NZDUSD ยังคงปรับตัวสูงขึ้นหลังจากการประชุมดอกเบี้ยของเฟด

แหล่งที่มา Fxstreet
02 พ.ค. 2567 08:17 น.
  • เฟดยอมรับว่าไม่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสําคัญต่อการมุ่งหน้าสู่เป้าหมายเงินเฟ้อ 2% พวกเขายังคงจะใช้นโยบายการเงินเข้มงวด
  • แม้จะมีความท้าทาย แต่พาวเวลล์ตั้งข้อสังเกตว่านโยบายที่เข้มงวดได้ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานและเงินเฟ้อมีความสมดุลมากขึ้น
  • ตลาดเริ่มหมดความหวังกับการลดอัตราดอกเบี้ยสามครั้งในปี 2024

NZDUSD ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ออกมาเป็นไปตามที่ส่วนใหญ่คาดการณ์ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง พวกเขาคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในกรอบ 5.25-5.50% ท่าทีที่ระมัดระวัง และการตัเสินใจโดยจะพึ่งพาข้อมูลเศรษฐกิจของเจอโรม พาวเวลล์ ถูกมองว่าเป็น dovish ทําให้นักลงทุนเทขายเงิน USD

นอกจากนี้ พาวเวลล์ระบุว่าธนาคารยังคงต้องการหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสร้างความมั่นใจในการเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย เขากล่าวว่าความคืบหน้าของการลดเงินเฟ้อหยุดนิ่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เจอโรม พาวเวลล์ยืนยันว่าหากข้อมูลยังออกมาแข็งแกร่ง ก็ควรเข้มงวดนโยบายการเงินต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง เมื่อข้อมูลเริ่มสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารฯ เขาชี้ให้เห็นว่าเนั่นน่าจะเป็นช่วงที่สามารถพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยได้

ตลาดกําลังเลิกหวังที่จะเห็นเฟดปรับลดในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม และเปลี่ยนไปเชื่อว่าเฟดจะเริ่มต้นลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายนหรือพฤศจิกายนแทน

การวิเคราะห์คู่สกุลเงิน NZDUSD ทางเทคนิค

ในกราฟรายวัน อินดิเคเตอร์ RSI ยืนอยู่ในแดนลบ ค่าล่าสุดระบุว่าเพิ่มขึ้นเป็น 44 เพิ่มความหวังให้กับตลาดกระทิงแม้ว่าจะยังคงวิ่งอยู่ใต้เส้นสัญญาณ นอกจากนี้ ฮิสโตแกรมของอินดิเคเตอร์ Moving Average Convergence Divergence (MACD) ยังมีแถบสีเขียวแบน หมายความว่ามีโมเมนตัมเชิงบวกเล็กน้อย

กราฟ NZDUSD รายวัน

เมื่อเปลี่ยนไปดูกราฟรายชั่วโมง RSI มีค่าที่หลากหลาย อินดิเคเตอร์อยู่ในโซนซื้อมากเกินไปที่ 70 ตามด้วยการลดลงเหลือ 55 ในขณะเดียวกัน กราฟ MACD รายชั่วโมงมีแท่งฮีสโตแกรมสีเขียวแบน คล้ายกับการกราฟรายวัน หมายความว่าในระยะสั้นสามารถคาดหวังให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้

กราฟ NZDUSD รายชั่วโมง

ในการประเมินภาพรวมที่กว้างขึ้น NZDUSD อยู่ภายใต้แรงกดดันที่ขาลงอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันราคาวิ่งอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) 20, 100 และ 200 วัน

โดยรวมแล้ว NZDUSD แสดงภาพการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย แม้จะมีสัญญาณซื้อมากเกินไปในกราฟรายชั่วโมง ที่ส่งสัญญาณว่าราคาอาจปรับตัวลดลงในอนาคต แต่เส้น SMA ที่สําคัญ ประกอบกับค่า RSI ในกราฟรายวันก็เอนเอียงไปทางฝั่งขาลง ทําให้คู่ NZDUSD ปรับตัวลดลง สภาวะปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าฝั่งผู้ขายอาจยังคงครองเกมต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งคู่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้น SMA ที่สําคัญ แต่หากฝั่งผู้ซื้อสามารถยืนเหนือเส้น SMA 20 วันที่ 0.5950 ก็อาจทําให้แนวโน้มขาขึ้นมีความสดใสขึ้น

NZD/USD

ภาพรวม
ราคาสุดท้ายวันนี้ 0.5937
การเปลี่ยนแปลงวันนี้ 0.0007
% เปลี่ยนแปลงวันนี้ 0.12
ราคาเปิดวันนี้ 0.593
 
แนวโน้ม
SMA20 รายวัน 0.5952
SMA50 รายวัน 0.6031
SMA 100 รายวัน 0.6106
SMA200 รายวัน 0.6043
 
