CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    NZDUSD ปรับตัวลดลงเพราะจุดยืนนโยบายการเงินของ RBNZ ดูไปในทางผ่อนคลาย

    แหล่งที่มา Fxstreet
    29 มี.ค. 2567 08:33 น.
    • ผู้ว่าการ RBNZ ถูกมองว่าไปในทางผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นแรงกดดันต่อ NZD
    • ข้อมูล GDP และผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกหนุนค่าเงิน USD ตัวเลข PMI ที่อ่อนแอของชิคาโกจํากัดขาขึ้น
    • ตลาดปรับความคาดหวังของพวกเขาที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ซึ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ USD

    ปัจจุบัน NZDUSD เคลื่อนไหวอยู่ที่ 0.5977 ปรับตัวลดลงมา 0.43% การเคลื่อนไหวของ NZDUSD ได้รับอิทธิพลจากความคิดเห็นของผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) แอนเดรียน ออร์ที่ค่อนข้างไปในทางผ่อนคลายนโยบายการเงิน และจากข้อมูลที่หลากหลายของสหรัฐฯ ก่อนตลาดลงทุนในวันศุกร์เปิดทำการ ตอนนี้ นักลงทุนในตลาดกำลังรอข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) จากสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

    แอนเดรียน ออร์ ผู้ว่าการ RBNZ ให้ความเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อกําลังเข้าสู่ภาวะปกติในขณะที่อุปสงค์โดยรวมกําลังชะลอตัว ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงในอนาคตอันใกล้ และมีเสถียรภาพมากขึ้นในสภาวะอัตราดอกเบี้ยปกติ ตลาดกําลังเก็งว่า RBNZ จะผ่อนคลายนโยบายการเงิน 75 จุดเบสิสในปี 2024 ในขณะที่ RBNZ บอกเป็นนัยว่าการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในปี 2025 และตราบใดที่ตลาดประเมินธนาคารต่ำเกินไป NZD อาจอ่อนค่าลงต่อ

    ด้าน USD การประกาศข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกล่าสุดพบว่าตัวเลขที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ ในสัปดาห์ที่นับถึงวันที่ 23 มีนาคมออกมาอยู่ที่ 210,000 รายเทียบกับ 215,000 รายที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 4 ยังปรับสูงขึ้น มีการเติบโต 3.4% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เป็นบวก ข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนมีนาคมของชิคาโกจากสถาบันการจัดการอุปทานต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยออกมาอยู่ที่ 41.4 เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 46 และ 44 ก่อนหน้านี้

    สําหรับการคาดการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนลดลงเหลือ 66% จาก 85% เมื่อต้นสัปดาห์ สถานการณ์ดังกล่าวช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไปในวันศุกร์ มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นตลาดที่ผันผวน เนื่องจากนักลงทุนอาจปรับการเก็งเกี่ยวช่วงเวลาที่เฟดจะลดดอกเบี้ยใหม่

    การวิเคราะห์ NZDUSD ทางเทคนิค

    ในกราฟรายวัน อินดิเคเตอร์ RSI ของคู่ NZDUSD ถูกตรึงอยู่ในแดนลบอย่างเห็นได้ชัด การอ่านค่า RSI ล่าสุดแกว่งกลับไปที่แนวโน้มขาลง โดยมีระดับอยู่ที่ 33 หมายความว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดเป็นขาลง ในขณะเดียวกัน แท่งฮิสโตแกรมสีแดงใน Moving Average Convergence Divergence (MACD) หมายความว่าโมเมนตัมขาลงจะยังคงตอกย้ำความเป็นฝั่งตลาดหมีของสกุลเงินอยู่ในขณะนี้

    เมื่อย้ายไปวิเคราะห์ Simple Moving Average (SMA) ทั้งคู่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA) 20, 100 และ 200 วันตามลําดับ ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มเชิงลบอย่างต่อเนื่อง

    กราฟรายวัน NZDUSD

    NZD/USD

    ภาพรวม
    ราคาสุดท้ายวันนี้ 0.597
    การเปลี่ยนแปลงวันนี้ -0.0003
    % เปลี่ยนแปลงวันนี้ -0.05
    ราคาเปิดวันนี้ 0.5973
     
