
หากพูดถึงเครื่องมือสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องทำความรู้จักและฝึกให้คุ้นชินไว้ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นแพลตฟอร์มการเทรดที ่จะเป็นทั้งตัวกลางในการส่งคำสั่งเปิดปิดสถานะ เป็นตัวสนับสนุนข้อมูลสำคัญอย่างกราฟราคา คอยแจ้งเตือนข้อมูล รวมไปถึงการประมวลประวัติการเทรดการเทรดของเทรดเดอร์ ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้มีให้เลือกใช้มากมาย แต่ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคงเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง MT4 หรือ Meta Trader 4 ซึ่งหากใครยังสงสัยว่า MT4 คืออะไรและวิธีใช้ MT4 เป็นยังไง คราวนี้เราจะมาแนะนำพร้อมลงรายละเอียดอย่างเจาะลึกให้แล้ว ตามไปดูกันได้เลย
MT4 คืออะไร?
MetaTrader 4 หรือ MT4 เป็นแพลตฟอร์มการเทรดที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2005 โดยบริษัท MetaQuotes ในปัจจุบัน MT4 ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้บน Mac, Window, รวมถึงแอปพลิเคชั่นบนมือถือ และกลายมาเป็นแพลตฟอร์มการเทรดที่รู้จักกันดีในหมู่นักเทรดค่าเงิน แต่แม้ว่าจะมีภาพลักษณ์แบบนั้นเทรดเดอร์ก็ยังใช้ MT4 เป็นแพลตฟอร์มการเทรดสินค้าอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ค่าเงิน ดัชนี สกุลเงินดิจิตอล และสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในรูปของสัญญาซื้อขายส่วนต่างราคา หรือ CFDs
เหตุผลที่ MT4 ได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์ทั่วโลกก็คงหนีไม่พ้นฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรสนิยมและความถนัดของเทรดเดอร์แต่ละคนได้ และยังสามารถประยุกต์ใช้เข้ากับ automate trading ซึ่งเป็นการใช้อัลกอริทึมมาส่งคำสั่งเปิดปิดสถานะด้วยการเซ็ตคาพารามิเตอร์แทนที่การเทรดของบุคคลได้
จะเริ่มต้นใช้ MT4 ได้ยังไง
ไม่ว่าคุณจะมีพื้นฐานการใช้กราฟวิเคราะห์ราคามาก่อนหรือไม่ ขอมีแค่มีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชั่นอยู่บ้าง การนำโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่น MT4 มาใช้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หลังจากติดตั้งโปรแกรมและล็อกอินเข้าใช้งานแล้ว เราก็พร้อมสำหรับการเซ็ตอัปขั้นต่อไป
1. สำรวจฟังก์ชั่นการใช้งาน
เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะพบหน้าต่างแสดงแถบเครื่องมือดังนี้
กรอบที่ 1 แสดงกรอบเครื่องมือ ที่เอาไว้ใช้เพิ่มกราฟ การจัดการการหน้าจอ การส่งคำสั่งซื้อขาย การเพิ่ม/ปรับเครื่องมือในกราฟราคา รูปแบบกราฟ Timdframe ฯลฯ
กรอบที่ 2 Market Watch ใช้ดูการเคลื่อนไหวราคาสินค้าต่าง ๆ ที่ลิสต์ไว้
กรอบที่ 3 Navigator เป็นหน้าต่างแสดงข้อมูลบัญชีผู้ใช้ อินดิเคเตอร์ที่ใส่ลงในกราฟราคา แสดงบอทและสคริปที่เปิดใช้งาน
กรอบที่ 4 กราฟราคา ใช้สำหรับดูแนวโน้มราคาสินทรัพย์แต่ละตัว โดยสามารถเพิ่มอินดิเคเตอร์และวาดแนวโน้มลงบนกราฟนี้ได้โดยจะแนะนำการใช้เครื่องมือนี้ในขั้นต่อไป
กรอบที่ 5 Termianl หน้าต่างที่แสดงคำสั่งที่ยังเปิดสถานะอยู่และข้อมูลสถานะเงินทุนในบัญชี รวมถึงประวัติการเทรด EA รายละเอียด Login และ error ต่าง ๆ
2. คำสั่งเปิดปิดสถานะ
