วิธีตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยตัวเองผ่านการเงิน 4 ด้าน

อัพเดทครั้งล่าสุด
coverImg
แหล่งที่มา: DepositPhotos

หลายคน ทุกๆ ปีจะไปตรวจสุขภาพประจำปี ว่าเราสุขภาพร่างกายแข็งแรงรึปล่าว? อันไหนไม่ดี เช่น ค่าความดัน น้ำตาล ไขมันต่างๆ ไม่ดี เพียงแค่ ออกกำลังกาย ทานอาหารให้เป็นประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาบรรเทาอาการทำให้ผลเหล่านั่นมันดีขึ้น “ความแข็งแรงของร่างกายจึงวัดผ่านการตรวจสุขภาพประจำปี”


แต่สิ่งที่สำคัญที่คนส่วนใหญ่หลายคนละเลยไม่เคยได้ตรวจเลย คือ การตรวจสุขภาพการเงินของตัวเองเลย ผ่าน 2 งบการเงิน ทั้งงบรายรับจ่าย และงบทรัพย์สินและหนี้สิน  “ความแข็งแรงของการเงินจึงต้องวัดผ่านการตรวจสุขภาพการเงินประจำปีเช่นกัน”


เวลาเราป่วยเราต้องไปหาหมอ เพื่อไปตรวจว่าร่างกายผิดปกติเป็นอะไรไหม เช่นเดียวกัน การตรวจสุขภาพการเงิน เหมือนกับการหาหมอด้านการเงิน เพื่อดูการเงิน 4 ด้าน แต่ละด้านเป็นเช่นไร?  ทั้งด้าน สถานะทางการเงิน สภาพคล่อง หนี้สินและโอกาสความมั่งคั่งในอนาคตจะเป็นอย่างไร 


และถ้าถามว่าเราควรวิธีตรวจสุขภาพทางการเงิน ปีละกี่ครั้งดี คำตอบคือ อย่างน้อยปีละครั้งครับที่เหลือ ก็จะเป็นเหตุการณ์อะไรที่กระทบต่อการเงินที่สำคัญก็ควรมาตรวจก่อนครับ

มาทำความรู้จักงบรายรับ รายจ่าย

งบรายรับ รายจ่ายคือ งบที่แสดงถึงว่า เรามีรายรับมาจากไหนบ้าง? รายจ่ายเป็นเท่าไหร่? มีเงินคงเหลืออะไรบ้าง?


งบนี้จะช่วยแก้ปัญหาคือ เราหาเงินมาตั้งนานเงินหายไปไหนหมด? จากสมการ รายรับ – รายจ่าย = เงินคงเหลือ


ซึ่ง การทำงบตัวเองอาจจะเริ่มนึกว่าเรามีรายรับ / รายจ่ายต่อเดือนกี่บาท และลองประมาณการณ์เป็นรายปีตามตัวอย่าง


รายรับ มี 2 แหล่ง คือ จากการทำงาน และ จากการลงทุน


รายจ่าย มี 3 แหล่ง คือ จ่ายคงที่ จ่ายผันแปร จ่ายเพื่อการลงทุน


มาลองดูงบรายรับ รายจ่ายตัวอย่าง ของคนทำงานประจำกัน ใส่ใจการลงทุนกันนะครับ!


รายได้

มูลค่า

%

รายได้จากการทำงาน (Active Income)

เงินเดือน (เดือนละ 35,000)

420,000

68.40%

โบนัส (2 เดือน)

70,000

11.40%

อื่นๆ - รับจ้างทั่วไป (เดือนละ 5,000)

60,000

9.77%

รวมรายได้จากการทำงาน

550,000

89.58%

รายได้จากสินทรัพย์ลงทุน (Passive Income)



ดอกเบี้ย - ออมทรัพย์ (200,000*1.5%)

3,000

0.49%

เงินปันผล (500,000 * 5% )

25,000

4.07%

กำไรจากการลงทุนเดือนละ (เดือนละ 3,000)

36,000

5.86%

ค่าเช่า


0.00%

อื่นๆ


0.00%

รวมรายได้จากสินทรัพย์ลงทุน

64,000

10.42%

รวมรายได้

614,000

100.00%

รายจ่าย

มูลค่า

%

รายจ่ายคงที่ (Fixed Expense)

