USDJPY ยังคงเป็นขาลง วิ่งอยู่ต่ำกว่า 154.00 นักลงทุนจับตาผลการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของ Fed/BoJ

FXStreet
อัพเดทครั้งล่าสุด
Mitrade
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

  • ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันอังคาร USDJPY ปรับตัวลดลงไปที่บริเวณ 153.90

  • ในการประชุมเดือนกรกฎาคมวันพุธ  เฟดมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิม

  • ตามการสํารวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ของ Reuters ในการประชุมวันที่ 31 กรกฎาคม คาดว่า BoJ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย


ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันอังคาร คู่ USDJPY ปรับตัวลดลงมาวิ่งใกล้ 153.90 ทั้งคู่ปรับตัวขึ้นหลังถดตัวลงจาก 153.35 ท่ามกลางสภาวะที่นักลงทุนยังไม่อยากรับความเสี่ยง และการเก็งมากขึ้นเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ผลการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของ BoJ และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันพุธจะเป็นจุดศูนย์กลางความสนใจของตลาด ก่อนประกาศข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ 

ในสัปดาห์นี้ นักลงทุนในตลาดไม่คาดว่าเฟดสหรัฐฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคม แต่พวกเขาคาดว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะเริ่มเตรียมความพร้อมสําหรับการผ่อนคลายนโยบายการเงินในการประชุมเดือนกันยายน ตามข้อมูลจาก CME FedWatch Tool ขณะนี้เทรดเดอร์เชื่อว่ามีโอกาส 100% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 0.25% ในเดือนกันยายน การเก็งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดมากขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ในอนาคตอันใกล้

ในทางกลับกัน การสํารวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ของ Reuters คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 10 จุดเบสิส (bps) เป็น 0.1% ING ตั้งข้อสังเกตว่า BoJ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 15 bps และลดโปรแกรมการซื้อพันธบัตรไปพร้อมๆ กัน นักยุทธศาสตร์ตลาดสกุลเงินจาก OCBC กล่าวว่า "การปรับนโยบายให้เป็นปกติของ BoJ และเฟดที่อาจลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหมาะสมอาจทำให้นโยบายการเงินของทั้งสองสอดคล้องกัน และควรสนับสนุนขาลงของ USDJPY"


เงินเยน: คําถามที่พบบ่อย


ปัจจัยสําคัญใดบ้างที่ผลักดันเงินเยนของญี่ปุ่น?


เยนญี่ปุ่น (JPY) เป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก มูลค่าของมันถูกกําหนดโดยผลการดําเนินงานของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจากนโยบายของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ความแตกต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นและสหรัฐ หรือความเชื่อมั่นในการลงทุนเสี่ยงในหมู่นักลงทุน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วย


การตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นส่งผลกระทบต่อเงินเยนญี่ปุ่นอย่างไร?


หนึ่งในอาณัติของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคือการควบคุมสกุลเงิน ดังนั้นการเคลื่อนไหวของมันจึงเป็นกุญแจสําคัญสําหรับเงินเยน BoJ ได้เข้าแทรกแซงโดยตรงในตลาดสกุลเงินในบางครั้ง โดยทั่วไปนั้นเพื่อลดค่าเงินเยน แม้ว่าจะหลีกเลี่ยงที่จะทำแบบนี้อยู่บ่อยครั้งเนื่องจากมีความกังวลทางการเมืองของประเทศคู่ค้าหลัก  ๆ  นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของ BoJ ในปัจจุบันซึ่งมีพื้นฐานมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ทําให้เงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ กระบวนการนี้รุนแรงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากความแตกต่างทางนโยบายที่เพิ่มขึ้นระหว่างธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและธนาคารกลางหลักอื่น ๆ  ซึ่งเลือกที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ


ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ส่งผลต่อเงินเยนของญี่ปุ่นอย่างไร?


จุดยืนของ BoJ ในการยึดมั่นในนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษได้นําไปสู่ความแตกต่างด้านนโยบายที่กว้างขึ้นกับธนาคารกลางอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธนาคารกลางสหรัฐ ปัจจัยนี้สนับสนุนความแตกต่างที่มากขึ้นระหว่างยีลด์พันธบัตของรสหรัฐและญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น
 

ความเชื่อมั่นในตลาดที่มีต่อความเสี่ยงในภาพรวมส่งผลกระทบต่อเงินเยนญี่ปุ่นอย่างไร?