เมื่อทำความรู้จักหน้าตาแพลตฟอร์มคร่าว ๆ แล้ว ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือฟังก์ชั่นการส่งคำสั่งเปิดปิดสถานะ สำหรับ MT4 มีคำสั่งเปิดปิดสถานะซื้อขายให้เราเลือกอยู่ 4 แบบ ซึ่งฟังก์ชั่นการใช้งาน มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันออกไป ซึ่งเวลาเปิดปิดสถานะนอกจากที่เทรดเดอร์จะเลือกปริมาณการซื้อขายแล้ว ก็ควรทำความรู้จักกับฟังก์ชั่นการเปิดปิดสถานะนี้เอาไว้ด้วย
การเปิดสถานะให้คลิก New Order บนแถบเครื่องมือ (1) หรือกด F9 หรือ คลิกขวาที่หน้าจอกราฟราคา เลือก Trading >> New Order จะพบกรอบหน้าต่างให้ปรับค่า
- Market Execution ฟังก์ชั่นนี้เป็นการส่งออเดอร์ทันทีที่ราคาตลาด โดยหากเทรดเดอร์ส่งคำสั่ง Long สถานะจะแมทช์ที่ราคา Ask, และหากเทรดเดอร์ส่งคำสั่ง Short สถานะก็จะแมทช์ทันทีที่ราคา Bid โดยการใช้คำสั่งเปิด/ปิดสถานะแบบนี้มีข้อดีตรงที่จะสามารถเปิดสถานะได้ทันที แต่ก็มีข้อเสียที่ไม่สามารถเลือกราคาที่จะเปิดสถานะได้ เพราะจะบังคับเปิด/ปิดที่ราคาตลาดตอนนั้น ๆ นั่นเอง
- Pending Orders คือการตั้งราคารอไว้เพื่อให้ราคาปรับตัวจนมาแมทช์กับสถานะ ข้อดีของวิธีนี้คือเทรดเดอร์สามารถเลือกราคาและต่อรองเพื่อให้ได้ราคาที่ดีได้ แต่ข้อเสียคือมีความไม่แน่นอนว่าสถานะที่ตั้งไว้อาจไม่ถูกแมทช์เปิด/ปิดสถานะได้หากราคาปรับตัวไปไม่ถึง
- Stop Orders เป็นฟังก์ชั่นการตั้งปิดสถานะแบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่สามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ได้หากออเดอร์มีกำไร แต่จะตั้งรอไว้สำหรับการขายตัดขาดทุน เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาไหลจนทำให้เกิดผลขาดทุนไปมากกว่าที่เทรดเดอร์รับได้ต่อออเดอร์หนึ่ง ๆ ฟังก์ชั่นนี้จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือควบคุมความเสี่ยงอย่างง่ายสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้ในการเทรด CFD
- Trailing Stop เป็นฟังก์ชั่นที่ตั้งการปิดสถานะไว้แบบอัตโนมัติ แต่จะสามารถใช้ได้ในกรณีที่สถานะมีผลกำไรและต้องการล็อกผลกำไรเอาไว้ โดยฟังก์ชั่นนี้จะคำนวนจากราคาสูงสุดหรือต่ำสุดของสินค้าลบด้วยจำนวน pip ที่กำหนดไว้ โดยฟังก์ชั่นนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์ปิดสถานะได้ในราคาที่ดีพอสมควร (ขึ้นอยู่กับการตั้งจำนวน pip)
3. การเพิ่มอินดิเคเตอร์และการวาดกราฟ
MT4 มีอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่ติดมากับโปรแกรมกว่า 30 ตัว เทรดเดอร์สามารถเลือกนำมาใส่ในกราฟราคาได้ โดยการกดเลือก Indicator List ในกรอบเครื่องมือพื้นฐาน (1) แล้วเลือกอินดิเคเตอร์ตัวที่ต้องการใช้ หรือหากต้องการอินดิเคเตอร์เพิ่มเติมก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งเพิ่มเติมได้อีกกว่า 2,000 ชนิด เช่นเดียวกับการวาด Object ที่สามารถคลิกเลือกบนกรอบเครื่องมือเดียวกันวาดลงบนกราฟได้เลย
4. การดึงรายงานสรุปการเทรด
ให้เลือกแถบ Account History ในกรอบ Terminal (5) เมื่อคลิกขวาจะมีตัวเลือกว่าต้องการให้แสดงข้อมูลประวัติการเทรดในช่วงเวลาไหน เมื่อเลือกได้เรียบร้อยให้คลิกขวาที่กรอบเครื่องมืออีกครั้ง เลือก Save as Report เทรดเดอร์ก็สามารถเก็บข้อมูลการเทรดของตัวเองเพื่อนำมาวิเคราะห์ performace การเทรดในภายหลังได้
จุดอ่อนและข้อได้เปรียบของ MT4
จากที่ผ่านมาเราคงเห็นกันคร่าว ๆ ไปบ้างแล้วว่าโปรแกรม MT4 คืออะไร ใช้ยังไง และหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง แต่ถึงโปรแกรมนี้จะเป็นที่นิยมของเทรดเดอร์ ก็ใช่ว่าจะมีข้อดีที่เพียบพร้อมไปเสียหมด และแน่นอนว่าก็ไม่ได้มีแต่จุดอ่อน ดังนั้นเรามาดูกันต่อเลยว่า MT4 นั้นมีข้อได้เปรียบจากแพลตฟอร์มการเทรดอื่น ๆ อย่างไร หรือมีจุดอ่อนอย่างไร เพื่อให้ได้นำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกใช้กัน