ประกันสังคม (เดือนละ 750)

9,000

1.47%

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. (3% ของรายได้)

12,600

2.05%

เบี้ยประกันชีวิต (รายปี)

20,000

3.26%

ผ่อนรถยนต์


0.00%

เบี้ยประกันวินาศภัย (รายปี)

10,000

1.63%

ผ่อนบ้าน ( เดือนละ 9,000)

108,000

17.59%

อื่นๆ


0.00%

รวมรายจ่ายคงที่ (Fixed Expense)

159,600

25.99%

รายจ่ายผันแปร (Variable Expense)

อาหาร (เดือนละ 15,000)

180,000

29.32%

เดินทาง/ค่าน้ำมัน/ทางด่วน (เดือนละ 3,000)

36,000

5.86%

สาธารณูปโภค (โทรศัพท์/อินเตอร์เน็ต ทีวี) (เดือนละ 2,000)

24,000

3.91%

ไลฟ์สไตล์ (เดือนละ 3,000)

36,000

5.86%

ช็อปปิ้ง (เดือนละ 2,000)

24,000

3.91%

ท่องเที่ยว (เดือนละ 2,000)

24,000

3.91%

เลี้ยงดูบุตร  (เดือนละ 3,000)

36,000

5.86%

เลี้ยงดูบุพพาการี (เดือนละ 2,000)

24,000

3.91%

อื่่นๆ


0.00%

รวมรายจ่ายผันแปร (Variable Expense)

384,000

62.54%

รายจ่ายเพื่อการออมและลงทุน (Investment Expense)



เงินฝากบัญชี ทั่วไป (ปีละ 10,000)

10,000

1.63%

กองทุนรวมทั่วไป (เดือนละ 2,000)

24,000

3.91%

กองทุนรวม RMF SSF


0.00%

หุ้น (เดือนละ2,000)

24,000

3.91%

รวมรายจ่ายเพื่อการออมและลงทุน  (Investment Expense)

58,000

9.45%

รวมรายจ่ายทั้งหมด

601,600

97.98%

กระแสเงินสดคงเหลือ

12,400

2.02%

มาทำความรู้จักงบทรัพย์สินและหนี้สิน

งบทรัพย์สินและหนี้สิน คือ งบที่แสดงสถานะการเงิน ว่าปัจจุบันเรามีสินทรัพย์อะไรบ้าง? หนี้สินอะไรบ้าง สุดท้ายความมั่งคั่งสุทธิเป็นแบบไหน


งบนี้จะช่วยแก้ปัญหา คือ ทำงานมาตั้งนาน เราเปลี่ยนเงินเป็นทรัพย์สินอะไรบ้าง และหนี้สินที่เรามีอยู่คืออะไร?


จากสมการ สินทรัพย์ – หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ


สินทรัพย์  คือ มูลค่าปัจจุบันของสินทรัพย์ที่มีมูลค่า เช่น บัญชีเงินฝาก กองทุนรวม มูลค่าบ้าน รถ เป็นต้น


หนี้สิน คือ มูลค่าหนี้คงค้าง เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หนี้ รถ เป็นต้น


ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม


สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ มูลค่าของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที มีความเสี่ยงต่ำ เช่น บัญชีเงินฝาก กองทุนรวมตลาดเงิน


สินทรัพย์ลงทุน คือ มูลค่าของสินทรัพย์ลงทุน เช่น สลากออมสิน กองทุนรวม กองทุนรวม SSF,LTF,RMF และหุ้น


สินทรัพย์ส่วนตัว คือ มูลค่าของสินทรัพย์ส่วนตัวไว้ใช้งาน อยู่อาศัย เช่น มูลค่าบ้าน มูลค่ารถ มูลค่าของสะสมต่างๆ


หนี้สินระยะสั้น คือ มูลค่าหนี้คงค้างที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เช่น หนี้คงค้างบัตรเครดิต


หนี้สินระยะยาว คือ มูลค่าหนี้คงค้างที่มีอายุมากกว่า 1 ปี เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ


มาลองดูงบทรัพย์สิน/หนี้สิน ตัวอย่าง ของคนทำงานประจำกัน ใส่ใจการลงทุนกันนะครับ!


