เทรดฟอเร็กซ์ การเทรด สกุลเงินดิจิตอล สินค้าโภคภัณฑ์ CFD ดัชนี การลุงทุน แพลตฟอร์มการเทรด เรียนรู้การเทรด มุมมองเชิงลึก หุ้น

เทรด Forex ทองคำ Bitcoin และตราสารอื่น ๆ ออนไลน์

ปลดล็อคการลงทุน วิธีซื้อพันธบัตรรัฐบาลล่าสุดปี 2563

พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นหน่วยการลงทุนที่ได้รับคำแนะนำมากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะความเสี่ยงที่ต่ำ รายได้พอเหมาะพอดี ซึ่งในแต่ละปี รัฐบาลจะออกพันธบัตรมาให้นักลงทุนได้ซื้อ ในปี 2563 รัฐบาลได้ออกพันธบัตรใหม่ แต่หลายคนยังไม่รู้ว่า วิธีซื้อพันธบัตรรัฐบาลล่าสุดปี 2563 จะต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอะไรบ้าง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน เราจึงมาทำการศึกษาร่วมกัน 


สำหรับผู้สนใจการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลว่า พันธบัตรนี้คืออะไร รายได้มาจากตรงไหน และในปี 2563 รัฐบาลได้ออกพันธบัตรรัฐบาลตัวไหนบ้าง และ วิธีการซื้อพันธบัตรรัฐบาลปี 2563 มีขั้นตอนอย่างไร เงินลงทุนขั้นต่ำต้องใช้เท่าไหร่ วันนี้เราจะมีคำตอบให้ทุกท่านครับ

เนื้อหาบทความ [ซ่อน]
รู้จักกับ พันธบัตรรัฐบาล

ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนต้องเคยได้ยินคำเชื้อเชิญให้ลงทุนใน พันธบัตรรัฐบาลกันแล้ว โดยส่วนตัว ผมคุ้นเคยกับคำนี้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่เชื่อไหมครับ ผมไม่เคยมีประสบการณ์การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนานมาก จนพึ่งได้ศึกษาและลงทุนมาเมื่อไม่กี่ปี จึงรู้ว่า คนไทยเสียโอกาสด้านการออมและการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้น เพื่อเป็นการง่ายสำหรับคุณผู้อ่านทุกท่าน ผมจึงขอปูเรื่องราวตั้งแต่พื้นฐานเลยนะครับ


    พันธบัตร เอาความหมายตามภาษาราชการ คือ หน่วยการลงทุนทางการเงินในกลุ่มตราสารหนี้ โดยผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารจะมีฐานะเป็นลูกหนี้ พันธบัตรจึงถือเป็น ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ในรูปแบบตราสารหนี้ที่มีความปลดภัยในการลงทุนเป็นอันดับต้น ๆ โดยมีผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากประจำ โดยสามารถแบ่งรูปแบบพันธบัตรได้เป็นสองประเภทดังนี้


  ●   พันธบัตรรัฐบาล ( Government Bond ) หรือเขียนด้วยภาษาสวย ๆ  ว่า “ตราสารหนี้รัฐบาล “  ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือ หน่วยงานภาครัฐ เน้นให้ประชาชนเข้ามาลงทุนในหน่วยการลงทุนที่ภาครัฐเป็นผู้จัดการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อระดมทุนในงานของภาครัฐ ซึ่งจะมีผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยปันผล และการขายพันธบัตรคืนเมื่อครบอายุสัญญาการถือครอง โดยปกติ พันธบัตรรัฐบาล จะมีอายุการถือครองสั้น เช่น 2 ปี หรือ 3 ปี บางครั้ง จะออกจำหน่ายในชื่อ “ ตั๋วเงินคลัง “ ครับ


  ●    พันธบัตรที่ออกโดยภาคเอกชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ กู้ยืมเงินจากประชาชนไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ บางครั้งเรียกว่า “ หุ้นกู้ “ ก็มี โดยมีอัตราการถือครองพันธบัตรค่อนข้างยาว เท่าที่เคยเห็นมีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 15 ปี โดยมีผลตอบแทนเป็นผลกำไรคล้ายบัญชีเงินฝาก แต่มีมูลค่าที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ บางตัว ให้อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 5% เลยทีเดียว และเมื่อครบสัญญา สามารถนำหุ้นกู้ตัวนี้ไปขายคืน ก็สามารถได้กำไรจากราคาหุ้นกู้อีก


