CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    NAV คืออะไร NAV ต่างกับราคาหุ้นอย่างไร?

    4 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 26 เม.ย. 2567 07:32 น.

    สำหรับนักลงทุนสายกองทุน NAV คือตัวเลขที่ต้องอัปเดทไม่ต่างกับนักลงทุนที่ต้องอัปเดทราคาหุ้น แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไป NAV คืออะไรอาจจะยังเป็นคำถามที่รอคำตอบ แต่เชื่อเลยว่าตัวเลขนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกองทุน (Mutual Fund) ที่เป็นเครื่องมือการลงทุนที่มีประโยชน์มากอีกตัวหนึ่งได้ คราวนีเราจึงจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับตัวเลขนี้ว่าตกลงแล้ว NAV คืออะไร

    NAV คืออะไร NAV ต่างกับราคาหุ้นอย่างไร?

    NAV (Net Asset Value) หรือ มูลค่าสินทรัพย์รวมตามราคาตลาด คือศัพท์ที่ใช้ในการลงทุนในกองทุน (Mutal Fund) และ ETF เป็นตัวเลขแสดงถึงสินทรัพย์รวมสุทธิทั้งหมดที่กองทุนถืออยู่ 


    ตัวเลขนี้มาจากการอัปเดทมูลค่าของสินทรัพย์ (Asset) ที่กองทุนถือเป็นรายวัน (Mark to Market) ลบด้วยภาระหนี้ (Liabilities) ทั้งหมดที่กองทุนมี ทำให้นักลงทุนได้เห็นมูลค่าสินทรัพย์จริง ๆ ตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนไปในแต่ละวัน ถ้าเรานำ NAV มาหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดก็จะได้มูลค่า NAV ต่อหน่วยของกองทุนนั้น ๆ ซึ่งตัวเลขนี้จะถูกอัปเดททุกวันเพื่อนำมาใช้เป็นราคารับซื้อขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนนั่นเอง


    NAV ต่อหน่วย อาจดูคล้ายกับราคาหุ้นตรงที่ถูกนำมาใช้เป็นราคาซื้อขายหน่วยเหมือนกัน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันตรงที่ราคาหุ้นเป็นการต่อรองซื้อขายกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด (Exchange) ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนอุปสงค์และอุปทานของหุ้นตัวนั้น ณ เวลานั้น ๆ ขณะที่ NAV ต่อหน่วยเป็นราคาที่สะท้อนมูลค่าสินทรัพย์ที่กองทุนถือจริง ๆ ณ ราคาปิดของวันก่อนหน้า ซึ่งหากเทียบให้ง่ายเข้าไว้ NAV ต่อหน่วยจะคล้ายมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value Per Share - BVPS) มากกว่าตัวราคาหุ้นเอง

    คำนวณ NAV อย่างไร


    NAV ของกองทุนทั่วไปและ ETF คำนวณได้จาก


    มูลค่าสินทรัพย์รวมตามราคาตลาด NAV = ( มูลค่าสินทรัพย์ที่ถืออยู่ตามราคาตลาด + ผลตอบแทนสะสมและเงินสด ) – ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุน


    มูลค่าหน่วยลงทุน NAV ต่อหน่วย = NAV / จำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด


    ตัวอย่างเช่น กองทุน Z มีสินทรัพย์เป็น โรงแรมมูลค่า 10 ล้าน, หุ้น A 1,000 หุ้น มีราคาปิดสิ้นวันก่อนหน้าหุ้นละ 1,000 บาท ไม่มีหนี้สินและยังไม่คิดค่าใช้จ่าย กองทุนนี้มีหน่วยลงทุนที่ตราออกมา 200,000 หน่วย เราจะได้


    NAV = 10,000,000 + (1,000 x 1,000) = 11,000,000 บาท

    NAV ต่อหน่วย = 11,000,000 / 200,000 = 55 บาท


    ถ้าเวลาเปลี่ยนไป ราคาหุ้นหรือโรงแรมที่บริษัท Z ถืออยู่ปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลให้ NAV ที่คำนวณได้สูงขึ้นจะทำให้ผู้ที่ถือหน่วยลงทุนอยู่ก่อนมีกำไร ในทางตรงกันข้ามหากมูลค่าสินทรัพย์ที่บริษัท Z ถืออยู่ปรับตัวลง NAV ที่คำนวณได้จะปรับลดลงและส่งผลให้ผู้ที่ถือหน่วยลงทุนมาก่อนหน้าขาดทุนจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง เป็นต้น

    NAV บอกอะไรได้บ้าง?

    นักลงทุนสามารถนำ NAV มาใช้ประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน 


    กองทุนที่สามารถบริหารให้ NAV เติบโตได้ในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ NAV ของกองทุนที่มีลักษณะสินทรัพย์คล้ายกัน มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกันแล้ว NAV เติบโตได้ดีกว่า กองทุนนั้นก็มีแนวโน้มที่จะบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เติบโตต่อไปได้ดี ซึ่งจะสร้างเป็นผลกำไรให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน 


    ในทางตรงกันข้ามกองทุนที่มี NAV ค่อนข้างคงที่หรือเติบโตช้า โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ NAV ของกองทุนที่มีคุณภาพสินทรัพย์คล้ายกัน มีนโยบายการลงทุนคล้ายกัน กองทุนนั้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถบริหารสินทรัพย์ได้ดี ซึ่งนักลงทุนสามารถนำ NAV มาช่วยตัดสินใจลงทุนในแง่นี้ได้เช่นกัน

    ข้อควรระวังในการดู NAV ต่อหน่วยของกองทุน

    NAV และ NAV ต่อหน่วยเป็นตัวเลงที่นักลงทุนสายกองทุนให้ความสำคัญ แต่ก็มีข้อควรระวังในการพิจารณาเช่นกันดังนี้


    • NAV ต่อหน่วยที่เห็น ณ ปัจจุบันเป็นราคาของวันก่อนหน้า

      ใช้เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน ส่วนราคาที่ซื้อขายจริงจะยังไม่รู้แน่ ณ เวลาส่งคำสั่งซื้อขายกองทุน เพราะราคาซื้อขายจะเกิดหลังสิ้นวันไปแล้วและมีการประกาศเป็น NAV ในวันถัดมา ทำให้นักลงทุนไม่สามารถทราบราคาซื้อขายที่แน่นอนได้ ทำได้แค่ประมาณเท่านั้น


    • NAV ต่อหน่วยไม่ได้สะท้อนความถูกแพงของกองทุน

      แต่เป็นการสะท้อนมูลค่าสินทรัพย์ที่กองทุนถืออยู่ NAV ต่อหน่วยที่มีราคาสูงอาจเกิดจากมูลค่าสินทรัพย์สูงหรือกองทุนมีจำนวนหน่วยลงทุนน้อยก็ได้ การเข้าซื้อกองทุนโดยดูจาก NAV สูงหรือต่ำจึงไม่เพียงพอ แต่ต้องดูคุณภาพสินทรัพย์ นโยบายการลงทุน และเงื่อนไขการลงทุนของแต่ละกองทุนควบคู่ไปด้วย


    • เงื่อนไขการลงทุนของกองทุนบางประเภททำให้ NAV ลดลงตามเวลาจนเป็น 0 ได้

      กองทุนที่มีเงื่อนไขบางแบบ เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ leasehold ที่เป็นสิทธิการเช่าจะมี NAV ลดลงจนเท่ากับ 0 เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา นักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุน

    สรุป

    NAV คือตัวเลขที่มีความสำคัญต่อนักลงทุนสายกองทุนในแง่ที่เมื่อนำ NAV มาหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนจนได้ NAV ต่อหน่วยแล้ว ตัวเลขนี้จะเป็นตัวกำหนดราคาซื้อขายกองทุนของนักลงทุน และมีผลต่อกำไรขาดที่ที่นักลงทุนจะได้รับจากการถือหน่วยลงทุนด้วย คราวนี้เราก็ได้ทำความรู้จักกันไปแล้วว่า NAV คืออะไร นักลงทุนสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง และการใช้ NAV ต่อหน่วยมีข้อควรระวังอะไร ซึ่งแน่นอนว่านี่จะเป็นตัวช่วยให้นักลงทุนได้เข้าถึงการลงทุนผ่านกองทุนได้อย่างเข้าใจมากขึ้น


    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    วิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดในปี 2024‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ‘อยากเล่นหุ้นต้องทํายังไง’ ‘เริ่มเล่นหุ้นแบบไม่รู้อะไรเลย ต้องทำยังไง’ คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการเข้าสู่โลกการลงทุน ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีเล่นหุ้นสำหรับมือใหม่แบบละเอียดมาฝากกัน
    placeholder
    เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    นักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดคำถามว่า จะเปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี? บทความนี้จึงได้รวบรวม 10 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นในปี 2023 ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    ตลาดหุ้นเปิดกี่โมง?ก่อนเทรดหุ้นต้องรู้การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    การรู้ว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักเก็งกำไร สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าตลาดหุ้นเปิดกี่โมงสำหรับการซื้อขายหุ้นในประเทศไทยก็อย่าได้รอช้า เราเตรียมข้อมูลมาให้แล้ว
    placeholder
    8 โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คราวนี้เราได้รวบรวมลิสต์โบรกเกอร์ Forex แจกโบนัสฟรีสำหรับลูกค้าใหม่ 2566 มาไว้เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น!
    placeholder
    DCA คือ อะไร? เปิดบัญชีออมหุ้น DCA ที่ไหนดี 2024สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สร้างรายได้ทางอ้อมด้วยการลงทุนออมสม่ำเสมอ ทยอยลงทุนเรื่อย ๆ แบบ DCAหรือ Dollar-Cost- Averaging ถัวเฉลี่ยต้นทุนยังไงให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นการลงทุนที่ง่าย เงินลงทุนตั้งต้นไม่มาก ไม่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่เป็นอย่างมาก
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์