







กิจกรรมของบริษัทคือสิ่งที่ส่งผลอย่างชัดเจนต่อราคาของหุ้นในบริษัทนั้น ๆ เช่นการประกาศจ่ายปันผล หากท่านถือสัญญาซื้อดัชนีในช่วงเวลาที่มีการประกาศจ่ายปันผลท่านจะมีสิทธิได้รับปันผลนั้น ในทางกลับกันหากท่านถือสัญญาขายดัชนีในช่วงเวลาจ่ายปันผลท่านจะต้องจ่ายปันผลนั้น
ก่อนที่จะเลือกดัชนีสำหรับการลงทุน ท่านต้องเข้าใจถึงความเหมือนและความแตกต่างของตลาด สภาพของเศรษฐกิจ นโยบายของประเทศ ทิศทางของนโยบายการเงิน และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ก่อน นอกจากนี้ท่านยังจำเป็นต้องเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคนิคของดัชนี เช่นช่วงตลาดขาขึ้น ช่วงตลาดขาลง และอื่น ๆ หากท่านคุ้นเคยกับหุ้น หรือสภาพเศรษฐกิจของประเทศใด ๆ ก็ตาม ท่านควรที่จะเทรดในตลาดหุ้นของประเทศนั้น ๆ หรือประเมินว่าตลาดใดที่เหมาะสมกับท่านโดยคำนึงถึงปริมาณการซื้อขายรายวันของตลาดหุ้นที่ส่งผลต่อดัชนีนั้น ๆ
มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อดัชนี ซึ่งแบ่งออกเป็นสามประการ
ประการแรก การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยของตลาดจะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อตลาดหุ้น โดยทั่วไปนั้นราคาของดัชนีในตลาดจะขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยตกลง และราคาตกเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้ระดับของอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นเป็นอย่างมาก และสิ่งนี้จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจที่จะ Long (ซื้อ) หรือ Short (ขาย) ดัชนี เมื่อรัฐบาลประกาศลดอัตราดอกเบี้ย หรือลดอัตราส่วนเงินฝากขั้นต่ำที่ธนาคารต้องถือ(Rate Requirement Ration) ต้นทุนการยืมในตลาดก็จะถูกลง และมักจะทำให้ดัชนีหุ้นนั้นเพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้น ในทางกลับกันถ้าอัตราต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น ดัชนีหก็จะลดต่ำลง
ประการที่สอง เงินเฟ้อจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อดัชนี อัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงมากจะเป็นตัวกระตุ้นดัชนี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดปัญหา ส่วนใหญ่เงินเฟ้อเกิดจากธนาคารกลางเพิ่มปริมาณเงินในระบบเร็วจนเกินไป โดยปกติแล้วเงินในระบบที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเข้ามายังตลาดหุ้นโดยตรง เช่น เงินในระบบที่เพิ่มขึ้นสูง จะส่งผลทำให้ดัชนีหุ้นเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อธนาคารกลางต้องการทำให้เงินในระบบลดลงโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ดัชนีลดลง
ประการที่สาม นโยบายการคลังของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น ถ้ารัฐบาลมีนโยบายลดภาษีหรือ เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล จะทำให้ผลประกอบการของบริษัทดีขึ้น และส่งผลให้ดัชนีมีราคาสูงขึ้นในระยะสั้น
ดัชนี คือกลุ่มของหุ้นหลากหลายประเภทที่สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของหุ้นโดยรวมในตลาด ปกติมักจะใช้เพื่อแสดงลักษณะทั่วไปของกลุ่มของหุ้น เช่น หุ้นที่เทรดอยู่ในตลาดเดียวกัน หุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือหุ้นที่มีขนาดเท่า ๆ กัน ดัชนีนั้นแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ ๆ ตามรูปแบบของวิธีการคำนวณ แบบที่หนึ่งคือ ดัชนีที่คิดจากราคาเฉลี่ยของหุ้น เช่น ดัชนี Dow Jones โดยนำราคาของหุ้นกลุ่มนึงมาคำนวณ แบบที่สองคือ ดัชนีที่คิดจากมูลค่าในตลาด คำนวณจากมูลค่าทางตลาดของกลุ่มหุ้นที่นำมาคำนวณ เช่น ดัชนี Standard & Poor 500 และ ดัชนี Hang Seng และแบบที่สามคือ ดัชนีที่คำนวณตามส่วนแบ่งทางตลาด คำนวณจากการเฉลี่ยจำนวนหุ้นแทนการใช้มูลค่าทางตลาด
ไม่พบคำตอบที่ท่านต้องการ ? ติดต่อเรา
*วิธีการฝากเงินบางวิธีอาจไม่มีให้บริการในประเทศ / ภูมิภาคของคุณ