัดตั้งกองทุนเพื่อพยุงราคาน้ำมันขึ้นโดยใช้เงินในกองทุนสนับสนุนให้ราคาน้ำมันในประเทศซื้อขายได้ถูกลง และเก็บภาษีน้ำมันคืนกลับกองทุนในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวลง ซึ่งเป็นการบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อในระดับสูงได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ไม่ให้การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนเกินไปนัก
การเกิดขึ้นของเงินเฟ้อไม่ได้กระทบแค่ความเป็นอยู่ของผู้คนและระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมากต่อนักลงทุน เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคา หากมองในมุมกลับก็อนุมานได้ว่าเป็นการเสื่อมค่าลงของเงินตราสกุลนั้น ๆ เช่น กาแฟเคยขายแก้วละ 20 บาท ต่อมาสังเกตว่าร้านขึ้นราคาเป็น 25 บาททั้ง ๆ ที่ปริมาณยังคงเท่าเดิม นั่นหมายความว่าเพื่อให้ได้สินค้าเท่าเดิมเราต้องจ่ายเงินมากขึ้น และจะมากขึ้นทุกปีตามระดับเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งนั่นคือเหตุผลหลักที่ผู้เชี่ยวชาญไม่แนะนำให้นักลงทุนถือเงินสด เพราะแค่การถือเงินสดก็ทำให้ขาดทุนได้แล้วด้วยอำนาจของเงินเฟ้อ
คำถามคือ ในมุมของนักลงทุนเราควรจะรับมือกับการเสื่อมค่าของเงิน หรือภาวะเงินเฟ้อนี้อย่างไร? คำตอบของคำถามนี้ง่ายมาก คือ การลงทุน
เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อเป็นการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าแสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า การลงทุนในสินทรัพย์เช่น หุ้นสามัญและสินค้าโภคภัณฑ์จะทำให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นและวัฏจักรทางเศรษฐกิจที่ยังดำเนินต่อไป
แต่เมื่อเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวขึ้นในระดับสูงจนกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การถือหุ้นสามัญหรือสินค้าโภคภัณฑ์อาจไม่ตอบโจทย์การลงทุนเนื่องจากราคาที่สูงขึ้นจะทำให้ปริมาณการซื้อขายบางส่วนลดลงจนกระทบกับผลกำไร การเลือกลงทุนในสินทรัพย์เช่น อสังหาริมทรัพย์หรือทองคำจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า เนื่องจากสินทรัพย์ทั้งสองอย่างนี้มักปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับเงินเฟ้อ และสามารถรักษาความมั่งคั่งของนักลงทุนไว้ได้ และมักเป็นตัวเลือกต้น ๆ ที่นักลงทุนใช้ในการ Hedge พอร์ตการลงทุนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจนทำให้เงินสกุลหนึ่ง ๆ เสื่อมค่าลง นับเป็นโอกาสให้นักลงทุนแสวงหากำไรจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ และเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นต้องปรับพอร์ตเพื่อประกันความเสี่ยงให้ดีเพื่อป้องกันการเสื่อมค่าจนกลายเป็นสูญค่าได้ และแม้จะมีเงินทุนไม่มาก ด้วยการเลือกเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพนักลงทุนก็สามารถ Hedge พอร์ตการลงทุนและสร้างผลกำไรได้ และในกรณีนี้ทางทีมงานมีวิธีที่นักลงทุนนำมาปรับใช้เป็นตัวเลือกสำหรับพอร์ตและการลงทุนของตัวเองได้ คือ การเก็งกำไรในค่าเงิน และการสะสมทองคำ ด้วยเครื่องมือ CFD
CFD(Contract for Difference) หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยขยายกำลังซื้อให้กับนักลงทุนด้วยการใช้เงินจำนวนน้อยเพื่อขยายโอกาสในการทำกำไร และสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งสำหรับการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ วิธีแรกที่กล่าวถึงคือการเก็งกำไรในค่าเงิน หากนักลงทุนเล็งเห็นสกุลเงินใดที่มีอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างผิดสังเกต นั่นมายความว่าอำนาจในการซื้อของเงินสกุลนั้นกำลังลดลง และหากสถานการณ์ยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เงินสกุลนั้นก็จะเสื่อมค่าลงไปเรื่อย ๆ และสิ่งที่นักลงทุนควรทำคือการ ขาย เงินตราสกุลนั้น ๆ หรือการเปิด Short สัญญาซื้อขายส่วนต่างของเงินสกุลนั้น ๆ เพื่อการเก็งกำไร
แต่หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนั้นวิเคราะห์ยากว่าสกุลเงินใดที่กำลังเสื่อมค่าลง แต่เป็นการเกิดเงินเฟ้อที่กระจายไปทั่วโลก นักลงทุนสามารถ Hedge พอร์ตการลงทุนด้วยการใช้เงินเพียงเล็กน้อยซื้อทองคำในสัดส่วนที่ประกันความเสี่ยงของพอร์ตไว้ได้ หรือที่เรียกว่าเป็นการซื้อสัญญาซื้อขายส่วนต่างของทองคำ หรือ ซื้อ Gold CFD ติดพอร์ตเอาไว้นั่นเอง
▼ เทรดกับโบรกเกอร์ชั้นนำด้วยค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ▼
- บวก/ลบ สูงสุด
- ฟอเร็กซ์
- สินค้าโภคภัณฑ์
- ดัชนี
- สกุลเงินดิจิตอล
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเงินเฟ้อเป็นสถานการณ์ที่ใกล้ตัวนักลงทุนมากกว่าที่คิด และยังมีอำนาจทำให้เงินที่เราถือครองเสื่อมมูลค่าลงไปทุกวัน ซึ่งคงไม่ดีแน่หากนักลงทุนจะพลาดการหาข้อมูลเรื่องนี้ไป ซึ่งทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่ออ่านมาจบครบถึงตรงนี้ นักลงทุนคงได้เห็นแล้วว่าเงินเฟ้อคืออะไร สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อมีอะไรบ้าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อเงินเฟ้อเงินเฟ้อกันอย่างไร และในฐานะนักลงทุนเราควรประเมินสถานการณ์การลงทุนท่ามกลางเงินเฟ้อและรักษามูลค่าของสินทรัพย์ที่มีในพอร์ตได้อย่างไร ซึ่งหากนักลงทุนเข้าใจธรรมชาติของเงินเฟ้อเหล่านี้ได้ ไม่ว่าท่านจะตั้งเป้าหมายการลงทุนเพียงการเอาชนะเงินเฟ้อและรักษามูลค่าของสินทรัพย์ไว้ หรือต้องการทำกำไรปลูกเงินทุนให้งอกเงยท่ามกลางภาวะราคาสินค้าปรับตัวสูงจนกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ เป้าหมายเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เป็นไปไม่ได้เลย
���
ทำไมเทรดกับ MiTrade
★ MiTrade เป็นโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลียที่ให้บริการ CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) ผ่านระบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง MiTrade กวาดมาแล้วทั้ง 'รางวัลแพลตฟอร์มเทรดบนมือถือที่ดีที่สุด' จาก Forex Awards ในปี 2019, 'รางวัลโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่เติบโตเร็วสุดในออสเตรเลีย' จากนิตยสาร International Business ในปี 2019 / 2020 , 'รางวัลแอพพลิเคชั่นเทรดฟอเร็กซ์ที่ดีที่สุดในออสเตรเลีย' จากนิตยสาร International Business ในปี 2020 และ 'รางวัลโบรกเกอร์ที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยม' จากเว็บไซต์ FxDailyInfo ในปี 2020
★ MiTrade เป็นโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ เนื่องจาก MiTrade ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การควบคุมของ Australian Securities and Investments Commission (ASIC) และถือ Australian Financial Services Licence (AFSL 398528) การซื้อขายและการจัดการต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของทาง ASIC(วิธีการตรวจโบรกเกอร์ CFD)
และเงินทุนของท่านจะถูกเก็บแยกไว้ในบัญชีประเภททรัสต์ภายใต้ข้อกำหนดของประเทศออสเตรเลีย
★ ระบบป้องกันยอดคงเหลือติดลบและเครื่องมือจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ให้ใช้ฟรี เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมความเสียงในการเทรดได้มากขึ้น
★ อำนวยเครื่องมือการเทรดต่างๆ ให้ใช้ฟรี เช่น อินดิเคเตอร์ทางเทคนิค, ปฏิทินทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
★ แพลตฟอร์มการเทรดที่พัฒนาขึ้นมาเอง ใช้งานที่เรียบง่าย เหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่อย่างมาก
★ เจ้าหน้าที่คนไทยคอยให้บริการ 24 ชั่วโมง 5 วันทำการเพื่อแก้ปัญหาและให้คำแนะนำ
★ เลเวอเรจสูง
★ เงินฝากขั้นต่ำ $50 ดอลล่าร์
★ ขนาดซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 ล็อต
★ ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำ
ยังมือใหม่? ไม่เป็นไร! MiTrade ได้จัดบัญชีทดลองเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 USD เพื่อให้ท่านฝึกฝนทักษะการเทรดโดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง CFD อาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
เนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำการลงทุนได้ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้นและผู้อ่านไม่ควรใช้บทความนี้เป็นพื้นฐานการลงทุนใด ๆ Mitrade ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใด ๆ ตามบทความนี้และไม่รับประกันความถูกต้องของเนื้อหาของบทความนี้