พันธบัตรที่ออกโดยภาคเอกชน

สรุปง่าย ๆ คือ พันธบัตรรัฐบาลคือ หนังสือกู้ยืมเงินระหว่าง ผู้ออกพันธบัตร ในที่นี้คือ รัฐบาล หรือหน่วยงานเอกชน  ที่ขอยืมเงินลงทุน จากผู้ซื้อพันธบัตร คือประชาชนคนทั่วไป เพื่อนำไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งถ้าเปรียบความสัมพันธ์ของผู้ออกพันธบัตร กับผู้ซื้อ คือ ผู้ออกพันธบัตรเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ซื้อพันธบัตรเป็นเจ้าหนี้ พันธบัตร เป็นเหมือนหนังสือสัญญากู้ยืมว่า ขอยืมเงินไปเท่านี้นะ โดยรัฐ หรือ เอกชนจะใช้คืนให้ในอัตราดอกเบี้ยปันผลเท่านี้ในระยะเวลากี่ปี และเมื่อครบสัญญาก็จะให้เงินต้นคืนพร้อมติดปลายนวมด้วยผลกำไรอีกนิดหน่อย ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมาก โอกาสขาดทุนแทบเรียกได้ว่าปิดประตูกันไปเลยทีเดียว แต่การขายพันธบัตร ไม่ได้เปิดขายตลอดเวลานะครับ จะมีประกาศและระยะเวลาการขายซึ่งเราต้องติดตามข่าวสารของพันธบัตรรัฐบาลครับ


รูปแบบผลตอบแทนของพันธบัตร

หลายคนคงเริ่มสนใจละใช่ไหมครับ ออ พันธบัตรรัฐบาล คือการให้รัฐบาลยืมเงินเรานี่เอง ( ฮึ ฮึ โอกาสอยู่เหนือรัฐบาลมาแล้ว ) แถมโดนคาถา “ การลงทุนความเสี่ยงต่ำมาก “ ยิ่งทำให้รู้สึกปลอดภัย พร้อมโยกเงินในบัญชีไปลงทุนในพันธบัตรกัน  แต่เอ จะให้ดีกว่านี้ ถ้าได้รู้ว่ารายได้นั้นมาจากไหน ที่สำคัญ จะได้เมื่อไหร่ นี่คือเรื่องสำคัญ บางคนอยากได้ผลตอบแทนทุกปี บางคนอยากได้ผลตอบแทนเป็นก้อนทีเดียว แล้วพันธบัตรเขาจะให้ผลตอบแทนแบบไหน เรามาดูรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนการลงทุนในพันธบัตรกันก่อนนะครับ


  ●   การจ่ายผลตอบแทนด้วย ดอกเบี้ย เหมือนการกู้เงินทั่วไปครับ รายได้หลักของการให้ยืมเงินก็คือดอกเบี้ย รายได้ของผู้ถือพันธบัตร คือ ดอกเบี้ยที่ผู้ยืมเงิน คือ รัฐบาล หรือ หน่วยงานเอกชนสัญญาว่าจะให้แก่ผู้ถือพันธบัตร ตามระยะเวลาที่ถือครองพันธบัตรไว้ แต่ตรงนี้ มีจุดที่ต้องพิจารณานะครับ นั่นคือ พันธบัตรใดก็ตามที่มีอายุการถือครองน้อยกว่า 1 ปี จะไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยครับ ผลกำไรที่ได้มาจากการขายพันธบัตรคืนเมื่อถึงเวลาครบกำหนดการถือครองพันธบัตร การจ่ายผลตอบแทนด้วย ดอกเบี้ย มักอยู่ในการลงทุนในพันธบัตรที่มีระยะเวลาค่อนข้างนาน อย่างต่ำประมาณ 2 ปีขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นกับมาตรการที่ผู้ขายพันธบัตรออกมา ถ้าคุณคิดทำกำไรกับอัตราดอกเบี้ยแล้ว จงมาองหา ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยให้ดีว่ามีหรือไม่


  ●   การจ่ายผลตอบแทนด้วยการรับซื้อพันธบัตรคืน นี่คือผลตอบแทนหลักจริง ๆ เลยก็ว่าได้ เมื่อผู้ออกพันธบัตรยืมเงินเราไปลงทุนแล้ว ได้ผลกำไรกลับมา เขาก็จะกลับมารับซื้อพันธบัตรเราคืน ตามระยะเวลาที่เขาบอกไว้ว่า ขอเวลา 2 ปี  3 ปีนะ ฉันจะคืนเงินให้เธอ ซึ่งในการขายพันธบัตรคืนเมื่อครบอายุสัญญา เขาจะซื้อเราคืนด้วยราคาที่สูงกว่าตอนเปิดขายพันธบัตรครั้งแรก นั่นคือ ยิ่งคุณซื้อพันธบัตรไว้มากเท่าไหร่ ผลตอบแทนจากการขายพันธบัตรคืนก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปเท่านั้น


รูปแบบผลตอบแทนของพันธบัตร


พันธบัตรรัฐบาลปี 2563

ถึงเวลาชอปปิ้งสินค้าด้านการลงทุนแล้ว ในปีนี้รัฐบาลได้ออกพันธบัตรมาสองรายการด้วยกัน ดังนี้


1.พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 1 วงเงิน 15,000 ล้านบาท

ชื่อก็บอกยี่ห้อนะครับ พันธบัตรตัวนี้ออกโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งอาจเรียกพันธบัตรตัวนี้ว่า “ ตั๋วเงิน

คลัง “ ครับ การถือครองและผลตอบแทน จะมีสองแบบคือ แบบ 3 ปี ให้ผลตอบแทนในอัตรา 1.70%  ต่อปี กับแบบ  7 ปี ให้ผลตอบแทนในอัตรา 1.95% ต่อปี โดยการจ่ายดอกเบี้ยจะแบ่งออกเป็น 2 งวดต่อปี คือในวันที่ 13 มิถุนายน และ 13 ธันวาคม ของทุกปี จนกว่าจะครบอายุพันธบัตร การลงทุนขั้นต่ำต้องลงทุนเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยลงทุนครับ ดังนั้นถ้าคุณอยากซื้อพันธบัตรจำนวนสิบหน่วยลงทุน คุณต้องใช้เงินทั้งหมด 10,000 บาทนั่นเอง คำนวณง่าย ๆ  อยากถือหน่วยลงทุนในพันธบัตรนี้เท่าไหร่ ให้นำจำนวนหน่วยที่อยากซื้อคูณด้วย 1,000 ครับ


สำหรับการเปิดขาย พันธบัตรตัวนี้เปิดขายสอบรอบ รอบแรกเปิดขายระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2562 ซึ่งผ่านไปแล้ว และอีกครั้ง เปิดขายวันที่13 ธันวาคม 2562 – 24 เมษายน 2563 โดยสามารถเข้าไปซื้อหน่วยลงทุนได้ในธนาคารตัวแทน 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารกสิกรไทย หรือ ซื้อผ่านแอพลิเคชัน BOND DIRECT ครับ สำหรับผู้มีสิทธิซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง คือบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป


2. พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษ วงเงิน 5,000 ล้านบาท

สำหรับพันธบัตรตัวนี้ มีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจครับ โดยอายุของพันธบัตรอยู่ที่ 5 ปี โดยจะได้ผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 2% ต่อปี โดยจุดเด่นของการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษคือ จะทยอยคืนเงินลงทุนให้กับผู้ซื้อด้วยโดยเริ่มคืนเงินให้ตั้งแต่ปีที่สองในการถือครองพันธบัตร ช่วยให้ผู้ถือพันธบัตรมีสภาพคล่องในการหมุนเวียนเงินสด โดยเริ่มขายตั้งแต่วันที่ 23-31 ธันวาคม 2562 และอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม - 24 เมษายน 2563 โดยอัตราเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 1,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยลงทุน และข้อสำคัญของ ผู้ที่มีสิทธิซื้อจะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป โดยสามารถเข้าไปซื้อหน่วยลงทุนได้ในธนาคารตัวแทน 3 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารกสิกรไทย หรือ ซื้อผ่านแอพลิเคชัน BOND DIRECT ครับ


การจ่ายผลตอบแทนจะเริ่มทำการโอนเงินต้นและดอกเบี้ยให้ตั้งแต่พันธบัตรมีอายุครบ 1ปี 6 เดือน (คือได้ปันผลตอนรอบหน้า ตรงกับตอนที่พันธบัตรมีอายุ 2 ปี นั่นแหละครับ ) โดยเริ่มจ่ายเงินปันผลพร้อมแบ่งคืนงวดเงินต้นตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2564 – 23 ธันวาคม 2567 เป็นงวดสุดท้าย ระยะเวลาทั้งหมด 8 งวดด้วยกัน