1. ข้อได้เปรียบของ MT4
● เป็นเครื่องมือที่ปรับแต่งและประยุกต์ได้หลากหลาย จากฟังก์ชันมากมายให้เทรดเดอร์ได้ทำให้สามารถปรับแต่งเครื่องมือให้มีความเฉพาะตัวกับเทรดเดอร์แต่ละคนได้อย่างเฉพาะตัวที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่งเลย
● ใช้ทรัพยากรในการประมวลผลไม่มาก สำหรับ Window MT4 เรียกร้องสเป็กเครื่องที่ Windows 2000 หรือใหม่กว่า ด้วยความเร็ว CPU 2.0 ขึ้นไป, แรมอย่างน้อย 512 MB หรือหากให้ดีควรเป็น 1 GB, หน้าจอควรมี screen resolution ที่ 1024 x 768 หรือมากกว่าและเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตความเร็ว 56 kbps ขึ้นไป
● มีฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ด้อยไปกว่าแพลตฟอร์มการเทรดอื่น ๆ สามาถใช้ได้ทั้งบน Mac, Window, iOs และ Android
2. จุดอ่อนของ MT4
● ข้อมูลที่นำมาใช้ทำ Backtest มีคุณภาพไม่สูงนัก การใช้ MT4 ทดสอบประสิทธิภาพของ EA ก่อนนำมาใช้งานจึงอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ โดยข้อมูลในอดีตที่นำมาทำ Backtest ใน MT4 นั้นเชื่อถือได้เพียง 90% เท่านั้น
● ความเร็วในการส่งออเดอร์ยังไม่ถือว่าเร็วมาก ทำให้ MT4 ไม่เหมาะกับการใช้สำหรับระบบเทรดที่ใช้ความเร็วในการซื้อขายสูง (high-frequency trading)
● กราฟราคาไม่เปิดให้เทรดเดอร์ปรับแต่งช่วง Time Frame เอง จึงมีเลือกเพียงแค่ 1 นาที, 5 นาที, 15 นาที, 30 นาที, 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน เท่านั้น
แพลตฟอร์มทางเลือกนอกเหนือจาก MT4
หากไม่นับรวมแพลตฟอร์มการเทรดอย่าง MT4 แล้ว ในการเทรดค่าเงินยังมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ ให้เทรดเดอร์ได้เลือกใช้ตามความถนัด ตัวอย่างเช่น
1. MT5
MT5 หรือ Meta Trader 5 เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาต่อมาจาก MT4 โดยเพิ่มความเข้มงวดด้านกฎระเบียบตามกฎ NFA และมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเทรดเดอร์ด้วยการปิดจุดอ่อนของ MT4 ทำให้มีประสิทธิภาพและความเร็วในการเทรดเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังมีฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้เทรดเดอร์ได้เลือกปรับเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
จากเดิม MT4 มี Time Frame ให้เลือกเพียง 9 แบบ แต่ MT5 ปรับให้เลือกได้ถึง 21 แบบ ปิดกราฟราคาได้กว่า 100 กราฟ และปรับความเร็วในการส่งข้อมูลให้มีความเร็วมากขึ้น เชื่อมต่อเซิร์ฝเวอร์ได้เร็วและเสถียรกว่า ขณะเดียวกันก็เรียกร้องสเป็ก RAM และ CPU เพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้านการทำ Backtest ข้อมูลที่นำมาทำ Backtest ใน MT5 นั้นมีความถี่สูงมากและเชื่อถือได้กว่า 100% ทำให้การ Backtest บน MT5 มีความน่าเชื่อถือได้มากกว่า โดยรวมแล้ว MT5 มีการพัฒนาฟังก์ชั่นให้เลือกใช้ได้หลากหลายกว่า TM4 แต่ก็จะมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบที่มากขึ้น จึงอาจทำให้เทรดเดอร์ไม่ค่อยสะดวกใจที่จะใช้นัก
2. Zulutrade