ระดับ
จุดสูงสุดของวัน 0.5941
จุดต่ำสุดของวัน 0.5875
จุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว 0.597
จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว 0.5886
จุดสูงสุดของเดือนที่แล้ว 0.6079
จุดต่ำสุดของเดือนที่แล้ว 0.5851
Fibonacci รายวัน 38.2% 0.5916
Fibonacci รายวัน 61.8% 0.59
Pivot Point แนวรับที่ 1 รายวัน 0.5889
Pivot Point แนวรับที่ 2 รายวัน 0.5849
Pivot Point แนวรับที่ 3 รายวัน 0.5823
Pivot Point แนวต้านที่ 1 รายวัน 0.5956
Pivot Point แนวต้านที่ 2 รายวัน 0.5981
Pivot Point แนวต้านที่ 3 รายวัน 0.6022

 

 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต
placeholder
USDJPY ปรับตัวขึ้นต่อไปยืนเหนือ 156.60 ก่อนประกาศตัวเลข CPI และยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันพุธ คู่ USDJPY เคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นวันที่สี่ติดต่อกันใกล้ 156.55 การปรับตัวขึ้นของ USDJPY ได้รับแรงหนุนจากการเก็งว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจคงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นนานขึ้นท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกลัวว่าทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงค่าเงินอาจจํากัดขาขึ้นของ USDJPY ประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์ (Jerome Powell) ย้ำเมื่อวันอังคารว่าอัตราเงินเฟ้อกําลังลดลงช้ากว่าที่คาดไว้ และตัวเลข PPI เดือนเมษายนให้น้ำหนักมากขึ้นในการคงอัต
แหล่งที่มา  Fxstreet
ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันพุธ คู่ USDJPY เคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นวันที่สี่ติดต่อกันใกล้ 156.55 การปรับตัวขึ้นของ USDJPY ได้รับแรงหนุนจากการเก็งว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจคงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นนานขึ้นท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกลัวว่าทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงค่าเงินอาจจํากัดขาขึ้นของ USDJPY ประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์ (Jerome Powell) ย้ำเมื่อวันอังคารว่าอัตราเงินเฟ้อกําลังลดลงช้ากว่าที่คาดไว้ และตัวเลข PPI เดือนเมษายนให้น้ำหนักมากขึ้นในการคงอัต
placeholder
GBPUSD ปรับฐานจากขาขึ้นที่ทำมาเหนือ 1.2550 ก่อนประกาศตัวเลขการจ้างงานของ UKในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันอังคาร คู่ GBPUSD ไซด์เวย์อยู่ใกล้ 1.2560 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) อ่อนค่าลงท่ามกลางกระแสความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม ซึ่งช่วยสนับสนุนคู่เงิน GBPUSD ได้บ้าง นักลงทุนจะจับตาดูตลาดการจ้างงานของสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด, ถ้อยแถลงของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ BoE และข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในวันอังคารนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลายคนเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการคงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นนานขึ้นเพราะอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้
แหล่งที่มา  Fxstreet
ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนเอเชียวันอังคาร คู่ GBPUSD ไซด์เวย์อยู่ใกล้ 1.2560 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) อ่อนค่าลงท่ามกลางกระแสความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงในภาพรวม ซึ่งช่วยสนับสนุนคู่เงิน GBPUSD ได้บ้าง นักลงทุนจะจับตาดูตลาดการจ้างงานของสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด, ถ้อยแถลงของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ BoE และข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในวันอังคารนี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลายคนเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการคงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นนานขึ้นเพราะอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้
placeholder
NZD/USD ร่วงลงมาที่ระดับ 0.6000 หลังจากการเปิดรายงานเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ที่อ่อนแอNZD/USD ยังคงสูญเสียฐานราคาไปเป็นเซสชั่นที่สอง โดยมีการซื้อขายที่บริเวณระดับ 0.6000 ในช่วงเซสชั่นเอเชียในวันจันทร์ โดยดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) อ่อนค่าลงหลังจากการเปิดเผยการคาดการณ์เงินเฟ้อของ RBNZ (QoQ) สองปีสำหรับไตรมาสที่สอง ซึ่งลดลงมาเป็น 2.33% จากที่ 2.50% ในไตรมาสก่อนหน้า การลดลงนี้กระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจพิจารณาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2567
แหล่งที่มา  Fxstreet
NZD/USD ยังคงสูญเสียฐานราคาไปเป็นเซสชั่นที่สอง โดยมีการซื้อขายที่บริเวณระดับ 0.6000 ในช่วงเซสชั่นเอเชียในวันจันทร์ โดยดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) อ่อนค่าลงหลังจากการเปิดเผยการคาดการณ์เงินเฟ้อของ RBNZ (QoQ) สองปีสำหรับไตรมาสที่สอง ซึ่งลดลงมาเป็น 2.33% จากที่ 2.50% ในไตรมาสก่อนหน้า การลดลงนี้กระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจพิจารณาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2567
ตราสารที่เกี่ยวข้อง
goTop
quote