AUDUSD ร่วงลงไปยัง 0.6560 เพราะดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวและจุดยืน RBA มีความเข้มงวดในนโยบายการเงินน้อยลง

แหล่งที่มา Fxstreet
08 พ.ค. 2567 14:25 น.
  • AUDUSD ได้รับผลกระทบอย่างหนักเพราะการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐและความเชื่อมั่นของตลาดที่ลดลง
  • ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิสมองว่าอัตราดอกเบี้ยจะทรงตัวไปจนถึงสิ้นปีนี้
  • ผู้ว่าการ RBA ไม่เห็นความจําเป็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง

ในช่วงต้นตลาดลงทุนอเมริกาวันพุธ คู่ AUDUSD เปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงและตกลงไปที่ 0.6560 เพราะมีปัจจัยกดดันหลายครั้ง การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และการอ่อนค่าของดอลลาร์ออสเตรเลียเพราะจุดยืนของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีความเข้มงวดในนโยบายการเงินน้อยลง การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ได้ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ AUD

ความเชื่อมั่นของตลาดลดลงเนื่องจากนักลงทุนยังคงไม่มั่นใจเกี่ยวกับจังหวะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ดัชนี S&P 500 เปิดตลาดในแดนลบ แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้น้อยลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีฟื้นตัวสู่ระดับ 4.48% หลังจากนีล คัชคารี (Neel Kashkari) ประธานเฟดสาขามินนิอาโปลิสได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการลดเงินเฟ้อที่หยุดชะงัก เขายังสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยให้คงอยู่ที่ระดับปัจจุบันไปตลอดทั้งปี

ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ขยับขึ้นสู่ระดับ 105.50 เพราะนีล คัชคารี (Neel Kashkari) กล่าวว่าเขาต้องการเห็นตัวเลขเงินเฟ้อดีขึ้นหลายๆ ครั้งก่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าอัตราเงินเฟ้อกําลังลดลงอย่างต่อเนื่องสู่เป้าหมาย 2% เขาเสริมว่าความอ่อนแอในตลาดงานอาจแสดงให้เห็นความจําเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

นักลงทุนจะให้ความสำคัญไปที่ถ้อยแถลงจากผู้กําหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาทิเช่นรองประธานเฟดฟิลิป เจฟเฟอสัน (Philip Jefferson), ประธานธนาคารกลางสาขาบอสตันนางซูซาน คอลลิน (Susan Collins) และลิซ่า คุก (Lisa Cook) ผู้ว่าการเฟด เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐในอนาคต

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังคงถูกกดดันหลังจาก RBA แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ในการแถลงข่าว นางมิเชล บลูล็อค (Michele Bullock) ผู้ว่าการ RBA ได้ลดความคาดหวังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น แม้ว่าแรงกดดันด้านราคาล่าสุดจะเกินความคาดหมายก็ตาม บูลล็อคกล่าวว่า "ฉันไม่คิดว่าเราจําเป็นต้องกระชับนโยบายการเงินอีกครั้ง" เธอเสริมว่า "เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย"

AUD/USD

ภาพรวม
ราคาสุดท้ายวันนี้ 0.657
การเปลี่ยนแปลงวันนี้ -0.0027
% เปลี่ยนแปลงวันนี้ -0.41
ราคาเปิดวันนี้ 0.6597
 
แนวโน้ม
SMA20 รายวัน 0.6504
SMA50 รายวัน 0.6536
SMA 100 รายวัน 0.658
SMA200 รายวัน 0.6522
 
ระดับ
จุดสูงสุดของวัน 0.6638
จุดต่ำสุดของวัน 0.6587
จุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว 0.6649
จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว 0.6465
จุดสูงสุดของเดือนที่แล้ว 0.6644
จุดต่ำสุดของเดือนที่แล้ว 0.6362
Fibonacci รายวัน 38.2% 0.6606
Fibonacci รายวัน 61.8% 0.6618
Pivot Point แนวรับที่ 1 รายวัน 0.6577
Pivot Point แนวรับที่ 2 รายวัน 0.6556
Pivot Point แนวรับที่ 3 รายวัน 0.6526
Pivot Point แนวต้านที่ 1 รายวัน 0.6628
Pivot Point แนวต้านที่ 2 รายวัน 0.6659
Pivot Point แนวต้านที่ 3 รายวัน 0.6679

 

 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต
placeholder
วิเคราะห์ NZD/USD แรงตลาดผู้ขายหยุดพักเอาแรงหลังจากพากราฟวิ่งขึ้นในวันพุธ ภาพรวมยังเป็นบวกในช่วงวันพฤหัสบดี NZD/USD ยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 0.6120  เนื่องจากนักลงทุนดูเหมือนจะเริ่มขายกำไรหลังจากที่คู่สกุลเงินนี้พุ่งเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลัก ๆ (SMAs) แนวโน้มของคู่สกุลเงินดังกล่าวกลับมาเป็นขาขึ้น แต่การปรับฐานในกรอบต่อไปอาจใกล้เข้ามา
แหล่งที่มา  Fxstreet
ในช่วงวันพฤหัสบดี NZD/USD ยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 0.6120  เนื่องจากนักลงทุนดูเหมือนจะเริ่มขายกำไรหลังจากที่คู่สกุลเงินนี้พุ่งเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลัก ๆ (SMAs) แนวโน้มของคู่สกุลเงินดังกล่าวกลับมาเป็นขาขึ้น แต่การปรับฐานในกรอบต่อไปอาจใกล้เข้ามา
placeholder
USDJPY ปรับตัวขึ้นจากขาลงมาได้บ้างแต่ยังวิ่งอยู่ต่ำกว่า 154.50 หลังการประกาศตัวเลข GDP ญี่ปุ่นในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันพฤหัสบดี คู่ USDJPY ปรับตัวขึ้นจากขาลงได้บ้างมาวิ่งใกล้ 154.45 ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงได้สร้างแรงกดดันเทขายดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม คู่ USDJPY ฟื้นตัวเล็กน้อยหลังจากประกาศข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปี 2024 ที่อ่อนแอกว่าคาด ตามรายงานของสํานักงานคณะรัฐมนตรีเมื่อวันพฤหัสบดีเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวในช่วงสามเดือนแรกของปี 2024 GDP เบื้องต้นของญี่ปุ่นหดตัว 0.5% QoQ ในไตรมาสที่ 1 จากการขยายตั
แหล่งที่มา  Fxstreet
ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันพฤหัสบดี คู่ USDJPY ปรับตัวขึ้นจากขาลงได้บ้างมาวิ่งใกล้ 154.45 ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงได้สร้างแรงกดดันเทขายดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม คู่ USDJPY ฟื้นตัวเล็กน้อยหลังจากประกาศข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปี 2024 ที่อ่อนแอกว่าคาด ตามรายงานของสํานักงานคณะรัฐมนตรีเมื่อวันพฤหัสบดีเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวในช่วงสามเดือนแรกของปี 2024 GDP เบื้องต้นของญี่ปุ่นหดตัว 0.5% QoQ ในไตรมาสที่ 1 จากการขยายตั
placeholder
ฟอเร็กซ์เช้านี้: ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ หนุนให้นักลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นหลังจากการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่วัดโดย CPI ในเดือนเมษายน สินทรัพย์เสี่ยงกลับมามีแรงขาขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงในวงกว้าง
แหล่งที่มา  Fxstreet
หลังจากการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่วัดโดย CPI ในเดือนเมษายน สินทรัพย์เสี่ยงกลับมามีแรงขาขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงในวงกว้าง
goTop
quote