เป็นแพลตฟอร์มการเทรดแบบ Copy Trade โดยที่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องส่งคำสั่งซื้อขายเอง แต่ระบบจะมีการส่งคำสั่งตามระบบที่อ้างอิงไว้ ซึ่ง Zulutrade นี้จะเป็นเหมือนสื่อกลางให้เทรดเดอร์ทั่วไปสามารถส่งคำสั่งเดียวกับเทรดเดอร์มืออาชีพได้ ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างตอบโจทย์นักลงทุนรายย่อยที่ไม่มีเวลาจัดการพอร์ตการลงทุนเอง แต่ข้อเสียนั้นก็คือหากต้องการกลับมาเทรดเอง แพลตฟอร์มของ Zulutrade อาจไม่ได้มีฟังก์ชันสนับสนุนการเทรดมากเหมือนแพลตฟอร์มอื่น ๆ
3. cTrader
เป็นอีกแพลตฟอร์มการเทรดที่เทรดเดอร์ทั่วโลกนิยมเลือกใช้ ซึ่งนอกจากรูปแบบอินเตอร์เฟซที่ปรับใช้ได้หลากหลายแล้ว การใช้ cTrader ยังมีจุดเด่นที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ตรงที่ cTrader สามารถส่งคำสั่งเข้าสู่พูลคำสั่งซื้อขายของสถาบันการเงินได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องผ่าน Dealing Desk ของโบรกเกอร์ ทำให้เทรดเดอร์สามารถเห็นราคาแบบเรียลไทม์และเห็นความลึกรวมถึงปริมาณซื้อขายที่แท้จริงของตลาดได้
แต่ด้วยความได้เปรียบแบบนี้ทำให้ cTrader เรียกร้องหน่วยประมวลผลมากกว่าการทำงานของ MT4 คือแนะนำให้ใช้ CPU แบบ Dual-Core, RAM 4GB, และควรใช้ระบบ Window หรือ MacOs เวอร์ชั่นล่าสุด
4. MiTrade
แพลตฟอร์ม MiTrade ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะจากโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลียอย่าง MiTrade จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือ
● มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่ายไม่ซับซ้อน ด้วยกราฟเทคนิคที่ปรับ Time Frame ได้หลากหลายกว่า MT4 และสามารถเพิ่มเติมเสริมวัตถุ เทรนด์ไลน์ หรือแม้แต่อินดิเคเตอร์ได้เพียงแค่ปรับหน้าจอเท่านั้น
● มีการส่งออเดอร์ที่รวดเร็วและทันเวลา ทำให้เทรดเดอร์ไม่พลาดโอกาสดีๆ ในการเทรด ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การเทรดที่เหนือกว่าความเร็วของ MT4
● ไม่มีค่าคอมมิชชั่น สเปรดต่ำ MiTrade จะไม่เก็บค่าคอมมิชชั่น และด้วยสเปรดที่ต่ำมาก ทำให้เทรดเดอร์สามารถลดต้นทุนในการเทรดได้
● มีฟังก์ชั่นการควบคุมความเสี่ยง อย่าง Stop Loss และ Trailing Stop ให้ใช้เช่นเดียวกับ MT4 บนการจัดการข้อมูลภายใต้ระบบ SSL-encrypted ที่มีความปลอดภัยสูง
● แพลตฟอร์มนี้ยังได้รับรางวัลมากมาย รวมถึง แพลตฟอร์มเทรดบนมือถือที่ดีที่สุดจาก Forex Awards ในปี 2019 และ 2020, รางวัลแอพพลิเคชั่นเทรดฟอเร็กซ์ที่ดีที่สุดในออสเตรเลียจาก International Business Magazine ในปี 2020 อีกด้วย
● สำหรับลูกค้าใหม่ MiTrade มีบัญชีเทรดทดลองด้วยเงินเสมือนจริง 50,000 USD ให้เทรดเดอร์สามารถฝึกฝนคุ้นเคยการใช้ฟังค์ชั่น เครื่องมือต่างๆ และทำการเทรดของ MiTrade โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ
● มีการเริ่มต้นเทรดง่ายและเร็ว ต่างจากการเปิดบัญชี MT4 ที่การเปิดบัญชีกับ MiTrade ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถฝากเงินและเริ่มต้นเทรดได้ ซึ่งจะประยัดเวลากว่ามาก





คราวนี้เราก็ได้มาทำความรู้จักกับ MT4 ได้รู้ว่า MT4 คืออะไรและวิธีใช้ MT4 เป็นยังไง และสำหรับผู้ที่กำลังคิดตัดสินใจเริ่มใช้ MT4 หรือเลือกแพลตฟอร์มการเทรดอยู่ก็น่าจะได้ไอเดียสำหรับเลือกแพลตฟอร์มในการเทรดของตัวเองบ้างแล้ว แต่การเลือกใช้แพลตฟอร์มนั้นก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นและส่วนเล็ก ๆ ของการเทรดเท่านั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการคิดวางแผน กำหนดกลยุทธ์ และเริ่มทดลองเทรดจริง ๆ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน