การจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ของสหรัฐอเมริกาในเดือนสิงหาคมมีโอกาสลดความน่าจะเป็นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย แนะนำให้จับตา Beige Bookในสัปดาห์นี้!

ภ าพรวมของตลาด
สัปดาห์ที่แล้ว (8/28-9/1) ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวขึ้นในวงกว้าง สำหรับในตลาดสหรัฐฯ ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 2.50% ดัชนี Dow Jones เพิ่มขึ้น 1.43% และดัชนี Nasdaq 100 เพิ่มขึ้น 3.67% หุ้นยุโรป ดัชนี STOXX 600 เพิ่มขึ้น 1.49% ในเอเชีย ดัชนี Nikkei 225 เพิ่มขึ้น 3.44%
1.การจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ในเดือนสิงหาคมของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าตลาดงานค่อย ๆ เย็นตัวลง ความน่าจะเป็นที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมก็ลดลงด้วย
เมื่อวันที่ 1 กันยายน สำนักงานสถิติแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกาเปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐฯในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 187,000 รายซึ่งเป็นตัวเลขที่เกินความคาดหมาย อย่างไรก็ตาม มีการปรับลดลงการจ้างงาน 110,000 รายการสำหรับเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมรวมกัน ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันต่ำกว่า 200,000 นอกจากนี้ การฟื้นตัวของการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดอีก 0.3 จุดเปอร์เซนต์ สู่ระดับ 3.8% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ในขณะที่อัตราการเติบโตของค่าจ้างรายชั่วโมงชะลอตัวลง
ที่มา: MacroMicro
โดยรวมแล้ว รายงานนี้บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานค่อย ๆ เย็นตัวลง หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนี้ ความคาดหวังของตลาดในเรื่องของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งโดยธนาคารกลางสหรัฐในปลายปีนี้ก็ลดลงด้วย จากข้อมูลของ CME Fed Watch แสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์ของตลาดว่ามีความน่าจะเป็นที่จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 93% ในเดือนกันยายน และความน่าจะเป็นที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดในเดือนพฤศจิกายนจะลดลงเหลือ 35.7% ช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าได้เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม
ที่มา: CME
ควรสังเกตว่าหลักฐานในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าวงจรที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐได้สิ้นสุดลงแล้ว เพราะในระหว่างการประชุม Jackson Hole Symposium เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ เจอโรม พาวเวลล์ แสดงความกังวลเกี่ยวกับ "การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวได้ รวมถึงเศรษฐกิจก้าวข้ามแนวโน้มระยะยาว และแรงต้านของเงินเฟ้อ" โดยเสนอว่าอาจจำเป็นต้องมีการเข้มงวดทางการเงินเพิ่มเติม
การวิเคราะห์ของ Mitrade :
ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรล่าสุดช่วยให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ มีองว่างให้หายใจ และมีแนวโน้มสูงว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโอกาสในระยะยาว แล้วยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปลายปีนี้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงในเดือนสิงหาคมล่าสุดยังคงสูงถึง 4.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออย่างมาก อีกทั้งยังมีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะฟื้นตัวอีกครั้ง เว้นแต่ธนาคารกลางสหรัฐจะเพิ่มเป้าหมายเงินเฟ้อระยะยาวที่ 2% แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี
2.ดัชนีราคา PCE หลักในเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.2% YoY อัตราเงินเฟ้อยังไม่นิ่ง
ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมขี้ว่าดัชนีราคาค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกรกฎาคม ดีดตัวขึ้นจาก 3% ในเดือนมิถุนายนเป็น 3.3% ในเวลาเดียวกัน ตัวบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อที่ต้องการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นดัชนีราคา PCE หลักที่ไม่รวมอาหารและพลังงานมีการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบเป็นรายปีจาก 4.1% ในเดือนมิถุนายนเป็น 4.2% ตัวเลขทั้งสองสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด
ที่มา: MacroMicro
แม้ว่าดัชนี PCE จะยังคงเร่งตัวต่อไป แต่ข้อมูลรายละเอียดอื่น ๆ ก็แสดงให้เห็นถึงผลกระทบสะสมของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว จากมุมมองของข้อมูลรายได้ อัตราการเติบโตของรายจ่ายที่สูงในปัจจุบันนั้นไม่ยังไม่นิ่ง เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้น 7.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 144.6 พันล้านดอลลาร์ เพราะมีการกู้ยืมบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นในขณะที่การออมยังลดลงอย่างต่อเนื่อง
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าเมื่อเงินออมส่วนเกินที่เกิดจาก "การพิมพ์ธนบัตร" ในช่วงการระบาดครั้งใหญ่หมดลง การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็จะลดลงตามไปด้วย ประกอบกับการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อที่อยู่อาศัยและการเติบโตของค่าจ้าง คาดว่าตัวบ่งชี้อัตราเงินเฟ้อที่ต้องการของธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดลงอีกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าของปี 2023
การวิเคราะห์ของ Mitrade:
อัตราเงินเฟ้อของภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับผลกระทบพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยในอนาคต ทำให้ดัชนี PCE ลดลงอย่างช้า ๆ และท้าทาย หากธนาคารกลางสหรัฐฯให้ความสำคัญกับเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% มากเกินไปก็อาจทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ ดังนั้นควรจับตาดู Beige Book และการปราศรัยจากสมาชิกผู้ลงคะแนนเสียงของธนาคารกลางสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มของตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น
3.ความเชื่อมั่นของตลาดดีขึ้น คำสาปแห่งความถดถอยในเดือนกันยายนจะถูกทำลายได้หรือไม่?
การเปิดเผยข้อมูลในดัชนี PCE และข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้เกิดความคาดหวังอย่างกว้างขวางในตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐว่าจะยกเลิกการขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ส่งผลให้มีการมองตลาดในแง่ดีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ตามที่ Stephen Suttmeier นักวิเคราะห์ทางเทคนิคของ Bank of America กล่าวไว้ โดยอิงจากสถานการณ์ "สาวทอง" ในปัจจุบันของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ร่วมกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อ่อนตัวลง) ตลาดหุ้นคาดว่าจะแตะจุดสูงสุดประวัติศาสตร์ได้ภายในสิ้นปีนี้ เขากล่าวว่า “เมื่อตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น 10%-20% ในเดือนกันยายน 65% ของเวลาในเดือนนั้นให้ผลลัพธ์เป็นบวก… สำหรับเดือนกันยายน 2566 และช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ตลาดหุ้นจะแสดงแนวโน้มขาขึ้น ”
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนยังคงกังวลเกี่ยวกับคำสาปเดือนกันยายนกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ดัชนี Nasdaq 100 ลดลงเฉลี่ย 0.6% ในเดือนกันยายน ทำให้เป็นเดือนเดียวที่มีผลการดำเนินงานติดลบตลอดทั้งปี
การวิเคราะห์ของ Mitrade :
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ซึ่งยังคงสร้างแรงกดดันต่อการประเมินมูลค่าหุ้นเทคโนโลยี จากประสบการณ์ในอดีต หากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลงในเดือนกันยายนก็มีแนวโน้มสูงที่ดัชนีจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในไตรมาสที่สี่ ในทางกลับกัน หากตลาดยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนกันยายน ก็จะบีบศักยภาพให้สูงขึ้นในไตรมาสที่สี่ และเพิ่มความเสี่ยงในการปรับฐานตลาดหุ้นในสหรัฐฯ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน