CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    ผู้ว่าการ Ueda แห่ง BOJ คาด “มีโอกาสที่เงินเยนซึ่งอ่อนค่าลงจะส่งผลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อและทำให้เราเปลี่ยนนโยบาย”

    แหล่งที่มา Fxstreet
    19 เม.ย. 2567 08:10 น.

    นายคาซูโอะ อูเอดะ (Kazuo Ueda) ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) กล่าวในการแถลงข่าวหลังเข้าร่วมการประชุมผู้นําด้านการเงินของกลุ่มประเทศ G20  ที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันพฤหัสบดี  โดยประธาน Ueda กล่าวว่าธนาคารกลางอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหากเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมาก และทําให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเน้นย้ำถึงผลกระทบของการเคลื่อนไหวของสกุลเงินที่มีต่อช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายครั้งต่อไป 

    ข้อความอ้างอิงสําคัญ

     "มีความเป็นไปได้ที่เงินเยนที่อ่อนค่าอาจดันระดับอัตราเงินเฟ้อตามแนวโน้ม จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้านําเข้า" 

    "หากผลกระทบมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเพิกเฉย ก็อาจนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน" 

    "BoJ จะพิจารณาว่าการอ่อนค่าของเงินเยนจนถึงตอนนี้ในปีนี้อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและราคา อย่างไร และนําผลการศึกษามาพิจารณาในการสร้างการเติบโตในรายไตรมาสใหม่ รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่จะออกมาในการประชุมนโยบายในสัปดาห์หน้า "

    ปฏิกิริยาของตลาด

    คู่ USD/JPY ซื้อขายที่ระดับ 154.57 โดยปรับตัวลง 0.05% ในวันนี้ในขณะที่เขียนข่าวนี้


    FAQs เกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น

    ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคืออะไร?

     

    ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) คือธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดนโยบายทางการเงินภายในประเทศ หน้าที่ของธนาคารกลางคือการออกธนบัตรและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อควบคุมมูลค่าของสกุลเงินและการเงินต่าง ๆ  เพื่อให้มั่นใจได้ถึงเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งหมายถึงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณ 2%

     

    ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายอย่างไร?

     

    ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษมาตั้งแต่ปี 2556 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ นโยบายของธนาคารกลางอยู่บนพื้นฐานของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (QQE) หรือการพิมพ์ธนบัตรเพื่อซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรองค์กรเพื่อสร้างสภาพคล่อง ในปี 2559 ธนาคารกลางได้เพิ่มกลยุทธ์ดังกล่าวนี้เป็นสองเท่า และผ่อนคลายทางนโยบายอื่น ๆ เพิ่มเติมและเริ่มใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบก่อน จากนั้นจึงเริ่มควบคุมเส้นโค้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีโดยตรง

     

    การตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อเงินเยนของญี่ปุ่นอย่างไร

     

    มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของธนาคารกลางทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ  กระบวนการนี้แข็งแรงขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากความแตกต่างทางนโยบายที่เพิ่มขึ้นระหว่างธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและธนาคารกลางหลักอื่น ๆ ซึ่งเลือกที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อต่อสู้กับระดับของเงินเฟ้อที่สูงมาหลายทศวรรษ แต่นโยบายของ BoJ ในการคงอัตราดอกเบี้ยได้ทำให้เกิดส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นกับของสกุลเงินอื่น ๆ  ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลง

     

    นโยบายผ่อนคลายทางการเงินพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเร็ว ๆ นี้หรือไม่?

     

    เงินเยนที่อ่อนค่าลงและราคาพลังงานทั่วโลกที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้ได้เกินเป้าหมาย 2% ของ BoJ แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกลางได้ตัดสินว่า ยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย 2% อย่างยั่งยืนและมั่นคง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายปัจจุบันอย่างกะทันหันจึงดูไม่น่าจะเกิดขึ้นได้


      

    ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต
    placeholder
    รายงานเสถียรภาพการเงิน RBNZ: รายได้ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยช่วยให้ครัวเรือนปรับตัวกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้รายงานเสถียรภาพทางการเงินฉบับล่าสุดของธนาคารกลางแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (RBNZ) (หรือรายงาน FSR) เน้นย้ำถึงอัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยเหลือครัวเรือนในการรับมือกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น แต่ยอมรับว่าครัวเรือนจํานวนมากยังคงพยายามลดการใช้จ่ายและขยายเวลาในการชําระหนี้เพื่อให้พ้นแต่ละเดือนไปได้
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    รายงานเสถียรภาพทางการเงินฉบับล่าสุดของธนาคารกลางแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (RBNZ) (หรือรายงาน FSR) เน้นย้ำถึงอัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยเหลือครัวเรือนในการรับมือกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น แต่ยอมรับว่าครัวเรือนจํานวนมากยังคงพยายามลดการใช้จ่ายและขยายเวลาในการชําระหนี้เพื่อให้พ้นแต่ละเดือนไปได้
    placeholder
    Gopinath สมาชิก IMF เผย “การขาดดุลสูงของสหรัฐฯ กระตุ้นอุปสงค์ การเติบโตทั่วโลก ดอกเบี้ยสูงขึ้นและค่าเงิน USD”Gita Gopinath รองกรรมการผู้จัดการคนแรกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า สหรัฐอเมริกาจําเป็นต้องเพิ่มรายได้เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณที่สูง แม้ว่าปัจจัยนี้จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของทั่วโลก โดยการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศของสหรัฐฯ
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    Gita Gopinath รองกรรมการผู้จัดการคนแรกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า สหรัฐอเมริกาจําเป็นต้องเพิ่มรายได้เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณที่สูง แม้ว่าปัจจัยนี้จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของทั่วโลก โดยการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศของสหรัฐฯ
    placeholder
    รองผู้ว่าการ PBOC เผย “จะคงอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนโดยทั่วไปให้มีเสถียรภาพ”รองผู้ว่าการธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่าพวกเขา “จะคงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนโดยพื้นฐานให้มีเสถียรภาพ”
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    รองผู้ว่าการธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (PBOC) กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่าพวกเขา “จะคงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนโดยพื้นฐานให้มีเสถียรภาพ”
    goTop
    quote