รมต.ต่างประเทศของอิหร่านเผย “อิหร่านเต็มใจที่จะอดกลั้น ไม่มีความตั้งใจที่จะให้เหตุการณ์บานปลายมากกว่านี้”

แหล่งที่มา Fxstreet
16 เม.ย. 2567 09:04 น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอิหร่าน นาย Hossein Amir-Abdollahian กล่าวว่า "อิหร่านเต็มใจที่จะอดกลั้นใจ และไม่มีความตั้งใจที่จะทําให้สถานการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ บานปลายไปมากกว่านี้"

ในการโทรศัพท์กับรัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน รัฐมนตรีต่างประเทศของจีนกล่าวว่า "ผมเชื่อว่าอิหร่านจะสามารถเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดีและหลีกเลี่ยงความไม่มั่นคงใด ๆ มากขึ้น ในขณะที่ปกป้องอธิปไตยและศักดิ์ศรีของอิหร่านไว้"

ปฏิกิริยาของตลาด

แม้จะมีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านเบาบางลง แต่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยยังคงพบความต้องการใหม่ ๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินรายใหญ่อื่น ๆ  โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐซื้อขายสูงขึ้น 0.13% ในวันนี้ อยู่ที่ 106.35 ในขณะที่เขียนข่าวนี้


คําถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในการลงทุนเสี่ยง

คําว่า 'risk-on' และ 'risk-off' หมายถึงอะไรเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน?

ในโลกของศัพท์แสงทางการเงินคําที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสองคํา คำว่า "risk-on" และ "risk off" หมายถึงระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนเต็มใจที่จะยอมรับในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่อ้างอิง ในตลาด "ที่กล้าเสี่ยง (risk-on)" นักลงทุนจะมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตและเต็มใจที่จะซื้อสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น ส่วนในตลาดที่ "หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-on)" นักลงทุนจะเริ่ม 'เทรดอย่างเน้นความปลอดภัย' เพราะพวกเขากังวลเกี่ยวกับอนาคต ดังนั้นจึงซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ซึ่งมีความแน่นอนมากขึ้นในการได้ผลตอบแทนแม้ว่ากำไรที่จะได้จะไม่มากก็ตาม

สินทรัพย์หลัก ๆ ที่ต้องติดตามเพื่อทําความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นในความเสี่ยงคืออะไร?

โดยปกติในช่วงที่ "มีความกล้าเสี่ยง (risk-on)" ตลาดหุ้นจะราคาเพิ่มขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ยกเว้นทองคําก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในเชิงบวก สกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะแข็งแกร่งขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสกุลเงินคริปโตก็เพิ่มขึ้นในตลาดเช่นกัน โดยในฝั่งของ "การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-off)" ผลตอบแทนพันธบัตรจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลใหญ่ ๆ ทองคําจะราคาสูงขึ้น และสกุลเงินที่นับว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยต่าง ๆ  อย่างเช่น เงินเยนญี่ปุ่น ฟรังก์สวิส และดอลลาร์สหรัฐ ล้วนได้รับอานิสงส์

สกุลเงินใดแข็งค่าขึ้นเมื่อความเชื่อมั่นเป็นภาวะ 'กล้าเสี่ยง (risk-on)'?

ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) ดอลลาร์แคนาดา (CAD) ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) และสกุลเงิน FX กลุ่มที่รองลงมา อย่างเช่น รูเบิล (RUB) และแรนด์ของแอฟริกาใต้ (ZAR) ก็ล้วนมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดที่ "มีความกล้าเสี่ยง" นี่เป็นเพราะเศรษฐกิจของสกุลเงินเหล่านี้พึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์อย่างมากเพื่อการเติบโต และสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะราคาสูงขึ้นในช่วงที่มีความกล้าเสี่ยง เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ความต้องการวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มากขึ้นในอนาคตเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

สกุลเงินใดแข็งค่าขึ้นเมื่อความเชื่อมั่นเป็นความพยายาม 'หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-off)'?

สกุลเงินหลักที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงที่ "หลีกเลี่ยงความเสี่ยง" ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เยนญี่ปุ่น (JPY) และฟรังก์สวิส (CHF) เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสํารองหลัก ๆ ของโลกและเนื่องจากในช่วงวิกฤตนักลงทุนจะซื้อพันธบัตรหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งถูกมองว่าปลอดภัยเพราะเป็นประเทศฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกจึงไม่น่าจะผิดนัดชําระหนี้ ในส่วนของเงินเยน ความต้องการพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากนักลงทุนในประเทศถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงซึ่งไม่น่าจะทิ้งพันธบัตรเหล่านี้แม้ในภาวะวิกฤต ส่วนฟรังก์สวิส เนื่องจากกฎหมายการธนาคารของสวิสที่เข้มงวดจะช่วยให้นักลงทุนได้รับการคุ้มครองเงินทุนที่มากขึ้น

 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต
placeholder
GDP ไตรมาส 1 ของญี่ปุ่นหดตัว 0.5% QoQ เทียบกับที่คาดไว้ -0.4%ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นสําหรับไตรมาสแรก (Q1) อยู่ที่ -0.5% QoQ เทียบกับที่คาดไว้ -0.4% และ 0.1% ที่ประกาศก่อนหน้านี้นอกจากนี้ GDP รายปีหดตัว 2.0% เทียบกับที่คาดการณ์ว่าจะหดตัว 1.5% และขยายตัว 0.4% ก่อนหน้านี้ 
แหล่งที่มา  Fxstreet
ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นสําหรับไตรมาสแรก (Q1) อยู่ที่ -0.5% QoQ เทียบกับที่คาดไว้ -0.4% และ 0.1% ที่ประกาศก่อนหน้านี้นอกจากนี้ GDP รายปีหดตัว 2.0% เทียบกับที่คาดการณ์ว่าจะหดตัว 1.5% และขยายตัว 0.4% ก่อนหน้านี้ 
placeholder
PMI ภาคธุรกิจของนิวซีแลนด์ยังคงอยู่ในแดนการหดตัว แต่ดีขึ้นมาที่ 48.9 ในเดือนเม.ษ.ดัชนี PMI ภาคการผลิต (PMI) ของนิวซีแลนด์จาก BusinessNZ ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน โดยตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ที่ 48.9 เทียบกับที่ 46.8 ในเดือนมีนาคม แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 49.1
แหล่งที่มา  Fxstreet
ดัชนี PMI ภาคการผลิต (PMI) ของนิวซีแลนด์จาก BusinessNZ ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน โดยตัวเลขที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ที่ 48.9 เทียบกับที่ 46.8 ในเดือนมีนาคม แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 49.1
placeholder
“ระยะเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงไม่แน่นอน” - ประธานเฟดสาขาแอดแลนตาจากการให้สัมภาษณ์กับสํานักข่าวรอยเตอร์ นายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาแอตแลนตาให้ความเห็นว่าเฟดอาจยังคงวางแผนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนว่าการผ่อนคลายนโยบายจะเกิดขึ้นเมื่อใด และมากน้อยเพียงใด รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
แหล่งที่มา  Fxstreet
จากการให้สัมภาษณ์กับสํานักข่าวรอยเตอร์ นายราฟาเอล บอสติก ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาแอตแลนตาให้ความเห็นว่าเฟดอาจยังคงวางแผนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนว่าการผ่อนคลายนโยบายจะเกิดขึ้นเมื่อใด และมากน้อยเพียงใด รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
goTop
quote