เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นวลีที่คุ้นหูคนไทยมาอย่างยาวนานเลยก็ว่าได้ เนื่องจากว่าเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ชี้นำแนวคิดวิธีการดำเนินชีวิตให้พสิกรในชาวไทยดำรงชีวิตด้วยความมั่นคง ยั่งยืน และปลอดภัย ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ภายหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 พระราชดำรัสดังกล่าวทำให้ประชาชนในประเทศได้นำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นอาชีพที่ล่อเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัว 


ดังนั้นเนื้อหาในเนื้อบทความนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและรายละเอียดของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” รวมถึง เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรให้ทุกคนได้อ่านไปพร้อมๆกัน


เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หมายถึง กรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับชนชั้น โดยเริ่มตั้งแต่ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับภาครัฐ ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วยความพอเพียง ความพอประมาณ โดยไม่ต้องเดือดร้อนผู้อื่น ซึ่งพระราชดำรัสดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนและเศรษฐกิจภายในประเทศมีการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว เพื่อที่จะมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกตามยุคสมัย


ในนิยามของคำว่า “พอเพียง” คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร โดยต้องอาศัยความรอบรู้ที่หลากหลาย ความรอบคอบ เป็นอย่างมากในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆในชีวิต 


ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของคนไทย ที่มีการดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง บนความไม่ประมาท การดำเนินชีวิตตามหลักการทางสายกลางนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันที่ทำให้เราสามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ให้ความสำคัญกับความรู้ และคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้ได้มาซึ่งความสมดุลและความยุติธรรมในสังคม เป็นต้น

เศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

หัวใจหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตอยู่บนทางสายกลาง ที่ตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานสำคัญที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


หลักการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานคำว่า 3 ห่วง คือ การใช้ชีวิตอยู่บนทางสายกลางที่ประกอบไปด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี โดยทั้ง 3 ห่วงนี้จะมุ่งเน้นใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองเป็นหลักเหมาะสำหรับบุคคลทุกระดับชนชั้น


เศรษฐกิจพอเพียง


  • ความพอประมาณ 

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความพอประมาณในการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย กล่าวคือ การสร้างรายได้ด้วยช่องทางสุจริตไม่เบียดเบียนหรือคดโกงผู้อื่น และการใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายจนไปกู้ยืมผู้อื่น เป็นต้น


  • ความมีเหตุผล 

คือ การดำรงชีวิตด้วยการใช้เหตุผลในการตัดสินใจที่จะลงมือทำอะไรในแต่ละครั้งว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ อาทิ การที่เราอยากลงมือทำธุรกิจ เราจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบครอบและรู้ศักยภาพของตนเอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ในเหตุผลที่เราลงมือทำด้วยว่าเราทำเพื่ออะไร และคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ควรทำตัดสินใจตามอารมณ์ หรือปราศจากการวิเคราะห์อย่างละเอียด


  • การมีภูมิคุ้มกัน 

คือ ความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต โดยตัวเราสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยนการใช้ให้เหมาะสมกับสถานการ์ณที่เกิดขึ้นนั่นเอง 


จากการดำเนินชีวิตตามหลัก 3 ห่วงนั้นยังคงต้องปฎิบัติตามด้วย 2 เงื่อนไข อันเป็นหลักใจความสำคัญในการเลือกตัดสินใจต่อการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของคำว่าพอเพียง ได้แก่


  • ความรู้

 คือ ความรู้ทางวิชาการต่างๆ และความรู้จากประสบการ์ณของตนเองและผู้เชี่ยวชาญ เพราะการที่เรามีความรู้ที่เพรียบพร้อมนั้น จะทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน ตลอดถึงในเรื่องของการสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งเงื่อนไขข้อนี้ก็เปรียบเสมือนการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับตัวเรานั่นเอง


  • คุณธรรม

 คือ หลักการที่ยึดตามความถูกต้องและมีความเป็นธรรม กล่าวคือ การใช้ชีวิตหรือการตัดสินใจทำอะไรด้วยความถูกต้องและมีความชอบธรรม มีความขยันและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง เป็นต้น 

ประวัติเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มาของคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เน้นให้ความสำคัญของการพัฒนาประเทศเป็นหลัก โดยจะต้องสร้างพื้นฐานสำคัญ คือ “ความพอมี พอกิน พอใช้” 


สาเหตุที่พระองค์ท่านทรงชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตให้ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเนื่องจากว่าสถานการ์ณในประเทศไทย ณ ช่วงนั้นได้มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นไปในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อต้องการพัฒนาประเทศให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลักตามยุคสมัยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเงินลงทุนส่วนมากนั้นมาจากการกู้ยืมจากต่างประเทศเป็นหลัก จะต้องชำระหนี้ด้วยการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ทำให้ผู้คนขยายพื้นที่ในการเพาะปลูก ผลทางเชิงบวก คือ เศรษฐกิจภายในประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมภายในประเทศ พื้นที่ป่าถูกนายทุนบุกรุกเพื่อที่จะทำการสร้างผลผลิต ทั้งนี้ยังเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ตามมาอีกด้วย 


  1 ปีก่อนที่จะเกิดวิกฤตการ์ณต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 พระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชดำรัสเพื่อย้ำเตือนสติพสกนิกรชาวไทยให้ดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลาง โดยมีใจความว่า


"...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก..."


ภายหลังจากเกิดวิกฤตการ์ณทางด้านเศรษฐกิจในปี 2540 นั้น หลักการเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มมีการนำมาปรับใช้ในชีวิตมากยิ่งขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ได้ผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย และเข้าใจในนิยามของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างถ่องแท้ หลายคนมองเห็นว่ากรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีความสอดคล้องกับหลักแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศโดยตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ที่ไม่ส่งผลลบต่อการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง


ในปี พ.ศ. 2549 ทางองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ว่าเป็นกษัตริย์นักพัฒนา หรือ “Developer King” พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในปีนั้นด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง

จะเห็นได้ว่าแก่นหลักของพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถปรับประยุกต์ใช้ได้กับอาชีพและทุกอุตสาหกรรม เพียงแค่ปฏิบัติตามหลักทางสายกลางที่ยึดหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ที่เน้นในเรื่องความพอประมาณ ความมีเหตุผล และระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ในหัวข้อนี้ทางผู้เขียนได้ทำการยกตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงที่มีการมาปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมาอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เห็นภาพตัวอย่างได้ชัดเจน


1. ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในด้านอุตสหกรรมและพาณิชย์


ภาพประกอบของตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในด้านอุตสหกรรมและพาณิชย์.jpg


ในการดำเนินกิจการ ยิ่งจะต้องคำนึงถึงหลัก 3 ห่วง เป็นหลัก เช่น ในเรื่องของความพอประมาณในผลกำไรที่ได้ ต้องไม่เกิดความโลภมากจนเกินไป ความีเหตุผลในการตระหนักรู้คิด รู้จักวางแผนกับกิจการของตนเอง และการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่พร้อมจะรับมือกับทุกสถานการ์ณที่จะเกิดขึ้นกับกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับการปฏิบัติตนที่นำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทางด้านนี้ ได้แก่


  • การเลือกใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพสูงสุด

  • มีขนาดการผลิตที่มีความสอดคล้องกับความสามารถในการบริหารและการจัดการ

  • เน้นการกระจายความเสี่ยงที่ต่ำและเน้นผลกำไรในระยะยาวเป็นหลัก

  • ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการจะต้องมีซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบการและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่เอาเปรียบแรงงานหรือลูกค้าตลอดจนไม่เอาเปรียบผู้จำหน่ายวัตถุดิบ

  • เน้นการใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นและตอบสนองตลาดในท้องถิ่น  ภูมิภาค  ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศเป็นหลัก


2. ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในด้านการเกษตร

หากพูดคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแรกที่หลายคนมักจะนึกถึง คือ การประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบของการเกษตร เนื่องจากว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีประชาชนทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้


1)การเกษตรแบบผสมผสานและการทำไร่นาสวนผสม 

หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นวิธีการทำการเกษตรหลากหลายประเภทในหนึ่งครัวเรือน เนื่องจากว่าแนวคิดนี้มีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบให้ผลผลิตน้อยลง รวมถึงปัญหาโรคระบาดในพืชและสัตว์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบวงกว้างสำหรับบุคคลที่ทำการเกษตรแบบเดียวนั่นเอง


ตัวอย่างการเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ การทำนาปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว เพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือสามารถแบ่งตำหน่ายสร้างรายได้ตามความเหมาะสม การขุดสระเลี้ยงปลาที่สามารถนำน้ำในสระมารดพืชผักได้ เป็นต้น


2)การเกษตรทฤษฎีใหม่

การเกษครในรูปแบบนี้นั้น คือ แนวคิดที่มุ่งเน้นในการพัฒนาการเกษตรใรูปแบบใหม่ที่คิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน เช่น การขาดแคลนน้ำ ขาดแคลนที่ดินทำกิน ที่ส่งผลทำให้ไม่เกิดผลผลิตตามเป้าหมาย โดยวิธีการเกษตรในรูปแบบจะมีการแบ่งที่ดินออกเป็นส่วนๆ มีการนำความคิดตามหลักวิชาการเข้ามาช่วยในการคำนวณ เพื่อบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ในการเกษตรทฤษฎีรูปแบบใหม่มีรายละเอียดแบ่งย่อยออกเป็น 3 รูปแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้


  • การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นพื้นฐาน

    จะเป็นวิธีการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 ส่วน ด้วยหลักการคำนวณ 100% โดยแบ่งเป็น 30 : 30 : 30 : 10 การแบ่งพื้นที่แบบนี้นั้นช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว ขุดสระน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกผักสวนครัว เป็นต้น


  • การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

    ในขั้นนี้จะเป็นการที่เราสามารถพึ่งพาตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นในสายงานอาชีพเดียวกันได้ กล่าวคือ การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรขึ้นมาเพื่อร่วมมือกันสร้างผลผลิต สร้างตลาดขึ้นมา ทั้งนี้การรวมกลุ่มกันนั้นยังสามารถเพิ่มการต่อรองอำนาจกับพ่อค้าคนคนกลางได้อีกด้วย อันเป็นผลดีที่ทำให้ราคาสินค้าไม่ถูกกดราคาและไม่โดนเอาเปรียบนั่นเอง


  • การเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

    เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นไปยังการสร้างเศรษฐกิจในชุมชนให้เกิดรายได้และความมั่นคง เช่น การจัดตั้งสหกรณ์ หรือ การแลกเปลี่ยนประสบการ์ณความรู้ให้กับผู้คนในชุมชน ตลอดจนถึงเป็นแหล่งเงินทุนให้ประชาชนสามารถกู้ยืมเพื่อทำการลงทุนได้ เป็นต้น


จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของคำว่า “พอเพียง” คือ ต้องการให้ผู้คนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ ตลอดจนถึงพัฒนากลุ่มองค์กรได้ด้วยเช่นกัน เพียงแค่ยึดหลักการดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง ให้มีความพอประมาณ มีความสมดุลเกิดขึ้น บริหารจัดการชีวิตไม่ให้เกิดความขาดแคลน สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการพึ่งพาตนเองและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เป็นต้น 

แนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลและครอบครัว

สำหรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถือว่าเป็นแนวทางสำคัญที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในการดำรงชีวิตประจำวันของเราในขั้นพื้นฐาน กล่าวคือ การนำกรอบแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์กับ สังคมครอบครัวและตัวเองก่อน เพราะถือว่าเป็นฐานสำคัญอันดับแรกก่อนที่จะนำไปปรับใช้ในสังคมวงกว้าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • การศึกษาหาความรู้และหมั่นฝึกฝนทักษะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ

  • จะต้องมีความอดทนและความขยันหมั่นเพียรกับสิ่งที่ทำ

  • ประกอบอาชีพที่สุจริต อยู่บนหลักของความถูกต้อง ไม่คดโกงหรือเบียดเบียนผู้อื่น

  • จะหาความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) ไม่เครียด หรือ กดดันตัวเองมากจนเกินไป


การออมและการลงทุน


  • มีรู้จักอดออม รู้จักวางแผนทางการเงินทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอย่างรอบครอบ

  • รู้จักใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความเหมาะสมตามสถานภาพ บทบาท และหน้าที่ของตน ไม่ฟุ่มเฟือยมากขนเกินไปและไม่ตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินงาม

  • ก่อนที่จะลงมือทำอะไร ควรมีการหาข้อมูล วางแผน และพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ


สรุป

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยกับนิยามคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงอยู่คู่กันมานานกว่า 30 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เน้นให้ผู้คนสร้างผลผลิตให้ตนเองและสามารถสร้างรายได้จากสิ่งที่ตนผลิต หรือบริบทที่เป็นผู้บริโภคก็ควรเริ่มต้นบริโภคตามความเหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่จะต้องมีความรู้จักใช้ชีวิตภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทั้งนี้เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ด้วยเช่นกันสำหรับประเทศไทยของเรา


เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบันมีการขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมทางเกษตร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญและผลักดันภาคการเกษตรให้มีการเติบโตในระยะยาว


ท้ายที่สุดนี้การประยุกต์ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไม่ขำกัดว่าจะต้องประยุกต์ในภาคการเกษตรเพียงเท่านั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกภาคส่วนทุกรูปแบบเศรษฐกิจ เช่น ภาคการเงิน ภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนถึงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพียงยึดหลักทางสายกลางในการดำเนินกิจการดังกล่าวเท่านั้นเอง

คำถามที่พบบ่อย

เป้าหมายของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

เป้าหมายของการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือ ความสามารถในการพึ่งตนเองได้โดยไม่เดือดร้อนและไม่เบียดเบียนใคร อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและองค์ได้อย่างสันติสุข พร้อมอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
หาเงินออนไลน์ ถูกกฎหมาย! แนะนำ 9 วิธีหาเงินออนไลน์การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 28 พ.ย. 2023
การหาเงินหลักล้านไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปในยุคที่ไร้พรมแดนและทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียได้อย่างเท่าเทียมกัน ห้ามพลาดกับวิธีหาเงินออนไลน์ทั้ง 9 แบบที่เรานำมาฝาก
placeholder
วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านบทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 01 มิ.ย. 2023
บทความนี้จะแนะนำวิธีดูกราฟราคาทองสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจแนวโน้มตลาด และระบุจังหวะการซื้อขายที่เหมาะสม
placeholder
10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2024ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 30 ส.ค. 2023
ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
placeholder
คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
วันที่ 08 มิ.ย. 2023
​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
placeholder
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และ มีอะไรบ้างต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ผู้เขียน  MitradeInsights
3 เดือน 01 วัน ศุกร์
ต้นทุนในธุรกิจ ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ บทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันว่า ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และ ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คืออะไร และมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์