 
เงินเยนของญี่ปุ่นมักถูกมองว่าเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ซึ่งหมายความว่าในช่วงเวลาที่ตลาดตึงเครียดนักลงทุนมีแนวโน้มที่จะนําเงินของพวกเขามาไว้ในสกุลเงินญี่ปุ่น เนื่องจากความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของรัฐในอย่างที่ควรจะเป็น ในช่วงเวลาที่ปั่นป่วนมีแนวโน้มที่จะทําให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ที่ตลาดมองว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนมากกว่า

เนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำการลงทุนได้ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้นและผู้อ่านไม่ควรใช้บทความนี้เป็นพื้นฐานการลงทุนใด ๆ Mitrade ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใด ๆ ตามบทความนี้และไม่รับประกันความถูกต้องของเนื้อหาของบทความนี้

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
placeholder
DBS ประเมิน EUR/USD: จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องภายในช่วงราคาสามสัปดาห์EUR/USD ดีดตัวขึ้นจากระดับแนวรับที่สําคัญที่ 1.10 ได้ 0.6% มาเป็น 1.1074 หลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรป  โดยตามที่คาดการณ์ไว้ ECB ได้ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 25 bps มาเป็น 3.50%  Philip Wee นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาด FX ของ DBS รายงาน
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 14 วัน เสาร์
EUR/USD ดีดตัวขึ้นจากระดับแนวรับที่สําคัญที่ 1.10 ได้ 0.6% มาเป็น 1.1074 หลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรป  โดยตามที่คาดการณ์ไว้ ECB ได้ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 25 bps มาเป็น 3.50%  Philip Wee นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาด FX ของ DBS รายงาน
placeholder
วิเคราะห์ราคา NZDUSD: แนวโน้มดูสดใส การปรับตัวขึ้นสามารถยืนยันการฟื้นตัวในตลาดลงทุนอเมริกาวันพฤหัสบดี ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นตัวจากการลดลงในวันก่อนหน้า คู่ NZDUSD ขยับขึ้น 0.75% สู่ระดับสูงสุดที่ 0.6180 เนื่องจากตลาดกระทิงเข้าควบคุมตลาด
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 13 วัน ศุกร์
ในตลาดลงทุนอเมริกาวันพฤหัสบดี ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ฟื้นตัวจากการลดลงในวันก่อนหน้า คู่ NZDUSD ขยับขึ้น 0.75% สู่ระดับสูงสุดที่ 0.6180 เนื่องจากตลาดกระทิงเข้าควบคุมตลาด
placeholder
คาดการณ์ราคา AUDUSD: มีโอกาสที่จะเกิดแนวโน้มขาลงระยะสั้นต่อเนื่องAUDUSD ปรับตัวลดลงต่อจากแนวโน้มขาลงระยะสั้นที่เริ่มต้นหลังจากการกลับตัวลงจากระดับสูงสุดของวันที่ 29 สิงหาคม
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 11 วัน พุธ
AUDUSD ปรับตัวลดลงต่อจากแนวโน้มขาลงระยะสั้นที่เริ่มต้นหลังจากการกลับตัวลงจากระดับสูงสุดของวันที่ 29 สิงหาคม
placeholder
EURUSD: ปรับตัวลดลงเล็กน้อย – RabobankJane Foley นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาดสกุลเงินของ Rabobank ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อดูการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร พบว่า EUR/USD ในวันศุกร์มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างมาก สาเหตุแรกเป็นเพราะรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ และสาเหตุที่สองเป็นเพราะตอบสนองต่อคําพูดของประธานเฟดหลายๆ ท่าน
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 10 วัน อังคาร
Jane Foley นักกลยุทธ์อาวุโสด้านตลาดสกุลเงินของ Rabobank ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อดูการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร พบว่า EUR/USD ในวันศุกร์มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างมาก สาเหตุแรกเป็นเพราะรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ และสาเหตุที่สองเป็นเพราะตอบสนองต่อคําพูดของประธานเฟดหลายๆ ท่าน
placeholder
คาดการณ์ราคา USDJPY: แนวโน้มขาลงกลับมาอีกครั้ง ได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ที่ลดลงในช่วงท้ายตลาดลงทุนอเมริกาเหนือของวันศุกร์ USDJPY ปรับตัวลดลงต่อ ราคาได้รับแรงหนุนจาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับตัวลดลง เงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับสกุลเงินในกลุ่ม G8 ส่วนใหญ่ ยกเว้นสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น เยนญี่ปุ่น ในขณะที่เขียน ทั้งคู่ยังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลง
ผู้เขียน  FXStreet
9 เดือน 09 วัน จันทร์
ในช่วงท้ายตลาดลงทุนอเมริกาเหนือของวันศุกร์ USDJPY ปรับตัวลดลงต่อ ราคาได้รับแรงหนุนจาอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับตัวลดลง เงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับสกุลเงินในกลุ่ม G8 ส่วนใหญ่ ยกเว้นสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น เยนญี่ปุ่น ในขณะที่เขียน ทั้งคู่ยังคงวิ่งอยู่ในแนวโน้มขาลง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์