วิธีการซื้อพันธบัตรรัฐบาล 2563

เมื่อนักลงุทนสนใจที่จะเลือกซื้อพันธบัตรรัฐบาล และจัดเตรียมงบประมาณไว้แล้ว สามารถทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ผ่านทาง ธนาคารหลักทั้งสามแห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารกสิกรไทย โดยสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยซื้อพันธบัตรมาก่อน จะต้องเดินทางไปซื้อเองที่ธนาคารเท่านั้น เพราะต้องยื่นเอกสารแสดงตนในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลครั้งแรกก่อน โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมไปดังนี้


 ●   สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นต์รับรองถูกต้อง

 ●   สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร อันนี้มีรายละเอียดสำคัญอย่างหนึ่งคือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาลผ่านธนาคารได้ ผู้        ซื้อจำเป็น ต้องมีบัญชีธนาคารของธนาคารนั้น ๆ ด้วย ถ้ายังไม่เคยมีบัญชีของธนาคารที่ทำการขายพันธบัตร        จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารก่อน


สำหรับผู้ที่เคยซื้อขายพันธบัตร สามารถจัดซื้อพันธบัตรผ่านทาง การซื้อโดยตรงกับธนาคาร หรือ ซื้อผ่านระบบการขายผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือ แอพลิเคชันของธนาคารได้ครับ


วิธีการซื้อพันธบัตรรัฐบาล 2563


รู้ไว้อีกนิดก่อนไปซื้อพันธบัตร

การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงครับ แม้การลงทุนที่ปลอดภัยที่สุดอย่างการซื้อพันธบัตร ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่ต้องพิจารณา ความเสี่ยงในการถือพันธบัตรที่เรามีโอกาสเจอแน่ มีดังนี้ครับ


 ●   ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากพันธบัตรจะให้อัตราดอกเบี้ยวคงตัว นั่นหมายความว่า ระหว่างการถือครองพันธบัตร มีอัตราดอกเบี้ยอะไรที่ปรับขึ้นดูน่าลงทุนกว่า ดอกเบี้ยที่เราได้จากพันธบัตรยังคงเหมือนเดิมนะจ้ะ


 ●   ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ถือแล้วถือเลย ซื้อปีนี้พบเงินก้อนอีกที 3 ปี  5 ปี ข้างหน้า จะยอมรับการขาดความสภาพคล่องตรงนี้ได้หรือไม่


 ●   ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ เมื่อเที่ยบอัตราการเจริญเติบโตของเงินเฟ้อ กับ อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากการถือพันธบัตรมันจะคุ้มกันไหม


 ●   มูลค่าที่ลดลงจากการเสียภาษี แน่นอนครับ การลงทุนอันใดที่ปลอดภัยมาก ๆ มักมีภาษีเป็นเพื่อน อัตราการเก็บภาษีบุคคลธรรมดาจากภาษีเงินได้ เขาเก็บถึง 15% ต่อปีเชียว ดังนั้น จะลงทุนเท่าไหร่ พิจารณาไว้ให้ดี


การลงทุนในพันธบัตร ถือเป็นการลทุนสำหรับบุคคลผู้ไม่พร้อมรับความเสี่ยงได้มาก ซึ่งในปีนี้ รัฐบาลได้ออกพันธบัตรมาให้แก่ผู้สนใจในการลงทุน โดยทางเราได้แนะนำ วิธีซื้อพันธบัตรรัฐบาลล่าสุด ปี 2563 ไว้ ทั้งในส่วนของสถานที่รับซื้อ คุณสมบัติของผู้ซื้อ และผลตอบแทนที่ท่านจะได้รับ ซึ่งท่านจำต้องศึกษาอย่างละเอียด ดูว่าหน่วยลงทุนพันธบัตรตัวใดเหมาะสมสำหรับท่านที่สุด  เพื่อให้ท่านสามารถทำผลกำไรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามลักษณะและคุณสมบัติของพันธบัตรรัฐบาลนะครับ


▼ เทรดหุ้นกับโบรกเกอร์ชั้นนำด้วยค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ▼

  • บวก/ลบ สูงสุด
  • ฟอเร็กซ์
  • สินค้าโภคภัณฑ์
  • ดัชนี
  • สกุลเงินดิจิตอล

*** ลงทุนมีความเสี่ยง CFD อาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา โปรดทราบว่าท่านจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์


เนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำการลงทุนได้ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้นและผู้อ่านไม่ควรใช้บทความนี้เป็นพื้นฐานการลงทุนใด ๆ Mitrade ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใด ๆ ตามบทความนี้และไม่รับประกันความถูกต้องของเนื้อหาของบทความนี้

Share this story