    แนวโน้ม
    SMA20 รายวัน 0.6085
    SMA50 รายวัน 0.6106
    SMA 100 รายวัน 0.6136
    SMA200 รายวัน 0.6073
     
    ระดับ
    จุดสูงสุดของวัน 0.6008
    จุดต่ำสุดของวัน 0.5956
    จุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว 0.6107
    จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว 0.5989
    จุดสูงสุดของเดือนที่แล้ว 0.6219
    จุดต่ำสุดของเดือนที่แล้ว 0.6037
    Fibonacci รายวัน 38.2% 0.5976
    Fibonacci รายวัน 61.8% 0.5988
    Pivot Point แนวรับที่ 1 รายวัน 0.595
    Pivot Point แนวรับที่ 2 รายวัน 0.5927
    Pivot Point แนวรับที่ 3 รายวัน 0.5898
    Pivot Point แนวต้านที่ 1 รายวัน 0.6002
    Pivot Point แนวต้านที่ 2 รายวัน 0.6031
    Pivot Point แนวต้านที่ 3 รายวัน 0.6054

     

     

     

    ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต
    placeholder
    GBPJPY ทะลุ 197.00 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008กราฟ GBPJPY แตะระดับราคาเหนือ 197.00 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2008 นักลงทุนทุบเงินเยนให้อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ นี่คือคำตอบจากนักลงทุนในตลาดที่มีต่อการดำเนินนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    กราฟ GBPJPY แตะระดับราคาเหนือ 197.00 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2008 นักลงทุนทุบเงินเยนให้อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ นี่คือคำตอบจากนักลงทุนในตลาดที่มีต่อการดำเนินนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
    placeholder
    วิเคราะห์ราคา AUDJPY: ตลาดกระทิงคู่สกุลเงินไปสู่ 101.00 ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014คู่ AUDJPY มีแนวโน้มขาขึ้นมากขึ้น คู่ AUDJPY ทรงตัวที่ 100.89 ในวันพุธ หลังพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 101.12 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 ความสนใจของตลาดโดยทั่วไปเอนเอียงไปทางผู้ซื้อเพราะทั้งคู่เคลื่อนไหวเป็นไปตามแนวโน้มขาขึ้น และอยู่เหนือระดับราคาที่มีนัยสําคัญ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก AUDJPY ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 1.50% ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นกราฟคู่นี้อาจพร้อมสําหรับการปรับฐาน
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    คู่ AUDJPY มีแนวโน้มขาขึ้นมากขึ้น คู่ AUDJPY ทรงตัวที่ 100.89 ในวันพุธ หลังพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 101.12 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2014 ความสนใจของตลาดโดยทั่วไปเอนเอียงไปทางผู้ซื้อเพราะทั้งคู่เคลื่อนไหวเป็นไปตามแนวโน้มขาขึ้น และอยู่เหนือระดับราคาที่มีนัยสําคัญ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก AUDJPY ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 1.50% ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นกราฟคู่นี้อาจพร้อมสําหรับการปรับฐาน
    placeholder
    วิเคราะห์ราคา EURJPY: ราคาปรับตัวขึ้นต่อไปยืนเหนือ 166.50 แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะ overboughtในช่วงเช้าของตลาดลงทุนยุโรปวันพฤหัสบดี EURJPY เคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน คู่ EURJPY ขยับสูงขึ้นเป็น 166.85 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ในวันศุกร์จะมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนของโตเกียว ก่อนทราบผลการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ตลาดคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและจํานวนการซื้อพันธบัตรไว้ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ BoJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ความแ
    แหล่งที่มา  Fxstreet
    ในช่วงเช้าของตลาดลงทุนยุโรปวันพฤหัสบดี EURJPY เคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน คู่ EURJPY ขยับสูงขึ้นเป็น 166.85 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ในวันศุกร์จะมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนของโตเกียว ก่อนทราบผลการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ตลาดคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและจํานวนการซื้อพันธบัตรไว้ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ BoJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ความแ
    ตราสารที่เกี่ยวข้อง
    goTop
    quote