สินทรัพย์

มูลค่า

%

สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Asset)

บัญชีฝากออมทรัพย์

100,000

1.85%

กองทุนรวมตลาดเงิน

50,000

0.93%

รวมสินทรัพย์สภาพคล่อง

150,000

2.78%

สินทรัพย์ส่วนตัว (Personal Asset)

รถ

600,000

11.11%

บ้าน

3,500,000

64.81%

ของสะสม

300,000

5.56%

รวมสินทรัพย์ส่วนตัว

4,400,000

81.48%

สินทรัพย์การลงทุน (Investment Asset)

กองทุนประกันสังคม

40,000

0.74%

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

90,000

1.67%

กองทุนรวมทั่วไป

40,000

0.74%

กองทุนรวมเพื่อการออม SSF

20,000

0.37%

กองทุนรวมเพื่อการออม RMF

50,000

0.93%

หุ้น

500,000

9.26%

ทองคำ

100,000

1.85%

อื่นๆ - สินทรัพย์ดิจิตอล

10,000

0.19%

รวมสินทรัพย์เพื่อการลงทุน

850,000

15.74%

สินทรัพย์รวม

5,400,000

100.00%

หนี้สินและความมั่งคั่ง

มูลค่า

%

หนี้สินระยะสั้น (Short-term Liabilities)

หนี้บัตรเครดิต

20,000

0.4%

อื่นๆ


0.0%

หนี้สินระยะสั้นรวม

20,000

0.4%

หนี้สินระยะยาว (Long-term Liabilities)

รถ


0.0%

บ้าน

2,000,000

37.0%

ของสะสม


0.0%

หนี้สินระยะยาวรวม

2,000,000

37.0%

หนี้สินรวม

2,020,000

37.4%

ความมั่งคั่งสุทธิ

3,380,000

62.6%

หนี้สินและความมั่งคั่งสุทธิ

5,400,000

100.0%

วิธีตรวจสุขภาพการเงินด้วยตัวเองผ่านการเงิน 4 ด้าน

หลังจากเราได้เริ่มทำงบการเงินของตัวเองไปแล้ว ทั้งงบรายรับ รายจ่าย รวมไปถึง งบทรัพย์สินและหนี้สิน  


ครั้งนี้เราจะใช้ตัวเลขจากงบการเงินทั้งหลายมาวิเคราะห์ว่าสุขภาพการเงินของเราเป็นเช่นไร มีอะไรดีแล้ว แล้วมีอะไรต้องปรับปรุงหรือปล่าว?


วันนี้ผมเลยมีวิธีการตรวจการตรวจสุขภาพการเงินอย่างง่ายมาฝากเพื่อนๆ ครับ


ลองตรวจดูว่า สุขภาพการเงิน 4 ด้านการเงินของเราปกติไหม? มีอะไรต้องรีบแก้ไขหรือปล่าว?


◆ สูตรในการคำนวณ ◆


 ●  ด้านที่ 1. “สถานะการเงิน” เราเป็นยังไง?


สุขภาพการเงิน

ควรเป็นแบบไหน

1. ความมั่งคั่งสุทธิ (ความรวย) = สินทรัพย์ทั้งหมด - หนี้สินทั้งหมด (บาท)

เป็นบวก ยิ่งบวก ยิ่งรวย

2. ความอยู่รอด = รายได้รวม / ค่าใช้จ่ายรวม (เท่า)

> 1 แสดงว่ามีรายรับที่เพียงพอค่าใช้จ่าย


 ●  ด้านที่ 2. “สภาพคล่อง” เราดีอยู่มั้ย?


สุขภาพการเงิน

ควรเป็นแบบไหน

3. สภาพคล่องระยะสั้น = สินทรัพย์สภาพคล่องรวม/หนี้สินระยะสั้นรวม (เท่า)

> 1 แสดงว่ามีเงินเพียงพอในการจ่ายหนี้ระยะสั้น

4. สภาพคล่องพื้นฐาน (เงินเก็บฉุกเฉิน) = สินทรัพย์สภาพคล่องรวม / ค่าใช้จ่ายต่อเดือนรวม (เดือน)

ควรมีอย่างน้อย 3 – 6 เดือน  เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน


 ●  ด้านที่ 3. มี “หนี้สินเกินตัว” อยู่หรือไม่?


สุขภาพการเงิน

ควรเป็นแบบไหน

5. สัดส่วนหนี้สิน vs สินทรัพย์ = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม (%)

< 50% แสดงว่ามีสัดส่วนหนี้สินที่เหมาะสม

6. ความสามารถในการจ่ายหนี้ =   ผ่อนหนี้สินต่อปี / รายรับต่อปี (%)

< 45% แสดงว่ามีสัดส่วนผ่อนหนี้สินที่เหมาะสม


 ●  ด้านที่ 4. จะมีโอกาส “รวย” ในอนาคต?


สุขภาพการเงิน

ควรเป็นแบบไหน

7. สัดส่วนการลงทุน = สินทรัพย์ลงทุน/ความมั่งคั่งสุทธิ (%)

> 50% แสดงว่ามีสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนที่ดี

8. สัดส่วนการออม = (รายจ่ายเพื่อออมและลงทุน + เงินคงเหลือ) / รายรับ (%)

> 10% แสดงว่าหาเงินเก่งและเก็บเงินเป็น


◆ ตัวอย่างในการคำนวณ จากตัวอย่าง งบการเงินข้างบน 


 ●  ด้านที่ 1 “สถานะการเงิน” เราเป็นยังไง?

1. ความมั่งคั่งสุทธิ(ความรวย) = 5,400,000 - 2,020,000= 3,380,000 บาท มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน มีความมั่งคั่ง

2. ความอยู่รอด = 614,000/ 601,600 = 1.02 เท่า แสดงว่าอยู่รอด มีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ที่มี


 ●  ด้านที่ 2 “สภาพคล่อง” เราดีอยู่มั้ย?

3. สภาพคล่องระยะสั้น = 150,000/20,000 =  เท่า แสดงว่ามีการจ่ายหนี้ระยะสั้นไหวอยู่

4. สภาพคล่องพื้นฐาน(เงินเก็บฉุกเฉิน) = 150,000/(601,600/12) = 3 เดือน แสดงว่ามีสภาพคล่องเพียงพอรองรับได้ 3 เดือน


 ●  ด้านที่ 3 มี “หนี้สินเกินตัว” อยู่หรือไม่?

5.สัดส่วนหนี้สิน vs สินทรัพย์ = 2,020,000/5,400,000 = 37.41% แสดงว่ามีสัดส่วนหนี้ที่เหมาะสม

6.ความสามารถในการจ่ายหนี้ = 108,000/614,000 = 17.59% แสดงว่ามีการผ่อนหนี้สินที่เกินตัว ไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม


 ●  ด้านที่ 4 จะมีโอกาส “รวย” ในอนาคตมั้ย?

7. สัดส่วนการลงทุน = 850,000/3,380,000 = 25.15% แสดงว่าสัดส่วนการลงทุนไม่เหมาะสมควรเพิ่มสินทรัพย์ลงทุน 

8. สัดส่วนการออม = (58,000+12,400)/614,000 = 11.47% แสดงว่ามีการออมที่ดี

เห็นมั้ยครับการตรวจสุขภาพการเงินประจำปีและการทำงบการเงินของตัวเอง ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเอง ก็จะทำให้เพื่อนๆ รู้ตัวเองแล้วว่า การเงินของเราทั้ง 4 ด้านเป็นยังไง ด้านไหน ดีแล้ว ก็พัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปครับ แต่ด้านไหนไม่ดี รีบรักษาให้หาย ก่อนมันจะลุกลาม ทำให้การเงินด้านอื่นๆ ไม่ดีนะครับ เพื่อนๆอย่าลืมวางแผนการเงินและตรวจสุขภาพการเงินด้วยนะครับ

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

goTop
quote
บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
บทความที่เกี่ยวข้อง
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์
ราคาเสนอแบบเรียลไทม์